ผู้นำฝ่ายสัมพันธมิตรระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง

ผู้นำฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามแปซิฟิก: เจียง ไคเชก, แฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ และวินสตัน เชอร์ชิล ในการประชุมไคโร เมื่อ ค.ศ. 1943
ผู้นำสุดท้ายของฝ่ายสัมพันธมิตร: เคลเมนต์ แอตต์ลี, แฮร์รี เอส. ทรูแมน และโจเซฟ สตาลิน ในการประชุมพ็อทซ์ดัม เมื่อ ค.ศ. 1945

ผู้นำฝ่ายสัมพันธมิตรระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ประกอบไปด้วยบุคคลสำคัญต่าง ๆ จากหลาย ๆ ประเทศ ทั้งนักการเมืองและนักการทหาร บรรดาบุคคลเหล่านี้ได้แก่

ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐ แฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ และนายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร วินสตัน เชอร์ชิล ในการประชุมกาซาบล็องกา ค.ศ. 1943
ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐ แฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์, นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร วินสตัน เชอร์ชิล, และผู้เข้าร่วมการประชุมในกาซาบล็องกา, ค.ศ. 1943
ผู้นำหลักสุดท้ายของฝ่ายสัมพันธมิตร: เคลเมนต์ แอตต์ลี (สหราชอาณาจักร), แฮร์รี เอส. ทรูแมน (สหรัฐ), โจเซฟ สตาลิน (สหภาพโซเวียต), เจียง ไคเชก (จีน) และชาร์ล เดอ โกล (ฝรั่งเศส)

สหรัฐอเมริกา สหรัฐ

แฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์
  • แฟรงคลิน ดี. โรสเวลต์ (Franklin D. Roosevelt) เป็นประธานาธิบดีคนที่ 32 แห่งสหรัฐตั้งแต่ พ.ศ. 2476 แนวคิดของเขาก่อให้เกิดองค์กรระหว่างประเทศ คือ สหประชาชาติ ถึงแม้ว่าเขาจะประสบปัญหาด้านสุขภาพในช่วงวิกฤตของประเทศก็ตาม รูสเวลท์เสียชีวิตขณะยังดำรงตำแหน่งเมื่อ พ.ศ. 2488 สองสัปดาห์ก่อนการยอมแพ้ของเยอรมนี
  • แฮร์รี เอส. ทรูแมน (Harry S. Truman) เป็นประธานาธิบดีคนที่ 33 ของสหรัฐตั้งแต่ พ.ศ. 2488 ถึง พ.ศ. 2494 เป็นผู้อนุมัติให้ทิ้งระเบิดปรมาณูที่ประเทศญี่ปุ่น เป็นผู้นำในแผนมาร์แชลเพื่อฟื้นฟูทวีปยุโรปหลังสงคราม และเป็นผู้นำในการก่อตั้งสหประชาชาติ
  • จอร์จ มาร์แชลล์ (George Marshall) เป็นจอมพลแห่งกองทัพบกสหรัฐและหัวหน้านายทหาร และ หลังจากสงคราม เขาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแห่งสหรัฐอเมริกา และเป็นผู้ริเริ่มแผนการมาร์แชลล์
  • วิลเลียม ดี ลีฮี (William D. Leahy) เป็นหัวหน้าฝ่ายเสนาธิการของผู้บัญชาการทหารสูงสุด และเจ้าหน้าที่นายทหารเรือชาวอเมริกัน ซึ่งดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่นายทหารอาวุโสที่สุดขององกองทัพสหรัฐที่ได้ปฏิบัติหน้าที่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ลีฮีได้ถูกเรียกตัวกลับมาทำหน้าที่ในฐานะหัวหน้าฝ่ายเสนาธิการส่วนตัวของประธานาธิบดี แฟรงคลิน ดี. โรสเวลต์ ใน ค.ศ. 1942 และดำรงตำแหน่งดังกล่าวตลอดช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เขาเป็นประธานคณะเสนาธิการ และเป็นผู้ตัดสินใจคนสำคัญในช่วงสงคราม
  • จอร์จ มาร์แชลล์ เป็นจอมพลและเสนาธิการทหารบกในช่วงสงคราม ในฐานะเสนาธิการทหารบก มาร์แชลล์ได้กำกับดูแลการขยายกำลังทหารครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์อเมริกา มาร์แชลล์ได้ประสานงานปฏิบัติการของฝ่ายสัมพันธมิตรในยุโรปและแปซิฟิก ภายหลังสงคราม มาร์แชลล์ได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและนำไปสู่ความพยายามในการฟื้นฟูยุโรปในช่วงหลังสงคราม ซึ่งต่อมาได้เป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า แผนมาร์แชลล์ เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพจากบทบาทหน้าที่ของเขาในการฟื้นฟู
  • เฮนรี เอช อาร์โนลด์ เป็นนายทหารยศพลเอกชาวอเมริกันที่ดำรงตำแหน่งจอมพล และต่อมาเป็นจอมพลอากาศ เขาได้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการแห่งกองทัพอากาศทหารบกสหรัฐในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง
  • เออร์เนสต์ คิง เป็นผู้บัญชาการทหารแห่งกองเรือสหรัฐ (ค.ศ. 1941-45) เช่นเดียวกับผู้บัญชาการยุทธนาวี (ค.ศ. 1942-45) และจอมพลเรือ (ตั้งแต่ ค.ศ. 1944)
  • คอร์เดล ฮัลล์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ตั้งแต่ ค.ศ. 1933 ถึง 1944 ฮัลล์เป็นผู้รับผิดชอบด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศช่วงก่อนการโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ เขาได้ส่งจดหมายฮัลล์ไปยังญี่ปุ่นในช่วงก่อนการโจมตี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามของสหรัฐที่จะเปิดตลาดจีนต่อสินค้าของสหรัฐเข้ามาแทนที่ผลประโยชน์ของญี่ปุ่นที่นั่น ภายหลังสงคราม เขาเป็นสถาปนิกคนสำคัญในการก่อตั้งองค์กรสหประชาชาติ และได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ
  • วิลเลียม เจ โดโนแวน เป็นผู้อำนวยการแห่งสำนักอำนวยการยุทธศาสตร์ (OSS) ตั้งแต่ ค.ศ. 1942 จนกระทั่งถูกยุบใน ค.ศ. 1945 โดโนแวนและโอเอสเอสได้มีหน้าที่รับผิดชอบในการรวบรวมข่าวกรองแก่กองทัพบก กองทัพเรือ และกระทรวงการต่างประเทศ จากการปฏิบัติหน้าที่ของเขา เขาได้รับเหรียญรับใช้ทหารอย่างยอดเยี่ยม (Distinguished Service Medal)
  • เจ. เอ็ดการ์ ฮูเวอร์ เป็นผู้อำนวยการของสำนักงานสอบสวนกลาง (FBI) ตั้งแต่ ค.ศ. 1935 ถึง 1972 ฮูเวอร์และเอฟบีไอได้มีหน้าที่รับผิดชอบด้านข่าวกรองในสหรัฐและอเมริกาใต้ในช่วงสงคราม ฮูเวอร์ประสบความสำเร็จในการกวาดล้างเครือข่ายสายลับนาซีในสหรัฐ

แนวรบด้านยุโรปและแอฟริกาเหนือ

ดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์
  • ดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์ (Dwight D. Eisenhower) หรือไอค์ (Ike) เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดของฝ่ายสัมพันธมิตรในทวีปยุโรป เขาเป็นผู้รับผิดชอบในการวางแผนและควบคุมดูแลการปลดปล่อยฝรั่งเศสและยุโรปด้วยการรุกรานนาซีเยอรมนี ภายหลังจากที่เยอรมนีได้ยอมแพ้โดยไม่มีเงื่อนไข ไอเซนฮาวร์ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ว่าการทหารในเขตยึดครองของสหรัฐ เจ็ดปีหลังสงคราม เขาได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีสหรัฐ
  • โอมาร์ แบรดลีย์ (Omar Bradley) เป็นจอมพลแห่งกองทัพบกสหรัฐในแอฟริกาเหนือและยุโรปในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เขานำกองทัพสหรัฐที่หนึ่งในช่วงปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ดและบุกครองยุโรป เขาได้รับเรียกขานอย่างไม่เป็นทางการว่า "นายพลของทหาร"
  • มาร์ค ดับเบิลยู คลาร์ก (Mark W. Clark) เป็นผู้บัญชาการฝ่ายสัมพันธมิตรในการทัพอิตาลี เขาได้นำกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรในการบุกครองอิตาลี ยุทธการที่อันซีโต และมอนเตกัสซีโน และเข้ายึดครองกรุงโรมในที่สุดใน ค.ศ. 1944 ซึ่งเป็นเมืองสำคัญสามแห่งแรกของฝ่ายอักษะได้ถูกยึดครอง
  • เจคอป แอล เดเวอร์ส (Jacob L. Devers) เป็นผู้บัญชาการทหารแห่งกองทัพกลุ่มที่หกในยุโรป เขาได้ทำหน้าที่ควบคุมการบุกครองทางตอนใต้ของฝรั่งเศสใน ค.ศ. 1944 ด้วยกองกำลังอเมริกันและฝรั่งเศส เดเวอร์สได้เคลียร์ที่อาร์ซัส คลายวงล้อมกอลมาร์พ็อกเกต ข้ามแม่น้ำไรน์ และยอมรับการยอมจำนนของกองกำลังเยอรมันในออสเตรีย ในช่วงแรก เขาเป็นผู้บัญชาการทหารในเขตสงครามเมดิเตอร์เรเนียน ในช่วงปลายฤดูร้อน ค.ศ. 1942 เขาได้"สลับงาน"กับจอมพลไอเซนฮาวร์ กลายเป็นผู้บัญชาการทหารในปฏิบัติการเขตสงครามยุโรป ส่งผลทำให้ไอค์ได้รับมอบหมายทำหน้าที่บัญชาการการบุกครองแฟริกาเหนือในปฏิบัติการคบเพลิง ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1942 ในช่วงต้นปี ค.ศ. 1943 เขาได้กลับมาทำหน้าที่เป็นผู้บัญชาการทหารในเขตสงครามเมดิเตอร์เรเนียนอีกครั้งเพื่อการบุกครองเกาะซิซิลี ประเทศอิตาลี และฝรั่เศลตอนใต้
  • จอห์น ซี เอช ลี (John C. H. Lee)เป็นผู้บัญชาการกองกำลังส่งกำลังบำรุงและกองลังพลทั้งหมดนปฏิบัติการเขตสงครามยุโรป เริ่มต้นตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1942 กองบัญชาการด้านการส่งกำลังบำรุงของเขาได้มีหน้าที่รับผิดชอบในการเพิ่มกำลังคนทั้งชายและหญิงจำนวนกว่าสามล้านคนในปฏิบัติการโบเลโร และยุทธภัณฑ์จำนวน 37 ล้านตันในสหราชอาณาจักร และส่งมอบกำลังบำรุงทั้งหมด 41 ล้านตันแก่กองกำลังรบทั้งหมด เขาได้ดำรงตำแหน่งเป็นรองผู้บัญชาการเขตสงครามฝ่ายส่งกำลังบำรุงและการบริหารแก่จอมพลไอเซนฮาวร์ และเขาเป็นผู้นำหน่วยเดียวที่ใหญ่ที่สุดในสงครามโลกครั้งที่สอง เขตการสื่อสาร หรือ Com-Z เป็นที่รู้จักในช่วงหลังดีเดย์ มีทหารจำนวร 435,000 นาย
  • จอร์จ เอส. แพตตัน (George S. Patton) เป็นหัวหน้านายพลระหว่างยุทธนาการในแอฟริกาเหนือ, เกาะซิซิลี, ฝรั่งเศส, เยอรมนีและทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
  • คาร์ล แอนดรูว์ สปาตซ์ (Carl Andrew Spaatz) เป็นผู้บัญชาการแห่งกองบัญชาการการรบทางอากาศด้วยยศพลอากาศตรีและอยู่ในกองบัญชาการโดยรวมของกองทัพอากาศทหารบกสหรัฐในปฏิบัติการเขตสงครามยุโรป
  • รอยัล อี อิงเกอร์โซลล์ (Royal E. Ingersoll) เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกองเรือแอตแลนติกของสหรัฐ ตั้งแต่ ค.ศ. 1942 จนถึงปลาย ค.ศ. 1944 เขาได้บัญชาการกองกำลังอเมริกันในช่วงยุทธนาวีแอตแลนติก และทำหน้าที่ควบคุมขบวนเรือขนส่งทหาร เสบียง กระสุน และเชื้อเพลิงไปยังสหราชอาณาจักรและเมดิเตอร์เรเนียน

แนวรบด้านแปซิฟิก

ดักลาส แมกอาร์เธอร์

ฟิลิปปินส์ เครือรัฐฟิลิปปินส์

มานูเอล เกซอน

ปวยร์โตรีโก เครือรัฐเปอร์โตริโก

จักรวรรดิบริติช จักรวรรดิอังกฤษและเครือจักรภพ

สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 แห่งสหราชอาณาจักร
วินสตัน เชอร์ชิล
เบอร์นาร์ด มอนต์โกเมอรี
หลุยส์ เมานต์แบ็ตเทน เอิร์ลเมานต์แบ็ตเทนที่ 1 แห่งพม่า

มาเลเซีย บริติชมลายา

นิวฟันด์แลนด์

รัฐปาเลสไตน์ ปาเลสไตน์ในอาณัติของอังกฤษ

เซาเทิร์นโรดีเชีย

ออสเตรเลีย เครือรัฐออสเตรเลีย

ประเทศแคนาดา แคนาดา

นิวซีแลนด์ นิวซีแลนด์

สหภาพโซเวียต สหภาพโซเวียต

โจเซฟ สตาลิน
เกออร์กี จูคอฟ
อีวาน โคเนฟ

ไต้หวัน สาธารณรัฐจีน

เจียง ไคเช็ค
เฉิน เฉิง (ขวาด้านหลัง) ขณะตรวจพลทหารพร้อมจอมทัพเจียง ไคเช็ค (ด้านหน้า)
  • เจียง ไคเช็ค - จอมทัพและผู้นำรัฐบาลชาตินิยม (ก๊กมินตั๋ง) ของ สาธารณรัฐจีน และเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งประเทศจีน
  • ซ่ง เหม่ย์หลิง - สุภาพสตรีหมายเลข 1 และเป็นภรรยาของนายพลเจียง ไคเช็ค เธอได้รวมรวมประชาชนในการต่อต้านการรุกรานของญี่ปุ่น
  • หลิน เซิน - เป็นประธาน(หรือประธานาธิบดี) แห่งรัฐบาลชาตินิยม ประมุขแห่งรัฐของจีน
  • เหอ ยิงฉิน เป็นหัวหน้าเสนาธิการทหารของสภาทหารแห่งชาติ
  • เฉิน เฉิง - เป็นนายพลแห่งกองทัพปฏิวัติแห่งชาติจีน และนักการเมืองคนสำคัญในสภาทหารแห่งชาติ
  • ไป่ ฉงซี - เป็นพันธมิตรใกล้ชิดของขุนศึกจากกวางสีนามว่า หลี่ ซ่งเริน และรองหัวหน้าเสนาธิการทหารของสภาทหารแห่งชาติ
  • หลี่ ซ่งเริน - เป็นอดีตขุนศึกจากกวางสีซึ่งต่อสู้รบร่วมกับเจียง ไคเชกในสงครามต่อต้านจีน
  • หยาน ซีซาน - เป็นอดีตขุนศึกจากชานซีซึ่งต่อสู้รบร่วมกับเจียง ไคเชกในสงครามต่อต้านจีน
  • เหว่ย หลี่ฮวง - เป็นนายพลแห่งกองทัพปฏิวัติแห่งชาติจีนและผู้บัญชาการแห่งกองกำลังรบนอกประเทศของจีน
  • เซฺว เยฺว่ - เป็นนายพลแห่งกองทัพปฏิวัติแห่งชาติจีนและผู้บัญชาการแห่งภูมิภาคทหารที่เก้า
  • แคลร์ ลี เชนโนลต์ - เป็นผู้บัญชาการของหน่วยพยัคฆ์บิน แต่เดิมเป็นที่ปรึกษาทางทหารของเจียงไคเช็ค
  • เหมา เจ๋อตุง - เป็นผู้นำ พรรคคอมมิวนิสต์จีน เข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับกองทัพรัฐบาลในการต่อต้านทหารญี่ปุ่น
  • จู เต๋อ - เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งกองทัพสายที่ 8 และเป็นผู้นำทหารระดับสูงภายในพรรคคอมมิวนิสต์จีน
  • เผิง เต๋อหวย - เป็นผู้บัญชาการทหารในช่วงการรุกร้อยกรมทหาร การรุกของคอมมิวนิสต์ขนาดใหญ่ในช่วงสงคราม

ประเทศฝรั่งเศส สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 (ถึง พ.ศ. 2483)

อาลแบร์ เลอเบริง

ประเทศฝรั่งเศส รัฐบาลชั่วคราวแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส (กองกำลังฝรั่งเศสเสรี ขบวนการฝรั่งเศสเสรี)

ชาร์ล เดอ โกล

ประเทศเบลเยียม ราชอาณาจักรเบลเยียม

สาธารณรัฐแห่งสหรัฐบราซิล

เฌตูลียู วาร์กัส

ประเทศเดนมาร์ก ราชอาณาจักรเดนมาร์ก

ประเทศกรีซ ราชอาณาจักรกรีซ

เม็กซิโก เม็กซิโก

มานูเอล อาวิลา คามาโช

ประเทศโปแลนด์สาธารณรัฐโปแลนด์ที่ 2 (ถึง พ.ศ. 2482)

รัฐบาลลับของโปแลนด์ (รัฐลับโปแลนด์)

ซาอุดีอาระเบีย ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย

ราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย

ยอซีป บรอซ ตีโต

เชโกสโลวาเกีย สาธารณรัฐเชโกสโลวาเกียเสรี

แอลเบเนียเสรี

ประเทศลักเซมเบิร์ก ราชรัฐลักเซมเบิร์ก

ประเทศนอร์เวย์ ราชอาณาจักรนอร์เวย์

ประเทศเนเธอร์แลนด์ ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์

สมเด็จพระราชินีนาถวิลเฮลมินาแห่งเนเธอร์แลนด์

เอธิโอเปีย จักรวรรดิเอธิโอเปีย

สมเด็จพระจักรพรรดิเฮลี เซลาสซีที่ 1 แห่งเอธิโอเปีย

อียิปต์ ราชอาณาจักรอียิปต์

อิหร่าน รัฐจักรวรรดิแห่งอิหร่าน

พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี

ไลบีเรีย สาธารณรัฐไลบีเรีย

รัฐบาลชั่วคราวแห่งสาธารณรัฐเกาหลี

คิม กู

หมายเหตุ

ดูเพิ่ม


Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!