จอมพล พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช (7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2419 - 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2457) เป็นหนึ่งในพระราชโอรสกลุ่มแรกในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงไปศึกษาต่อในทวีปยุโรป เมื่อกลับมาประเทศไทยทรงเข้ารับราชการในกองทัพบกและกระทรวงกลาโหมในตำแหน่งต่าง ๆ และทรงเป็นจอมพลพระองค์ที่ 2 ของกองทัพบกสยาม พระองค์ทรงเป็นต้นราชสกุล "จิรประวัติ"
พระประวัติ
พระกำเนิด
จอมพล พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช มีพระนามเดิมว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช เป็นพระราชบุตรลำดับที่ 18 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาทับทิม พระสนมเอก (ธิดาของพระยาอัพภันตริกามาตย์ (ดิศ โรจนดิศ)) เมื่อวันอังคาร แรม 6 ค่ำ เดือน 12 ปีชวด อัฐศก จ.ศ. 1238 ตรงกับวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2419 ในพระบรมมหาราชวัง ทรงมีพระกนิษฐาและพระกนิษฐภาดา ร่วมเจ้าจอมมารดาเดียวกัน 3 พระองค์ คือ
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช (พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช)
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประเวศวรสมัย
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร (พระองค์เจ้าวุฒิชัยเฉลิมลาภ)
การศึกษา
พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช ทรงสำเร็จการศึกษาชั้นต้นที่โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ เป็นพระราชโอรสกลุ่มแรกในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงไปศึกษาต่อในทวีปยุโรป เมื่อ พ.ศ. 2428 พร้อมกัน 4 พระองค์ คือ
พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช ทรงศึกษาวิชาทหาร ที่ประเทศเดนมาร์ก เมื่อ พ.ศ. 2434 - 2437 ได้รับพระราชทานพระยศเป็นนายร้อยตรีแห่งกองทัพบกเดนมาร์ก จากนั้นทรงเข้าศึกษาในโรงเรียนชั้นสูงสำหรับนายทหารทั่วไป เมื่อทรงสอบวิชาทหารปืนใหญ่ได้แล้ว ใน พ.ศ. 2439 จึงออกไปฝึกราชการอยู่ในกรมทหารปืนใหญ่สนามของประเทศเดนมาร์กในการนี้ได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานพระยศ ร้อยเอก เมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2439[3]
รับราชการ
เสด็จกลับประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2440 เข้ารับราชการในกองทัพบกและกระทรวงกลาโหม ทรงดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการ[4], ปลัดกองทัพบก, เสนาธิการทหารบก และเสนาบดีกระทรวงกลาโหม ทรงเป็นจอมพลพระองค์ที่สองของกองทัพบกสยาม
นอกจากนี้ในวันที่ 10 เมษายน รัตนโกสินทรศก 131 หรือตรงกับปี พ.ศ. 2455 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ทรงเป็นผู้บังคับการพิเศษเสือป่า กองมณฑลนครไชยศรี[5]
ขณะดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงกลาโหมได้ทรงปรึกษากับสมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ เสนาธิการทหารบก ถึงความจำเป็นที่ประเทศไทยจะต้องมีเครื่องบินไว้ใช้ป้องกันประเทศ เหมือนอย่างอารยประเทศ และริเริ่มจัดตั้งกองบินทหารบก ซึ่งในเวลาต่อมาได้พัฒนาเป็นกองทัพอากาศไทย ถึงวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454 โปรดให้เลื่อนเป็นพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช ทรงศักดินา 15000[6] และได้รับพระบรมราชานุญาตให้แต่งเครื่องยศขุนตำรวจเอก ในกรมพระตำรวจเป็นกรณีพิเศษเมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2456 หรือก่อนสิ้นพระชนม์เพียง 22 วัน[7]
สิ้นพระชนม์
จอมพล พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช ได้กราบถวายบังคมลาไปรักษาพระองค์และได้เสด็จออกจากพระนครที่ท่าราชวรดิษฐ์เมื่อย่ำรุ่งของวันที่ 11 มกราคม รัตนโกสินทรศก 130 หรือตรงกับปี พ.ศ. 2454[8] จากนั้นเมื่อพระอาการดีขึ้นจึงได้เสด็จนิวัติพระนคร กระทั่งสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2457 เวลา 22:43 น. ที่ วังมหานาค สิริพระชันษา 37 ปี 89 วัน วันต่อมา เวลา 14:00 น. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนรถม้าไป ณ วังพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช พระราชทานน้ำสรงพระศพ ทรงสวมพระชฎาพระราชทาน เจ้าพนักงานเชิญพระศพขึ้นประดิษฐานบนพระแท่นแว่นฟ้าสองชั้น ประกอบพระโกศกุดั่นใหญ่ (พระราชทานพระเกียรติยศเป็นกรณีพิเศษ) แวดล้อมด้วยเครื่องสูง 5 ชั้น แล้วทรงทอดผ้าไตร พระสงฆ์มีสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ยัง เขมาภิรโต) เป็นประธานสวดสดับปกรณ์ พระราชทานเครื่องประโคมประจำพระศพ พระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมมีกำหนด 3 เดือน[9]
พระโอรส-พระธิดา
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช ทรงได้รับพระราชทานวังมหานาคจากสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงให้เป็นที่ประทับของพระองค์และเจ้าจอมมารดาทับทิมสืบมา ทรงเป็นต้นราชสกุล จิรประวัติ [10]
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช เสกสมรสกับหม่อมเจ้าหญิงประวาศสวัสดี จิรประวัติ (ราชสกุลเดิม : โสณกุล ) (25 ธันวาคม พ.ศ. 2426 - 11 ธันวาคม พ.ศ. 2445) เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2441 มีพระราชธิดา คือ
และหลังจากที่ชายาพระองค์แรกได้สิ้นชีพตักษัยลง จึงทรงเสกสมรสใหม่กับหม่อมเจ้าหญิงสุมนมาลย์ จิรประวัติ (ราชสกุลเดิม : โสณกุล) เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2447 ซึ่งหม่อมเจ้าหญิงสุมนมาลย์ (14 เมษายน พ.ศ. 2431 - 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2482) เป็นพระขนิษฐาร่วมพระบิดามารดาเดียวกันกับหม่อมเจ้าหญิงประวาศสวัสดี โดยเสด็จในกรมหลวงนครไชยศรีและหม่อมเจ้าหญิงสุมนมาลย์ทรงมีพระโอรสด้วยกัน 2 พระองค์ คือ
พระเกียรติยศ
ธรรมเนียมพระยศของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช |
---|
ธงประจำพระอิสริยยศ |
ตราประจำพระองค์ |
การทูล | ใต้ฝ่าพระบาท |
---|
การแทนตน | ข้าพระพุทธเจ้า |
---|
การขานรับ | พ่ะย่ะค่ะ/เพคะ |
---|
พระอิสริยยศ
- พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช (7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2419 – 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2443)
- พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นนครไชยศรีสุรเดช (25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2443 – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453)
- พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหมื่นนครไชยศรีสุรเดช (23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 – 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454)
- พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454 – 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2457)
ภายหลังสิ้นพระชนม์
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช (10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478)
พระยศ
พระยศทหาร
- จอมพล
- 28 กันยายน พ.ศ. 2449 - นายพลเอก[12]
- 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2446 - นายพลโท[13]
- 3 เมษายน พ.ศ. 2444 - นายพลตรี[14]
- 21 กันยายน พ.ศ. 2441 - นายพันเอก[15]
- 3 เมษายน พ.ศ. 2439 - นายร้อยเอก
ทหารรักษาวัง
- 1 มกราคม พ.ศ. 2454 - พันโท ในกรมทหารรักษาวัง[16]
พระยศกรมพระตำรวจ
- 12 มกราคม พ.ศ. 2456 - ขุนตำรวจเอก[7] (ขณะนั้นทรงมีพระยศเป็นจอมพลในกองทัพบก)
พระยศเสือป่า
- 29 มิถุนายน พ.ศ. 2454 - นายกองตรี[17] (ขณะนั้นทรงมีพระยศเป็นนายพลเอกในกองทัพบก)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
พระราชสมัญญานาม
พงศาวลี
พงศาวลีของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช
|
|
อ้างอิง
- เชิงอรรถ
- ↑ การดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงกลาโหม
- ↑ "การดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงกลาโหม" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-05-26. สืบค้นเมื่อ 2021-05-26.
- ↑ ส่งสัญญาบัตรไปพระราชทาน[ลิงก์เสีย]
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ เปลี่ยนตำแหน่งเสนาบดี (กระทรวงกลาโหม)
- ↑ แจ้งความเพิ่มเติมแจ้งความกองเสือป่า
- ↑ "ประกาศ เลื่อน แลตั้งกรม แลตั้งเจ้าพระยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 28 (0 ง): 1741–1743. 11 พฤศจิกายน ร.ศ. 130. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-14. สืบค้นเมื่อ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2561.
- ↑ 7.0 7.1 ประกาศกระทรวงวัง
- ↑ กราบถวายบังคมลา
- ↑ "ข่าวสิ้นพระชนม์ จอมพล พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช เสนาบดี กระทรวงกลาโหม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 30 (ง): 2607–9. 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2456. สืบค้นเมื่อ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2561.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-21. สืบค้นเมื่อ 2006-10-11.
- ↑ กิติวัฒนา (ไชยันต์) ปกมนตรี, หม่อมราชวงศ์. สายพระโลหิตในพระพุทธเจ้าหลวง. กรุงเทพฯ : ดีเอ็มดี, พ.ศ. 2551. 290 หน้า. ISBN 978-974-312-022-0
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรทหารบก
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรทหารบก
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรทหารบก
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรทหาร
- ↑ แจ้งความกรมทหารรักษาวัง
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรกองเสือป่า
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ประเทศยุโรป เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 14, ตอน 25, 19 กันยายน ร.ศ. 116, หน้า 327
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-10-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 28, ตอน 0 ง, 12 พฤศจิกายน ร.ศ. 131, หน้า 1791
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายหน้าและฝ่ายใน, เล่ม 17, ตอน 35, 25 พฤศจิกายน ร.ศ. 119, หน้า 501
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2019-05-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 18, ตอน 46, 16 กุมภาพันธ์ ร.ศ. 120, หน้า 873
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ช้างเผือกและมงกุฎสยาม, เล่ม 17, ตอน 28, 7 ตุลาคม ร.ศ. 119, หน้า 357
- ↑ จอมพล พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช เก็บถาวร 2011-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากเว็บไซต์กองทัพบก
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ ฝ่ายหน้า และฝ่ายใน เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 18, ตอน 46, 16 กุมภาพันธ์ ร.ศ. 120, หน้า 874
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 27, ตอน 0 ง, 11 มกราคม ร.ศ. 129, หน้า 2409
- ↑ 26.0 26.1 "พระราชทานพระบรมราชานุญาตเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 13 (ตอน 24): หน้า 250. 13 กันยายน 2440. สืบค้นเมื่อ 23 มิถุนายน 2562.
- ↑ "พระราชทานพระบรมราชานุญาตเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 14 (ตอน 26): หน้า 204. 13 กันยายน 2440. สืบค้นเมื่อ 23 มิถุนายน 2562.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตเครื่องราชอิสริยาภรณ์เฮนรีดีไลออนกรุงบรันสวิก, เล่ม ๒๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๕, ๑๐ เมษายน ๑๒๙
- ↑ พระบิดาแห่งกองทัพบก[ลิงก์เสีย]
- ↑ พระบิดาแห่งกองทัพบก
- บรรณานุกรม
- สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. ราชสกุลวงศ์. พิมพ์ครั้งที่ 14, กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2554. 296 หน้า. หน้า 85. ISBN 978-974-417-594-6
- สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์. จุฬาลงกรณราชสันตติวงศ์ พระนามพระราชโอรส พระราชธิดา และพระราชนัดดา. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 4, พ.ศ. 2548. 136 หน้า. ISBN 974-221-746-7
- ณัฐวุฒิ สุทธิสงคราม,พระประวัติและงานสำคัญ ของ จอมพลกรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช, พระนคร, โรงพิมพ์แพร่การช่าง, 2514.
- จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. ๒๔๕๗ (เก็บรักษาไว้ที่ หอสมุดแห่งชาติและ หอวชิราวุธานุสรณ์)
แหล่งข้อมูลอื่น
|
---|
| |
|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม |
---|
|
|
|
---|
ชั้นพระราชโอรส | |
---|
ชั้นพระราชนัดดา | |
---|
|
|
---|
สมเด็จพระ / กรมสมเด็จพระ | | |
---|
กรมพระยา | |
---|
กรมพระ | |
---|
กรมหลวง | |
---|
กรมขุน | |
---|
กรมหมื่น | |
---|
- = สืบราชสมบัติ
- = สยามมกุฎราชกุมาร
- * = กรมพระราชวังบวร
- ตัวเอียง = ฝ่ายใน
- ตัวหนา = ยังทรงพระชนม์
- † = หลังสิ้นพระชนม์
- X = ถอดจากฐานันดรศักดิ์
|
|
|
---|
รัชกาลที่ 1 | | |
---|
รัชกาลที่ 2 | |
---|
รัชกาลที่ 3 | |
---|
รัชกาลที่ 4 | |
---|
รัชกาลที่ 5 | |
---|
รัชกาลที่ 6 | ไม่มีพระราชโอรส |
---|
รัชกาลที่ 7 | ไม่มีพระราชโอรส-ธิดา |
---|
รัชกาลที่ 8 | ไม่มีพระราชโอรส-ธิดา |
---|
รัชกาลที่ 9 | |
---|
รัชกาลที่ 10 | |
---|
()* สืบราชสมบัติ** กรมพระราชวังบวรสถานมงคล()^ สยามมกุฎราชกุมารX ถูกถอดจากฐานันดรศักดิ์ |