พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุรุพงษ์รัชสมโภช

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุรุพงษ์รัชสมโภช
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 5
พระองค์เจ้าชั้นเอก
ประสูติ15 ตุลาคม พ.ศ. 2436
สิ้นพระชนม์20 กันยายน พ.ศ. 2452 (15 ปี)
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมารดาเจ้าจอมมารดาเลื่อน ในรัชกาลที่ 5

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุรุพงษ์รัชสมโภช (15 ตุลาคม พ.ศ. 2436 – 20 กันยายน พ.ศ. 2452) เป็นพระราชบุตรพระองค์ที่ 95 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเลื่อน

พระประวัติ

ประสูติ

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุรุพงษ์รัชสมโภช ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ เดือน 11 ขึ้น 4 ค่ำ ปีมะเส็ง เบญจศก จ.ศ. 1255 ตรงกับวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2436 เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ตามเสด็จรับใช้ใกล้ชิด มาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์เช่นเมื่อคราวเสด็จประพาสต้นครั้งที่ 2 ปี พ.ศ. 2449 และเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 2 ปี พ.ศ. 2450 พระองค์ก็ได้ตามเสด็จสมเด็จพระบรมชนกนาถด้วยทั้ง 2 ครั้ง

การศึกษา

เมื่อทรงเจริญถึงวัยที่จะเสด็จไปทรงศึกษาต่อต่างประเทศ เช่นเดียวกับพระราชโอรสพระองค์อื่น ก็ทรงให้เว้นเสีย และให้จ้างครูชาวต่างชาติเข้ามาสอนหนังสือถึงในพระตำหนัก แทนที่จะต้องเสด็จไปศึกษาในต่างประเทศ นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างตำหนักขึ้นภายในพระราชวังดุสิตและพระราชทานนามว่า "ตำหนักราชฤทธิ์รุ่งโรจน์" เพื่อพระราชทานให้ประทับอยู่ใกล้ ๆ[1]

พระกรณียกิจ

นอกจากนี้ ในวันที่ 22 เมษายน 2453 ยังโปรดเกล้าฯ ให้ทรงกำกับบัญชาการกรมมหาดเล็กโดยสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงนริศรานุวัดติวงศ์ เป็นผู้ดูแล และโปรดเกล้าฯ ให้พระยาวรพงษ์พิพัฒน์ และพระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ เป็นผู้ช่วย[2]

สิ้นพระชนม์

พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอุรุพงษ์รัชสมโภช ประชวรด้วยโรคไส้ตัน สิ้นพระชนม์ด้วยวัยเพียงไม่ถึง 16 พรรษา เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 12 ขึ้น 8 ค่ำ ปีมะเส็งเบญจศก จ.ศ. 1255 ตรงกับวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2452[3] พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโทมนัสยิ่งนักที่พระราชโอรสสิ้นพระชนม์ ในวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระองค์ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างสะพานข้ามคลอง เพื่อให้ประชาชนใช้ประโยชน์เป็นสาธารณกุศล ที่เชิงสะพานทั้งสองฝั่งมีพระรูปปั้นหินอ่อนของพระองค์เจ้าอุรุพงศ์รัชสมโภช พระราชทานชื่อสะพานว่า สะพานอุรุพงษ์ จนถึงปัจจุบัน ข้ามแม่น้ำเพชรบุรี อาคารอุรุพงษ์ ภายในวิทยาลัยอาชีวศึกษาเพชรบุรี ถนนอุรุพงษ์ และสี่แยกอุรุพงษ์ ถนนในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร

พระเกียรติยศ

ธรรมเนียมพระยศของ
พระองค์เจ้าอุรุพงษ์รัชสมโภช
ธงประจำพระอิสริยยศ
การทูลใต้ฝ่าพระบาท
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับพ่ะย่ะค่ะ/เพคะ

พระอิสริยยศ

  • 15 ตุลาคม พ.ศ. 2436 – 20 กันยายน พ.ศ. 2452 : พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอุรุพงษ์รัชสมโภช
  • 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 : พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าอุรุพงษ์รัชสมโภช
  • 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 : พระเจ้าพี่ยาเธอ พระองค์เจ้าอุรุพงษ์รัชสมโภช
  • 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478 : พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุรุพงษ์รัชสมโภช[4]

ตำแหน่ง

  • 22 เมษายน พ.ศ. 2452 กำกับราชการกรมมหาดเล็ก[5]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

พงศาวลี

อ้างอิง

  1. ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอุรุพงษ์รัชสมโภชมีมงคลการเสด็จขึ้นตำหนัก, เล่ม 24, ตอน 52, 29 มีนาคม พ.ศ. 2450, หน้า 1409
  2. "แจ้งความกรมมหาดเล็ก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 27 เมษายน 1910. สืบค้นเมื่อ 17 กันยายน 2024.
  3. ข่าวสิ้นพระชนม์
  4. ประกาศ คำนำพระนามพระบรมวงศานุวงศ์
  5. แจ้งความกรมมหาดเล็ก
  6. "พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ปฐมจุลจอมเกล้าฝ่ายหน้า" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 22 (ตอน 50): หน้า 1150. 11 มีนาคม ร.ศ. 124. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม พ.ศ. 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  7. "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบันฝ่ายหน้า" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 25 (ตอน 35): หน้า 1012. 29 พฤศจิกายน ร.ศ. 127. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม พ.ศ. 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  • สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์จุฬาลงกรณราชสันตติวงศ์ พระนามพระราชโอรส พระราชธิดา และพระราชนัดดา. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 4, พ.ศ. 2548. 136 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-221-746-7
  • อรณี แน่นหนา. นามนี้มีที่มา. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น, พ.ศ. 2545. 216 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-230-848-9
  • กิตติพงษ์ วิโรจน์ธรรมากูร. ย้อนรอยราชสกุลวงศ์ "วังหลวง". กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ดอกหญ้า, พิมพ์ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2549. 304 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-941-205-2
  • ธำรงศักดิ์ อายุวัฒนะ. ราชสกุลจักรีวงศ์ และราชสกุลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2544. 490 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-222-648-2

แหล่งข้อมูลอื่น

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!