ภาษาหมิ่นใต้มาตรฐาน หรือ ภาษาฮกเกี้ยน (ภาษาหมิ่นใต้: 福建話, ภาษาจีน: 泉漳話) เป็นภาษาหมิ่นใต้ที่มีจำนวนผู้ใช้มากที่สุด มักจะใช้เรียกแทนภาษาหมิ่นใต้ ภาษาหมิ่นใต้มาตรฐานมีแหล่งต้นกำเนิดมาจากจังหวัดจางจิว เจียงจิวและจังหวัดเอ้หมึงในมณฑลฝูเจี้ยน นอกไปจากนี้ยังมีจำนวนผู้ใช้จำนวนมากในไต้หวัน ประเทศสิงคโปร์ และประเทศฟิลิปปินส์บางส่วน
ภาษาหมิ่นใต้ถิ่นนั้นไต้หวันเรียกว่า ไตงี่ (จีน: 臺語) ในเอเชียตะวันออกเฉียงไต้เรียกว่า ฮกเกี้ยนอวย (เป่อ่วยยี: Hok-kiàn-ōe) ส่วนจีนกลางเรียกว่า เฉวียนจางฮว่า (泉漳話) หรือภาษาเจียงจิว-จางจิว เพื่อป้องกันการสับสนกับภาษาฮกจิว (จีน: 福州話)
ที่มาของชื่อ
เกี่ยวกับการเรียกชื่อภาษาหมิ่นใต้นั้น ที่จริงแล้วยังมีคำอื่นที่ใช้เรียกตามความคลุมเครืออีกได้แก่ "ฮกเกี้ยน" (福建話), "หมิ่นใต้" (閩南話), "ไต้หวัน" (臺灣話),"ฮกเล่า" (福佬話), "เอ๋อเล่า" (鶴佬話), "โฮลก" (河洛話) โดยมีที่มาดังนี้
- "โฮลก" ในงานวิจัยของอู๋ฮวาย〈河洛語閩南語中之唐宋故事〉[6][7]ได้อธิบายไว้ว่า
- 學佬話: เป็นคำที่ใช้เรียกในบริเวณข้างเคียงไหหลำ สำหรับชาวแคะเรียกว่าฮกโล่ (hok-ló, 福佬)
- 福佬話: เป็นอีกคำที่ชาวแคะใช้เรียก
- 鶴佬話: เป็นคำที่ชาวกวางตุ้งใช้เรียก
- 臺灣話, 臺語: เป็นคำที่ชาวญี่ปุ่นใช้ในช่วงที่ชาวญี่ปุ่นปกครองไต้หวัน อย่างไรแต่ คำว่า 台灣語 ไม่ได้หมายถึงภาษาฮกเกี้ยนในภาษาญี่ปุ่น
การใช้ในท้องถิ่น
มณฑลฝูเจี้ยน
ปัจจุบันภาษาฮกเกี้ยนในประเทศจีนมีการแบ่งแยกเป็นท้องถิ่นอยู่อีกหลายที่ หลัก ๆ แบ่งได้เป็นสี่ที่[8]ได้แก่
- ฮกเกี้ยนภาคตะวันออก (สำเนียงเซี่ยเหมิน) โดยแบ่งออกเป็นสำเนียงย่อยในเกาะและนอกเกาะเซี่ยเหมิน
- ฮกเกี้ยนถิ่นจางจิว สามารถแบ่งย่อยเป็นสำเนียงย่อยดังนี้: สำเนียงถงอาน (同安话), สำเนียงจินเหมิน (金门话), สำเนียงหนานอาน (南安话), สำเนียงอานซี (安溪话), สำเนียงจิ้นเจียง (晋江话), สำเนียงสือซือ (石狮话), สำเนียงฮุ่ยอาน (惠安话), สำเนียงโถวเป่ย์ (头北话), สำเนียงฮุ่ยหนาน (惠南话)
- ฮกเกี้ยนถิ่นเจียงจิว สามารถแยกเป็นสำเนียงย่อยได้ดังนี้: สำเนียงหลงซี (龙溪话), สำเนียงจางผู่ (漳浦话), สำเนียงหนานจิ้ง (南靖话)
- ฮกเกี้ยนตะวันตก (สำเนียงหลงเซี่ยน) สามารถแบ่งย่อยเป็นสำเนียงย่อยคือสำเนียงซินหลัว (新罗话) กับสำเนียงจางผิง (漳平话)
ไต้หวัน
เอเชียตะวันออกเฉียงไต้
ภาษาฮกเกี้ยนในเอเชียตะวันออกเฉียงไต้สามารถแบ่งได้ตามประเทศต่าง ๆ ส่วนใหญ่แล้วมีความใกล้เคียงกับภาษาไต้หวันโดยแบ่งออกเป็นตามประเทศต่าง ๆ ได้แก่
- ประเทศสิงคโปร์ มีความใกล้เคียงกับสำเนียงในจังหวัดจางจิว
- ประเทศมาเลเซียตอนบน เป็นภาษาถิ่นที่ใกล้เคียงกับจังหวัดจางจิว
- ประเทศมาเลเซียตอนใต้ เป็นภาษาถิ่นที่ใกล้เคียงกับจังหวัดเจียงจิว
การออกเสียง
สระ
|
前 หน้า
|
次前 ค่อนหน้า
|
央 กลาง
|
次後 ค่อนหลัง
|
後 หลัง
|
閉 ปิด
|
[[閉前不圓唇元音|i]]([[閉前圓唇元音|y]])
[[閉央不圓唇元音|ɨ]]
[[閉後圓唇元音|u]]
[[半閉前不圓唇元音|e]]
[[半閉後圓唇元音|o]]([[半閉後不圓唇元音|ɤ]])
[[中央元音|ə]]
[[半開前不圓唇元音|ɛ]]
[[半開後圓唇元音|ɔ]]
[[次開央元音|ɐ]]
[[開前不圓唇元音|a]]
|
|
次閉 ใกล้ปิด
|
半閉 กลางปิด
|
中 กลาง
|
半開 กลางเปิด
|
次開 ใกล้เปิด
|
開 เปิด
|
|
วรรณยุกต์
ลักษณะเสียงวรรณยุกต์จากสำเนียงเฉวียนจาง[9]
วรรณยุกต์
|
จางจิว
|
เจียงจิว
|
เอ้หมึง
|
เสียง1 |
˧ |
33 |
˥ |
34 |
˥ |
55
|
เสียง2 |
˥ |
55 |
˥˧ |
53 |
˥˧ |
53
|
เสียง3 |
˧˩ |
31 |
˨˩ |
21 |
˨˩ |
21
|
เสียง4 |
˥ʔ |
5 |
˩ʔ |
1 |
˩ʔ |
1
|
เสียง5 |
˧˥ |
35 |
˩˧ |
13 |
˧˥ |
35
|
เสียง6 |
˨ |
22 |
(= #2) |
(= #2)
|
เสียง7 |
˧˩ |
31 |
˩ |
11 |
˩ |
11
|
เสียง8 |
˨˧ʔ |
23 |
˩˨ʔ |
12 |
˥ |
5ʔ
|
|
เสียงในแผ่นดินต่าง ๆ
ภาษาฮกเกี้ยนในเอ้หมึงกับไต้หวันคือถิ่นจางจิวกับเจียงจิวผสมกัน แต่ว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปตามวิวัฒนาการ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการออกเสียงจะมีการเปลี่ยนไปบ้าง แต่การใช้อักษรไม่มีการเปลี่ยนและมีการใช้สำนวนที่เหมือนกัน นอกนั้นในไต้หวันในช่วงที่ญี่ปุ่นเข้าครอบครองได้รับอิทธิพลจากภาษาญี่ปุ่นพอสมควร ส่วนที่เหลือจะมีการรับอิทธิพลจากภาษามลายู ภาษาอังกฤษ ภาษาแต้จิ๋ว ภาษากวางตุ้งเป็นต้น
ภาษาฮกเกี้ยนทุกถิ่นสามารถสื่อสารอย่างเข้าใจกันได้
อักษรศาสตร์และไวยากรณ์
ภาษาฮกเกี้ยนจัดเป็นภาษาแยกหน่วยคำ (Analytic language) เหมือนภาษาไทย ดังนั้นคำแต่ละคำจะมีความหมายแยกออกชัดเจนและให้ความหมายตัวต่อตัว[10] ปรกติแล้วจะเป็น ประธาน-กริยา-กรรม เหมือนภาษาไทย ทว่า ภาษาฮกเกี้ยนจะเป็นภาษาเน้นหัวข้อ (Topic-prominent language) ดังนั้นไวยากรณ์จึงไม่มีมาตรฐาน ภาษาฮกเกี้ยนไม่มีเทนซ์ ไม่แบ่งเพศ ไม่มีเอกพจน์พหูพจน์ แต่จะเป็นการเติมคำแยกเหมือนภาษาไทย
บุรุษสรรพนาม
บุรุษสรรพนามในภาษาฮกเกี้ยนมีดังนี้
บุรุษสรรพนาม
|
เอกพจน์
|
พหูพจน์
|
สรรพนามบุรุษที่หนึ่ง
|
我
|
阮1 · 阮儂3
咱2 · 咱儂3
俺
我儂
|
สรรพนามบุรุษที่สอง
|
汝
|
恁 恁儂
|
สรรพนามบุรุษที่สาม
|
伊
|
𪜶 伊儂
|
- 1 หมายถึง "พวกเรา" โดยไม่รวมผู้ฟัง
- 2 หมายถึง "พวกเรา" โดยรวมผู้ฟังด้วย
- 3 ใช้ในสำเนียงฮกเกี้ยนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ปัจจัย (หน่วยคำเติมหลัง) สำหรับแสดงความเป็นเจ้าของมักใช้ 的 (ê) , ปัจจัย 之 (chi) ใช้ในคำภาษาจีนดั้งเดิม
- และปรกติพหูพจน์จะไม่เติมปัจจัยแสดงความเป็นเจ้าของ เช่น 阮 (goán) , 翁 (ang) , 姓 (sèⁿ) , 陳 (Tân)
อ้างอิง
หมายเหตุ
- ↑ เป็นภาษาประจำชาติของไต้หวัน;[1][2][3] ยังมีสถานะตามกฎหมายในไต้หวันว่าเป็นหนึ่งในภาษาสำหรับการประกาศการขนส่งสาธารณะ และสำหรับการทดสอบเพื่อแปลงสัญชาติ[4][5]
แหล่งข้อมูลอื่น
ภาษาจีนถิ่นต่าง ๆ อักษรจีน และ ภาษาอื่น ๆ ที่พูดในประเทศจีน |
---|
ภาษาจีนทางการ | |
---|
ภาษาหลัก | |
---|
ภาษาย่อยในภาษาหมิ่น | |
---|
ภาษาย่อยในภาษาหมิ่นใต้ | |
---|
อักษรจีน | |
---|
ภาษาอื่น ๆ ที่พูดในจีน | |
---|
รับอิทธิพลจากภาษาจีน | |
---|