จักรวรรดิเอธิโอเปีย

จักรวรรดิเอธิโอเปีย

መንግሥተ፡ኢትዮጵያ
Mangista Ityop'p'ya
1270–1974
ตราแผ่นดินของเอธิโอเปีย
ตราแผ่นดิน
คำขวัญኢትዮጵያ ታበፅዕ እደዊሃ ሃበ አግዚአብሐር
Ityopia tabetsih edewiha habe Igziabiher
"เอธิโอเปียยื่นมือของนางออกทูลพระเจ้า"
(สดุดี 68:31)
เพลงชาติኢትዮጵያ ሆይ
อิทโยปิยา ฮอย เดส ยิบิลิช[1]
"เอธิโอเปีย จงมีความสุข"
(1930–1974)
อาณาเขตของจักรวรรดิเอธิโอเปียในปี 1952
อาณาเขตของจักรวรรดิเอธิโอเปียในปี 1952
อาณาเขตของจักรวรรดิเอธิโอเปียในสมัยของ สมเด็จพระจักรพรรดิเมเนลิกที่ 2 (สีส้มเข้ม) เทียบกับอาณาเขตของเอธิโอเปียในปัจจุบัน (สีส้มอ่อน)
อาณาเขตของจักรวรรดิเอธิโอเปียในสมัยของ สมเด็จพระจักรพรรดิเมเนลิกที่ 2 (สีส้มเข้ม) เทียบกับอาณาเขตของเอธิโอเปียในปัจจุบัน (สีส้มอ่อน)
สถานะสมบูรณาญาสิทธิราชย์
เมืองหลวงมีราชธานีหลายแห่ง
อาดดิสอาบาบา (แห่งสุดท้าย)
ศาสนา
ศาสนจักรเอธิโอเปียออร์ทอดอกซ์
การปกครองสมบูรณาญาสิทธิราชย์
จักรพรรดิ 
• 1270-1285
เยคุโน แอมลัก (องค์แรก)
• 1930-1974
เฮลี เซลาสซีที่ 1 (องค์สุดท้าย)
นายกรัฐมนตรี 
• 1942–1957
Makonnen Endelkachew
• 1974
Mikael Imru
ยุคประวัติศาสตร์แอฟริกา
• ก่อตั้ง
1270
• การยึดครองของอิตาลี
1936-1941
• เป็นที่ยอมรับของสหประชาชาติ
13 พฤศจิกายน 1945
12 กันยายน 1974
• ระบอบจักรพรรดิถูกล้มเลิก
21 มีนาคม 1975
ก่อนหน้า
ถัดไป
ราชอาณาจักรอักซุม
เดร์ก
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของเอธิโอเปีย
เอริเทรีย

จักรวรรดิเอธิโอเปีย หรือที่รู้จักกันในประวัติศาสตร์ในชื่อ อะบิสซิเนีย เป็นจักรวรรดิที่ตั้งอยู่ในเขตประเทศเอธิโอเปียและเอริเทรียในปัจจุบัน ในช่วงที่รุ่งเรืองสูงสุดนั้นอาณาเขตของจักรวรรดิได้แผ่ขยายไปถึงอียิปต์ตอนใต้ ซูดานภาคตะวันออก เยเมน และซาอุดิอาระเบียภาคตะวันตก และดำรงอยู่ในหลายหลายลักษณะนับตั้งแต่การสถาปนาเมื่อราว 980 ปี ก่อน ค.ศ. จนกระสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1974 ด้วยการรัฐประหารล้มล้างระบอบราชาธิปไตย กล่าวได้ว่ารัฐแห่งนี้เป็นรัฐที่ดำรงอยู่มาอย่างต่อเนื่องยาวนานที่สุดในโลก [2][3] และเป็นชาติแอฟริกาเพียงชาติเดียวที่สามารถดำรงเอกราชและอธิปไตยของตนเองได้ในยุคแห่งการล่าอาณานิคมในแอฟริกาโดยชาติตะวันตกระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19

การเมืองการปกครอง

เมื่อระบบศักดินากลายเป็นหลักการสำคัญในจักรวรรดิเอธิโอเปีย ระบบนี้ได้พัฒนาเป็นระบบเผด็จการที่มีความไม่เท่าเทียมกันทางสังคมในรูปแบบสถาบัน เมื่อที่ดินกลายเป็นสินค้าหลัก การได้มาซึ่งที่ดินก็กลายเป็นแรงผลักดันหลักที่อยู่เบื้องหลังลัทธิจักรวรรดินิยม โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่รัชสมัยของเมเลนิกที่ 2 เป็นต้นมา

ส่วนหนึ่งของความพยายามในการปรับปรุงให้ทันสมัยของจักรพรรดิเฮลี เซลาสซี ระบอบการปกครองแบบราชาธิปไตยแบบดั้งเดิมได้รับการปฏิรูปผ่านการแนะนำของรัฐธรรมนูญปี 1931 และ 1955 ซึ่งนำเสนอระบบรัฐสภาแบบรวมที่มีสองสภานิติบัญญัติ: สภาวุฒิสภา (Yeheggue Mewossegna Meker Beth) และสภาผู้แทนราษฎร (เยเฮกเก เมเมรียา เมเคอร์เบธ). ภายใต้รัฐธรรมนูญ 1956 มาตรา 56 ห้ามมิให้ผู้ใดเป็นสมาชิกของทั้งสองสภาพร้อม ๆ กัน ซึ่งจะประชุมกันในตอนเริ่มต้นหรือตอนสิ้นสุดของแต่ละสมัย [4][5]

ในโครงสร้างรัฐสภา สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิก 250 คนที่ได้รับการเลือกตั้งทุก ๆ สี่ปี ในขณะที่วุฒิสภาประกอบด้วยผู้แทนครึ่งหนึ่ง (125 คน) และได้รับการแต่งตั้งจากจักรพรรดิทุก ๆ หกปี

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

เชิงอรรถ
  1. www.nationalanthems.info
  2. http://www.bigsiteofamazingfacts.com/which-is-the-oldest-nation-on-earth
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-29. สืบค้นเมื่อ 2010-09-16.
  4. Lewis, William H. (1956). "The Ethiopian Empire: Progress and Problems". Middle East Journal. 10 (3): 257–268. ISSN 0026-3141.
  5. https://chilot.files.wordpress.com/2011/04/ethiopian-constitution-of-1931.pdf
บรรณานุกรม

แหล่งข้อมูลอื่น

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!