สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 แห่งนอร์เวย์

สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7
พระบรมฉายาลักษณ์ของพระองค์เมื่อปีคริสต์ศักราช 1930
พระมหากษัตริย์แห่งนอร์เวย์
ครองราชย์18 พฤศจิกายน ค.ศ. 1905 - 21 กันยายน ค.ศ. 1957
ราชาภิเษก22 มิถุนายน ค.ศ. 1906
โบสถ์นิดารอส ทร็อนไฮม์
ก่อนหน้าออสการ์ที่ 2
ถัดไปโอลาฟที่ 5
หัวหน้ารัฐบาล
นายกรัฐมนตรี
พระราชสมภพ3 สิงหาคม ค.ศ. 1872(1872-08-03)
โคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก
สวรรคต21 กันยายน ค.ศ. 1957(1957-09-21) (85 ปี)
ออสโล ประเทศนอร์เวย์
ฝังพระศพ1 ตุลาคม ค.ศ. 1957
ป้อมปราการอาเกิชฮืส
คู่อภิเษกม็อดแห่งเวลส์ สมเด็จพระราชินีแห่งนอร์เวย์
พระราชโอรส
รายละเอียด
สมเด็จพระราชาธิบดีโอลาฟที่ 5 แห่งนอร์เวย์
พระนามเต็ม
คริสเตียน เฟรเดอริก คาร์ล จอร์จ วัลเดมาร์ แอกเซล
ราชวงศ์กลึคส์บวร์ค
พระราชบิดาสมเด็จพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 8 แห่งเดนมาร์ก
พระราชมารดาลูอีสแห่งสวีเดน สมเด็จพระราชินีแห่งเดนมาร์ก
ลายพระอภิไธย
ธรรมเนียมพระยศของ
สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7
ธงประจำพระอิสริยยศ
ตราประจำพระองค์
การทูลHis Majesty (ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท)
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับyour Majesty (พระพุทธเจ้าข้า/เพคะ)

สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 แห่งนอร์เวย์ (พระนามเดิม เจ้าชายคาร์ลแห่งเดนมาร์กและไอซ์แลนด์ พระนามเต็ม คริสเตียน เฟรเดอริก คาร์ล จอร์จ วัลเดมาร์ แอกเซล; Christian Frederik Carl Georg Valdemar Axel, ต่อมาเป็นสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งนอร์เวย์) 3 สิงหาคม ค.ศ. 1872 - 21 กันยายน ค.ศ. 1957) พระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 8 แห่งเดนมาร์ก และ สมเด็จพระราชินีลูอีสแห่งเดนมาร์ก ในปี ค.ศ. 1905 ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งนอร์เวย์พระองค์แรกหลังการยุบสหภาพระหว่างนอร์เวย์และสวีเดนโดยการสลายรัฐร่วมประมุขร่วมกับสวีเดน พระองค์เป็นพระบรมวงศานุวงศ์ในราชวงศ์กลึคส์บวร์ค ในฐานะที่ทรงเป็นหนึ่งในพระมหากษัตริย์ที่ได้รับการเลือกตั้ง สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนได้ทรงชนะใจพสกนิกรด้วยความเคารพและความรักจากประชาชนของพระองค์ และทรงมีบทบาทสำคัญในการเป็นศูนย์รวมจิตใจชาตินอร์เวย์ในการทำการต่อต้านกองทัพนาซีที่ทำการรุกรานและต่อมายาวนานอีกห้าปีทรงต่อต้านการที่นาซียึดครองนอร์เวย์ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง

ในนอร์เวย์ สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนทรงถือเป็นหนึ่งในชาวนอร์เวย์ที่มีความสำคัญสูงสุดในศตวรรษที่ 20 และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการยอมรับในความกล้าหาญของพระองค์ในระหว่างการรุกรานของเยอรมัน พระองค์ทรงขู่ว่าจะสละราชบัลลังก์ถ้ารัฐบาลร่วมมือกับผู้รุกรานชาวเยอรมัน และสำหรับความเป็นผู้นำของพระองค์ และยังทรงรักษาความเป็นสามัคคีของนอร์เวย์ได้ในระหว่างการยึดครองของเยอรมัน พระองค์เสด็จสวรรคตขณะมีพระชนมพรรษา 85 พรรษา ในวันที่ 21 กันยายน ค.ศ. 1957 หลังจากทรงครองราชสมบัติมายาวนานเกือบ 52 ปี

ช่วงต้นพระชนม์ชีพในฐานะเจ้าชายแห่งเดนมาร์ก

เจ้าชายคาร์ลแห่งเดนมาร์ก ต่อมาคือ สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 แห่งนอร์เวย์ พระบรมฉายาลักษณ์ในปี ค.ศ. 1889

เดิมในฐานะ เจ้าชายคาร์ลแห่งเดนมาร์ก (ทรงได้รับการตั้งพระนามเหมือนกับพระอัยกาฝ่ายพระราชมารดา พระมหากษัตริย์แห่งนอร์เวย์) พระองค์เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่สองของสมเด็จพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 8 แห่งเดนมาร์ก และ สมเด็จพระราชินีลูอีสแห่งเดนมาร์ก นอกจากนี้พระองค์ยังเป็นพระอนุชาในพระเจ้าคริสเตียนที่ 10 แห่งเดนมาร์ก และทรงฝ่ายพระราชมารดาเป็นพระนัดดาในพระเจ้าคาร์ลที่ 15 แห่งสวีเดน (ผู้ซึ่งทรงดำรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งนอร์เวย์ในฐานะ สมเด็จพระราชาธิบดีคาร์ลที่ 4 แห่งนอร์เวย์) เจ้าชายคาร์ลทรงได้เป็นพระมหากษัตริย์แห่งนอร์เวย์ก่อนที่พระราชบิดาและพระเชษฐาจะได้สืบราชบัลลังก์เดนมาร์ก ในระหว่างรัชกาลของพระองค์ พระองค์ทรงเห็นการสืบราชบัลลังก์เดนมาร์กของพระราชบิดา, พระเชษฐา และพระนัดดา สมเด็จพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 9 แห่งเดนมาร์ก ในปี ค.ศ. 1906, ค.ศ. 1912 และ ค.ศ. 1947 ตามลำดับ

เจ้าชายคาร์ลประสูติที่พระราชวังชาร์ล็อตเทนลุนด์ใกล้โคเปนเฮเกน เป็นพระบรมวงศานุวงศ์ในราชวงศ์กลึคส์บวร์คสายราชวงศ์โอเดนบูร์ก ราชวงศ์โอเดนบูร์กเป็นราชวงศ์ของพระบรมวงศานุวงศ์เดนมาร์กตั้งแต่ ค.ศ. 1448 ระหว่าง ค.ศ. 1538 ถึง ค.ศ. 1814 ราชวงศ์นี้ยังปกครองนอร์เวย์เมื่อนอร์เวย์กลายเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรเดนมาร์ก-นอร์เวย์ ราชวงศ์นี้ดั้งเดิมมาจากเยอรมนีตอนเหนือ ที่ซึ่งสายราชสกุลกลึคส์บูร์ก (ลิคส์บอร์ก)มีที่ดินศักดินาเล็กๆ ราชสกุลรี้มีสายสัมพันธ์กับนอร์เวย์อย่างถาวรมาตั้งแต่ปลายยุคกลาง บรรพบุรุษหลายๆพระองค์ของเจ้าชายคาร์ลได้เป็นพระมหากษัตริย์ของนอร์เวย์ที่เป็นอิสระ (พระเจ้าโฮกุนที่ 5 แห่งนอร์เวย์, พระเจ้าคริสเตียนที่ 1 แห่งนอร์เวย์, พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1, พระเจ้าคริสเตียนที่ 3, พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 2, พระเจ้าคริสเตียนที่ 4และพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 3 ผู้ทำการรวมนอร์เวย์เข้ากับรัฐราชวงศ์โอเดนบูร์กร่วมกับเดนมาร์ก, ชเลสวิชและฮ็อลชไตน์ หลังจากที่ไม่ได้อิสรภาพจนกระทั่ง ค.ศ. 1814) เจ้าชายคริสเตียน เฟรเดอริก ผู้ซึ่งได้เป็นพระมหากษัตริย์แห่งนอร์เวย์ ในระยะเวลาสั้นๆของปี ค.ศ. 1814 เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกภายใต้รัฐธรรมนูญนอร์เวย์ ค.ศ. 1814 และการต่อสู้เพื่อเอกราช พระเจ้าคริสเตียน เฟรเดอริกเป็นพระเชษฐาในพระปัยยิกาของเจ้าชายคาร์ล

เจ้าชายคาร์ลทรงได้รับการอภิบาลแบบราชนิกุลในโคเปนเฮเกนและทรงเข้าศึกษาในวิทยาลัยราชนาวีเดนมาร์ก

พระราชวังบักกิงแฮม ในวันที่ 22 กรกฎาคม ค.ศ. 1896[1] เจ้าชายคาร์ลทรงอภิเษกสมรสกับพระญาติชั้นหนึ่งคือ เจ้าหญิงม็อดแห่งเวลส์ พระราชธิดาองค์สุดท้องในเจ้าชายเอ็ดเวิร์ดแห่งสหราชอาณาจักร อนาคตคือ สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 แห่งสหราชอาณาจักร กับอเล็กซานดราแห่งเดนมาร์ก พระราชธิดาพระองค์โตในพระเจ้าคริสเตียนที่ 9 แห่งเดนมาร์กและเจ้าหญิงหลุยส์แห่งเฮสส์-คาสเซิล เจ้าชายคาร์ลและเจ้าหญิงม็อดทรงมีพระราชโอรสร่วมกันหนึ่งพระองค์คือ เจ้าชายอเล็กซานเดอร์ อนาคตคือ มกุฎราชกุมารโอลาฟแห่งนอร์เวย์ (และในที่สุดคือ สมเด็จพระราชาธิบดีโอลาฟที่ 5 แห่งนอร์เวย์) ซึ่งประสูติในวันที่ 2 กรกฎาคม ค.ศ. 1903[1]

สืบราชบัลลังก์นอร์เวย์

พระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระเจ้าโฮกุนที่ 7 และพระราชินีม็อด ในวันที่ 22 มิถุนายน ค.ศ. 1906

หลังจากสหภาพระหว่างสวีเดนและนอร์เวย์ได้มีการยุบเลิกในปี ค.ศ. 1905 คณะรัฐบาลนอร์เวย์ได้ระบุสมาชิกราชวงศ์จำนวนมากของยุโรปในฐานะว่าที่พระมหากษัตริย์แห่งนอร์เวย์พระองค์แรกโดยของชาวนอร์เวย์เองในหลายศตวรรษ เจ้าชายคาร์ลได้กลายเป็นหนึ่งในผู้ถูกเลือกอย่างทีละน้อย เนื่องจากโดยส่วนใหญ่พระองค์ทรงสืบเชื้อสายมาจากพระมหากษัตริย์แห่งนอร์เวย์พระองค์ก่อน ๆ ที่เป็นอิสระ อีกทั้งพระองค์ยังทรงมีพระราชโอรส (และด้วยเหตุนี้เป็นความชัดเจนในเรื่องรัชทายาทในราชบัลลังก์) และเจ้าหญิงม็อดเป็นพระบรมวงศานุวงศ์อังกฤษซึ่งทรงถูกมองโดยมากในฐานะผลประโยชน์ของนอร์เวย์ชาติเอกราชแห่งใหม่

พระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 เสด็จถึงออสโลพร้อมกับทรงอุ้มมกุฎราชกุมารโอลาฟ และทรงได้รับการเฝ้ารับเสด็จที่ท่าเรือจากนายกรัฐมนตรีคริสเตียน มิเคิลเซน

เจ้าชายคาร์ลผู้มีพระทัยฝักใฝ่ประชาธิปไตย ทรงตระหนักว่านอร์เวย์ยังคงมีการถกเถียงกันเรื่องการดำรงราชาธิปไตยหรือจะสลับเปลี่ยนไปเป็นรัฐบาลระบอบสาธารณรัฐ พระองค์ทรงถูกยกยอโดยการเกริ่นนำของรัฐบาลนอร์เวย์ภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีคริสเตียน มิเคิลเซน แต่พระองค์ทรงปฏิเสธข้อเสนอนี้ในเมื่อปราศจากการลงประชามติเพื่อแสดงว่าสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นตัวเลือกของชาวนอร์เวย์อย่างแท้จริง

หลังจากการลงประชามติราชาธิปไตยนอร์เวย์ ค.ศ. 1905 คะแนนเสียงอย่างท่วมท้นถึง 79 เปอร์เซนต์ส่วนใหญ่ (สนับสนุนราชาธิปไตย 259,563 คน และต่อต้านราชาธิปไตย 69,264 คน)[2] โดยชาวนอร์เวย์ต้องการดำรงสถาบันพระมหากษัตริย์ เจ้าชายคาร์ลทรงตอบรับข้อเสนอในราชบัลลังก์นอร์เวย์อย่างเป็นทางการโดยรัฐสภานอร์เวย์และทรงได้รับการเลือกในวันที่ 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 1905 เมื่อเจ้าชายคาร์ลทรงตอบรับข้อเสนอในเย็นวันเดียวกัน (หลังจากทรงได้รับการเห็นพ้องจากพระอัยกา พระเจ้าคริสเตียนที่ 9 แห่งเดนมาร์ก) พระองค์ทรงทำพระองค์ให้เป็นที่รักใคร่ในประเทศโดยทรงใช้พระนามในภาษานอร์สโบราณชื่อ "โฮกุน" (Haakon) เป็นพระนามที่พระมหากษัตริย์นอร์เวย์ในอดีตเคยใช้[3] ในการทำเช่นนั้นพระองค์ทรงสืบราชบัลลังก์ต่อจากพระอนุชาในพระอัยกา (น้องชายของตา) คือ สมเด็จพระเจ้าออสการ์ที่ 2 แห่งสวีเดน ผู้ทรงสละราชบัลลังก์นอร์เวย์ในเดือนตุลาคม ตามมาด้วยข้อตกลงระหว่างสวีเดนและนอร์เวย์ในการยุบสหภาพ

พระราชวงศ์นอร์เวย์ได้เสด็จออกจากเดนมาร์กโดยเรือพระที่นั่งของเดนมาร์กชื่อ "เดนเนบอร์ก" และไปยังออสโลฟยอร์ด ที่ป้อมออสการ์บอร์กทุกพระองค์เสด็จไปโดยเรือพระที่นั่งนอร์เวย์ชื่อ "เฮล์มดัล" หลังจากการเดินทางเป็นเวลาสามวันทุกพระองค์ก็ได้เสด็จมาถึงกรุงคริสเตียเนีย (ออสโล) ในเช้าตรู่ของวันที่ 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1905 สองวันต่อมา สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนทรงสาบานพระองค์ในฐานะพระมหากษัตริย์แห่งนอร์เวย์

พระราชพิธีราชาภิเษกของสมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนและสมเด็จพระราชินีม็อดได้ถูกจัดขึ้นในมหาวิหารนิดารอสในเมืองทรอนด์เฮมในวันที่ 22 มิถุนายน ค.ศ. 1906[1]

ครองราชย์ในฐานะพระมหากษัตริย์แห่งนอร์เวย์

จากซ้าย: สมเด็จพระราชินีม็อด, มกุฎราชกุมารโอลาฟและสมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 ในปี ค.ศ. 1910

สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนทรงได้รับความนิยมมากจากชาวนอร์เวย์ พระองค์เสด็จประพาสทุกที่ของนอร์เวย์ พระองค์ทรงนับถือฟริดท์จอฟ นันเซนในฐานะพระสหายของพระราชวงศ์

สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุน สมเด็จพระราชินีม็อดและมกุฎราชกุมารโอลาฟทรงเริ่มสนพระทัยการเล่นสกี กีฬาชนิดนี้มักถูกมองว่าเป็นกีฬาปกติของชาวนอร์เวย์ ทุกพระองค์มักถูกพบเห็นขณะที่กำลังทรงสกี ในเวลาต่อมามกุฎราชกุมารโอลาฟทรงชนะเลิศในการแข่งขันสกีกระโดด

ในปี ค.ศ. 1927 พระองค์ทรงกล่าวว่า

เนื่องจากพระองค์ทรงเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการทางการเมืองหลังจากคริสโตเฟอร์ ฮอร์นส์รัดได้ถูกเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกที่มาจากพรรคแรงงาน ในปี ค.ศ. 1928 เป็นกระบวนการที่ซึ่งเป็นเหตุทำให้เกิดสถานการณ์พิเศษของรัฐสภา

มกุฎราชกุมารโอลาฟได้อภิเษกสมรสกับพระญาติของพระองค์คือ เจ้าหญิงมาร์ธาแห่งสวีเดนในวันที่ 21 มีนาคม ค.ศ. 1929 เจ้าหญิงทรงเป็นพระราชธิดาในเจ้าหญิงอิงเงอร์บอร์กแห่งเดนมาร์ก พระขนิษฐาของสมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนกับเจ้าชายคาร์ล ดยุกแห่งเวสเตร์เกิตลันด์ มกุฎราชกุมารโอลาฟกับเจ้าหญิงมาร์ธาทรงมีพระราชโอรสและพระราชธิดาร่วมกันสามพระองค์ได้แก่ เจ้าหญิงรัญฮิลด์ (ค.ศ. 1930 - ค.ศ. 2012), เจ้าหญิงอัสตริด (ค.ศ. 1932) และเจ้าชายฮารัลด์ (ค.ศ. 1937) ผู้ซึ่งจะทรงได้เป็นพระมหากษัตริย์แห่งนอร์เวย์ในปี ค.ศ. 1991

สมเด็จพระราชินีม็อดสวรรคตในวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1938 ขณะเสด็จประพาสลอนดอนด้วยภาวะพระหทัยล้มเหลวอย่างไม่คาดฝัน สิริพระชนมพรรษา 68 พรรษา สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนทรงรีบเสด็จมาจากนอร์เวย์เพื่อประทับเคียงข้างพระนางในวาระสุดท้าย พระบรมศพของสมเด็จพระราชินีม็อดได้ถูกนำกลับมาฝังที่นอร์เวย์

การต้านทานในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง

สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 ในช่วงต้นรัชกาล

นอร์เวย์ได้ถูกโจมตีทั้งทางเรือและทางอากาศโดยกองทัพนาซีเยอรมนีในช่วงแรกๆของวันที่ 9 เมษายน ค.ศ. 1940 กองทัพเรือนาซีเยอรมันที่แยกออกไปเพื่อยึดครองกรุงออสโลต้องเผชิญกับป้อมปราการออสการ์บอร์ก ป้อมปราการได้ทำการยิงใส่ผู้รุกรานทำให้สร้างความเสียหายแก่เรือรบลึทโซว์และจมเรือลาดตระเวนหนัก เรือรบบลือเชอร์ โดยเยอรมันพบกับความเสียหายมากมายรวมทั้ง กองกำลังจำนวนมาก, หน่วยเกสตาโปและเจ้าหน้าที่ด้านการบริหารที่จะต้องเข้าไปยึดครองเมืองหลวงของนอร์เวย์ เหตุการณ์นี้นำไปสู่การถอนทัพเรือขนาดเล็กของเยอรมัน ป้องกันไม่ให้ผู้บุกรุกเข้ายึดครองออสโลได้ในรุ่งอรุณตามที่เยอรมันคาดหวังไว้ ความล่าช้าของการใช้กองกำลังยึดครองออสโลของเยอรมัน พร้อมกับการดำเนินการที่รวดเร็วของประธานรัฐสภาคือ ซี.เจ ฮัมโบร สร้างโอกาสสำหรับพระราชวงศ์นอร์เวย์ คณะรัฐบาล และสมาชิกสภา 150 คน เพื่อให้เดินทางออกจากเมืองหลวงด้วยขบวนรถไฟพิเศษ

สมาชิกสภามาพบกันที่ฮามาร์ในตอนบ่ายวันเดียวกัน แต่การบุกอย่างรวดเร็วของกองทัพไรช์เยอรมัน ทุกคนได้ย้ายไปที่เอลวีรัม การประชุมสภามีมติเป็นเอกฉันท์ ซึ่งถูกเรียกว่า Elverumsfullmakten หรือ การให้อำนาจที่เอลวีรัม ได้นำมาซึ่งอำนาจเต็มของคณะรัฐมนตรีในการป้องกันประเทศจนกระทั่งเวลาที่วภาเรียกประชุมอีกครั้ง

วันต่อมา คูร์ท บรือเออร์ รัฐมนตรีเยอรมันที่นอร์เวย์ ได้เรียกร้องที่จะเข้าเฝ้าสมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุน นักการทูตเยอรมันได้เรียกร้องให้ชาวนอร์เวย์ยุติการต่อต้านและทำตามความต้องการของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ที่เรียกร้องให้พระมหากษัตริย์ทรงมีพระบรมราชโองการแต่งตั้ง วิดคัน ควิสลิงผู้นิยมระบอบนาซี ผู้ซึ่งได้ประกาศตนเป็นนายกรัฐมนตรีแทนที่นายกรัฐมนตรีโจฮัน นีการ์ดสวอลด์ในช่วงชั่วโมงแรกๆในออสโล ในฐานะหัวหน้ารัฐบาลหุ่นเชิดของเยอรมัน บรือเออร์ได้แนะนำให้สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนทรงทำตามแบบอย่างของพระเจ้าคริสเตียนที่ 10 แห่งเดนมาร์ก พระเชษฐาของพระองค์ที่ทรงยอมแพ้ต่อกองทัพนาซีก่อนที่กองทัพนาซีจะเข้าโจมตี และทำการขู่นอร์เวย์ด้วยเงื่อนไขที่รุนแรงถ้าไม่ยอมแพ้สงคราม สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนทรงตอบบรือเออร์ไปว่า พระองค์ไม่สามารถตัดสินพระทัยด้วยพระองค์เองได้ แต่ได้เพียงคำปรึกษาจากรัฐบาล ถึงแม้ว่ารัฐธรรมนูญนอร์เวย์โดยปกติได้มอบพระราชอำนาจแก่พระมหากษัตริย์ในการแสดงความรับผิดชอบขั้นสุดท้ายอย่างเช่นการมีพระราชวินิจฉัยด้วยพระองค์เอง ในทางปฏิบัติเกือบจะทั้งหมดของการตัดสินพระทัยทางการปกครองล้วนมาจากรัฐบาล(รัฐบาลนอร์เวย์)ในพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์

จากการประชุมที่เกี่ยวเนื่องทางความรู้สึกที่นีเบอร์ซุนด์ พระมหากษัตริย์ทรงแถลงคำขาดของฝ่ายเยอรมันต่อคณะรัฐมนตรีของพระองค์ ถึงแม้สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนจะไม่ทรงมีพระราชวินิจฉัยด้วยพระองค์เอง พระองค์ทราบว่าพระองค์สามารถใช้พระราชอำนาจทางศีลธรรมที่มีอิทธิพลต่อพระราชวินิจฉัย ดังนั้นสมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนได้ตรัสต่อคณะรัฐมนตรีว่า

พระราชวงศ์นอร์เวย์ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง

สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนทรงดำเนินการต่อที่ซึ่งทรงตรัสว่าพระองค์ไม่สามารถแต่งตั้งคณะรัฐบาลใดๆที่นำโดยควิสลิงได้เพราะพระองค์ทรงทราบว่าไม่มีผู้ใดในสภาที่เชื่อมั่นเขา อย่างไรก็ตามถ้าคณะรัฐมนตรีคิดเห็นเป็นอย่างอื่น พระมหากษัตริย์ทรงตรัสว่าพระองค์จะสละราชบัลลังก์เพื่อที่จะไม่ทรงยืนยันในการตัดสินใจของรัฐบาล

นีลส์ ฮเจล์มทวีท รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการศาสนาและศึกษาธิการ ได้บันทึกในภายหลังว่า "นี้ได้สร้างความประทับใจที่ยิ่งใหญ่กับพวกเราทุกคน ชัดเจนมากกว่าที่เคยเป็นมาก่อนที่เราจะได้เห็นคนที่อยู่เบื้องหลังคำเหล่านี้ พระมหากษัตริย์ทรงได้วาดเส้นให้กับพระองค์เองและงานของพระองค์ เส้นจากการที่พระองค์ไม่สามารถเบี่ยงเบนได้ พวกเรามีเวลาในห้าปีที่ผ่านมา[ในรัฐบาล]ในการเรียนรู้ที่จะเคารพและชื่นชมในพระมหากษัตริย์ของเราและตอนนี้ ผ่านพระราชดำรัสของพระองค์ที่ทรงให้พวกเราได้กลายเป็นคนดี ยุติธรรมและหนักแน่น ทรงเป็นพระประมุขในช่วงเวลาที่เลวร้ายเหล่านี้ที่ประเทศของพวกเรา"[6]

แรงบันดาลใจจากการยืนกรานของสมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุน รัฐบาลได้มีมติอย่างเป็นเอกฉันท์ให้คำแนะนำแก่สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนไม่ให้ทรงแต่งตั้งรัฐบาลใดๆที่นำโดยควิสลิง ภายในไม่กี่ชั่วโมง ได้มีการโทรศัพท์ไปปฏิเสธข้อเสนอของบรือเออร์ ในคืนนั้นสถานีโทรทัศน์เอ็นอาร์เคได้ออกอากาศการปฏิเสธของรัฐบาลต่อชาวนอร์เวย์ ในประกาศเดียวกัน รัฐบาลประกาศว่าพวกเขาจะทำการต่อต้านการโจมตีของเยอรมันให้นานที่สุด และแสดงความเชื่อมั่นของพวกเขาที่จะได้รับการสนับสนุนจากชาวนอร์เวย์

สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนและมกุฎราชกุมารโอลาฟขณะทรงหาที่หลบภัยภายใต้ต้นเบิร์ชในระหว่างการโจมตีทิ้งระเบิดของเยอรมันที่มอลเดในเดือนเมษายน ค.ศ. 1940

เช้าวันต่อมาของวันที่ 11 เมษายน ค.ศ. 1940 เครื่องบินทิ้งระเบิดลุฟท์วัฟเฟอได้โจมตีนีเบอร์ซุนด์ ได้ทำลายเมืองเล็กที่ซึ่งรัฐบาลนอร์เวย์พำนักอยู่ในความพยายามกวาดล้างพระมหากษัตริย์และรัฐบาลนอร์เวย์ที่หนักแน่น พระมหากษัตริย์และคณะรัฐมนตรีได้เข้าไปหลบป่าที่ปกคลุมไปด้วยหิมะและหนีจากอันตรายอย่างต่อเนื่องไกลออกไปผ่านถูเขามุ่งหน้าสู่มอลเดทางชายผั่งตะวันตกของนอร์เวย์ กองทัพอังกฤษในพื้นที่ภาตพื้นดินได้สูญเสียจากการทิ้งระเบิดของลุฟท์วัฟฟ์ พระมหากษัตริย์และคณะของพระองค์ทรงถูกนำขึ้นเรือของอังกฤษ เฮสเอ็มเอส กลาสโกว์ที่มอลเดและลำเลียงต่อไปอีก 1000 กิโลเมตรทางเหนือที่ทรมเซอที่ซึ่งเป็นเมืองหลวงเฉพาะกาลในวันที่ 1 พฤษภาคม สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนและมกุฎราชกุมารโอลาฟทรงประทับในกระท่อมในป่าในหุบเขามัลเซลวีดาเลนในทรมส์ตอนใน ที่ซึ่งทุกพระองค์ต้องประทับอยู่ที่นี่จนกว่าอพยพไปยังสหราชอาณาจักร ในขณะที่ประทับในทรมเซอทั้งสองพระองค์ได้รับการคุ้มครองจากสมาคมปืนไรเฟิลท้องถิ่นซึ่งใช้ปืนคร้าก-จอร์เกนเซนอย่างแพร่หลาย

ฝ่ายสัมพันธมิตรมีการรักษาความปลอดภัยทั่วทุกที่ของภาคเหนือนอร์เวย์จนกระทั่งปลายเดือนพฤษภาคมแต่สถานะของสัมพันธมิตรในยุทธการฝรั่งเศสได้เสื่อมโทรมลงอย่างรวดเร็ว กองทัพสัมพันธมิตรในภาคเหนือของนอร์เวย์กลายเป็นสิ่งจำเป็นที่ไม่ดีและได้ถูกถอนกำลังออก พระราชวงศ์ที่ลำบากและรัฐบาลที่สูญเสียความมั่นใจได้อพยพจากทรมเซอในวันที่ 7 มิถุนายน ขึ้นเรือเฮสเอ็มเอส เดวอนเชียร์และหลังจากการเคลื่อนที่อย่างรวดเร็ว 34 นอต (63 กิโลเมตร/ชั่วโมง) ภายใต้การคุ้มครองจากเรือเฮสเอ็มเอส กลอเรียส, เฮสเอ็ทเอส อคัสตาและเฮสเอ็มเอส อาร์เดนท์อย่างปลอดภัยถึงลอนดอน สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนและรัฐบาลได้ประกาศตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นในเมืองหลวงของอังกฤษ

พระราชวงศ์นอร์เวย์ทรงโบกพระหัตถ์แก่ประชาชนที่มาต้อนรับการเสด็จกลับด้วยเรือเฮสเอ็มเอส นอร์โฟล์ก ณ กรุงออสโล

ในขั้นต้น สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนและมกุฎราชกุมารโอลาฟทรงเป็นพระราชอาคันตุกะที่พระราชวังบักกิงแฮม แต่เมื่อเริ่มต้นเดอะบลิตซ์ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1940 ทุกพระองค์ได้ย้ายไปที่บ้านโบว์ดาวน์ในบาร์กเชอร์ การก่อสร้างของสถานที่ที่อยู่ติดกันอย่างสนามบินอาร์เอเอฟ กรีนแฮม คอมมอนในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1942 ทำให้ต้องย้ายอีกครั้งไปที่ฟอลีโจนปาร์คในวิงก์ฟิลด์ใกล้กับวินด์เซอร์ ซึ่งทรงประทับอยู่ที่นั่นจนกระทั่งการปลดปล่อยนอร์เวย์[7] ที่ประทับอย่างเป็นทางการของพระมหากษัตริย์คือสถานเอกอัครราชทูตนอร์เวย์ที่บ้านเลขที่ 10 เคนชิงตันพาร์เลซการ์เดนส์, เคนชิงตัน ที่ซึ่งการเป็นที่พำนักของรัฐบาลพลัดถิ่นนอร์เวย์ ที่นี่สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนทรงเข้าร่วมการประชุมคณะรัฐมนตรีทุกอาทิตย์และทรงมีกระแสพระราชดำรัสเป็นประจำทางวิทยุไปยังนอร์เวย์โดยบีบีซีเวิลด์เซอร์วิส การออกอากาศเหล่านี้ได้ช่วยประสานสถานะของสมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนในฐานะสัญลักษณ์ที่สำคัญแห่งชาติในการเคลื่อนไหวต่อต้านของชาวนอร์เวย์[8] การออกอากาศหลายครั้งมาจากโบสถ์เซนต์โอลาฟนอร์วีเจียนในร็อทเทอร์ฮิทที่ซึ่งพระราชวงศ์เสด็จไปนมัสการเป็นประจำ[9]

ในขณะที่ฮิตเลอร์ได้แต่งตั้งโยเซฟ แทร์โบเฟินเป็นไรซ์คอมมิซซาร์ประจำนอร์เวย์ บนคำสั่งของฮิตเลอร์ เตอร์โบเวนได้พยายามบังคับให้รัฐสภาถอดถอนพระมหากษัตริย์ แต่รัฐสภาปฏิเสธด้วยการอ้างหลักการตามรัฐธรรมนูญ คำขาดได้ถูกยื่นโดยเยอรมันภายใต้การคุกคามให้ใช้แรงงานหนักแก่ชาวนอร์เวย์ในอายุราชการทหารที่ค่ายกักกัน[10] ด้วยภัยคุกคามที่ใกล้จะมาถึงนี้ ตัวแทนรัฐสภาในกรุงออสโลได้เขียนจดหมายถึงพระมหากษัตริย์เพื่อขอให้พระองค์สละราชบัลลังก์ในวันที่ 27 มิถุนายน พระมหากษัตริย์ทรงตอบอย่างสุภาพว่ารัฐสภาก็อยู่ภายใต้การข่มขู่ ทรงปฏิเสธข้อเรียกร้องนี้ พระมหากษัตริย์ทรงตอบในวันที่ 3 กรกฎาคม และทรงแถลงการณ์ในวิทยุบีบีซีในวันที่ 8 กรกฎาคม[11] หลังจากความพยายามของเยอรมันในเดือนกันยายนที่ข่มขู่ให้รัฐสภาถอดถอนสมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนเป็นอันล้มเหลว เตอร์โบเวนได้ออกประกาศในที่สุดว่าพระราชวงศ์ "หมดสิทธิ์ที่จะกลับมา" และทำลายพรรคการเมืองจากประชาธิปไตย

ในระหว่างห้าปีของการยึดครองนอร์เวย์ของเยอรมัน ชาวนอร์เวย์จำนวนมากแอบสวมใส่เสื้อผ้าและเครื่องประดับที่มาจากเหรียญตราสมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่บันทึกว่า "H7"ในฐานะที่เป็นสัญลักษณ์ในการต่อต้านการยึดครองนอร์เวย์ของนาซีเยอรมนีและสร้างความเป็นปึกแผ่นด้วยพระมหากษัตริย์และรัฐบาลพลัดถิ่น เช่นเดียวกับประชาชนจำนวนมากในประเทศเดนมาร์กที่ใส่เข็มกลัดพระปรมาภิไธยย่อของพระเชษฐาของพระองค์คือ พระเจ้าคริสเตียนที่ 10 แห่งเดนมาร์ก พระปรมาภิไธยย่อของพระมหากษัตริย์ได้ถูกวาดขึ้นด้วยเช่นกันและวาดซ้ำบนพื้นผิวต่างๆเพื่อแสดงการต่อต้านการยึดครอง[12]

หลังจากสิ้นสุดสงคราม สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนและพระราชวงศ์ได้เสด็จกลับนอร์เวย์ด้วยเรือเฮสเอ็มเอส นอร์โฟล์ก การมาถึงด้วยกองเรือรบแรกได้รับการต้อนรับจากฝูงชนในกรุงออสโลวันที่ 7 มิถุนายน ค.ศ. 1945[13] เป็นเวลาห้าปีให้หลังหลังจากทรงอพยพออกมาจากทรมเซอ

ยุคหลังสงครามและสวรรคต

สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 ทรงมีกระแสพระราชดำรัสในปี ค.ศ. 1950 มกุฎราชกุมารโอลาฟทรงอยู่ทางเบื้องซ้ายของพระองค์

ในปี ค.ศ. 1947 ชาวนอร์เวย์โดยการลงนามได้ทำการซื้อเรือยอร์ช HNoMY Norgeแก่พระมหากษัตริย์ (ในปี ค.ศ. 2012 มีเพียงเรือยอร์ชหลวงสองลำเท่านั้นที่ราชวงศ์ในยุโรปเป็นเจ้าของ โดยอีกลำหนึ่งเป็นของสมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก พระราชนัดดาในสมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุน)

เจ้าหญิงรัญฮิลด์แห่งนอร์เวย์ทรงอภิเษกสมรสกับเอิร์ลลิง ลอเรนต์เซน (แห่งตระกูลลอเรนต์เซน) ในวันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ. 1953 ทรงเป็นพระบรมวงศานุวงศ์พระองค์แรกที่อภิเษกสมรสกับสามัญชน สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนทรงดำรงพระชนม์ชีพทันในคราวที่พระปนัดดาประสูติได้แก่ โฮกุน ลอเรนต์เซน (ประสูติ 23 สิงหาคม ค.ศ. 1954) และอินเกบอร์ก ลอเรนต์เซน (ประสูติ 3 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1957)

มกุฎราชกุมารีมาร์ธาสิ้นพระชนม์ในวันที่ 5 เมษายน ค.ศ. 1954 หลังจากทรงพระประชวรด้วยโรคมะเร็ง

สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 ทรงหกล้มในห้องสรงที่ที่ประทับในบริกโดในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1955 การหกล้มครั้งนี้เกิดขึ้นก่อนวันเฉลิมพระชนมพรรษา 83 พรรษาของพระองค์ กระดูกโคนขาของพระองค์หัก แม้ว่าจะทรงมีภาวะแทรกซ้อนน้อยๆอื่นๆอันเป็นผลมาจากการหกล้ม พระมหากษัตริย์ทรงต้องใช้รถเข็น พระมหากษัตริย์ผู้ทรงคล่องแคล่วทรงถูกกล่าวถึงการที่ทรงสิ้นหวังด้วยผลจากความรู้สึกของพระองค์เองที่ทรงคิดว่าหมดทางช่วยเหลือ และทรงเริ่มต้นสูญเสียการมีส่วนร่วมและความสนใจตามปกติของพระองค์ในเหตุการณ์ปัจจุบัน ด้วยสมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนทรงสูญเสียการเคลื่อนไหว และในขณะที่พระพลานามัยของพระมหากษัตริย์ทรงเสื่อมถอยลงไปอีกในฤดูร้อน ค.ศ. 1957 มกุฎราชกุมารโอลาฟทรงปรากฏพระองค์เคียงข้างพระราชบิดาในวาระสำคัญและทรงเข้ามามีบทบาทในกิจการของรัฐ

สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 เสด็จสวรรคตในเดือนกันยายน ค.ศ. 1957 สิริพระชนมพรรษา 85 พรรษา มกุฎราชกุมารทรงครองราชย์สืบต่อเป็นสมเด็จพระราชาธิบดีโอลาฟที่ 5 แห่งนอร์เวย์ พระบรมศพของสมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 ได้ถูกฝังในวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1957 พระองค์และพระราชินีม็อดทรงประทับอย่างสงบเคียงข้างกันในโลงพระศพหินสีขาวในสุสานหลวง ณ ป้อมอาร์เคอซัส

ทุกวันนี้ สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 ทรงได้รับการยกย่องมากที่สุดในฐานะหนึ่งในผู้นำที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของนอร์เวย์ในช่วงก่อนสงคราม ทรงจัดการเพื่อปกครองประเทศใหม่และเปราะบางของพระองค์ร่วมกันในสถานการณ์ทางการเมืองที่ไม่แน่นอน พระองค์ทรงจงรักภักดีในระบอบประชาธิปไตยซึ่งพิสูจน์แล้วว่าเป็นสิ่งสำคัญสำหรับสถานการณ์ทางการเมืองของนอร์เวย์ในช่วงและหลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง

ข้อมูลเพิ่มเติม

พระบรมราชอิสริยยศ

  • 3 สิงหาคม 1872 - 18 พฤศจิกายน 1905 : เจ้าชายคาร์ลแห่งเดนมาร์ก
  • 18 พฤศจิกายน 1905 - 21 กันยายน 1957 : สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 แห่งนอร์เวย์

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 "The Queen Receives". Time Magazine. 18 June 1923. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-17. สืบค้นเมื่อ 17 January 2009.
  2. "Jubilee". Time Magazine. 8 December 1930. p. 1. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-27. สืบค้นเมื่อ 17 December 2008.
  3. English Heritage (2005). "Blue Plaque for King Haakon VII of Norway". English Heritage. สืบค้นเมื่อ 12 April 2008.
  4. This was said when Christian Hornsrud of the Labour Party was appointed to Prime Minister in 1928, http://www.kongehuset.no/c27060/artikkel/vis.html?tid=27613 (Official site of the Norwegian Royal House, in Norwegian)
  5. The account and quotation were recorded by one of the cabinet members and were recounted in William L. Shirer's The Challenge of Scandinavia.
  6. Geirr H. Haarr, "The German Invasion of Norway", Seaforth Publishing, Barnsley, UK, 2009.
  7. "British Government News & Press Releases - 25th October, 2005: Blue Plaque for King Haakon VII of Norway". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-03. สืบค้นเมื่อ 2013-05-22.
  8. "Norway: the official site in the UK - News 27 October 2012 - Princess Astrid unveils blue plaque". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-27. สืบค้นเมื่อ 2013-05-22.
  9. "The Diocese of Southwark, The Bridge, December 2009 - January 2010: Scandinavia in Rotherhithe" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-09-28. สืบค้นเมื่อ 2013-05-22.
  10. William Lawrence Shirer: The challenge of Scandinavia: Norway, Sweden, Denmark and Finland in our time, Robert Hale, 1956
  11. Dahl; Hjeltnes; Nøkleby; Ringdal; Sørensen, บ.ก. (1995). "Norge i krigen 1939–45. Kronologisk oversikt". Norsk krigsleksikon 1940-45 (ภาษานอร์เวย์). Oslo: Cappelen. p. 11. ISBN 82-02-14138-9.
  12. H7 เก็บถาวร 2011-10-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Time Magazine, Monday, 30 Sep. 1957
  13. "First Out, First In". Time Magazine. 11 June 1945. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-12-21. สืบค้นเมื่อ 17 January 2009.

แหล่งข้อมูลอื่น

  • Shirer, William L. (1956). The Challenge of Scandinavia. London: Robert Hale.
  • Bomann-Larsen, Tor (2004). Haakon og Maud I/Kongstanken. Oslo: Cappelen. ISBN 82-02-22527-2.
  • Bomann-Larsen, Tor (2004). Haakon og Maud II/Folket. Oslo: Cappelen. ISBN 978-82-02-22529-2.
  • Bomann-Larsen, Tor (2006). Haakon og Maud III/Vintertronen. Oslo: Cappelen. ISBN 978-82-02-24665-5.
ก่อนหน้า สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 แห่งนอร์เวย์ ถัดไป
สมเด็จพระเจ้าออสการ์ที่ 2
พระมหากษัตริย์แห่งนอร์เวย์
(18 พฤศจิกายน ค.ศ. 1905 - 21 กันยายน ค.ศ. 1957)
สมเด็จพระราชาธิบดีโอลาฟที่ 5


Read other articles:

1979 song by the Bee Gees TragedySingle by Bee Geesfrom the album Spirits Having Flown B-sideUntilReleasedFebruary 1979Recorded1978Genre Dance-rock[1] synth-metal[2] Length5:03LabelRSOSongwriter(s)Barry, Robin & Maurice GibbProducer(s) Bee Gees Albhy Galuten Karl Richardson Bee Gees singles chronology Too Much Heaven (1978) Tragedy (1979) Love You Inside Out (1979) Music videoTragedy (Live in Las Vegas, 1997 - One Night Only) on YouTube Tragedy is a song released by the Be...

 

Fire station in New York City, Ghostbusters HQ 40°43′11″N 74°00′24″W / 40.7196°N 74.0066°W / 40.7196; -74.0066 (Hook & Ladder Company 8 (Ghostbusters firehouse)) Firehouse, Hook & Ladder Company 8Hook & Ladder Company 8's firehouse in June 2020General informationAddress14 North Moore Street, TribecaTown or cityManhattan, New York CityCountryUnited StatesOpened1903 High angle photo of Firehouse, Hook & Ladder Company 8 with visible Gh...

 

جمال عليوي (بالفرنسية: Jamal Alioui)‏  معلومات شخصية الاسم الكامل جمال عليوي الميلاد 2 يونيو 1982 (العمر 41 سنة)سانت إتيان الطول 1.79 م (5 قدم 10 1⁄2 بوصة) مركز اللعب المدافع الجنسية فرنسا المغرب  معلومات النادي النادي الحالي GOAL FC [الإنجليزية]‏ (مدرب) مسيرة الشباب سنو

2023 Singaporean drama film Seven DaysTheatrical release posterChinese七天Hanyu PinyinQītiān Directed byGrace WuWritten byGrace WuProduced byMichelle ChangStarringYa HuiAyden SngHenry ThiaXuan OngCinematographySharon LohEdited byAndy TsengMusic byFourth and ThirdProductioncompaniesTigon PicturesMocha Chai LaboratoriesNew Era GroupDistributed byClover FilmsGolden Village PicturesRelease dates 28 April 2023 (2023-04-28) (Singapore Chinese Film Festival) 12 May 2...

 

1944 film by Charles Vidor For other films, see Cover girl (disambiguation). Cover GirlTheatrical release posterDirected byCharles VidorScreenplay byVirginia Van Upp Adaptation byMarion ParsonnetPaul Gangelin Story byErwin GelseyProduced byArthur SchwartzStarring Rita Hayworth Gene Kelly Lee Bowman Phil Silvers Jinx Falkenburg Cinematography Rudolph Maté Allen M. Davey Edited byViola LawrenceMusic byJerome KernProductioncompanyColumbia PicturesDistributed byColumbia PicturesRelease dates Mar...

 

Peralatan Tepung Tawar Tepuk tepung tawar adalah salah satu bagian prosesi yang sakral dalam upacara adat budaya melayu. Tepuk tepung tawar biasanya dilakukan pada acara pelantikan pejabat atau tokoh adat dan daerah, sunatan, khususnya acara pernikahan. Nama tepung tawar ini sendiri diambil dari salah satu bahan yang ikut dalam ramuan tepung tepung tawar itu, yaitu berupa tepung beras yang dicahar dengan air.[1] Tepung tawar dilakukan sebagai perlambang mencurahkan rasa kegembiraan da...

معركة ترموبيل جزء من غزو الفرس الثاني لليونان  ليونايدس في معركة ثرموبيلاي (لوحة) بريشة جاك لوي دافيد. متحف اللوفر في باريس ، فرنسا. معلومات عامة التاريخ 20 أغسطس او 8–10 سبتمبر 480 ق.م البلد اليونان  الموقع ثيرموبيلاي  Coord النتيجة انتصار فارسي تغييراتحدودية سيطرة الفر

 

توماس كول (بالإنجليزية: Thomas Cole)‏    معلومات شخصية الميلاد 1 فبراير 1801[1][2][3][4][5][6][7]  بولتن[8][9]  الوفاة 11 فبراير 1848 (47 سنة) [2][3][4][5][7][10]  نيويورك،  وكاتسكيل[11][8][9]  سبب الوفاة نوبة قلبية...

 

Independent Spirit Award for Best Fist ScreenplayAwarded forBest Fist ScreenplayCountryUnited StatesPresented byFilm IndependentFirst awarded1994Currently held byJohn Patton Ford for Emily the Criminal (2022)Websitewww.filmindependent.org The Independent Spirit Award for Best First Screenplay is one of the annual awards given by the Film Independent, a non-profit organization dedicated to independent film and independent filmmakers. It was first presented in 1994 with David O. Russell being t...

مسييه 36معلومات عامةجزء من درب التبانة رمز الفهرس M 36[1]NGC 1960[1]OCl 445[1] المكتشف أو المخترع Giovan Battista Hodierna (en) [2] زمن الاكتشاف أو الاختراع 1654[2] الكوكبة ممسك الأعنة[3] المسافة من الأرض 4٬100 سنة ضوئية[2]1٬318 فرسخ فلكي[4] مركبة الميل الزاوي للحركة الذاتية −5

 

Jamie RickersBornJamie Rickers (1974-05-21) 21 May 1974 (age 49)Chelmsford, United KingdomNationalityBritishYears active2002–presentKnown forUp On The RoofToonattikProve it!Children2 James Rickers (born 21 May 1974) is an English former television presenter, best known as the co-presenter of children's programmes Prove It!, Toonattik and Up On The Roof on CITV.[1] Career Rickers presented Up On The Roof between 2002 and 2005. From 2005 to 2010, Rickers presented Toona...

 

American rock band Breaking BenjaminBreaking Benjamin performing in 2015. From left to right, Keith Wallen, Shaun Foist, Benjamin Burnley, Aaron Bruch, and Jasen Rauch.Background informationAlso known asPlan 9OriginWilkes-Barre, Pennsylvania, U.S.Genres Hard rock post-grunge alternative metal alternative rock Years active 1999–2010 2014–present LabelsHollywoodMembers Benjamin Burnley Aaron Bruch Shaun Foist Jasen Rauch Keith Wallen Past members Jason Davoli Jonathan Bug Price Jeremy Humme...

Town in New York, United StatesAmherstTownTown of AmherstAmherst Municipal Building FlagLocation of Amherst in Erie County, New York (left) and of Erie County in New York state (right)Location of New York in the United StatesAmherstShow map of New YorkAmherstShow map of the United StatesAmherstShow map of North AmericaCoordinates: 42°58′42″N 78°48′00″W / 42.97833°N 78.80000°W / 42.97833; -78.80000Country United StatesState New YorkCountyErieIncorporatedApri...

 

Spanish Dominican missionary For other people with the same name, see Louis Bertrand (disambiguation). SaintLouis BertrandO.P.Spanish Baroque Oil painting of Louis Bertrand by or after Francisco de ZurbaránApostle of South America, priest, missionary, confessorBorn1 January 1526Valencia, SpainDied9 October 1581(1581-10-09) (aged 55)Valencia, SpainVenerated inRoman Catholic ChurchBeatified19 July 1608, Saint Peter's Basilica, Papal States by Pope Paul VCanonized12 April 1671, Saint ...

 

This article needs additional citations for verification. Please help improve this article by adding citations to reliable sources. Unsourced material may be challenged and removed.Find sources: James FitzGerald, 8th Earl of Desmond – news · newspapers · books · scholar · JSTOR (July 2015) (Learn how and when to remove this template message) James FitzGeraldEarl of DesmondTenure1467/8-1487PredecessorThomas FitzJames FitzGeraldSuccessorMaurice FitzThoma...

Superior hypogastric plexusThe right sympathetic chain and its connections with the thoracic, abdominal, and pelvic plexuses. (Hypogastric plexus is labeled on right, fourth from the bottom.)Lower half of right sympathetic cord.DetailsIdentifiersLatinplexus hypogastricus superior, nervus presacralisMeSHD007001TA98A14.3.03.046TA26711FMA6642Anatomical terms of neuroanatomy[edit on Wikidata] The superior hypogastric plexus (in older texts, hypogastric plexus or presacral nerve) is a plexus o...

 

Weather forecast application for iOS WeatherThe Weather app on iOS 16 showing current weather information and forecast for CupertinoDeveloper(s)Apple Inc.Operating systemiOSiPadOS (16.0 or later)macOS (13.0 or later)TypeWeather forecasting Weather is a weather forecast app developed by Apple Inc., available on iOS since the release of the iPhone and iPhone OS 1 in 2007.[1][2] It allows users to see the conditions, forecast, temperature, and other related metrics of the device'...

 

This article includes a list of general references, but it lacks sufficient corresponding inline citations. Please help to improve this article by introducing more precise citations. (November 2022) (Learn how and when to remove this template message) French photographer (1831–1909) Self-portrait (c.1870) Poster for the workshop Pierre Petit is not to be confused with (Jean) Pierre Yves-Petit (1886–1969), another French photographer who usually operated under the name Yvon. Pierre Lan...

Deddy StanzahLahirDeddy SutansyahBandung, Jawa Barat (1949-04-14)14 April 1949Meninggal22 Januari 2001(2001-01-22) (umur 51)Cikaso, BandungPekerjaanVokalis, MusisiSuami/istriIsyeKarier musikGenreRockInstrumenBass, vokalTahun aktif1964 - 1991LabelBravo MusikArtis terkaitGito Rollies, God Bless, Staccato Band, Jelly Tobing, Triawan MunafMantan anggotaThe Rollies Superkid Deddy Stanzah (14 April 1949 – 22 Januari 2001) adalah penyanyi rock yang juga anggota grup musik The Ro...

 

2006 Indian Hindi action thriller film Not to be confused with Doom II: Hell on Earth. Dhoom 2Theatrical release posterDirected bySanjay GadhviWritten byVijay Krishna AcharyaStory byAditya ChopraProduced byAditya ChopraStarringHrithik RoshanAbhishek BachchanAishwarya RaiBipasha BasuUday ChopraCinematographyNirav ShahVikas SivaramanEdited byRameshwar S. BhagatMusic byOriginal Songs:Pritam Chakraborty Background Score: Salim–SulaimanProductioncompanyYash Raj FilmsDistributed byYash Raj FilmsR...

 

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!