รูป
|
ชื่อ
|
ช่วงชีวิต
|
หมายเหตุ
|
|
อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (Adolf Hitler) |
20 เมษายน ค.ศ. 1889 - 30 เมษายน ค.ศ. 1945 |
ผู้นำนาซีเยอรมนี ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแห่งเยอรมนีตั้งแต่ ค.ศ. 1933 ต่อมาตั้งตนเป็นฟือเรอร์ (ผู้นำ) ฮิตเลอร์เป็นผู้บัญชาการกองทัพเยอรมันทั้งหมด และมีอิทธิพลอย่างมากต่อการทำสงครามของเยอรมนี และ นโยบายด้านการต่างประเทศตามลัทธินาซี เขาก่ออัตวินิบาตกรรมในวันที่ 30 เมษายน ค.ศ. 1945
|
|
ไฮน์ริช ฮิมม์เลอร์ (Heinrich Himmler) |
7 ตุลาคม ค.ศ. 1900 - 23 พฤษภาคม ค.ศ. 1945 |
ผู้บัญชาการหน่วยเอสเอสและหน่วยตำรวจลับเกสตาโป มีส่วนรู้เห็นต่อการสร้างค่ายกักกันชาวยิวในทวีปยุโรป เขาก่ออัตวินิบาตกรรมระหว่างถูกจับกุมโดยกองทัพอังกฤษด้วยไซยาไนด์
|
|
แฮร์มันน์ เกอริง (Hermann Göring) |
12 มกราคม ค.ศ. 1893 - 15 ตุลาคม ค.ศ. 1946 |
ผู้บัญชาการกองทัพอากาศ ได้รับเหรียญกางเขนเหล็กชั้นที่หนึ่งในความเป็นผู้นำที่ยอดเยี่ยม เขาถูกจัดเป็นอาชญากรสงครามอันดับที่ 3 ในการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ก เขาก่ออัตวินิบาตกรรมด้วยไซยาไนด์ก่อนที่จะถูกประหารชีวิตไม่กี่ชั่วโมง
|
|
โยเซฟ เกิบเบลส์ (Joseph Goebbels) |
29 ตุลาคม ค.ศ. 1897 - 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1945 |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงโฆษณาการ (Ministry for Popular Enlightenment and Propaganda) ตั้งแต่ พ.ศ. 2476 - 2488 เป็นคนใกล้ชิดและผู้ติดตามคนสนิทของฮิตเลอร์ มีอิทธิพลอย่างมากต่อกำลังใจและการเตรียมตัวของประชาชนชาวเยอรมัน ต่อมาได้รับเลือกให้เป็นมุขมนตรีแห่งเยอรมนี ก่อนหน้าที่เขาจะก่ออัตวินิบาตกรรมเพียงหนึ่งวัน
|
|
รูดอล์ฟ เฮสส์ (Rudolf Hess) |
26 เมษายน ค.ศ. 1894 - 17 สิงหาคม ค.ศ. 1987 |
รองหัวหน้าพรรคนาซีและผู้ช่วยของฮิตเลอร์ในพรรคนาซี เขาได้บินเดี่ยวไปยังสกอตแลนด์ในความพยายามที่จะเจรจาสันติภาพกับสหราชอาณาจักร แต่เขาถูกจับกุมและตกเป็นเชลยศึก เฮสส์ถูกพิจารณาที่เนือร์นแบร์กและถูกตัดสินจำคุกตลอดชีวิต ที่เรือนจำสพันเดา กรุงเบอร์ลิน และเสียชีวิตในเรือนจำแห่งนี้ใน ค.ศ. 1987
|
|
เอริช แรดเดอร์ (Erich Raeder) |
24 เมษายน ค.ศ. 1876 - 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1960 |
จอมพลเรือ (Großadmiral) และผู้บัญชาการใหญ่กองทัพเรือ แห่งนาซีเยอรมนี หรือครีคส์มารีเนอ (Kriegsmarine) ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2482 - 30 มกราคม พ.ศ. 2486
|
|
คาร์ล เดอนิทซ์ (Karl Dönitz) |
16 กันยายน ค.ศ. 1891 - 24 ธันวาคม ค.ศ. 1980 |
เป็นจอมพลเรือและผู้บัญชาการใหญ่กองทัพเรือต่อจากแรดเดอร์ และเป็นประธานาธิบดีแห่งเยอรมนีเป็นเวลา 23 วันหลังจากการตายของฮิตเลอร์ เป็นผู้บัญชาการกองเรืออูระหว่างยุทธบริเวณมหาสมุทรแอตแลนติก
|
|
ไฮนซ์ กูเดเรียน (Heinz Guderian) |
17 มิถุนายน ค.ศ. 1888 - 14 พฤษภาคม ค.ศ. 1954 |
พลเอกอาวุโสแห่งกองทัพบกนาซีเยอรมนี เขาเป็นผู้คิดค้นยุทธการสายฟ้าแลบ (บลิทซครีก) เป็นผู้บัญชาการกองทัพเยอรมันจำนวนมากในช่วงต้นของสงคราม ต่อมาได้เป็นหัวหน้าเสนธิการของกองทัพภายหลังเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1944
|
|
เกิร์ด ฟอน รุนด์ชเทดท์ (Karl Rudolf Gerd von Rundstedt) |
12 ธันวาคม ค.ศ. 1875 – 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1953 |
จอมพลแห่งกองทัพเยอรมันในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ผู้ได้รับสมญานามว่า "อัศวินดำ" (Black Knight) เขาเป็นผู้รวบรวมกองกำลังเพื่อรับมือกับปฏิบัติการมาร์เก็ตการ์เดนของฝ่ายสัมพันธมิตรอย่างรวดเร็วและได้รับชัยชนะ
|
|
เออร์วิน รอมเมล (Erwin Rommel) |
15 พฤศจิกายน ค.ศ. 1891 – 14 ตุลาคม ค.ศ. 1944 |
ผู้บัญชาการกองทัพแอฟริกาและเป็นที่รู้จักกันดีในฉายา "จิ้งจอกทะเลทราย" ได้รับการยกย่องอย่างสูงจากทุกฝ่ายแม้แต่ฝ่ายศัตรู ภายหลังได้รับเลือกให้บัญชาการทหารเยอรมันระหว่างยุทธการแห่งนอร์มังดี รอมเมลถูกบังคับให้ทำอัตวินิบาตกรรมโดยฮิตเลอร์
|
|
โรแบร์ท ฟ็อน ไกรม์ (Robert von Greim) |
22 มิถุนายน ค.ศ. 1892 – 24 มิถุนายน ค.ศ. 1945 |
เป็นจอมพลอากาศและผู้บัญชาการแห่งกองทัพอากาศต่อจากเกอริง ต่อมาหลังจากที่เยอรมันได้ยอมจำนนต่อสัมพันธมิตร ไกรม์ถูกจับเป็นเชลยโดยกองทัพสหรัฐ ต่อมาเขาได้ทำอัตวินิบาตกรรมในเรือนจำ
|
|
อัลแบร์ท เค็สเซิลริง (Albert Kesselring) |
30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1885 – 16 กรกฎาคม ค.ศ. 1960 |
เป็นจอมพลอากาศแห่งลุฟท์วัฟเฟอ
|
|
ว็อล์ฟรัม ฟ็อน ริชท์โฮเฟิน (Wolfram von Richthofen) |
10 ตุลาคม ค.ศ. 1895 – 12 กรกฎาคม ค.ศ. 1945 |
เป็นจอมพลอากาศแห่งลุฟท์วัฟเฟอ
|
|
ฮูโก ชแปร์เลอ (Hugo Sperrle) |
7 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1885 – 2 เมษายน ค.ศ. 1953 |
เป็นจอมพลอากาศแห่งลุฟท์วัฟเฟอ
|
|
แอร์ฮาร์ท มิลช์ (Erhard Milch) |
30 มีนาคม ค.ศ. 1892 – 25 มกราคม ค.ศ. 1972 |
เป็นจอมพลอากาศแห่งลุฟท์วัฟเฟอ
|
|
ฮันส์-เกออร์ค ฟ็อน ฟรีเดอบวร์ค (Hans-Georg von Friedeburg) |
15 กรกฎาคม ค.ศ. 1895 – 23 พฤษภาคม ค.ศ. 1945 |
เป็นพลเรือเอกอาวุโสและผู้บัญชาการใหญ่กองทัพเรือคนสุดท้ายต่อจากเดอนิทซ์ ฟรีเดอบวร์คเป็นคนเดียวที่เป็นตัวแทนของกองกำลังที่จะนำเสนอในการลงนามในตราสารยอมจำนนของเยอรมนีในเมืองแร็งส์เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม ค.ศ. 1945 และในเบอร์ลินเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1945 ต่อมาเขาได้กระทำอัตวินิบาตกรรมภายหลังจากการล่มสลายของรัฐบาลเฟล็นส์บวร์ค
|
|
วัลเทอร์ ฟ็อน เบราคิทช์ (Walther von Brauchitsch) |
4 ตุลาคม ค.ศ. 1881 – 18 ตุลาคม ค.ศ. 1948 |
เป็นจอมพลและผู้บัญชาการใหญ่กองทัพบกเยอรมันในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1938 จนถึงเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1941 ต่อมาฮิตเลอร์ได้ปลดเขาออกจากตำแหน่งไปประจำอยู่ในกำลังสำรอง เนื่องจากปัญหาด้านสุขภาพจากโรคหัวใจ ต่อมาเขาถูกจับกุมและนำตัวขึ้นพิจารณาคดีข้อหาอาชญากรรมสงคราม แต่ระหว่างที่คดีของเขายังไม่ถูกพิพากษา เขาก็เสียชีวิตในวันที่ 18 ตุลาคม ค.ศ. 1948
|
|
แฟร์ดีนันท์ เชอร์เนอร์ (Ferdinand Schörner) |
22 มิถุนายน ค.ศ. 1892 – 2 กรกฎาคม ค.ศ. 1973 |
เป็นจอมพลคนสุดท้ายของนาซีเยอรมนี และได้ขึ้นดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการใหญ่กองทัพบกต่อจากฮิตเลอร์ในสัปดาห์สุดท้ายของสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป
|
|
วิลเฮ็ล์ม ไคเทิล (Wilhelm Keitel) |
22 กันยายน ค.ศ. 1882 - 16 ตุลาคม ค.ศ. 1946 |
จอมพลและหัวหน้ากองบัญชาการใหญ่แห่งแวร์มัคท์ จอมพลไคเทิลเป็นผู้ลงนามในตราสารยอมจำนนของเยอรมนีเพื่อยุติสงคราม
|
|
อัลเฟรท โยเดิล (Alfred Jodl) |
10 พฤษภาคม ค.ศ. 1890 - 16 ตุลาคม ค.ศ. 1946 |
พลเอกอาวุโสและเสนาธิการกิจการทหารแห่งแวร์มัคท์ จอมพลโยเดิลได้รับมอบอำนาจจากประธานาธิบดีคาร์ล เดอนิทซ์ เพื่อได้ลงนามตราสารยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขต่อฝ่ายสัมพันธมิตร ในปี ค.ศ. 1945
|