บทความนี้
ต้องการตรวจสอบความถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้น ๆ โปรดเพิ่มพารามิเตอร์
reason หรือ
talk ลงในแม่แบบนี้เพื่ออธิบายปัญหาของบทความ
เมื่อวางแท็กนี้ ให้พิจารณาเชื่อมโยงคำขอนี้ กับโครงการวิกิ
เขตการปกครองระดับจังหวัด (จีน : 地级行政区 ) เป็นหน่วยการปกครองของประเทศจีนระดับที่สองรองจากมณฑล มีทั้งหมด 339 แห่ง แบ่งเป็น 7 จังหวัด, 299 นครระดับจังหวัด , 30 จังหวัดปกครองตนเอง และ 3 เหมิงหรือแอมัก (จังหวัดของมองโกเลียใน)
ประเภทของเขตการปกครองระดับจังหวัด
จังหวัด
จังหวัดเป็นหน่วยการปกครองย่อยรองลงมาจากเขตการปกครองระดับมณฑล
คณะกรรมการการปกครอง (จีน : 行政公署 ; พินอิน : xíngzhèng gōngshǔ ) เป็นสำนักงานสาขาทางการปกครองที่มีระดับเทียบเท่ากับกระทรวง (จีน : 司级 ) และถูกส่งมาประจำอยู่ในจังหวัดโดยคณะปกครองของมณฑล หัวหน้าคณะปกครองของจังหวัด เรียกว่า กรรมการปกครองจังหวัด (จีน : 行政公署专员 ; พินอิน : xíngzhèng gōngshǔ zhūanyūan ) ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากคณะปกครองของมณฑล แทนที่จะใช้สภาประชาชนในท้องถิ่น คณะกรรมการสภาประชาชนประจำมณฑลจะส่งคณะกรรมการประจำจังหวัดไปกำกับดูแลคณะปกครองของจังหวัด และไม่สามารถเลือกตั้งหรือปลดคณะปกครองของจังหวัดได้[ 1] คณะทำงานจังหวัดของคณะกรรมการสภาที่ปรึกษาทางการเมืองประชาชนจีน (CPPCC) ประจำมณฑล เป็นส่วนหนึ่งของคณะกรรมการ CPPCC ประจำจังหวัด ซึ่งหมายความว่าคณะทำงานจังหวัดของ CPPCC เป็นสาขาของคณะกรรมการ CPPCC ประจำมณฑล ไม่ใช่หน่วยงานที่แยกเป็นเอกเทศ เช่นเดียวกับคณะกรรมการ CPPCC ประจำมณฑล ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคณะกรรมการ CPPCC ระดับชาติ
คำว่า จังหวัด เดิมมาจากคำว่า 道 (พินอิน : dào เต้า ) ซึ่งอยู่ในระดับระหว่างมณฑลและอำเภอในสมัยราชวงศ์ชิง ในปี 1928 รัฐบาลของสาธารณรัฐจีน ได้ยกเลิกเต้า ทำให้อำเภอ อยู่ภายใต้การปกครองของมณฑล โดยตรง แต่หลังจากนั้นไม่นานก็พบว่าไม่สามารถทำได้เนื่องจากบางมณฑลมีหลายร้อยอำเภอ ด้วยเหตุนี้ ในปี 1932 มณฑลต่าง ๆ จึงถูกแบ่งออกเป็นจังหวัดอีกครั้ง และได้มีการจัดตั้งสำนักงานการปกครองส่วนภูมิภาคขึ้น
จนถึงช่วงเวลาหนึ่ง จังหวัดถือได้ว่าเป็นเขตการปกครองระดับจังหวัด ประเภทหนึ่งที่พบได้ทั่วไป ในปัจจุบัน จังหวัดส่วนใหญ่ได้เปลี่ยนสถานะมาเป็นนครระดับจังหวัด และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยประเทศจีนมีเขตการปกครองที่เรียกว่าจังหวัดเหลืออยู่เพียง 7 จังหวัด
ชื่อ
อักษรจีน
เขตการปกครอง ระดับมณฑล
ประชากร (2010 )
พื้นที่ (ตร.กม.)
เขตที่ตั้งศาลากลาง
จังหวัดต้าซิงอันหลิ่ง
大兴安岭地区
เฮย์หลงเจียง
511,564
46,755
เขตเจียเก๋อต๋าฉี (โดยพฤตินัย) , นครมั่วเหอ (โดยนิตินัย)
จังหวัดงารี่
阿里地区
ทิเบต
95,465
304,683
เมืองเซงเขคาบั้บ (ชือชวันเหอ) ในอำเภอก๋าร์
จังหวัดอัลไต
阿勒泰地区
ซินเจียง
603,280
117,988
นครอัลไต
จังหวัดถ่าเฉิง
塔城地区
ซินเจียง
1,219,212
94,891
นครถ่าเฉิง
จังหวัดคัชการ์
喀什地区
ซินเจียง
3,979,362
112,058
นครคัชการ์
จังหวัดอักซู
阿克苏地区
ซินเจียง
2,370,887
128,099
นครอักซู
จังหวัดโฮตัน
和田地区
ซินเจียง
2,014,365
248,946
นครโฮตัน
นครระดับจังหวัด
นครระดับจังหวัด (地级市 พินอิน : dìjíshì) เป็นเทศบาลนครที่ได้รับสถานะจังหวัดและสิทธิ์ในการปกครองอำเภอ โดยรอบ ในทางปฏิบัติ นครระดับจังหวัดนั้นมีเนื้อที่ใหญ่เหมือนกับเขตการปกครองระดับจังหวัดประเภทอื่น ๆ และไม่ตรงกับความหมายสากลของคำว่า "นคร" กล่าวคือ ไม่ได้หมายความว่าจะมีลักษณะความเป็นเมืองทั้งพื้นที่
นครระดับจังหวัดเป็นเขตการปกครองระดับจังหวัด ที่พบมากที่สุดในจีนแผ่นดินใหญ่ ในปัจจุบัน
เหมิง
จังหวัดปกครองตนเอง
จังหวัดปกครองตนเอง (自治州 ; zìzhìzhōu ; จื้อจื้อโจว ) เป็นพื้นที่ที่มีประชากรเป็นชนกลุ่มน้อย หรือเคยเป็นที่อยู่อาศัยของชนกลุ่มน้อยอย่างมีนัยสำคัญ แต่จำนวนประชากรส่วนใหญ่ในจังหวัดปกครองตนเองทั้งหมดถูกครอบงำโดยชาวจีนฮั่น ชื่อทางการของจังหวัดปกครองตนเองจะประกอบด้วยชื่อชนชาติของชนกลุ่มน้อยที่มีประชากรมากที่สุดในพื้นที่นั้น บางแห่งก็ตั้งชื่อคู่กัน 2 ชนชาติ หรือ 3 ชนชาติก็มีแต่พบได้น้อย ตัวอย่างเช่น ชนชาติคาซัค ก็จะเรียกว่า คาซัคจื้อจื้อโจว
จังหวัดปกครองตนเองแบ่งออกเป็นเขตการปกครองระดับอำเภอ เช่นเดียวกับเขตการปกครองระดับจังหวัดประเภทอื่น ๆ แต่มีข้อยกเว้น คือ จังหวัดปกครองตนเองชนชาติคาซัค อีหลี จะมี 2 จังหวัดที่อยู่ภายใต้การปกครองของตน
ตามรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน จังหวัดปกครองตนเองไม่สามารถยุบเลิกได้ อย่างไรก็ตาม เคยมีการยุบจังหวัดปกครองตนเอง 2 แห่ง เพื่อจัดตั้งมณฑลใหม่ เช่น จังหวัดปกครองตนเองชนชาติหลีและเหมียว ไห่หนาน ถูกยุบเพื่อจัดตั้งมณฑลไหหลำ ในปี 1988 และจังหวัดปกครองตนเองชนชาติถู่เจียและเหมียว เฉียนเจียง ถูกยุบเพื่อจัดตั้งเทศบาลนครปกครองโดยตรงฉงชิ่ง ในปี 1997
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
↑ "The standing committee of the people’s congress of a province and autonomous region may set up administrative offices in the prefectures under its jurisdiction.
" from Item 2, Article 53, Organic Law of the Local People’s Congresses and Local People’s Governments of the People’s Republic of China (2004 Revision)