พระยาประเสริฐสงคราม (เทียบ คมกฤส)

พระยาประเสริฐสงคราม
(เทียบ คมกฤส)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
ดำรงตำแหน่ง
21 มิถุนายน พ.ศ. 2476 – 1 เมษายน พ.ศ. 2477
นายกรัฐมนตรีพระยาพหลพลพยุหเสนา
ก่อนหน้าพลเรือโท พระยาราชวังสัน (ศรี กมลนาวิน)
ถัดไปพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด18 ธันวาคม พ.ศ. 2425
อำเภอบางบาล เมืองกรุงเก่า ประเทศสยาม
เสียชีวิต15 ธันวาคม พ.ศ. 2484
อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสหม่อมหลวงเครือวัลย์ ประเสริฐสงคราม
บุตร12 คน

พลตรี พระยาประเสริฐสงคราม (เทียบ คมกฤส) (18 ธันวาคม พ.ศ. 2425 - 15 ธันวาคม พ.ศ. 2484) ทหารบกชาวไทย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในรัฐบาลพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)

ประวัติ

พลตรี พระยาประเสริฐสงคราม มีนามเดิมว่า เทียบ คมกฤส เกิดเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2425 ที่บ้านคลัง ตำบลบ้านคลัง อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็บบุตรของนายพรหม และนางแสง คมกฤส[1]

เริ่มศึกษาที่วัดสุวรรณดารารามราชวรวิหาร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และเมื่อปี พ.ศ. 2439 ได้เข้าศึกษาต่อวิชาทหารในโรงเรียนนายร้อยทหารบก จบการศึกษาเมื่อปี พ.ศ. 2442 และได้รับพระราชทานสัญญาบัตรยศทหารเป็น ร้อยตรี เมื่อ พ.ศ. 2444 และรับราชการสูงสุดที่ยศ พลตรี

พ.ศ. 2476 พลตรี พระยาประเสริฐสงคราม ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 4 และคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 5 ของ พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) และกราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2477 โดยอ้างเหตุผลว่าป่วย ไม่สามารถรับราชการได้เต็มที่[2][3]

พระยาประเสริฐสงคราม สมรสกับหม่อมหลวงเครือวัลย์ ประเสริฐสงคราม (สกุลเดิม:สนิทวงศ์) ธิดาของพันตรี หลวงครรชิตสรกรรม (หม่อมราชวงศ์ดัด สนิทวงศ์) กับนางละม้าย (สกุลเดิม:ดิษยบุตร) มีบุตรธิดา 12 คน[4]

พลตรี พระยาประเสริฐสงคราม ถึงแก่กรรมเมื่อ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2484[5]

บรรดาศักดิ์

  • 8 ธันวาคม พ.ศ. 2448 - ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์เป็น หลวงจงพยุหะ ถือศักดินา ๘๐๐ [6]
  • 7 สิงหาคม พ.ศ. 2455 - ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์เป็น พระรามณรงค์ ถือศักดินา ๑๐๐๐[7]
  • 20 เมษายน พ.ศ. 2461 - ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์เป็น พระยาประเสริฐสงคราม ถือศักดินา 1500[8]

ยศทหารและตำแหน่ง

  • ร้อยตรี (29 เมษายน พ.ศ. 2444)[9]
  • ร้อยโท (25 มิถุนายน พ.ศ. 2445)
  • ร้อยเอก (19 พฤษภาคม พ.ศ. 2447)[10]
  • พันตรี (14 ธันวาคม พ.ศ. 2449)[11]
  • พันโท (3 พฤษภาคม พ.ศ. 2452)
  • พันเอก (23 มีนาคม พ.ศ. 2459)[12]
  • – เสนาธิการกองทัพน้อยทหารบกที่ 2
  • 19 กันยายน พ.ศ. 2462 – ผู้บัญชาการกองพลทหารบกที่ 10[13]
  • 7 เมษายน 2463 – ราชองครักษ์เวร[14]
  • พลตรี (7 พฤษภาคม พ.ศ. 2466)[15]

ยศเสือป่า

  • – นายหมวดตรี
  • 12 ธันวาคม 2461 – นายหมวดโท[16]
  • 10 ธันวาคม 2463 – รักษาราชการแทนเสนาธิการกองเสนารักษาดินแดนอิสาณ[17]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. "ประวัติ พลตรีพระยาประเสริฐสงคราม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-15. สืบค้นเมื่อ 2015-04-29.
  2. "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 4 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-27. สืบค้นเมื่อ 2015-04-29.
  3. "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 5 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-27. สืบค้นเมื่อ 2015-04-29.
  4. "ศาสตราจารย์เทียม คมกฤส". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2015-04-29.
  5. อลงกฎ, พลเอก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า. “กองทัพไทยของเรา.” อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลตรี พระยาประเสริฐสงคราม (เทียบ คมกฤส). พระนคร : โรงพิมพ์ท่าพระจันทร์, ๒๔๙๔. (หม่อมหลวงเครือวัลย์ ประเสริฐสงคราม พิมพ์แจก)
  6. ส่งสัญญาบัตรขุนนางไปพระราชทาน
  7. เลื่อนและตั้งบรรดาศักดิ์ (หน้า ๑๑๖๓)
  8. "พระราชทานตั้งและเลื่อนบรรดาศักดิ์ (หน้า ๒๐๙)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-07-03. สืบค้นเมื่อ 2020-05-01.
  9. พระราชทานสัญญาบัตรทหาร
  10. พระราชทานสัญญาบัตรทหารบก
  11. ส่งสัญญาบัตรทหารบกไปพระราชทาน (หน้า ๑๐๔๙)
  12. พระราชทานยศนายทหารบก (หน้า ๙๒)
  13. แจ้งความกระทรวงกลาโหม เรื่องเลื่อนย้ายนายทหารรับราชการและออกจากประจำการ
  14. แจ้งความกรมราชองครักษ์ เรื่อง ตั้งราชองครักษ์เวร
  15. พระราชทานยศทหารและข้าราชการกระทรวงกลาโหม
  16. "พระราชทานยศเสือป่า" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา: 340. 22 ธันวาคม 1918. สืบค้นเมื่อ 18 กันยายน 2024.
  17. "แจ้งความกรมบัญชาการคณะเสือป่า" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา: 3106. 19 ธันวาคม 1920.
  18. พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จุลจอมเกล้าฝ่ายหน้า (หน้า 2657)
  19. พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ (หน้า 3206)
  20. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๔๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๕๐๒๒, ๒๐ มีนาคม ๒๔๗๐

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!