จิร วิชิตสงคราม

จิร วิชิตสงคราม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
ดำรงตำแหน่ง
14 ตุลาคม พ.ศ. 2488 – 31 มกราคม พ.ศ. 2489
ก่อนหน้าพลโท หลวงสินาดโยธารักษ์
ถัดไปพลโท หลวงสินาดโยธารักษ์
ดำรงตำแหน่ง
24 มีนาคม พ.ศ. 2489 – 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490
ก่อนหน้าพลโท หลวงสินาดโยธารักษ์
ถัดไปพลโท หลวงชาตินักรบ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด4 ตุลาคม พ.ศ. 2440
บ้านริมคลองบางหลวง เจริญพาศน์ ธนบุรี
เสียชีวิต21 มีนาคม พ.ศ. 2522 (81 ปี)
ศาสนาพุทธ
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย
สังกัด กองทัพบกไทย
ยศ พลเอก
บังคับบัญชากองทัพพายัพ
ผ่านศึกสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
กบฏบวรเดช
กรณีพิพาทอินโดจีน
สงครามมหาเอเซียบูรพา

พลเอก จิร วิชิตสงคราม หรือ หลวงวิชิตสงคราม (4 ตุลาคม พ.ศ. 2440 - 21 มีนาคม พ.ศ. 2522) เป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรี ปลัดกระทรวงกลาโหม เสนาธิการกลาโหม และเสนาธิการกองทัพบก และเป็นนายทหารไทยที่ปฏิเสธยศจอมพล

ประวัติ

ชีวิตส่วนตัว

พล.อ. จิร วิชิตสงคราม มีชื่อเดิมว่า จี๊ด ยุวนวรรธนะ เกิดเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2440 เป็นบุตรของนายเหลี่ยม และนางทับทิม ยุวนวรรธนะ เกิดที่บ้านริมคลองบางหลวง ย่านกุฎีเจริญพาศน์ ฝั่งธนบุรี

การศึกษา

เริ่มเข้าเป็นนักเรียนนายร้อยทหารบก โรงเรียนนายร้อยชั้นประถม เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2452 และสำเร็จจากโรงเรียนนายร้อยทหารบก รับพระราชทานยศ นายร้อยตรี เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2459 รุ่นเดียวกับ จอมพล ป. พิบูลสงคราม, จอมพล ผิน ชุณหะวัณ และพล.ต.อ. อดุล อดุลเดชจรัส[1]

การทำงาน

พล.อ. จิร เริ่มรับราชการในกองทัพบก โดยได้รับบรรจุให้ประจำกรมทหารบกปืนใหญ่ที่ 2 ต่อมาได้เจริญก้าวหน้าในตำแหน่งราชการสำคัญต่าง ๆ เช่น

รับราชการจนมียศสูงสุดที่ พลเอก และมีตำแหน่งสุดท้ายคือปลัดกระทรวงกลาโหม

พ.ศ. 2487 พล.ท. จิร วิชิตสงคราม ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีไม่ได้ประจำกระทรวงในรัฐบาลพ.ต. ควง อภัยวงศ์ ต่อมาได้ย้ายไปเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม[2] และลาออกพร้อมคณะรัฐมนตรี[3] ในพ.ศ. 2488 ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีไม่ได้ประจำกระทรวงในรัฐบาลม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช[4][5]

เมื่อพ.ศ. 2489 ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมอีกครั้งในรัฐบาลนายปรีดี พนมยงค์[6] และดำรงตำแหน่งต่อมาจนถึงรัฐบาลพล.ร.ต. ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ จนกระทั่งพ้นจากตำแหน่งไปหลังคณะทหารแห่งชาติทำรัฐประหาร[7][8][9][10][11][12] นอกจากนี้ยังได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาในวุฒิสภาไทย ชุดที่ 1[13]

พล.อ. จิร วิชิตสงคราม ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2522 พระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2522[14]

ปฏิเสธยศจอมพล[15]

พล.อ. จิร เป็นทหารที่ได้รับการยกย่องในฝีมือ กระทั่ง จอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชา ที่มีความคิดทูลเกล้าฯ ขอพระราชทานยศจอมพล ซึ่งเป็นยศสูงสุดของกองทัพไทยให้พล.อ. จิร แต่พล.อ. จิร กลับปฏิเสธ

ส่วนเรื่องที่ปฏิเสธยศจอมพล มีนายพลหลายคนเล่าให้ข้อมูลตรงกัน เช่น

“ ผมเคยเป็นนายทหารฝ่ายเสนาธิการที่เราใช้อยู่ในวงในระยะหนึ่ง จึงได้ทราบว่า ฯพณฯ จอมพล ป. พิบูลสงครามได้ทำเรื่องราวขอพระราชทานยศจอมพลให้ท่านซึ่งก็เหมาะด้วยประการทั้งปวง ถ้าหากเป็นไปตามนั้นก็ไม่มีใครหาเหตุผลมาหักล้างหรือคัดค้านได้เลย แต่ก็มีผู้คัดค้านจนได้ และมีคนเดียวเท่านั้นที่คัดค้านคือตัวท่านเอง ท่านขอร้องและยืนยันแข็งว่าท่านไม่รับยศจอมพลโดยเด็ดขาด ”

“ คณะรัฐประหารเสนอ ให้พล.อ. ผิน ชุณหะวัณ ขึ้นเป็นจอมพลซ้อนขึ้นมา ท่านจอมพล ป. พิบูลสงคราม เลยเสนอตั้งเพิ่มขึ้นมาอีก 4 คน จึงเชิญพี่จี๊ดมาปรารภว่าจะสนองคุณความดีของพี่จี๊ดโดยแต่งตั้งให้เป็นจอมพล พี่จี๊ดเอะอะโวยวายว่า ฟุ้งซ่านกันไปถึงไหน ตัวท่านเป็นรองผู้อำนวยการ ส.ป.อ. (องค์การสนธิสัญญาป้องกันภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) ซึ่งมีนายทหารอเมริกันชั้นพลเอกเป็นหัวหน้า ผิดระเบียบราชการทหารถ้าขืนแต่งตั้งขึ้นมาจะก็จะขอยื่นใบลาออกทันที ”

  • พล.อ.ท. จำรัส วีณะคุปต์ ซึ่งเคยรับราชการใกล้ชิดในกรมเสนาธิการกลาโหมเล่าว่า

“ เช้าวันหนึ่งท่านเดินมาที่โต๊ะข้าพเจ้าวางซองจดหมายเล็กๆ บนโต๊ะแล้วบอกว่า ให้คุณหรือนายทหารที่คุณไว้ใจได้นำจดหมายฉบับนี้ไปส่งให้ถึงมือท่านนายกฯ เองทีเดียว ท่านไปแล้วข้าพเจ้าดูจ่าหน้าซองถึงจอมพล ป. พิบูลสงคราม ตรงกลางขอบบนซองเขียน (ส่วนตัว) มุมซ้ายล่างเป็นชื่อย่อ จ. วิชิตสงคราม อีก 2-3 สัปดาห์ต่อมาข้าพเจ้าได้ข่าวว่าเสนาธิการกลาโหมไม่ยอมรับยศจอมพล ข้าพเจ้าจึงเข้าใจว่าจดหมายฉบับนั้นเองที่ขอไม่รับยศอันเกรียงไกรนี้ ”

เวลาผ่านมาหลายปี ก่อนหน้า พล.อ. จิร ถึงแก่อนิจกรรม 4-5 ปี พล.อ.ท. จำรัส วีณะคุปต์ จึงเรียนถาม ซึ่งพล.อ. จิร จึงตอบว่า

“ โดยตำแหน่งผมเป็นผู้แทนไทยในกิจการทหารของ ส.ป.อ. หัวหน้าผู้แทนประเทศอื่น ๆ มียศสูงเพียงพลเอก ถ้าผมเป็นจอมพลขึ้นมา ผมก็ต้องเป็นประธานที่ประชุมทุกปีไป (ประชุมปีละ 2 ครั้ง) จะผลัดเปลี่ยนกันดังที่เคยปฏิบัติเป็นธรรมเนียมอยู่แล้วย่อมไม่ได้ ดูจะไม่งาม ”

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

พลเอก จิร วิชิตสงคราม ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและต่างประเทศ ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

อ้างอิง

  1. พระราชทานยศนายทหารบก (หน้า ๔๙๘)
  2. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม (พลโท จีระ วิชิตสงคราม)
  3. "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 11 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-04. สืบค้นเมื่อ 2015-05-08.
  4. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (พลโท จิระ วิชิตสงคราม, นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์, นายถวิล อุดล)
  5. "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 13 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-04. สืบค้นเมื่อ 2015-05-08.
  6. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๑๖ ราย)
  7. "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 15 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-03. สืบค้นเมื่อ 2015-05-08.
  8. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๑๖ ราย)
  9. "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 16 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-03. สืบค้นเมื่อ 2015-05-08.
  10. "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 17 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-03. สืบค้นเมื่อ 2015-05-08.
  11. "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 18 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-02. สืบค้นเมื่อ 2015-05-08.
  12. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๒ ราย)
  13. วุฒิสภา ชุดที่ ๑ (สมาชิกพฤฒสภา พ.ศ. ๒๔๘๙)[ลิงก์เสีย]
  14. อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลเอก จิร วิชิตสงคราม ม.ป.ช.,ม.ว.ม.,ท.จ.ว.
  15. ศิลปวัฒนธรรม SILPA-MAG.COM, พลเอก จิร วิชิตสงคราม นายทหารผู้ปฏิเสธยศ “จอมพล” ให้ตนเอง, 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
  16. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๔ ตอนที่ ๖ ง หน้า ๓๕, ๑๒ มกราคม ๒๕๐๐
  17. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๑ ตอนที่ ๘๔ ง หน้า ๒๘๐๘, ๑๔ ธันวาคม ๒๔๙๗
  18. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๗ ตอนที่ ๔๑ ง หน้า ๑๔๓๕, ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๐๓
  19. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศพระราชทานฐานันดร แห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี และเหรียญรามมาลา, เล่ม ๓๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๕๔, ๒๗ เมษายน ๒๔๖๒
  20. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญกล้าหาญ, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๖๓ ง หน้า ๓๗๐๕, ๓๐ พฤศจิกายน ๒๔๘๖
  21. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิและเครื่องหมายเปลวระเบิด สำหรับผู้กระทำความชอบได้รับบาดเจ็บ, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๘๑๑, ๑๕ เมษายน ๒๔๘๔
  22. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๓๘ ง หน้า ๒๓๒๓, ๑๓ กรกฎาคม ๒๔๘๖
  23. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์แก่นายทหารผู้มีความชอบและผู้ปฎิบัติราชการ เกี่ยวเนื่องด้วยการส่งกองทหารในงานพระราชสงครามที่ยุโรป, เล่ม ๓๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๗๓๒, ๓๑ กันยายน ๒๔๖๒
  24. ราชกิจจานุเบกษา, บัญชีรายนามผู้ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ, เล่ม ๕๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๒๓๑, ๗ ตุลาคม ๒๔๗๗
  25. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๔๔ ง หน้า ๒๖๙๔, ๒๔ สิงหาคม ๒๔๘๖
  26. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญ, เล่ม ๔๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๙๒๔, ๑ ธันวาคม ๒๔๗๒
  27. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๕๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๖๐๗, ๒๓ มกราคม ๒๔๘๑
  28. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๗๑ ตอนที่ ๘๕ ง หน้า ๒๘๕๒, ๒๑ ธันวาคม ๒๔๙๗
  29. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๗๕ ตอนที่ ๗๖ ง หน้า ๒๗๐๗, ๓๐ กันยายน ๒๕๐๑
  30. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๓๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๑๑๗, ๒๒ มกราคม ๒๔๖๔
  31. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๗๖ ตอนที่ ๘ ง หน้า ๕๘, ๑๓ มกราคม ๒๕๐๒
  32. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๗๖ ตอนที่ ๔๖ ง หน้า ๑๒๐๙, ๒๑ เมษายน ๒๕๐๒

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!