รัฐบาลพลัดถิ่น (อังกฤษ : government in exile ) เป็นกลุ่มการเมืองซึ่งอ้างตัวเป็นรัฐบาลที่ชอบด้วยกฎหมายของรัฐเอกราชรัฐหนึ่ง แต่ไม่อาจใช้อำนาจตามกฎหมายในรัฐนั้น และจำต้องพำนักอยู่นอกรัฐดังกล่าว[ 1] รัฐบาลพลัดถิ่นมักคาดหวังว่า วันหนึ่งจะได้กลับคืนบ้านเมืองและครองอำนาจอย่างเป็นทางการอีกครั้ง รัฐบาลพลัดถิ่นต่างจากรัฐตกค้าง (rump state) ตรงที่รัฐตกค้างยังสามารถควบคุมส่วนหนึ่งส่วนใดในดินแดนเดิมได้อยู่[ 2] เช่น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง แม้จักรวรรดิเยอรมัน เข้ายึดครองประเทศเบลเยียม ได้เกือบทั้งประเทศ แต่ประเทศเบลเยียมและพันธมิตรยังครองภาคตะวันตกซึ่งเป็นส่วนน้อยของประเทศได้อยู่ จึงชื่อว่าเป็นรัฐตกค้าง ถ้าเป็นรัฐบาลพลัดถิ่นจะตรงกันข้าม คือ ไม่สามารถครอบครองดินแดนไว้ได้เลย
รัฐบาลพลัดถิ่นมักมีขึ้นในช่วงการรบซึ่งดินแดนถูกยึดครองไป หรือมักเป็นผลมาจากสงครามกลางเมือง การปฏิวัติ หรือรัฐประหาร เช่น ระหว่างที่เยอรมนีขยายดินแดนในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง รัฐบาลยุโรปหลายชาติได้เข้าลี้ภัยในสหราชอาณาจักร เพื่อไม่ตกอยู่ในกำมือพวกนาซี รัฐบาลพลัดถิ่นยังอาจจัดตั้งขึ้นเนื่องจากเชื่อถือกันอย่างกว้างขวางว่า รัฐบาลซึ่งกำลังผ่านบ้านครองเมืองอยู่นั้นขาดความชอบธรรม เช่น หลังเกิดสงครามกลางเมืองซีเรีย พันธมิตรกองทัพปฏิวัติและฝ่ายค้านซีเรียแห่งชาติ (National Coalition for Syrian Revolutionary and Opposition Forces) ได้รับการจัดตั้งขึ้นโดยมุ่งหมายจะล้มล้างการปกครองของพรรคบะอัธ (Ba'ath Party) ซึ่งกำลังอยู่ในอำนาจ
รัฐบาลพลัดถิ่นจะมีประสิทธิภาพหรือไม่ เบื้องต้นขึ้นอยู่กับว่า ได้รับการสนับสนุนมากหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนจากรัฐบาลต่างชาติหรือจากพลเมืองประเทศตนเอง รัฐบาลพลัดถิ่นบางชุดกลายเป็นกองกำลังอันน่าเกรงขาม เพราะสามารถท้าทายผู้ปกครองประเทศนั้น ๆ ได้อย่างฉกาจฉกรรจ์ ขณะที่รัฐบาลพลัดถิ่นอื่น ๆ ส่วนใหญ่มักมีสถานะเชิงสัญลักษณ์เท่านั้น
ปรากฏการณ์รัฐบาลพลัดถิ่นมีมาก่อนคำว่า "รัฐบาลพลัดถิ่น" จะได้รับการใช้จริง ในยุคกษัตริย์ พระเจ้าแผ่นดินหรือราชวงศ์ที่ถูกอัปเปหิเคยตั้งราชสำนักพลัดถิ่น เช่น ราชวงศ์สจวร์ต ซึ่งถูกโอลิเวอร์ ครอมเวล (Oliver Cromwell) ถอดจากบัลลังก์ ก็ไปตั้งราชสำนักพลัดถิ่น และราชวงศ์บูร์บง (House of Bourbon) ก็ทำเช่นเดียวกันในช่วงปฏิวัติฝรั่งเศส และช่วงนโปเลียน (Napoleon) เถลิงอำนาจ ครั้นเมื่อระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ แพร่หลายขึ้น รัฐบาลกษัตริย์พลัดถิ่นก็เริ่มมีนายกรัฐมนตรีด้วยเหมือนกัน เช่น รัฐบาลพลัดถิ่นเนเธอร์แลนด์ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองตั้ง Pieter Sjoerds Gerbrandy เป็นนายกรัฐมนตรี
รัฐบาลพลัดถิ่นในปัจจุบัน
รัฐบาลชุดปัจจุบันที่มองว่าเป็น "รัฐบาลพลัดถิ่น"
รัฐบาลเหล่านี้เคยควบคุมดินแดนที่อ้างสิทธิ์ทั้งหมดหรือส่วนใหญ่ แต่ยังคงควบคุมส่วนเล็ก ๆ ต่อไป และยังคงเรียกร้องอำนาจที่ถูกต้องตามกฎหมายของดินแดนทั้งหมดที่พวกเขาเคยควบคุมอย่างเต็มที่
รัฐบาลที่ถูกขับไล่ของรัฐปัจจุบัน
รัฐบาลพลัดถิ่นเหล่านี้ก่อตั้งโดยรัฐบาลที่ถูกปลด ซึ่งยังคงอ้างสิทธิ์โดยชอบธรรมของรัฐที่เคยควบคุม
รัฐบาลที่ถูกขับไล่ของรัฐในอดีต
รัฐบาลพลัดถิ่นเหล่านี้ก่อตั้งโดยรัฐบาลที่ถูกปลด ซึ่งยังคงอ้างอำนาจโดยชอบธรรมของรัฐที่พวกเขาเคยควบคุมแต่รัฐนี้ไม่มีอยู่แล้ว
ขับไล่รัฐบาลของดินแดนส่วนภูมิภาค
รัฐบาลพลัดถิ่นเหล่านี้อ้างสิทธิ์ในดินแดนปกครองตนเองของรัฐอื่นอย่างชอบธรรม และก่อตั้งโดยรัฐบาลหรือผู้ปกครองที่ถูกขับไล่ ซึ่งไม่ได้อ้างเอกราช เป็นรัฐเอกเทศ
รัฐบาลทางเลือกของรัฐปัจจุบัน
รัฐบาลเหล่านี้ก่อตั้งขึ้นโดยพลัดถิ่นโดยองค์กรการเมือง และพรรคฝ่ายค้าน ปรารถนาที่จะเป็นผู้มีอำนาจปกครองจริงหรืออ้างว่าเป็นผู้สืบทอดทางกฎหมายต่อรัฐบาลที่ถูกปลดก่อนหน้านี้ และได้รับการก่อตั้งเป็นทางเลือกแทนรัฐบาลที่ดำรงตำแหน่ง
รัฐบาลทางเลือกแบ่งแยกดินแดนของดินแดนย่อยในปัจจุบัน
รัฐบาลเหล่านี้ถูกก่อตั้งโดยกลุ่มการเมือง พรรคฝ่ายค้าน และขบวนการแบ่งแยกดินแดน และปรารถนาที่จะเป็นผู้มีอำนาจปกครองดินแดนของตนในฐานะรัฐเอกราช หรืออ้างว่าเป็นผู้สืบทอดรัฐบาลที่ถูกขับไล่ไปก่อนหน้านี้ รัฐบาลที่ดำรงตำแหน่งอยู่
รัฐบาลพลัดถิ่นที่ไม่ได้ปกครองตนเองหรือดินแดนที่ถูกยึดครอง
รัฐบาลพลัดถิ่นเหล่านี้เป็นรัฐบาลของดินแดนที่ไม่ได้ปกครองตนเอง หรือยึดครอง พวกเขาอ้างอำนาจโดยชอบธรรมเหนือดินแดนที่พวกเขาเคยควบคุม หรืออ้างความชอบธรรมของอำนาจหลังการปลดปล่อยอาณานิคม การอ้างสิทธิ์อาจเกิดขึ้นจากการเลือกตั้งของกลุ่มที่ถูกเนรเทศให้เป็นรัฐบาลที่ชอบด้วยกฎหมาย
องค์การสหประชาชาติ รับรองสิทธิในการกำหนดอนาคตตนเอง ของประชากรในดินแดนเหล่านี้ รวมถึงความเป็นไปได้ในการจัดตั้งรัฐอธิปไตยที่เป็นอิสระ
อ้างอิง
↑ "Princeton University WordNet" . Wordnetweb.princeton.edu. สืบค้นเมื่อ 2012-09-20 .
↑ Tir, J. , 2005-02-22 "Keeping the Peace After Secessions: Territorial Conflicts Between Rump and Secessionist States" Paper presented at the annual meeting of the International Studies Association, Hilton Hawaiian Village, Honolulu, Hawaii Online <.PDF>. 2009-05-25 from allacademic.com เก็บถาวร 2012-07-21 ที่ archive.today
↑ "Official website of the Belarusian National Republic" . Radabnr.org. สืบค้นเมื่อ 28 May 2021 .
↑ Wilson, Andrew (2011). Belarus: The Last European Dictatorship . Yale University Press. p. 96. ISBN 9780300134353 . สืบค้นเมื่อ 8 May 2013 .
↑ Profile , bbc.co.uk; accessed 6 April 2015.
↑ Profile , abcnews.go.com; accessed 31 March 2021.
↑ "Opponents of Myanmar coup form unity government, aim for 'federal democracy' " . Reuters . 16 April 2021. สืบค้นเมื่อ 18 April 2021 .
↑ "Who's Who in Myanmar's National Unity Government" . The Irrawaddy (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 16 April 2021. สืบค้นเมื่อ 18 April 2021 .
↑ Widjojo, Muridan S. "Cross-Cultural Alliance-Making and Local Resistance in the Moluccas during the Revolt of Prince Nuku, c. 1780–1810" PhD Dissertation, Leiden University, 2007 (Publisher: KITLV, Journal of Indonesian Social Sciences and Humanities Vol. 1, 2008) Pp. 141–149 ISSN 1979-8431
↑ "South Korea's Governors-in-Theory for North Korea" . The Wall Street Journal . 18 March 2014. สืบค้นเมื่อ 29 April 2014 .
↑ "National Council of Resistance of Iran" . ncr-iran.org . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 20 June 2010. สืบค้นเมื่อ 20 September 2012 .
↑ "Timeline: Equatorial Guinea" . BBC News . 14 April 2010. สืบค้นเมื่อ 4 May 2010 .
↑ "Mission statement" . syriancouncil.org . 25 November 2011. สืบค้นเมื่อ 20 September 2012 .
↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2022-12-26. สืบค้นเมื่อ 2023-02-04 .
↑ [1] , newsweek.com; accessed 17 August 2021.
↑ [2] , digitaljournal.com; accessed 18 August 2021
↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2022-11-06. สืบค้นเมื่อ 2023-02-04 .
↑ "Official website of the Government in exile of the Free City of Danzig" . danzigfreestate.org. สืบค้นเมื่อ 8 May 2013 .
↑ Capps, Patrick; Evans, Malcolm David (2003). Asserting Jurisdiction: International and European Legal Approaches', edited by Patrick Capps, Malcolm Evans and Stratos Konstadinidis, which mentions Danzig on page 25 and has a footnote directly referencing the Danzig Government in exile website in a footnote also on page 25 . ISBN 9781841133058 . สืบค้นเมื่อ 8 May 2013 .
↑ "Sydney Morning Herald, November 15th, 1947" . สืบค้นเมื่อ 8 May 2013 .
↑ Saha, Santosh C. (2006). Perspectives on Contemporary Ethnic Conflict . Lexington Books . p. 63. ISBN 9780739110850 . สืบค้นเมื่อ 20 May 2011 .
↑ Minahan, James (2002). Encyclopedia of the Stateless Nations: S-Z . Westport, Connecticut: Greenwood Publishing Group. p. 2055. ISBN 978-0-313-32384-3 . สืบค้นเมื่อ 20 May 2011 .
↑ "Biafraland" . Biafraland. สืบค้นเมื่อ 20 September 2012 .
↑ Paul Goble (5 November 2019). "Tatar government in exile calls on Tatars not to serve in Russian army" . Kyiv Post . สืบค้นเมื่อ 11 February 2020 .
↑ Huseyn Aliyev (24 February 2011). "Peace-Building From The Bottom: A Case Study Of The North Caucasus" . Eurasia Review . สืบค้นเมื่อ 10 May 2011 .
↑ "Ukraine recognizes the Chechen Republic of Ichkeria" . news.yahoo.com .
↑ "Ukraine recognizes the Chechen Republic of Ichkeria" . english.nv.ua .
↑ "Ukraine's parliament recognizes Chechen Republic of Ichkeria as temporarily occupied by Russia" . The Kyiv Independent . 2022-10-18.
↑ "East Turkistan Government-in-Exile" . East Turkistan Government-in-Exile . สืบค้นเมื่อ 15 December 2019 .
↑ "Tibet.net" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 10 December 2011.
↑ "Religions - Buddhism: Dalai Lama" . BBC. สืบค้นเมื่อ 20 September 2012 .
↑ "Southerncameroonsig.typepad.com" . Southerncameroonsig.typepad.com. 20 August 2012. สืบค้นเมื่อ 20 September 2012 .
↑ "KNC.org.uk" (PDF) . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF) เมื่อ 16 July 2011.
↑ "The Transnational Government of Tamil Eelam" . Tgte-us.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 21 September 2012. สืบค้นเมื่อ 20 September 2012 .
↑ Tilmatine, Mohand. "La construction d'un mouvement national identitaire kabyle: du local au transnational" . p. 28. [ลิงก์เสีย ]
↑ https://patanigovtinexile.wordpress.com/