การบุกครองอินโดจีนฝรั่งเศสของญี่ปุ่น

การบุกครองอินโดจีนฝรั่งเศส
ส่วนหนึ่งของ สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 2 และ สงครามโลกครั้งที่สอง

ทหารแห่งกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นได้รุกเข้าสู่หลั่งเซิน ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1940 ในอินโดจีนฝรั่งเศส
วันที่22–26 กันยายน 1940
สถานที่
ผล ชัยชนะของญี่ปุ่น
ดินแดน
เปลี่ยนแปลง
ญี่ปุ่นปกครองอินโดจีนฝรั่งเศสตอนเหนือ
คู่สงคราม
 ญี่ปุ่น

 ฝรั่งเศส

ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
จักรวรรดิญี่ปุ่นอาเกโตะ นากามูระ
จักรวรรดิญี่ปุ่นทาคุมะ นิชิมูระ
มอว์ไรส์ มาร์ติน
กำลัง
36,000 คน 3,000 คน ทหารเวียดนาม40,000คน
ความสูญเสีย
1000 เสียชีวิตและบาดเจ็บ[1] 824 เสียชีวิต

การบุกครองอินโดจีนฝรั่งเศสของญี่ปุ่น(仏印進駐 Futsu-in shinchū) เป็นการเผชิญหน้าทางทหารในช่วงระยะสั้นระหว่างจักรวรรดิญี่ปุ่นและรัฐฝรั่งเศสในทางตอนเหนือของอินโดจีนฝรั่งเศส การต่อสู้ได้ดำเนินตั้งแต่วันที่ 22 ถึง 26 กันยายน ค.ศ. 1940 พร้อมกับยุทธการที่กวางสีตอนใต้ในสงครามจีน-ญี่ปุ่น

เป้าหมายหลักของญี่ปุ่นคือการขัดขวางต่อสาธารณรัฐจีนจากการนำเข้าอาวุธและเชื้อเพลิงผ่านทางอินโดจีนฝรั่งเศสที่ไปตามเส้นทางรถไฟสายคุนหมิง-ไฮฟอง จากท่าเรือไฮฟองของอินโดจีน ผ่านทางเมืองหลวงของฮานอยถึงเมืองคุนหมิงในยูนนานของจีน[2]

แม้ว่าจะมีการตกลงกันระหว่างรัฐบาลฝรั่งเศสและญี่ปุ่นก่อนการสู้รบ ผู้มีอำนาจไม่สามารถควบคุมเหตุการณ์บนพื้นดินได้เป็นเวลาหลายวันก่อนที่ทหารจะหยุดยิง ตามข้อตกลงก่อนหน้านี้, ญี่ปุ่นได้รับอนุญาตให้ครองเมืองตังเกี๋ยในทางตอนเหนือของอินโดจีนและปิดกั้นจีนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เบื้องหลัง

ในช่วงต้นปี 1940 กองทัพของจักรวรรดิญี่ปุ่น ได้ลงมาถึงตอนใต้ของมณฑลกวางสีในเขตเมืองหลงชู ซึ่งเป็นสถานที่ที่ทางหนึ่งของทางรถไฟสายคุณหมิง-ไฮฟอง โดยอยู่บริเวณเขตชายแดนกับเมืองพิงเซียง ซึ่งในตอนนั้นกำลังตัดทางรถไฟไปทางตะวันตกอันเป็นทางไปเมืองคุณหมิง ซึ่งทางรถไฟสายนี้เป็นทางที่สำคัญที่สุดที่รัฐบาลจีนจะสามารถติดต่อออกสู่ภายนอกได้อย่างปลอดภัยที่สุด

ในช่วงวันที่ 20 มิถุนายนปี 1940 ฝรั่งเศสเริ่มเพลี้ยพร้ำจากการบุกของเยอรมันเข้าไปทุกที ก่อนที่ในอีกไม่กี่วันต่อมารัฐบาลฝรั่งเศสออกเสียงส่งให้จอมพลฟีลิป เปแต็งขึ้นสู่ตำแหน่งประธานาธิบดีหลังการประกาศยอมแพ้ต่อนาซีเยอรมัน ซึ่งนี่นำไปสู่การล่มของสาธารณรัฐที่ 3 ชาวเมืองฝรั่งเศสส่วนมากยอมจำนนต่อเยอรมันแต่โดยดี ซึ่งกลุ่มรัฐบาลอาณานิคมตามที่ต่างๆ ก็ให้การสนับสนุนอำนาจของฟิลิป เปแต็งที่วีชี นำไปสู่การตั้งวิชีฝรั่งเศสนั่นเอง แต่ชาวฝรั่งเศสก็ไม่ได้ยอมจำนนต่อเยอรมันไปเสียหมด ชาวฝรั่งเศสส่วนหนึ่งอันนำโดยชาร์ล เดอ โกลได้หนีไปตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นหรือฝรั่งเศสเสรีที่อังกฤษ

การเจรจาระหว่างจักรวรรดิญี่ปุ่น-ฝรั่งเศส

ในวันที่ 19 มิถุนายน เมื่อฝรั่งเศสพ่ายแพ้นาซีเยอรมันในสมรถูมิยุโรป จักรวรรดิญี่ปุ่นได้ใช้โอกาสนี้ในการจะบุกอาณานิคมอินโดจีนของฝรั่งเศส โดยจักรวรรดิญี่ปุ่นที่กำลังติดพันกับศึกที่จีนอยู่นั้นได้ยื่นข้อเสนอแกมบังคับไปให้ ฌอร์ฌ คาทรู ข้าหลวงใหญ่แห่งอินโดจีนของฝรั่งเศสให้ยกเลิกการขนส่งเสบียงและอาวุธผ่านทางรถไฟไปให้จีน รวมทั้งยังให้ทหารอีก 40 นายภายใต้การประจำการของพลเอกอิสซึกุ นิชิฮาระ เข้าไปตรวจสอบภายในรัฐด้วย อเมริกานั้นเมื่อทราบข่าวก็เตือนไปถึงข้าหลวงของอินโดจีนว่าญี่ปุ่นเป็นพันธมิตรกับนาซีเยอรมัน การยอมทำตามอาจทำให้อินโดจีนของฝรั่งเศสสูญเสียอำนาจอธิปไตยไปได้ แต่ทว่ากองเรือและกองทัพบกของญี่ปุ่นก็จ่อเตรียมจะบุกเข้าไปทุกทีแล้ว แม้ฌ็อง เดอกูจะไม่อยากทำตามข้อเสนอของญี่ปุ่น แต่อาณานิคมนี้ก็ไม่สามารจะต่อกรกับการต่อสู้ระยะยาวได้ ฌ็อง เดอกูจึงต้องจำใจยอมทำตามคำขาดของญี่ปุ่นโดยรถไฟขบวนสุดท้ายที่ไปคุนหมิงนั้นเดินทางในวันที่ 20 หลังจากนั้นฌอร์ฌ คาทรูก็ลาออกจากตำแหน่งแทบจะในทันที

ฌ็อง เตอกูขึ้นมารับตำแหน่งข้าหลวงใหญ่แห่งอินโดจีนในเวลาต่อมา เขาพยายามจะดำเนินนโยบายโดยสานต่อกับสิ่งที่ข้าหลวงคนก่อนทำแต่ทว่ารัฐบาลจักรวรรดิญีปุ่นกลับยื่นคำขาดรอบที่สองเข้ามาอีก โดยการขอใช้ท่าเรือในทางใต้ของกวางโจวอันเป็นส่วนหนึ่งของอาณานิคมอินโดจีนให้มันเป็นฐานทัพเรือของญี่ปุ่น รวมทั้งให้ปิดชายแดนกับจีนเต็มรูปแบบ ในช่วงนี้เป็นช่วงที่กองทหารของพลเอกนิชิฮาระเข้ามาที่กรุงฮานอยพอดี ซึ่งเป็นเรื่องที่แปลกที่ชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าเขานั้นมาทำไมแม้แต่ตัวของเขาเองก็ยังไม่รู้เหมือนกัน แต่เรื่องนี้ดูเหมือนจะไม่ไดแป็นที่สนใจมากเท่าไหร่ เพราะเมื่อข้อเสนอครั้งที่สามถูกส่งมาถึงมือของเตอกูมันคือการคุกคามอธิปไตยของฝรั่งเศสในภูมิภาคอินโดจีนชัดๆ เพราะคำขาดนี้คือการที่รัฐบาลญี่ปุ่นมีสิทธิ์ในการตั้งฐานทัพอากาศภายในอินโดจีนได้

ภายในรัฐบาล เตอกูพยายามที่จะโน้มน้าวกับคณะรัฐบาลให้ต่อต้านการเข้ามาและคำขาดของญี่ปุ่น แม้ลึกๆแล้วเขาเองก็เชื่อว่ารัฐบาลอาณานิคมไม่สามารถเอาชนะและหยุดยั้งการรุกรานของญี่ปุ่นได้ แต่เขาก็เชื่อว่า การเจรจาที่เข้มแข็งภายในรัฐบาลจะทำให้ญี่ปุ่นไม่กล้ารุกรานได้ ซึ่งรัฐบาลวิชีนั้นก็ได้ให้คำปรึกษาแกเขาในฐานะผู้นำรัฐบาลอาณานิคมให้ต่อต้านการเข้ามาของญี่ปุ่น โดยให้เหตุผลว่าอินโดจีนยังมีสหรัฐที่คอยสนับสนุนกำลังทหารรวมทั้งการโจมตีจากเครื่องบินอยู่ อีกทั้งยังมีกองทหารต่างด้าวที่มาจากจิบูติประจำการอยู่ในอินโดจีนกว่า 4000 ชีวิต ทำให้ที่อินโดจีนนั้นมีกองกำลังทหารกว่า 32,000 นาย จำนวนนี้ยังไม่รวมทหารจ้างและทหารที่ถูกส่งมาช่วยอีกกว่า 17,000 นายอีก เพียงแต่กองกำลังยุทโธปกรณ์ไปจนถึงกองกำลังทหารเองไม่ได้มีความพร้อมในการทำสงครามมากนัก

ในวันที่ 30 สิงหาคม รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของญี่ปุ่น โยซึเกะ มัตซึกะ ได้ตกลงในข้อเสนอที่ตัวแทนรัฐบาลฝรั่งเศสเสนอมาในการหารือกันเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยญี่ปุ่นอ้างว่าจะขอใช้อินโดจีนของฝรั่งเศสเป็นทางผ่านไปตลอดช่วงเวลาการทำสงครามกับจีน ซึ่งรัฐบาลทั้งคู่ต่างก็เห็นพ้องกันว่าควรให้คนที่อยู่ในอินโดจีนเป็นคนเจรจาดีกว่า เพราะจะสะดวกรวดเร็วและยังรู้ถึงรายละเอียดต่างๆภายในภูมิภาค และการเจรจาระหว่างตัวแทนทหารของทั้งคู่ก็เริ่มขึ้นที่ฮานอยในวันที่ 3 กันยายน (ตัวแทนของฝรั่งเศสคือ ผู้บัญชาการสูงงสุดของกองมหารอินโดจีน Maurice Martin ส่วนทางญี่ปุ่นเป็นพลเอกนิชิฮาระ)

ในช่วงที่การเจรจากำลังเกิดขึ้น เตอกูและมาร์ติน(Maurice Martin)ได้พยายามถามไปยังนาซีเยอรมันว่าพวกเขานั้นจงใจแทรกแทรงในคำขาดที่ญี่ปุ่นยื่นให้หรือเปล่า แต่รัฐบาลนาซีเยอรมันหาได้ตอบกลับมาไม่ นั่นทำให้ทางเตอกูรีบไปขอความช่วยเหลือจากทั้งอังกฤษและสหรัฐผ่านทางกงสุลแต่ละประเทศภายในฮานอย ซึ่งรวมถึงจีนเองด้วย เพื่อให้พวกเขาเข้ามาช่วยต่อสู้เพื่อป้องกันการรุกรานจากญี่ปุ่น

วันที่ 6 กันยายน ทหารจากกองพลทหารราบที่ 22 ของจักรวรรดิญีปุ่นได้ทำการบุกยึดเมืองหนานหนิงและใช้เมืองนั้นเป็นฐานที่มั่น โดยหนานหนิงนั้นเป็นเมืองชายแดนที่อยู่ติดกับเมืองด่ง ด๋าง(Đồng Đăng)ของเวียดนาม โดยกองพลทหารราบที่ 22 นี้เป็นกองทหารย่อยในสังกัดกองทัพญี่ปุ่นในเขตจีนตอนใต้ โดยกองทหารนี้เป็นกองทหารที่ขึ้นชื่อในเรื่องความรุนแรงแถมยังเคยต่อสู้แบบที่เกิดที่มุกเดนมาแล้ว เหตุการการยึดเมืองหนานหนิง และส่วนหนึ่งของกองทหารพยายามลุกล้ำเข้ามาในด่ง ด๋างทำให้เกิดวิกฤติในเมืองขึ้น ฌ็อง เตอกูใช้การกระทำของญี่ปุ่นนี้ในการตัดจบการเจรจราที่กำลังดำเนินไปด้วยดีในวันที่ 18 กันยายน พลเอกนิชิฮาระได้ยื่นคำขาดต่อเตอกูว่าจะบุกเข้ามาโดยไม่สนข้อตกลงใดๆ หากยังไม่ทำเจรจาต่อ ภายในเวลา 22.00 น.ของวันที่ 22 กันยายน จากเหตุการณ์นี้เตอกูได้สั่งให้มีการลดกองทหารญีปุ่นที่ประจำการในอินโดจีนให้เหลือน้อยที่สุด

7 ชั่วโมงครึ่งก่อนเส้นตายในคำขาด รัฐบาลอินโดจีนอนุมัติการประจำการของทหารญี่ปุ่น 5000 นายที่ตั๋งเกี๋ยเหนือแม่น้ำแดง รวมทั้งยังอนุญาตให้ใช้สนามบิน 4 สนามบินที่ตั้งอยู่ที่นั่น เพื่อย้ายกำลังพลอีกกว่า 25,000 นายจากอินโดจีนไปยังยูนนาน รวมทั้งส่งกองพลทหารราบที่ 22 ผ่านทางไฮฟองเพื่อไปที่ต่างๆของจีนต่อ ทว่ากองทัพญี่ปุ่นก็เตรียมการล่วงหน้าด้วยการเตรียมกองกำลังสะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบกประจำการเตรียมที่เกาะไฮหนานไว้แล้ว เหลือก็แค่รอเวลาที่กำหนดในการบุกเท่านั้น

เปิดฉากรุกราน

ข้อตกลงที่ได้จากการเจรจาระหว่างสองตัวแทน ถูกกระจายสื่อสารไปตามหน่วยงานต่างๆของญี่ปุ่นในช่วง 21.00 น. อันเป็นหนึ่งชั่วโมงก่อนจะถึงเส้นตายในคำขู่ โดยคาดว่ากองทหารกลุ่มแรกจะออกจาประเทศไปโดยเรือ แต่ถึงกระนั้นผลของการเจรจานี้ไม่ได้รับการยอมรับจากกองพลทหารราบที่ 22 เพราะเห็นว่าตัวเองไม่ได้รับสิทธิประโยชน์จากการเจรจา ร่วมทั้งยังสั่งให้กองทหารราบที่ 5 ใต้ผู้บังคับบัญชาพลโทอาเคโตะ นากามูระ ส่งกองกำลังของตนข้ามชายแดนมายังด่ง ด๋างในช่วงสี่ทุ่ม

เมื่อกองกำลังของญี่ปุ่นบุกเข้ามายังด่ง ด๋าง ทหารฝรั่งเศสจึงเริ่มต่อสู้กับญี่ปุ่นจนการต่อสู้ลุกลามไปทั่วเมืองต่างๆทั่วทั้งชายแดน ที่หลั่งเซินอันเป็นเมืองหลักที่ประจำการของทหารฝรั่งเศสส่วนมากในชายแดนอินโดจีนได้ถูกกองทหารญี่ปุ่นล้อมเมืองเอาไว้ในทุกด้าน เมื่อไม่เห็นโอกาสชนะพวกเขาเลยยอมจำนนในวันที่ 25 กันยายน โดยก่อนจะยอมแพ้ก็มีการทำลายอาวุธของตัวเอง อย่างตัวปิดลูกกระสุนปืนใหญ่ของปืนใหญ่ 150 mm ก็ถูกทิ้งลงแม่น้ำเพื่อไม่ให้ญีปุ่นใช้ ซึ่งเป็นิวิธีเดียวกับที่ฝรั่งเศสเคยใช้กับจีนในตอนทำสงครามจีน-ฝรั่งเสสในปี 1884-1885

ในช่วงที่มีการต่อสู้ตามตะเข็บชายแดนอยู่นั้น รัฐบาลอินโดจีนประท้วงรัฐบาลญี่ปุ่นถึงการละเมิดการเจรจาของกองทัพญี่ปุ่น แต่ญี่ปุ่นไม่ได้ตอบโต้เรื่องนี้ พวกเขาใช้ฝูงบินที่ประจำการอยู่บนกองเรือที่มารออยู่ในอ่าวตังเกี๋ยอยู่ก่อนแล้วในการโจมตีเมืองท่า และมีเป้าหมายสำคัญในการยกพลขึ้นบกบนแผ่นดินเวียดนาม แน่นอนว่ารัฐบาลอินโดจีนไม่ยอมรับเรื่องนี้แน่ แต่พวกเขาก็ไม่สามารต้านทานกับกองทัพของจักรวรรดิญีปุ่นได้ พวกเขาสามารถขึ้นฝั่งได้ที่เมืองด่งถัก ทางตอนใต้ของไฮฟอง ซึ่งในช่วงบ่ายของวันนั้นก็มีกองกำลังกว่า 4500 คน และรถถังอีกกว่า 12 คันเข้ามาอยู่ในดินแดนเวียดนามแล้ว

การต่อสู้ได้จบลงในเย็นของวันที่ 26 กันยายน โดยญี่ปุ่นได้ยึดฐานทัพอากาศไกแลมนอกกรุงฮานอย ยึดเมืองตามแนวเส้นทางรถไฟไฮฟองตามตะเข็บชายแดน รวมทั้งยังตรึงกำลังพลไว้ที่เมืองท่าไฮฟอง และฮานอยไม่ต่ำกว่า 500 คนในแต่ละเมือง

เหตุการณ์สืบเนื่อง

หลังการต่อสู้ที่เกิดขึ้นในเมืองหลั่งเซิน รัฐบาลญี่ปุ่นได้ประกาศคำขอโทษพร้อมส่งเมืองและเหล่านักโทษให้กลับสู่อาณัติของรัฐบาลอาณานิคมอีกครั้งในวันที่ 5 ตุลาคม

การจะบุกลึกลงไปทางตอนใต้ของอินโดจีนเป็นสิ่งที่ญีปุ่นยังไม่สามารถกระทำได้ในทันที เพราะกองกำลังของฝรั่งเศสถูกส่งไปเสริมกำลังอีกกว่า 4,000 นาย รวมทั้งการบุ่มบ่ามโจมตีเข้าไปอาจจะกระทบกับความสัมพันธ์ระหว่าง ญี่ปุ่น อังกฤษ อเมริกาได้ ทำให้ญี่ปุ่นต้องให้ความสนใจปัญหาของโซเวียตที่กำลังลุกล้ำเข้ามาในเขตอิทธิพลแมนจูเรียของญีปุ่นก่อน แต่ว่าจุดเปลี่ยนของการศึกนี้ก็เกิดขึ้นเมื่อกองทัพนาซีเปิดฉากจู่โจมโซเวียตในปฏิบัติการบาบารอสซ่า นั่นทำให้รัฐบาลญี่ปุ่นเปิดการลุกลงไปในเอเชียเพื่อแย่งชิงทรัพยากรอันอุดมสมบูรณ์ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องด้วยการที่สหรัฐไม่ยอมส่งทรัพยากรโดยเฉพาะอย่างยิ่ง "น้ำมัน" มาให้กับญี่ปุ่นในการทำศึกกับจีน รวมทั้งยีงปิดเส้นทางการค้าของญีปุ่นนั่นทำให้ญี่ปุ่นต้องใช้มาตรการเพื่อแย่งชิงทรัพยากร โดยในช่วงการบุกอินโดจีนนั้นกองกำลังกว่า 140,000 นายได้เริ่มบุกยึดอินโดจีนตั้งแต่วันที่ 28 กรกฎาคม 1941 แม้ชาวฝรั่งเศสจะยังคงมีอิทธิพลในรัฐบาลอาณานิคมแต่หลังจากการรัฐประหารของญี่ปุ่นในปี 1945 ทำให้พวกพนักงานชาวฝรั่งเศสส่วนมากโดนปลด และแทนที่ด้วยชาวญี่ปุ่นแทน

อ้างอิง

  1. 立川京一 1999, pp. 43.
  2. Jean-Philippe Liardet, L'Indochine française pendant la Seconde Guerre mondiale เก็บถาวร 5 กุมภาพันธ์ 2012 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • Boissarie, Delphine. "Indochina during World War II: An Economy under Japanese Control", Economies under Occupation: The hegemony of Nazi Germany and Imperial Japan in World War II, ed. Marcel Boldorf and Tetsuji Okazaki (Routledge, 2015), pp. 232–44.
  • Dreifort, John E. "Japan's Advance into Indochina, 1940: The French Response", Journal of Southeast Asian Studies, 13, 2 (1982), pp. 279–95.
  • Ehrengardt, Christian-Jacques. "Ciel de feu en Indochine, 1939–1945", Aéro Journal, 29, 1 (2003), pp. 4–26.
  • Gunn, Geoffrey C. Rice Wars in Colonial Vietnam: The Great Famine and the Viet Minh Road to Power. Rowman and Littlefield, 2014.
  • Hata, Ikuhiko. "The Army's Move into Northern Indochina", The Fateful Choice: Japan's Advance into Southeast Asia, 1939–1941, ed. James W. Morley (New York: 1980), 155–63.
  • Hsu Long-hsuen and Chang Ming-kai; trans. Wen Ha-hsiung. History of the Sino-Japanese War (1937–1945), 2nd ed. (Taipei:Chung Wu Publishing, 1971).
  • Marr, David G. Vietnam, 1945: The Quest for Power (Berkeley: University of California Press, 1995).
  • Michelin, Franck. "The Pacific War started in Indochina: the Occupation of French Indochina and the Route to Pearl Harbor", Vietnam-Indochina-Japan's relation during the Second World War Document and Interpretation (Waseda University Institute of Asia-Pacific Studies, 2017), pp. 54–59.
  • Murakami, Sachiko. Japan's Thrust into French Indochina, 1940–1945. Ph.D. diss., New York University, 1981.
  • Murakami, Sachiko. "Indochina: Unplanned Incursion", in Hilary Conroy and Harry Wray (eds.), Pearl Harbor Re-examined: Prologue to the Pacific War (University of Hawaii Press, 1990), pp. 141–50.
  • Porch, Douglas. The French Foreign Legion: A Complete History of the Legendary Fighting Force (Skyhorse, 2010).
  • Tarling, Nicholas. "The British and the First Japanese Move into Indo-China", Journal of Southeast Asian Studies, 21, 1 (1990), pp. 35–65.
  • Yoshizawa, Minami. "The Nishihara Mission in Hanoi, July 1940", Indochina in the 1940s and 1950s, ed. Shiraishi Takeshi and Furuta Motoo (Ithaca, N.Y.: 1992), pp. 9–54.

แหล่งข้อมูลอื่น

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!