สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ที่ 2 (Second Philippine Republic) หรือสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (ภาษาญี่ปุ่น : フィリピン共和国, ภาษาฟิลิปิโน : Republika ng Pilipinas) หรือสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ที่ญี่ปุ่นสนับสนุน (Japanese-sponsored Philippine Republic) เป็นรัฐหุ่นเชิด จัดตั้งเมื่อ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2486 ในช่วงที่ญี่ปุ่นเข้ายึดครอง ประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล เกซอน ได้ประกาศที่มะนิลา เมืองหลวงให้เป็นเมืองเปิด ปกครองโดยจอร์จ บี วาร์กัส ญี่ปุ่นเข้าเมืองได้เมื่อ 2 มกราคม พ.ศ. 2485 และตั้งมะนิลาเป็นเมืองหลวง ญี่ปุ่นเข้าสู่ฟิลิปปินส์อย่างเต็มที่เมื่อ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2485 หลังจากยุทธการคอร์เรกิดอร์
นายพลมาซาฮารุ ฮอมมา ได้ประกาศสลายเครือจักรภพฟิลิปปินส์ และจัดตั้งคณะกรรมการสูงสุดฟิลิปปินส์ (Komisyong Tagapagpaganap ng Pilipinas) และให้จอร์จ วาร์กัส เป็นประธานคนแรกในเดือนมกราคม พ.ศ. 2485 กาลิบาปี ซึ่งเป็นตัวย่อในภาษาตากาล็อก ขององค์กรบริหารแห่งฟิลิปปินส์ใหม่ (Kapisanan sa Paglilingkod sa Bagong Pilipinas) ก่อตั้งขึ้นโดยประกาศหมายเลข 109 ของคณะกรรมการสูงสุดฟิลิปปินส์ และประกาศเป็นกฎหมายเมื่อ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2485 คว่ำบาตรพรรคการเมืองทั้งหมดที่มีอยู่ และจัดตั้งพันธมิตรของรัฐบาลใหม่ พรรคกานับ ซึ่งเป็นพรรคนิยมญี่ปุ่นได้รวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของกาลิบาปี[ 2]
เอกราช
โฮเซ พี ลอเรล ประธานาธิบดีสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ที่ 2
ก่อนการจัดตั้งคณะกรรมการเตรียมการณ์ ญี่ปุ่นให้ทางเลือกที่จะให้ฟิลิปปินส์อยู่ภายใต้การปกครองของอาร์เตมีโอ รีการ์เต ผู้ที่ญี่ปุ่นพากลับมาจากโยโกฮามาเพื่อช่วยในการโฆษณาชวนเชื่อ อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการสูงสุดของฟิลิปปินส์ปฏิเสธทางเลือกนี้ และเลือกที่จะเป็นสาธารณรัฐ เมื่อนายกรัฐมนตรีฮิเดกิ โตโก มาเยือนฟิลิปปินส์เมื่อ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2486 เขาได้ให้สัญญาว่าจะให้เอกราชแก่ฟิลิปปินส์ในฐานะส่วนหนึ่งของวงไพบูลย์แห่งมหาเอเชียบูรพา [ 3]
กาลิบาปีได้จัดตั้งคณะกรรมการเตรียมการณ์เพื่อเอกราชฟิลิปปินส์เมื่อ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2486 [ 4] ร่างรัฐธรรมนูญที่เตรียมโดยคณะกรรมการที่มีสมาชิก 20 คน [ 5] นำโดย โฮเซ พี ลอเรล [ 6] ได้นำเสนอเมื่อ 4 กันยายน พ.ศ. 2486 และอีกสามวันต่อมา กาลิบาปีได้อนุมัติร่างนี้[ 5]
ในวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2486 ได้เลือกตัวแทนกาลิบาปีระดับจังหวัดและเมืองเป็นสมาชิกสภาแห่งชาติฟิลิปปินส์จำนวน 45 คน โดยผู้บริหารจังหวัดและเมืองเป็นสมาชิกร่วม สามวันหลังจากจัดตั้งสภาแห่งชาติ สภาได้เปิดประชุมและเลือกเบนิกโน เอส อากีโนเป็นโฆษกรัฐบาล และลอเรลเป็นประธานาธบดี ซึ่งเข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการในวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2486 ซึ่งถือเป็นการสถาปนาสาธารณรัฐ อดีตประธานาธิบดี เอเมลิโอ อากีนัลโด และนายพลอาร์เตมีโอ รีการ์เตได้ชักธงฟิลิปปินส์[ 5] ซึ่งเป็นธงเดียวกับที่ใช้ในสงครามฟิลิปปินส์-สหรัฐ[ 3] ในวันเดียวกันนั้น ได้มีการลงนามระหว่างสาธารณรัฐใหม่กับญี่ปุ่น และสภาแห่งชาติได้ให้สัตยาบันในอีกสองวันต่อมา
วงไพบูลย์แห่งมหาเอเชียบูรพา
ผู้เข้าร่วมวงไพบูลย์แห่งมหาเอเชียบูรพา ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2486 จากซ้ายไปขวา: นายกรัฐมนตรีพม่า บะ หม่อ , นายกรัฐมนตรีแห่ง แมนจูกัว จาง จิงฮุย , ประธานาธิบดีจีน (นานกิง) หวัง จิงเว่ย , นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ฮิเดกิ โตโจ , ตัวแทนประเทศไทย พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร , ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ โฮเซ พี ลอเรล , ประธานาธิบดีอินเดียอิสระ สุภาส จันทรา โภเซ
การประชุมวงไพบูลย์แห่งมหาเอเชียบูรพา (Greater East Asia Conference; 大東亜会議 Dai Tōa Kaigi?) เป็นการประชุมระดับนานาชาติ จัดขึ้นที่โตเกียวเมื่อ 5-6 กันยายน พ.ศ. 2486 ระหว่างรัฐที่เข้าร่วมในวงไพบูลย์แห่งมหาเอเชียบูรพา เนื้อหาหลักเป็นการแสดงแนวคิดของจักรวรรดิญี่ปุ่น ในการสร้างวงไพบูลย์แห่งเอเชียและปลดปล่อยเอเชียจากระบอบอาณานิคมของตะวันตก[ 7] การประชุมนี้เป็นจุดเปลี่ยนของนโยบายต่างประเทศและความสัมพันธ์ระหว่างญี่ปุ่นกับชาติในเอเชีย ความพ่ายแพ้ของญี่ปุ่นที่กัวดาคะแนล เพิ่มความกังวลในการกำจัดบทบาททางทหารของญี่ปุ่น ทำให้ญี่ปุ่นหันมาสร้างความร่วมมือมากกว่าการปกครองแบบอาณานิคม แต่ความพยายามนี้ล่าช้าเกินไปในการรักษาจักรวรรดิ ซึ่งได้ล่มสลายภายในเวลาไม่ถึง 2 ปีหลังการประชุม
ปัญหาของสาธารณรัฐ
ในระหว่างที่เป็นประธานาธิบดี ลอเรลต้องเผชิญกับปัญหามากมาย เช่น การขาดแคลนอาหาร เสื้อผ้า น้ำมัน และของจำเป็นอื่นๆ กองทัพญี่ปุ่นประจำการอยู่ทั่วประเทศ ญี่ปุ่นเข้าควบคุมการคมนาคมขนส่ง สื่อ และการสื่อสาร ลอเรพยายามแสดงถึงเอกราชของรัฐในการจัดการกับปัญหาเหล่านั้น
การขาดแคลนอาหาร
ในการจัดการกับปัญหาการขาดแคลนอาหาร เขาจัดให้มีตัวแทนสำหรับแจกจ่ายข้าว แม้ว่าข้าวส่วนใหญ่ถูกทหารญี่ปุ่นริบ มะนิลาเป็นหนึ่งในหลายสถานที่ที่ขาดแคลนอาหาร โดยเฉพาะระหว่างพายุไต้ฝุ่นขึ้นฝั่งเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2486 ประชาชนถูกบังคับให้ใช้ที่ดินปลูกผัก เช่น ผักบุ้ง [ 8] ญี่ปุ่นซึ่งต้องการเพิ่มผลผลิตข้าวในประเทศ ได้นำข้าวโฮไรซึ่งเป็นข้าวพันธุ์เบาที่เคยปลูกในไต้หวัน [ 9] ข้าวโฮไรนี่คาดว่าจะทำให้ฟิลิปปินส์มีข้าวเพียงพอใน พ.ศ. 2486 แต่ฝนตกหนักใน พ.ศ. 2485 ทำให้ไม่เกิดขึ้น[ 10]
เงินญี่ปุ่น
เงินสมัยญี่ปุ่นยึดครอง 500 เปโซฟิลิปปินส์
เริ่มใช้ใน พ.ศ. 2485 ในขนาด 1, 5, 10 และ 50 เกนตาโวส และ 1, 5, และ 10 เปโซ ในปีต่อมาได้ออกพันธบัตร 1, 5 และ 10 เปโซ ใน พ.ศ. 2487 ได้ออกขนาด 100 เปโซอีก และอีกไม่นานได้ออกขนาด 500 เปโซ ใน พ.ศ. 2488 ญี่ปุ่นได้ออกขนาด 1,000 เปโซ เงินเหล่านี้แม้จะพิมพ์ก่อนสงคราม แต่ก็เป็นที่รู้จักในฟิลิปปินส์ว่าเงินมิกกี้เมาส์เพราะมีคุณค่าต่ำ หนังสือพิมพ์ต่อต้านญี่ปุ่นได้ออกเรื่องล้อเลียนเกี่ยวกับการไปตลาดพร้อมขุดสูทแต่ใช้เงินญี่ปุ่น ใน พ.ศ. 2487 กล่องไม้ขีดมีต้นทุนมากกว่าเงิน 100 เปโซมิกกี้เมาส์[ 11] ใน พ.ศ. 2488 มันเทศ 1 กิโลกรัมมีราคาประมาณ 1000 เปโซมิกกี้เมาส์[ 12] เกิดเงินเฟ้อภายในประเทศถึง 60% ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2487[ 13]
การศึกษา
ทหารญี่ปุ่นแสดงโปสเตอร์ให้คำแนะนำในภาษาญี่ปุ่น
ญี่ปุ่นยอมให้ใช้ภาษาตากาล็อกเป็นภาษาประจำชาติ[ 14] มีการจัดทำคู่มือเรียนเร็ว มีการเปิดโรงเรียนขึ้นอีกครั้งหนึ่ง มีนักเรียนถึง 300,000 คน[ 15] มีการเผยแพร่วัฒนธรรมญี่ปุ่นและฟิลิปปินส์
สิ้นสุดสาธารณรัฐ
ประธานาธิบดีลอเรล โฆษกเบนิกโน อากีโน และโฮเซ่ ลอเรล III มอบตัวต่อสหรัฐที่สนามบินโฮซากาเมื่อ พ.ศ. 2488
ลอเรลประกาศกฏอัยการศึกเมื่อ 22 กันยายน พ.ศ. 2487[ 16] ในวันที่ 23 กันยายน สาธารณรัฐประกาศสงครามกับสหรัฐและอังกฤษอย่างเป็นทางการ [ 17] เมื่อสหรัฐยกทัพมาถึง รัฐบาลได้ย้ายฐานที่มั่นจากมะนิลาไปยังบากิโอ [ 18] สาธารณรัฐได้ประกาศสลายตัวอย่างเป็นทางการเมื่อ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2488[ 18]
อ้างอิง
↑ Section 60 of the Revised Motor Vehicle Law, Act No. 3992 "Drive on Left Side of Road. — Unless a different cause of action is required in the interest of the safety and security of life, person, or property, or because of unreasonable difficulty of operation in compliance herewith, every person operating a motor vehicle or guiding an animal drawn vehicle on a highway shall pass to the left when meeting persons or vehicles coming toward him, and to the right when overtaking persons or vehicles going the same direction, and, when turning to the right in going from one highway into another, every vehicle shall be conducted to the left of the center of the intersection of the highways."
↑ William J. Pomeroy, The Philippines: Colonialism, Collaboration, and Resistance , International Publishers Co, 1992, pp. 113-114
↑ 3.0 3.1 Kasaysayan: History of the Filipino People, Volume 7 . Reader's Digest. 1990.
↑ Aluit, Alphonso (1994). By Sword and Fire: The Destruction of Manila in World War II, 3 February-3 March 1945 . Bookmark, Inc.
↑ 5.0 5.1 5.2 "Jose P" . Angelfire. สืบค้นเมื่อ 2007-10-21 .
↑ "The Philippine Presidency Project" . Manuel L. Quezon III, et al. สืบค้นเมื่อ 2007-10-21 .
↑ Gordon, Andrew (2003). The Modern History of Japan: From Tokugawa Times to the Present . Oxford University Press. p. 211. ISBN 0-19-511060-9 . สืบค้นเมื่อ 2008-04-13 . [ลิงก์เสีย ]
↑ Joaquin, Nick (1990). Manila,My Manila . Vera-Reyes, Inc.
↑ Howe, Christopher (1999-12-15). The Origins of Japanese Trade Supremacy: Development and Technology in Asia . ISBN 9780226354866 . สืบค้นเมื่อ 17 January 2013 .
↑ Halili, M. C. (2004). Philippine History' 2004 Ed . ISBN 9789712339349 . สืบค้นเมื่อ 17 January 2013 .
↑ Agoncillo, Teodoro A. & Guerrero, Milagros C., History of the Filipino People , 1986, R.P. Garcia Publishing Company, Quezon City , Philippines
↑ Ocampo, Ambeth (2010). Looking Back 3: Death by Garrote . Anvil Publishing, Inc. pp. 22–25.
↑ Hartendorp, A. (1958) History of Industry and Trade of the Philippines, Manila: American Chamber of Commerce on the Philippines, Inc.
↑ "Constitution of the Second Philippine Republic" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2010-10-18. สืบค้นเมื่อ 17 January 2013 .
↑ Agoncillo, Teodoro (1974). Introduction to Filipino History . Garotech Publishing. pp. 217–218.
↑ "PROCLAMATION NO. 29" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2013-01-27. สืบค้นเมื่อ 17 January 2013 .
↑ JOSE P. LAUREL. "PROCLAMATION NO. 30" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2010-11-18. สืบค้นเมื่อ 25 January 2011 .
↑ 18.0 18.1 Ooi, Keat Gin (2004). Southeast Asia: a historical encyclopedia, from Angkor Wat to East Timor, Volume 1 . Santa Barbara, California: ABC-CLIO. p. 776. ISBN 978-1-57607-770-2 . สืบค้นเมื่อ 27 January 2011 .