มณฑลไต้หวัน (สาธารณรัฐประชาชนจีน)

มณฑลไต้หวัน

台湾省
การถอดเสียงชื่อ
 • ภาษาจีน台湾省 (Táiwān Shěng)
 • อักษรย่อTW / (พินอิน: Tái; ฮกเกี้ยน: Tâi; ฮากกา: Thòi)
 • เป่อ่วยจีภาษาฮกเกี้ยนTâi-oân-séng
 • พักฟ้าซื้อภาษาฮากกาThòi-vàn-sén หรือ Thòi-vân-sén
แผนที่แสดงที่ตั้งของมณฑลไต้หวัน
แผนที่แสดงที่ตั้งของมณฑลไต้หวัน
พิกัด: 23°42′N 121°00′E / 23.7°N 121.0°E / 23.7; 121.0
ประเทศ สาธารณรัฐประชาชนจีน
แยกออกจากมณฑลฝูเจี้ยนค.ศ. 1887
ยกให้ญี่ปุ่น17 เมษายน ค.ศ. 1895
อยู่ภายใต้การควบคุมของสาธารณรัฐจีน25 ตุลาคม ค.ศ. 1945
ถูกอ้างสิทธิ์เป็นส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐประชาชนจีน1 ตุลาคม ค.ศ. 1949
เมืองหลวงไทเป
เมืองใหญ่สุดซินเป่ย์
เขตการปกครองดูการเปลี่ยนแปลงเขตการปกครอง
การปกครอง
 • เลขาธิการพรรคดูที่ ผู้แทน
 • ผู้ว่าการดูที่ ผู้แทน
 • ผู้แทนสภาประชาชนแห่งชาติ13 ผู้แทน
พื้นที่
 • ทั้งหมด35,581 ตร.กม. (13,738 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่ที่ 28
ประชากรศาสตร์
 • องค์ประกอบทางชาติพันธุ์ฮั่น - 98%
เกาชาน (ชนพื้นเมืองไต้หวัน) - 2%
รหัส ISO 3166CN-TW
จีดีพี (ประมาณ ค.ศ. 2018)[1]4.2 ล้านล้านเหรินหมินปี้
 • ต่อหัว177,155 เหรินหมินปี้
เอชดีไอ (ค.ศ. 2021)0.916 สูงมาก
มณฑลไต้หวัน
"ไต้หวัน" ในอักษรจีนตัวเต็ม (บน) และตัวย่อ (ล่าง)
อักษรจีนตัวย่อ台湾
อักษรจีนตัวเต็ม臺灣

มณฑลไต้หวัน เป็นเขตบริหารในนามของสาธารณรัฐประชาชนจีน รัฐธรรมนูญสาธารณรัฐประชาชนจีนกำหนดไต้หวันเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของตน[2] แม้ว่าสาธารณรัฐประชาชนจีนจะไม่ได้ควบคุมไต้หวันแม้แต่ส่วนหนึ่งตั้งแต่การสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีนใน ค.ศ. 1949[3] ปัจจุบัน ไต้หวันอยู่ภายใต้การควบคุมของสาธารณรัฐจีน

สถานะทางการเมืองของไต้หวันนั้นซับซ้อน หลังสงครามกลางเมืองจีน ทางสาธารณรัฐประชาชนจีนถือตนเองเป็นรัฐสืบทอดต่อจากสาธารณรัฐจีนก่อน ค.ศ. 1949 และเป็นรัฐบาลที่มีความชอบธรรมของ "จีน" แห่งเดียวนับตั้งแต่สถาปนาในวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1949 และอ้างสิทธิ์เกาะไต้หวันกับเกาะเผิงหูเป็นส่วนหนึ่งของตนภายใต้นโยบายจีนเดียว อย่างไรก็ตาม สาธารณรัฐประชาชนจีนไม่เคยได้บริหารพื้นที่ไต้หวัน หรือพื้นที่เสรีของสาธารณรัฐจีน ซึ่งประกอบด้วยมณฑลไต้หวันและมณฑลฝูเจี้ยนที่อยู่ภายใต้การบริหารของรัฐบาลสาธารณรัฐจีน ซึ่งพิพาทกับการอ้างสิทธิ์สาธารณรัฐประชาชนจีน

สาธารณรัฐประชาชนจีนได้รับการจัดตั้งใน ค.ศ. 1949 ในช่วงใกล้สิ้นสุดสงครามกลางเมืองจีน ในขณะที่ใน ค.ศ. 1950 สาธารณรัฐประชาชนจีนได้ควบคุมดินแดนส่วนใหญ่ที่เคยอยู่ภายใต้การบริหารของสาธารณรัฐจีน แต่ไม่ได้เข้าควบคุมดินแดนที่อยู่บนเกาะไต้หวัน ในทางกลับกัน ไต้หวันอยู่ภายใต้การบริหารของสาธารณรัฐจีน (ซึ่งปัจจุบันรู้จักกันในชื่อ "ประเทศไต้หวัน") ตลอดมานับตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สองใน ค.ศ. 1945 ผ่านทั้งสงครามกลางเมืองจีนและการสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีนใน ค.ศ. 1949

แม้ว่าสาธารณรัฐประชาชนจีนจะอ้างสิทธิ์ไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของอาณาเขตของตน แต่ก็ตระหนักดีว่าแท้จริงแล้วไต้หวันอยู่นอกอาณาเขตควบคุม และไม่ได้ส่งรัฐบาลพลัดถิ่นเพื่อไปปกครองมณฑลไต้หวัน อย่างไรก็ตาม การประชุมสมัชชาใหญ่แห่งพรรคคอมมิวนิสต์จีนได้กำหนดตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติที่เป็นผู้แทนของไต้หวันเอาไว้ ซึ่งผู้แทนส่วนใหญ่มีเชื้อสายไต้หวันแต่เกิดและอยู่อาศัยในจีนแผ่นดินใหญ่ ยกเว้นผู้แทนหนึ่งคน (หลู ลี่อัน) ที่เกิดและเติบโตในไต้หวัน สำนักงานกิจการไต้หวัน (Taiwan Affairs Office) ของคณะมนตรีรัฐกิจสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นส่วนหนึ่งของรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน มีหน้าที่รับผิดชอบในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับไต้หวัน แต่ไม่ได้รับมอบหมายหรือไม่ได้ถูกทำให้มองว่าเป็นรัฐบาลเงาประกบกับรัฐบาลสาธารณรัฐจีน ในทางกลับกัน รัฐบาลสาธารณรัฐจีน ซึ่งควบคุมมณฑลไต้หวันจริง ๆ กลับถูกเรียกโดยสาธารณรัฐประชาชนจีนว่า "Taiwan authorities" หรือ "ทางการไต้หวัน"[4]

ใน ค.ศ. 1979 ทางสาธารณรัฐประชาชนจีนเสนอว่าภายใต้สมมติฐานการรวมเป็นหนึ่ง ไต้หวันควรที่จะเป็นเขตบริหารพิเศษมากกว่ามณฑล[5]

เขตการปกครอง

เขตการปกครองย่อย (ฐานข้อมูลเทียนตี้ถู)[6]
เขตการปกครองของมณฑลไต้หวันของสาธารณรัฐประชาชนจีน
สาธารณรัฐจีน
(ประเภทเขตการปกครอง)
สาธารณรัฐประชาชนจีน
(ประเภทเขตการปกครอง)
ประกอบด้วย
นครปกครองโดยตรง
直轄市
นครระดับจังหวัด
地级市
(6 แห่ง) นครเกาสฺยง, นครซินเป่ย์, นครไถจง, นครไถหนาน, นครไทเป, นครเถายฺเหวียน
นครภายใต้มณฑล
省轄市
นครระดับอำเภอ
县级市
(ปกครองโดยตรงภายใต้มณฑล 直辖)
(3 แห่ง) นครเจียอี้, นครซินจู๋, นครจีหลง
เทศมณฑล อำเภอ
(ปกครองโดยตรงภายใต้มณฑล 直辖)
(11 แห่ง) อำเภอจางฮว่า, อำเภอเจียอี้, อำเภอซินจู๋, อำเภอฮวาเหลียน, อำเภอเหมียวลี่, อำเภอหนานโถว, อำเภอเผิงหู, อำเภอผิงตง, อำเภอไถตง, อำเภออี๋หลาน, อำเภอยฺหวินหลิน
เขต (ของนครปกครองโดยตรง)
(直轄市)區
เขต (158 แห่ง)
เขตชนพื้นเมืองภูเขา
原住民區
เขต (ของนครภายใต้มณฑล)
(省轄市)區
แขวง (12 แห่ง)
นครภายใต้เทศมณฑล
縣轄市
(14 แห่ง)
เมือง เมือง (38 แห่ง)
ตำบล ตำบล (146 แห่ง)
ตำบลชนพื้นเมืองภูเขา
山地鄉
หมู่บ้านในเมือง ชุมชน (5,852 แห่ง)
หมู่บ้านชนบท หมู่บ้าน (1,850 แห่ง)
ละแวก ไม่มี

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. "Report for Selected Countries and Subjects". www.imf.org.
  2. "Constitution of the People's Republic of China". The National People’s Congress. สืบค้นเมื่อ 12 June 2022.
  3. Donald S. Zagoria (30 October 2003). Breaking the China-Taiwan Impasse. ABC-CLIO. pp. 68–. ISBN 978-0-313-05755-7. OCLC 1058389524. สืบค้นเมื่อ 20 March 2022. The fact is that the People's Republic of China (PRC), while claiming sovereignty over Taiwan, has never ruled Taiwan since the PRC's establishment in 1949.
  4. "The PRC Government website contains numerous references to "Taiwan authorities"". Gov.cn. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-08. สืบค้นเมื่อ 2019-04-19.
  5. Bush, Richard C. (2019-01-07). "8 key things to notice from Xi Jinping's New Year speech on Taiwan". Brookings (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2019-01-09.
  6. "Tianditu". Tianditu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-13. สืบค้นเมื่อ 25 October 2018.

แหล่งข้อมูลอื่น

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!