ภาษาผูเซียน

ภาษาผูเซียน
莆仙語/莆仙話/興化話
Pó-sing-gṳ̂/Pó-sing-uā/Hing-hua̍-uā
ประเทศที่มีการพูดประเทศจีน, มาเลเซีย, สิงคโปร์, อินโดนีเซีย, ไต้หวัน (Wuqiu)
ภูมิภาคมณฑลฝูเจี้ยน (ผูเถียน ส่วนหนึ่งของฝูโจวและเฉวียนโจว)
ชาติพันธุ์ชาวผูเถียน (จีนฮั่น)
จำนวนผู้พูด3.15 ล้านคน  (2022)[1]
ตระกูลภาษา
รูปแบบก่อนหน้า
ภาษาถิ่น
ระบบการเขียนอักษรจีนตัวย่อ
อักษรจีนตัวเต็ม
Hinghwa Romanized (Hing-hua̍ Báⁿ-uā-ci̍)
รหัสภาษา
ISO 639-3cpx
Linguasphere79-AAA-id
  ภาษาผูเซียน
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด
ไบเบิลภาคภาษาผูเซียน เขียนด้วยอักษรโรมัน

ภาษาผูเซียน (จีนตัวเต็ม: 莆仙話; จีนตัวย่อ: 莆仙话; พินอิน: Púxiānhuà) เป็นสาขาหนึ่งของภาษาจีนหมิ่น คำว่าผูเซียนเป็นการรวมกันของชื่อเมืองสองเมืองคือเมืองผูเถียน (莆田市) และเมืองเซียนโหยว (仙游县) ส่วนใหญ่ใช้พูดในมณฑลฝูเจี้ยน และมีประชาชนมากกว่า 2000 คนพูดภาษานี้ในชาเฉิง เมืองฝูติ่ง (福鼎) ทางเหนือของมณฑลฝูเจี้ยน มีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยระหว่างภาษาในเมืองผูเถียนและเซียนโหยว มีชาวจีนโพ้นทะเลที่พูดภาษาจีนหมิ่นสำเนียงนี้ในมาเลเซียและสิงคโปร์ ซึ่งเรียกว่าซิงฮว่า (อักษรจีนตัวย่อ: 兴化; อักษรจีนตัวเต็ม: 興化; พินอิน: Xīnghuà)

ประวัติศาสตร์

ก่อน พ.ศ. 1532 บริเวณผูเซียนเป็นบริเวณหนึ่งของเขตกวานโจวและประชากรพูดภาษาหมิ่นใต้ ใน พ.ศ. 1532 ในสมัยราชวงศ์ซ่ง บริเวณนี้ถูกบริหารแยกจากกวานโจว และเกิดการพัฒนาสำเนียงใหม่ของภาษาหมิ่นใต้ โดยได้รับอิทธิพลจากภาษาหมิ่นตะวันออก

ลักษณะของภาษา

ภาษาผูเซียนมีพยัญชนะ 15 เสียง เช่นเดียวกับภาษาจีนหมิ่นอื่น ๆ มีวรรณยุกต์ 6 เสียง ความแตกต่างระหว่างภาษาผูเซียนกับภาษาหมิ่นใต้ ได้แก่

  • สระ 'a' ถูกแทนที่ด้วย /ɒ/ (o̤)
  • สระ 'ư' /ɯ/ ถูกแทนที่ด้วย y/ ('ü')
  • ในภาษาผูเซียน 'ng' จะออกเสียงเป็น /uŋ/
  • สระ /e/ ถูกแทนที่ด้วย /ɒ/ o̤
  • สำเนียงกวานโจวมี 'ĩ' และสำเนียงจ้างโจวมี 'ẽ' สระที่เทียบเคียงได้ในภาษาผูเซียนคือ 'ã' ซึ่งเป็นการแสดงสระนาสิก
  • สระ 'io' ถูกแทนที่ด้วย 'iau'
  • เสียงนาสิก m n ng บางครั้งจะถูกแทนที่ด้วยเสียงโฆษะ b d g
  • ไม่มีการแยกความแตกต่างระหว่างเสียงกักที่ก้องและไม่ก้อง เช่น /b/ และ /p/ โดยจะออกเสียงเหมือนกัน

สัทวิทยา

พยัญชนะ

ตารางแสดงพยัญชนะภาษาผูเซียน
  ริมฝีปาก ปุ่มเหงือก ข้างลิ้น เพดานอ่อน เส้นเสียง
หยุด ไม่พ่นลม p 巴 (b) t 打 (d) k 家 (g) ʔ
พ่นลม 彭 (p) 他 (t) 卡 (k)
เสียงนาสิก m 麻 (m) n 拿 (n) ŋ 雅 (ng)
เสียดแทรก ไม่ก้อง ɬ 沙 (s) h 下 (h)
ก้อง β*
กักเสียดแทรก ไม่พ่นลม ts 渣 (c)
พ่นลม tsʰ 査 (ch)
เปิด l 拉 (l)
  • β (พบในการพยางค์ต่อเนื่อง กลายมาจาก [p])

หน่วยเสียงสระและตัวสะกด

แผนผัง
สระ สระประสม สระนาสิก สระกัก
สระเดี่ยว a 鴉 (a) au 拗 (au) 王 (ang) 壓 (ah)
ɒ 奥 (o̤) ɒŋ 用 (o̤ng) ɒʔ 屋 (o̤h)
o 科 (eo) ɔu 烏 (o) 温 (eong) 熨 (eoh)
e 裔 (a̤) ai 愛 (ai) ɛŋ 煙 (eng) ɛʔ 黑 (eh)
œ 改 (e̤) œŋ 換 (e̤ng) œʔ 郁 (e̤h)
ŋ 伓 (ng)
/-i-/ i 衣 (i) iu 油 (iu) 引 (ing) 益 (ih)
ia 夜 (ia) iau 要 (a̤u) iaŋ 鹽 (iang) iaʔ 葉 (iah)
/-u-/ u 夫 (u) ui 位 (ui) 黄 (ng)
ua 画 (ua) ue 歪 (oi) uaŋ 碗 (uang) uaʔ 活 (uah)
/-y-/ y 余 (ṳ) 恩 (ṳng) 役 (ṳh)
安 (io̤ⁿ) yɒŋ 羊 (io̤ng) yɒʔ 藥 (io̤h)
อักษรจีน 黃 (ńg) 方 (hng) 漲 (dn̂g) 幫 (bng) 光 (gng) 兩 (nn̄g) 毛 (mńg)
ผูเถียน ŋ̍ hŋ̍ tuŋ puŋ kuŋ nuŋ muŋ
เซียนโหยว ŋ̍ hŋ̍ tŋ̍ pŋ̍ kŋ̍ nŋ̍ mŋ̍
เสียงนาสิกสำเนียงเซียนโหยว
IPA ã ɛ̃ ĩ ɒ̃
อักษรละติน aⁿ a̤ⁿ e̤ⁿ o̤ⁿ iaⁿ io̤ⁿ uaⁿ oiⁿ a̤uⁿ
IPA ã ø̃ ɒ̃ yɒ̃ ɛũ
อักษรจีน 爭 (caⁿ) 還 (há̤ⁿ) 段 (dē̤ⁿ) 三 (so̤ⁿ) 鼎 (diáⁿ) 張 (da̤uⁿ) 看 (kua̍ⁿ) 飯 (bōiⁿ) 贏 (ió̤ⁿ)
เซียนโหยว tsã tỹ sɒ̃ tiã tiũ kʰuã puĩ yɒ̃
ผูเถียน tsa hi tia tiau kʰua puai

วรรณยุกต์

วรรณยุกต์ อินผิง
陰平
อินซ่าง
陰上
อินชวี่
陰去
อินรู่
陰入
หยางผิง
陽平
หยางชวี่
陽去
หยางรู่
陽入
ผูเถียน ˥˧˧ (533) ˦˥˧ (453) ˦˨ (42) ʔ˨˩ (ʔ2) ˩˧ (13) ˩ (11) ʔ˦ (ʔ4)
เซียนโหยว ˥˦˦ (544) ˧˧˨ (332) ˥˨ (52) ʔ˨ (ʔ2) ˨˦ (24) ˨˩ (21) ʔ˦ (ʔ4)

การเขียนด้วยอักษรละติน

ระบบการเขียน Hing-hua̍ báⁿ-uā-ci̍ (興化平話字) เป็นระบบที่ใช้อักษรละตินเขียนภาษาหมิ่นผูเซียน มีอักษร 23 ตัว: a a̤ b c ch d e e̤ g h i k l m n ng o o̤ p s t u ṳ มีเครื่องหมายวรรณยุกต์ 5 ตัวจากทั้งหมด 8 เสียง:

陰平 อินผิง (ไม่มีเครื่องหมาย)

陰上 อินซ่าง ˆ (â)

陰去 อินชวี่ ˈ (a̍)

陰入 อินรู่ (ไม่มีเครื่องหมาย)

陽平 หยางผิง ́ (á)

陽去 หยางชวี่ - (ā)

陽入 หยางรู่ ˈh (a̍h) 

IPA ภาษาผูเซียน ภาษาฮกจิว
p p
t t
k k
p b b
t d d
k g g
tsʰ ch ch
ts c c
วรรณยุกต์ 陰平 อินผิง 陰上 อินซ่าง 陰去 อินชวี่ 陰入 อินรู่ 陽平 หยางผิง 陽去 หยางชวี่ 陽入 หยางรู่
Báⁿ-uā-ci̍ a â ah á ā a̍h
เป่อ่วยยี a á à ah â ā a̍h

ตัวอย่างการเขียนด้วย báⁿ-uā-ci̍

Tai̍-che̤ ū Dō̤, Dō̤ gah Siō̤ng-Da̤̍ dó̤ng-cāi, Dō̤ cuh sī Siō̤ng-Da̤̍. Ca̤̍ Dō̤ ta̍i-che̤ gah Sio̤ng-Da̤̍ dó̤ng-cāi. Māng-beo̍h sī ciā da̤u̍h I cho̤̍ ē; hang pī cho̤̍, beo̍ seo̍h-ā̤uⁿ ng-sī ciā da̤u̍h I cho̤̍ ē.

太初有道,道佮上帝同在,道就是上帝。這道太初佮上帝同在。萬物是借著伊造兮,含被造兮,無一樣呣是借著伊造兮。

In the beginning was the Word, and the Word was with God, and the Word was God. The same was in the beginning with God. All things were made by him; and without him was not any thing made that was made. (John 1:1-3 KJV)

หมายเหตุ

  1. เชื่อกันว่าภาษาหมิ่นแยกจากภาษาจีนเก่า แทนที่จะมาจากภาษาจีนสมัยกลางเหมือนกับวิธภาษาจีนอื่น ๆ[2][3][4]

อ้างอิง

  1. ภาษาผูเซียน at Ethnologue (26th ed., 2023) Closed access
  2. Mei, Tsu-lin (1970), "Tones and prosody in Middle Chinese and the origin of the rising tone", Harvard Journal of Asiatic Studies, 30: 86–110, doi:10.2307/2718766, JSTOR 2718766
  3. Pulleyblank, Edwin G. (1984), Middle Chinese: A study in Historical Phonology, Vancouver: University of British Columbia Press, p. 3, ISBN 978-0-7748-0192-8
  4. Hammarström, Harald; Forkel, Robert; Haspelmath, Martin; Bank, Sebastian (2023-07-10). "Glottolog 4.8 - Min". Glottolog. Leipzig: Max Planck Institute for Evolutionary Anthropology. doi:10.5281/zenodo.7398962. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-10-13. สืบค้นเมื่อ 2023-10-13.

แหล่งข้อมูลอื่น

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!