พลเรือเอก จิตต์ สังขดุลย์ (นามเดิม จงจิตต์ สังขดุลย์) นายทหารชาวไทย เป็นทหารผ่านศึกในยุทธนาวีเกาะช้าง อดีตผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรือ ผู้บัญชาการโรงเรียนเสนาธิการทหาร เจ้ากรมส่งกำลังบำรุง เสนาธิการทหารเรือ และปลัดกระทรวงกลาโหม
ประวัติ
พล.ร.อ. จิตต์ สังขดุลย์ เกิดที่กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2459 เป็นบุตรคนที่ 4 ของพระพิจิตรจำนง (แจง สังขดุลย์) และนางยิ่ง สังขดุลย์ จากจำนวนพี่น้องชายหญิงทั้งหมด 11 คน ท่านเป็นพี่ชายของคุณหญิงบรรจบพันธุ์ นวรัตน ณ อยุธยา ภริยาของม.ร.ว.นิมิตรมงคล นวรัตน อดีตทหารอากาศและนักประพันธ์ชื่อดังของเมืองไทย
พล.ร.อ. จิตต์ จบการศึกษาจากโรงเรียนนายเรือ และได้เข้าประจำการเป็นนายทหารเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2480
การทำงาน
ขณะที่พลร.อ. จิตต์ มียศเป็น เรือโท นั้น ท่านได้รับคำสั่งให้ประจำอยู่ที่แผนกการปืน เรือหลวงธนบุรี ซึ่งเป็นเรือปืนยามฝั่งที่ทันสมัยที่สุดของกองทัพเรือในขณะนั้น ต่อมาเมื่อเกิดกรณีพิพาทไทย-อินโดจีนฝรั่งเศส เรือหลวงธนบุรีจึงได้รับคำสั่งให้ไปรักษาน่านไทยบริเวณพรมแดนด้านตะวันออกที่หมู่เกาะช้าง จังหวัดตราด เมื่อเกิดเหตุการณ์ยุทธนาวีเกาะช้างในวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2484 ร.ท. จงจิตต์ สังขดุลย์ ร.น. (ยศและชื่อในขณะนั้น) ก็ได้เข้าร่วมรบในฐานะนายป้อมปืนท้ายด้วย ภายหลังสิ้นสงครามแล้ว เรือโทจงจิตต์จึงได้รวบรวมบันทึกความทรงจำของตนเอง และของเพื่อนทหารที่ร่วมรบ ตีพิมพ์เป็นหนังสือชื่อ "เมื่อธนบุรีรบ" เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2484
หลังจากสิ้นสุดกรณีพิพาทไทย-อินโดจีนฝรั่งเศสแล้ว พล.ร.อ. จิตต์ได้รับราชการในกองทัพเรือ และเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงานตามลำดับ จากตำแหน่งในหน่วยรบของกองต่อสู้อากาศยาน เป็นต้นเรือเรือหลวงศรีอยุธยา ย้ายมาประจำอยู่ที่กรมเสนาธิการทหารเรือ และโรงเรียนนายเรือ จนได้เป็นผู้บัญชาการโรงเรียนใน พ.ศ. 2500 จากนั้นก็ได้ย้ายไปเป็นทูตฝ่ายทหารเรือประจำประเทศฝรั่งเศสและประเทศสเปน ผู้บัญชาการโรงเรียนเสนาธิการทหาร กองบัญชาการทหารสูงสุด (1 ตุลาคม พ.ศ. 2507 - 30 กันยายน พ.ศ. 2510[1]) เจ้ากรมส่งกำลังบำรุงทหาร (1 ตุลาคม พ.ศ. 2510 - 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2511[2]) เสนาธิการทหารเรือ และเกษียณอายุราชการในตำแหน่งปลัดกระทรวงกลาโหม[3] ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516[4] และในปี พ.ศ. 2519 ได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน[5]
พล.ร.อ. จิตต์ สังขดุลย์ ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 รวมอายุได้ 78 ปี
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
อ้างอิง
- ↑ [1] เก็บถาวร 2007-09-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ [2] เก็บถาวร 2007-10-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ
- ↑ "พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2014-07-08.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา 22 พฤศจิกายน 2519 เรื่อง ประกาศแต่งตั้งสมาชิกสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน
- ↑ "เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-01-08. สืบค้นเมื่อ 2021-01-07.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เล่ม 85 ตอนที่ 122 วันที่ 31 ธันวาคม 2511
- ↑ แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
- ↑ แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 77 ตอนที่ 95 หน้า 2429, 22 พฤศจิกายน 2503
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 87 ตอนที่ 58 หน้า 1698, 18 กรกฏาคม 2504
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 78 ตอนที่ 80 หน้า 2108, 3 ตุลาคม 2504
แหล่งข้อมูลอื่น
- จิตต์ สังขดุลย์, พล.ร.อ.. เมื่อธนบุรีรบ. ม.ป.ท.: ม.ป.พ., ม.ป.ป. หน้า 1-2. (หนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพของพลเรือเอกจิตต์ สังขดุลย์)