จักรวรรดิบัลแกเรียที่ 1

จักรวรรดิบัลแกเรียที่ 1

Първo българско царство
Părvo bălgarsko tsarstvo
ค.ศ. 632–ค.ศ. 1018
บัลแกเรียเมื่อรุ่งเรืองที่สุดราวปี ค.ศ. 920 ภายใต้ซิเมียนมหาราช
บัลแกเรียเมื่อรุ่งเรืองที่สุดราวปี ค.ศ. 920 ภายใต้ซิเมียนมหาราช
สถานะจักรวรรดิ
เมืองหลวงพลิสคา(680–893)
เพรสสลาฟ(ค.ศ. 893–972)
Skopje (972–992)
โอห์ริด (ค.ศ. 992–1018)
ภาษาทั่วไปบัลการ์
บัลแกเรียโบราณ ไช้เป็นภาษาทางการเมื่อปี ค.ศ. 864
ศาสนา
Tengrism(ศาสนาประจำรัฐ) และ ลัทธิเพเกินสลาวิค (ค.ศ. 632-864)
ต่อมาเปลี่ยนมานับถือ คริสเตียนออร์โธด็อกซ์ (ค.ศ. 864-1018)
การปกครองสมบูรณาญาสิทธิราช
ข่าน/ซาร์ (จักรวรรดิ) 
• ค.ศ. 632-665
คูบรัต
• ค.ศ. 1018
เพรเซียนที่ 2
ยุคประวัติศาสตร์ยุคกลาง
• ก่อตั้ง
ค.ศ. 632
• การมาถึงของอัสพารุคห์แห่งบัลแกเรีย
ค.ศ. 680
ค.ศ. 864
• ตกไปเป็นของจักรวรรดิไบแซนไทน์
ค.ศ. 1018
• สิ้นสุด
ค.ศ. 1018
พื้นที่
คริสต์ศตวรรษที่ 10815,000 ตารางกิโลเมตร (315,000 ตารางไมล์)
ประชากร
• คริสต์ศตวรรษที่ 10
4000000
ก่อนหน้า
ถัดไป
บัลแกเรียเก่า
จักรวรรดิบัลแกเรียที่ 2

จักรวรรดิบัลแกเรียที่ 1 (อังกฤษ: First Bulgarian Empire, บัลแกเรีย: Първo Българско царство, Părvo Bălgarsko Tsarstvo) เป็นอาณาจักรในยุคกลางของบัลแกเรียที่ก่อตั้งในปี ค.ศ. 632 ในบริเวณใกล้สามเหลี่ยมปากแม่น้ำดานูป (Danube Delta) และสลายตัวลงเมื่อปี ค.ศ. 1018 หลังจากที่ถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิไบแซนไทน์ ในสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดจักรวรรดิบัลแกเรียครอบคลุมบริเวณตั้งแต่บูดาเปสต์ ไปจนถึงทะเลดำ และจากแม่น้ำนีพเพอร์ในยูเครนปัจจุบันไปจนถึงทะเลเอเดรียติค จักรวรรดิบัลแกเรียที่ 1 มาแทนที่ด้วยจักรวรรดิบัลแกเรียที่ 2 ที่ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1185 ชื่อทางการของประเทศตั้งแต่ตั้งมาคือ “บัลแกเรีย”[1]

จักรวรรดิบัลแกเรียมีบทบาทสำคัญในทางการเมืองของยุโรปและเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความแข็งแกร่งทางการทหารในบรรดาประเทศในยุคเดียวกัน ระหว่างปี ค.ศ. 717 ถึงปี ค.ศ. 718 พันธมิตรไบแซนไทน์และบัลแกเรียก็ได้รับชัยชนะต่ออาหรับอย่างเด็ดขาดในการล้อมเมืองคอนสแตนติโนเปิลซึ่งเป็นการช่วยให้ยุโรปตะวันออกรอดจากการถูกรุกรานโดยอาหรับและมุสลิม ต่อมาก็ได้ได้รับชัยชนะต่อข่านแห่งกลุ่มสหพันธ์ยูเรเชียอาวาร์ และขยายดินแดนไปยังที่ราบแพนโนเนียน (Pannonian Plain) และเทือกเขาทาทรา บัลแกเรียเป็นด่านอันมั่นคงในการต่อต้านการรุกรานที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งจากชนโนแมดจากตะวันออกระหว่างยุคที่เรียกว่าสมัยการโยกย้ายถิ่นฐานในยุโรปครั้งที่สอง บัลแกเรียหยุดยั้งการรุกรานของชนเพเชเนกส์ (Pechenegs) และชนคูมันส์ (Cumans) ไว้ที่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของบัลแกเรีย และหลังจากที่ได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาดต่อแม็กยาร์สในปี ค.ศ. 896 ผู้ถอยไปตั้งหลักแหล่งอย่างถาวรในบริเวณแพนโนเนีย

ทางด้านใต้ในระหว่างสงครามไบแซนไทน์–บัลแกเรีย บัลแกเรียก็ผนวกบริเวณดินแดนของสลาฟในเธรซ และบริเวณมาซิโดเนีย หลังจากที่กองทัพไบแซนไทน์ถูกทำลายล้างยุทธการอันเคียลัส (battle of Anchialus) ในปี ค.ศ. 917 แล้วจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ก็แทบจะล่มสลาย

ชนบัลการ์นำวิธีการก่อสร้างใหม่ ๆ และยุทธวิธีในการสงครามมาสู่ยุโรป เมืองบัลแกเรียเมืองแรก ๆ สร้างด้วยหินซึ่งต่างจากการสร้างป้อมปราการด้วยอิฐของโรมัน เมืองหลวงพลิสคา (Pliska) ที่มีเนื้อที่ 27 ตารางกิโลเมตรเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดเมืองหนึ่งในยุโรป ตัวเมืองมีระบบสาธารณูปโภคและพื้นอุ่นมานานก่อนเมืองเช่นปารีสและลอนดอน หลังจากรับนับถือคริสต์ศาสนาในปี ค.ศ. 864 แล้วบัลแกเรียก็กลายเป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรมของยุโรปสลาฟ วัฒนธรรมยิ่งวิวัฒนาการเพิ่มขึ้นเมื่อมีการประดิษฐ์อักขระซิริลลิคในเพรสลาฟ ที่บางแหล่งเชื่อกันว่าโดยผู้คงแก่เรียนบัลแกเรียชื่อเคลเมนต์แห่งโอห์ริด (Clement of Ohrid) นักประวัติศาสตร์บางคนกล่าวว่าสถานศึกษาแห่งเพรสลาฟและโอห์ริดเป็นสองมหาวิทยาลัยที่สองที่ก่อตั้งขึ้นในยุโรปหลังจากมหาวิทยาลัยคอนสแตนติโนเปิล

อ้างอิง

  1. П. Хр. Петров, Към въпроса за образуването на първата българска държава, Славянска филология, V, София, 1963, стр. 89—112

ดูเพิ่ม

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!