เขตการปกครองของจีน
เขตการปกครองของประเทศจีน ประกอบด้วยหลายระดับมาตั้งแต่สมัยโบราณ รัฐธรรมนูญของจีนกำหนดให้มีเขตการปกครองโดยนิตินัย สามระดับ อย่างไรก็ตามในปัจจุบัน จีนมีเขตการปกครองโดยพฤตินัย ห้าระดับ ได้แก่ ระดับมณฑล (มณฑล เขตปกครองตนเอง นครปกครองโดยตรง และเขตบริหารพิเศษ), ระดับจังหวัด, ระดับอำเภอ, ระดับตำบล, และระดับหมู่บ้าน[ 1]
ระดับมณฑล (ระดับที่ 1)
ที่ตั้งของเมืองหลวงของแต่ละเขตการปกครองระดับมณฑลภายในประเทศจีน
สัญลักษณ์:
เมืองหลวง
นครปกครองโดยตรง
ภาคตะวันออก
ภาคใต้
ภาคตะวันตก
ภาคเหนือ
ภาคกลาง
สาธารณรัฐประชาชนจีน (PRC) แบ่งออกเป็น 34 เขตการปกครองระดับมณฑล (省级行政区 ) หรือเขตการปกครองระดับที่ 1 (一级行政区 ) ประกอบด้วย 22 มณฑล, 5 เขตปกครองตนเอง, 4 นครปกครองโดยตรง, 2 เขตบริหารพิเศษ และ 1 มณฑลอ้างสิทธิ์
ในทางทฤษฎีแล้ว มณฑลต่าง ๆ จะอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลกลางของสาธารณรัฐประชาชนจีน แต่ในทางปฏิบัติผู้บริหารของมณฑลมีอิสระอย่างมากในการตัดสินใจในเรื่องนโยบายเศรษฐกิจ อำนาจในทางปฏิบัติจริง ๆ ของมณฑลนี้ได้ก่อให้เกิดสิ่งที่นักเศรษฐศาสตร์บางคนเรียกว่าสหพันธรัฐแบบจีน (Chinese federalism)
มณฑล ส่วนใหญ่ยกเว้นมณฑลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอาณาเขตที่ก่อตั้งขึ้นมาก่อนแล้วในสมัยราชวงศ์หยวน ราชวงศ์หมิง และราชวงศ์ชิง บางครั้งอาณาเขตของมณฑลก็ยึดตามเขตแดนทางวัฒนธรรมหรือทางภูมิศาสตร์ นี่เป็นความพยายามของรัฐบาลจักรวรรดิที่จะกีดกันการแบ่งแยกดินแดน และลัทธิขุนศึกโดยใช้นโยบายแบ่งแยกแล้วปกครอง อย่างไรก็ตามมณฑลต่าง ๆ ก็ได้เข้ามามีบทบาททางวัฒนธรรมที่สำคัญในจีน
การเปลี่ยนแปลงเขตการปกครองที่ผ่านมาล่าสุด ได้แก่ การยกฐานะไหหลำ (1988) และฉงชิ่ง (1997) ขึ้นเป็นเขตการปกครองระดับมณฑล และการก่อตั้งฮ่องกง (1997) และมาเก๊า (1999) เป็นเขตบริหารพิเศษ
การบริหารระดับมณฑลมีรายละเอียดแตกต่างกันไป ดังนี้
22 มณฑล (省 ; shěng ) เป็นการบริหารส่วนภูมิภาคประเภททั่วไปโดยมีคณะกรรมการมณฑลที่นำโดยเลขาธิการ เลขาธิการคณะกรรมการเป็นผู้รับผิดชอบลำดับที่หนึ่งของมณฑล รองลงมาคือผู้ว่าการมณฑล
5 เขตปกครองตนเอง (自治区 ; zìzhìqū ) เป็นหน่วยการปกครองของชนกลุ่มน้อยที่มีประชากรของกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่ง ๆ จำนวนมากและมีการบริหารส่วนท้องถิ่นเป็นของตนเอง แต่เขตปกครองตนเองมีสิทธิทางกฎหมายในทางทฤษฎีมากกว่าในทางปฏิบัติจริง ผู้ว่าการเขตปกครองตนเองมักได้รับการแต่งตั้งจากชนกลุ่มน้อยนั้น ๆ
4 นครปกครองโดยตรง (直辖市 ; zhíxiáshì ) เป็นนครในระดับสูงกว่านครทั่วไปซึ่งอยู่ภายใต้การบริหารของรัฐบาลจีนโดยตรง โดยมีสถานะเทียบเท่ากับมณฑล ในทางปฏิบัติ นครปกครองโดยตรงมีสถานะทางการเมืองสูงกว่ามณฑลทั่วไป
2 เขตบริหารพิเศษ (特別行政區 ; tèbié xíngzhèngqū ) เป็นหน่วยการปกครองรองจากระดับชาติที่ปกครองตนเองและมีอิสระสูงของสาธารณรัฐประชาชนจีน แต่ละเขตบริหารพิเศษ (SAR) มีผู้บริหารสูงสุดเป็นผู้นำเขตและหัวหน้ารัฐบาล รัฐบาลของเขตบริหารพิเศษไม่มีอิสระอย่างสมบูรณ์ เนื่องจากนโยบายต่างประเทศและการป้องกันทางทหารเป็นความรับผิดชอบของรัฐบาลกลาง ตามกฎหมายหลักพื้นฐานของเขตบริหารพิเศษทั้งสอง[ 2] [ 3] [ 4]
1 มณฑลอ้างสิทธิ์ (声称省份 ; shēngchēng shěngfèn ) สาธารณรัฐประชาชนจีนอ้างสิทธิ์ในเกาะไต้หวันและเกาะขนาดเล็กโดยรอบ เช่น เผิงหู โดยเรียกเป็นมณฑลไต้หวัน (หมู่เกาะจินเหมิน และหมู่เกาะหมาจู่ ถูกอ้างสิทธิ์ให้เป็นส่วนหนึ่งของมณฑลฝูเจี้ยน ส่วนเกาะปราตัสและอิตูอาบาถูกอ้างสิทธิ์ให้เป็นส่วนหนึ่งของมณฑลกวางตุ้ง และมณฑลไหหลำ ตามลำดับ) ดินแดนเหล่านี้อยู่ในความควบคุมของสาธารณรัฐจีน (ROC, เรียกกันทั่วไปว่า "ไต้หวัน") โดยไต้หวันมีอิสระอย่างสมบูรณ์ และมีประมุขแห่งรัฐ กองทัพ และนโยบายต่างประเทศของตนเอง
ระดับจังหวัด (ระดับที่ 2)
แผนที่แสดงเขตการปกครองระดับจังหวัดของประเทศจีน
เขตการปกครองระดับจังหวัดเป็นโครงสร้างการบริหารระดับที่สองรองลงมาจากระดับมณฑล มณฑลส่วนใหญ่แบ่งออกเป็นนครระดับจังหวัดเพียงอย่างเดียวโดยไม่มีหน่วยการปกครองระดับที่สองประเภทอื่น จาก 22 มณฑล และ 5 เขตปกครองตนเอง มีเพียง 3 มณฑล (ยูนนาน กุ้ยโจว ชิงไห่ ) และ 1 เขตปกครองตนเอง (ซินเจียง ) เท่านั้นที่มีจำนวนของเขตการปกครองระดับสองที่ไม่ใช่นครระดับจังหวัดมากกว่า 3 แห่ง ณ เดือนมกราคม 2019 ประเทศจีนมีเขตการปกครองระดับจังหวัดทั้งหมด 333 แห่ง
7 จังหวัด (地区 ; dìqū ) เดิมเป็นประเภทเขตการปกครองระดับที่สองที่มีมากที่สุด จึงเรียกระดับเขตการปกครองที่สองนี้ว่า "ระดับจังหวัด" จังหวัดส่วนใหญ่ถูกเปลี่ยนประเภทเป็นนครระดับจังหวัด ตั้งแต่ปี 1983 จนถึงทศวรรษ 1990 ปัจจุบัน จังหวัดมีเฉพาะในมณฑลเฮย์หลงเจียง เขตปกครองตนเองทิเบต และเขตปกครองตนเองซินเจียง
30 จังหวัดปกครองตนเอง (自治州 ; zìzhìzhōu ) เป็นจังหวัดที่มีชนกลุ่มน้อยทางชาติพันธุ์อย่างน้อยหนึ่งกลุ่ม ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในภาคตะวันตกของจีน
293 นครระดับจังหวัด (地级市 ; dìjíshì ) เป็นเขตการปกครองระดับจังหวัดที่มีจำนวนมากที่สุด โดยทั่วไปจะประกอบไปด้วยศูนย์กลางเขตเมืองและพื้นที่ชนบทโดยรอบซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าศูนย์กลางเขตเมือง ดังนั้น คำว่านครในประเทศจีนจึงไม่ตรงกับความหมายที่ถูกต้องของคำว่า "นคร "
3 เหมิง (盟 ; méng ) เป็นประเภทเขตการปกครองที่เหมือนกับจังหวัด แต่พบได้เฉพาะในมองโกเลียใน ซึ่งคำว่าเหมิงนี้เป็นรูปแบบหน่วยการปกครองของมองโกเลียในสมัยก่อน เช่นเดียวกับจังหวัด เหมิงส่วนใหญ่ถูกเปลี่ยนประเภทเป็นนครระดับจังหวัด
ระดับอำเภอ (ระดับที่ 3)
แผนที่แสดงเขตการปกครองระดับอำเภอของประเทศจีน
เขตการปกครองระดับอำเภอ หรือระดับเทศมณฑล เป็นเขตการปกครองระดับที่สามที่รองลงมาจากระดับจังหวัด ณ วันที่ 18 สิงหาคม 2015 ประเทศจีนมีเขตการปกครองระดับอำเภอทั้งหมด 2,852 แห่ง
1,408 อำเภอ (县 ; xiàn ) เป็นเขตการปกครองระดับอำเภอที่พบมากที่สุด มีมาตั้งแต่สมัยยุครณรัฐ และมีมาก่อนเขตการปกครองระดับอื่นในจีน คำว่า เสี้ยน มักแปลว่า "อำเภอ" หรือ "เทศมณฑล"
117 อำเภอปกครองตนเอง (自治县 ; zìzhìxiàn ) เป็นอำเภอที่มีชนกลุ่มน้อยทางชาติพันธุ์อย่างน้อยหนึ่งกลุ่ม ซึ่งคล้ายคลึงกับเขตปกครองตนเองและจังหวัดปกครองตนเอง
360 นครระดับอำเภอ (县级市 ; xiànjíshì ) คล้ายกับนครระดับจังหวัด ซึ่งครอบคลุมทั้งในเมืองและชนบท อำเภอต่าง ๆ มักยกฐานะเป็นนครระดับอำเภอในทศวรรษ 1990 แต่ก็ได้หยุดชะงักไป
913 เขต (市辖区 / 区 ; shìxiáqū / qū ) เดิมเป็นเขตการปกครองสำหรับเขตเมือง ครอบคลุมเฉพาะในเมืองเท่านั้น แต่ปัจจุบัน หลายอำเภอได้เปลี่ยนมาเป็นเขต ทำให้เขตอาจมีสภาพเหมือนกับอำเภอ
49 กองธง (旗 ; qí ) เหมือนกันกับอำเภอ ต่างกันเพียงชื่อ ซึ่งมาจากรูปแบบหน่วยการปกครองของมองโกเลียในสมัยก่อน
3 กองธงปกครองตนเอง (自治旗 ; zìzhìqí ) เหมือนกันกับอำเภอปกครองตนเอง ต่างกันเพียงชื่อ ซึ่งมาจากรูปแบบหน่วยการปกครองของมองโกเลียในสมัยก่อน
1 เขตป่าไม้ (林区 ; línqū ) เป็นเขตการปกครองระดับอำเภอประเภทพิเศษ ตั้งอยู่ในมณฑลหูเป่ย์
1 เขตพิเศษ (特区 ; tèqū ) เป็นเขตการปกครองระดับอำเภอประเภทพิเศษ ตั้งอยู่ในมณฑลกุ้ยโจว
สรุป
ตารางสรุปการแบ่งเขตการปกครองของสาธารณรัฐจีน เมื่อเดือนมิถุนายน 2017
ระดับ
ชื่อ
ประเภท
1
ระดับมณฑล省级行政区 /一级行政区 (33 แห่ง) (อ้างสิทธิ์ 1 แห่ง)
2
ระดับจังหวัด地级行政区 /二级行政区 (334 แห่ง)
3
ระดับอำเภอ县级行政区 /三级行政区 (2,851 แห่ง)
(1) เขตพิเศษ (特区 tèqū )
(1) เขตป่าไม้ (林区 línqū )
4
ระดับตำบล乡级行政区 /四级行政区 (39,864 แห่ง)
(8,122) แขวง (街道 / 街 ; jiēdào / jiē )
สำนักงานแขวง (街道办事处 ; jiēdào bànshìchù )[ 5] [ 6]
สำนักงานเขต (区公所 ; qūgōngsuǒ )
5
ระดับหมู่บ้าน基层群众自治组织 (662,393 แห่ง)
ชุมชน (社区 ; shèqū )
(558,310) คณะกรรมการหมู่บ้าน (村民委员会 cūnmínwěiyuánhuì )
เขตบริหารหมู่บ้าน / หมู่บ้าน (行政村 / 村 ; xíngzhèngcūn / cūn )
กาฉา (嘎查 ; gāchá )
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น