ประเทศในเอเชียกลาง
สาธารณรัฐคาซัคสถาน
Қазақстан Республикасы / Qazaqstan Respublikasy (คาซัค) Респу́блика Казахста́н (รัสเซีย)
เมืองหลวง อัสตานา [ 1] 51°10′N 71°26′E / 51.167°N 71.433°E / 51.167; 71.433 เมืองใหญ่สุด อัลมาเตอ 43°16′39″N 76°53′45″E / 43.27750°N 76.89583°E / 43.27750; 76.89583 ภาษาราชการ คาซัค , รัสเซีย
[ a] กลุ่มชาติพันธุ์ ศาสนา เดมะนิม ชาวคาซัคสถาน[ d] [ 6] การปกครอง รัฐเดี่ยว สาธารณรัฐ ระบบประธานาธิบดี และระบบพรรคเด่น ฆาเซิม-โฌมาร์ต โตกาเยฟ โวลฌัส เบียกเตียนัฟ
สภานิติบัญญัติ รัฐสภา วุฒิสภา Mazhilis ก่อตั้ง ค.ศ. 1465 13 ธันวาคม ค.ศ. 1917 26 สิงหาคม ค.ศ. 1920 19 มิถุนายน ค.ศ. 1925 5 ธันวาคม ค.ศ. 1936 • ประกาศเป็นอธิปไตย
25 ตุลาคม ค.ศ. 1990 10 ธันวาคม ค.ศ. 1991 16 ธันวาคม ค.ศ. 1991 21 ธันวาคม ค.ศ. 1991 26 ธันวาคม ค.ศ. 1991 2 มีนาคม ค.ศ. 1992 30 สิงหาคม ค.ศ. 1995
พื้นที่ • รวม
2,724,900 ตารางกิโลเมตร (1,052,100 ตารางไมล์) (อันดับที่ 9 ) 1.7 ประชากร • ค.ศ. 2020 ประมาณ
18,711,560[ 7] (อันดับที่ 64 )7 ต่อตารางกิโลเมตร (18.1 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 236 ) จีดีพี (อำนาจซื้อ ) ค.ศ. 2020 (ประมาณ) • รวม
569.813 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[ 8] (อันดับที่ 41 ) 30,178 ดอลลาร์สหรัฐ[ 8] (อันดับที่ 53 )จีดีพี (ราคาตลาด) ค.ศ. 2020 (ประมาณ) • รวม
179.332 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[ 8] (อันดับที่ 55 ) 9,686 ดอลลาร์สหรัฐ[ 8] (อันดับที่ 69 )จีนี (ค.ศ. 2017) 27.5[ 9] ต่ำ เอชดีไอ (ค.ศ. 2019) 0.825[ 10] สูงมาก · อันดับที่ 51 สกุลเงิน เท็งเก (₸) (KZT )เขตเวลา UTC +5 / +6 (ตะวันตก / ตะวันออก )รูปแบบวันที่ ปปปป.วว.ดด (kk ) วว.ดด.ปปปป (ru ) ขับรถด้าน ขวามือ รหัสโทรศัพท์ +7-6xx, +7-7xx โดเมนบนสุด
คาซัคสถาน (คาซัค : Қазақстан / Qazaqstan , ออกเสียง [qɑzɑqˈstɑn] ; รัสเซีย : Казахста́н , ออกเสียง: [kɐzəxˈstɐn] ) มีชื่อทางการว่า สาธารณรัฐคาซัคสถาน (คาซัค : Қазақстан Республикасы / Qazaqstan Respublikasy ; รัสเซีย : Респу́блика Казахста́н ) เป็นรัฐข้ามทวีปที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียกลาง และกินพื้นที่บางส่วนของยุโรปตะวันออก มีพรมแดนติดต่อกับประเทศรัสเซีย ทางทิศเหนือและตะวันตก ติดต่อกับประเทศจีน ทางทิศตะวันออก ติดต่อกับประเทศคีร์กีซสถาน ทางตะวันออกเฉียงใต้ ติดต่อกับประเทศอุซเบกิสถาน ทางทิศใต้ และติดต่อกับเติร์กเมนิสถาน ทางตะวันตกเฉียงใต้ เมืองหลวงคืออัสตานา (ซึ่งมีชื่อเรียกว่า "โนร์-โซลตัน" ระหว่าง พ.ศ. 2562–2565) โดยมีอัลมาเตอ เป็นเมืองหลวงเก่าจนถึง พ.ศ. 2540 คาซัคสถานเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล ขนาดใหญ่ที่สุดในโลก เป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในกลุ่มโลกอิสลาม และใหญ่เป็นอันดับเก้าของโลก มีประชากรประมาณ 19 ล้านคน ถือเป็นประเทศที่มีความหนาแน่นประชากร ต่ำ คือน้อยกว่า 6 คนต่อตารางกิโลเมตร (15 คนต่อตารางไมล์)
ดินแดนของคาซัคสถานเป็นถิ่นอาศัยของชนเผ่าและอาณาจักรเก่าแก่มาตั้งแต่อดีตกาล ชาวซิท เคยปกครองดินแดนแห่งนี้ตั้งแต่สมัยโบราณ ก่อนทีจักรวรรดิอะคีเมนิด จะเรืองอำนาจและขยายอาณาเขตจรดดินแดนทางใต้ กลุ่มชนเตอร์กิก ซึ่งเป็นชนเผ่าเร่ร่อนที่สืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์เติร์กเข้ามาตั้งรกรากประมาณช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 6 จักรวรรดิมองโกล ภายใต้การปกครองของเจงกิส ข่าน เข้าปราบปรามและยึดครองดินแดนในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ตามด้วยการยึดครองดินแดนส่วนใหญ่โดยรัฐข่านคาซัคในคริสต์ศตวรรษที่ 15 ซึ่งได้กลายเป็นอาณาเขตของคาซัคสถานยุคใหม่ในเวลาต่อมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ชาวคาซัค ซึ่งเป็นหนึ่งในชนกลุ่มย่อยของกลุ่มชนเติร์ก เข้ามาตั้งรกราก และแยกตัวออกเป็นสามกลุ่มย่อยที่เรียกว่า Zhuz การตั้งถิ่นฐานของพวกเขารุกล้ำเขตแดนของรัสเซียตลอดคริสต์ศตวรรษที่ 18 ก่อนที่ชาวรัสเซีย จะตอบโต้ด้วยการรุกล้ำบริเวณทุ่งหญ้าคาซัค และยึดครองดินแดนทั้งหมดก่อนผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิรัสเซีย ในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 และปลดปล่อยทาสทั้งหมดที่ถูกชาวคาซัคจับตัวมา[ 11] การปฏิวัติรัสเซีย และสงครามกลางเมืองรัสเซีย นำไปสู่การจัดระเบียบการปกครองในดินแดนอีกหลายครั้ง ใน พ.ศ. 2479 ดินแดนทั้งหมดกลายเป็นสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคาซัค ภายใต้สหภาพโซเวียต คาซัคสถานถือเป็นสาธารณรัฐของสหภาพโซเวียต แห่งสุดท้ายที่ประกาศเอกราชระหว่างการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ระหว่าง พ.ศ. 2531–2534
คาซัคสถานถือเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและการเมืองในภูมิภาคเอเชียกลาง โดยถือครองจีดีพีเฉลี่ยถึงร้อยละ 60 ของทั่วทั้งภูมิภาค รายได้หลักมาจากอุตสาหกรรมส่งออกน้ำมันและก๊าซ รวมทั้งมีทรัพยากรแร่ธาตุจำนวนมาก[ 12] คาซัคสถานเป็นสาธารณรัฐซึ่งปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดยนิตินัย อย่างไรก็ตาม องค์กรสิทธิมนุษยชนอธิบายว่ารัฐบาลคาซัคมีการปกครองแบบเผด็จการ และมีสิทธิมนุษยชนในระดับต่ำ คาซัคสถานถือเป็นรัฐเดี่ยว ที่เป็นสังคมพหุนิยมทางวัฒนธรรม[ 13] และได้รับการจัดอันดับทางดัชนีการพัฒนามนุษย์ สูงสุดในภูมิภาค คาซัคสถานเป็นสมาชิกของสหประชาชาติ องค์การการค้าโลก เครือรัฐเอกราช องค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้ สหภาพเศรษฐกิจยูเรเชีย องค์การสนธิสัญญาความมั่นคงร่วมกัน องค์การว่าด้วยความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรป องค์การความร่วมมืออิสลาม องค์การรัฐเติร์ก และองค์การวัฒนธรรมเติร์กระหว่างประเทศ
ภูมิศาสตร์
แผนที่ประเทศคาซัคสถาน
ภูมิลักษณ์ในภาคเหนือของคาซัคสถาน
ด้วยพื้นที่ 2.7 ล้านตารางกิโลเมตร (1.56 ล้านตารางไมล์) คาซัคสถานจึงเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 9 ของโลก โดยมีขนาดพอ ๆ กับภูมิภาคยุโรปตะวันตก
เมืองใหญ่ของประเทศได้แก่ อัสตานา (เป็นเมืองหลวงตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2541), อัลมาเตอ (อดีตเมืองหลวง เคยเป็นที่รู้จักกันในชื่อ อัลมา-อะตา (Alma-Ata) และก่อน พ.ศ. 2460 (1917) ในชื่อเวียร์นืย), คาราฆันเดอ , เชิมเกียนต์ , เซียเมียย์ (เซมีปาลาตินสค์) และเตอร์กิสถาน เคยเป็นที่รู้จักในชื่อ ยาซี
ลักษณะภูมิประเทศแผ่ขยายจากตะวันออกจดตะวันตก ตั้งแต่ทะเลสาบแคสเปียน จนถึงแอ่งทาริม (ซินเจียง ) และเทือกเขาอัลไต และจากเหนือจดใต้ ตั้งแต่ที่ราบไซบีเรียตะวันตกจนถึงโอเอซิสและทะเลทรายของภูมิภาคเอเชียกลาง
ลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบภาคพื้นทวีป มีฤดูหนาวที่หนาวเย็นและฤดูร้อนแห้งแล้งและกึ่งแห้งแล้ง
ความยาวของพรมแดน: รัสเซีย 6,846 กิโลเมตร, อุซเบกิสถาน 2,203 กิโลเมตร, จีน 1,533 กิโลเมตร, คีร์กีซสถาน 1,051 กิโลเมตร และเติร์กเมนิสถาน 379 กิโลเมตร
แม่น้ำและทะเลสาบสำคัญได้แก่
อัสตานา
อัลมาเตอ เมืองที่ใหญ่ที่สุดของคาซัคสถาน
ประวัติศาสตร์
ส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต
คาซัคสถานเคยเป็น 1 ใน 15 รัฐของสหภาพโซเวียต เรียกว่า สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคาซัค (KSSR) ภายหลังวันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 1991 ก็ประกาศเอกราชเป็นรัฐสุดท้ายจากสหภาพโซเวียตและก่อตั้งประเทศคาซัคสถาน
ดินแดนที่เป็นคาซัคสถานในปัจุบัน มีผู้คนมาตั้งถิ่นฐานทำมาหากินตั้งแต่ยุคหิน ซึ่งจากสภาพภูมิประเทศที่แห้งแล้ง อาชีพหลักของคนในยุคโบราณ ก็คือการเลี้ยงสัตว์แบบเร่ร่อน โดยเริ่มต้นมาจากการเลี้ยงม้า
ในยุคศตวรรษที่ 13 ชาวมองโกล ก็เข้ามาในเขตนี้ และก็เริ่มวางระบบการปกครองที่เป็นเรื่องเป็นราวขึ้น และมีการเรียกเขตการปกครองของพวกเขาว่า รัฐข่านคาซัค แต่ความเป็นตัวตนของชาวคาซัค เริ่มปรากฏชัดในศตวรรษที่ 16 เมื่อภาษา วัฒนธรรม แบบคาซัคเริ่มมีความแตกต่างจากคนกลุ่มอื่น
ในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 รัสเซียที่ปกครองดินแดนแถบนี้อยู่ แต่ไม่ได้ให้ความสนใจอะไรมากมาย ก็เริ่มขยายอิทธิพลเข้ามาอย่างเป็นจริงเป็นจัง และสามารถควบคุมปกครองดินแดนแถบนี้ได้อย่างประสบความสำเร็จ เนื่องจากวิตกเรื่องการขยายอิทธิพลเข้ามาของฝ่ายอังกฤษ
การแบ่งเขตการปกครอง
ประเทศคาซัคสถานแบ่งออกเป็น 14 แคว้น (คาซัค : облыс/oblys ; รัสเซีย : область ) และ 4 นคร* (คาซัค : қаласы/qalasy ; รัสเซีย : Город ) ทุกแคว้นมีผู้ว่าการแคว้นที่แต่งตั้งโดยประธานาธิบดี ส่วนนายกเทศมนตรีได้รับการแต่งตั้งจากผู้ว่าการแคว้น รัฐบาลคาซัคสถานย้ายเมืองหลวงจากอัลมาเตอ ไปอัสตานา เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2541
ชื่อหน่วยการปกครอง
เมืองหลัก
เนื้อที่ (ตร.กม.)
ประชากร (สำมะโน พ.ศ. 2552)[ 14]
รหัส ไอเอสโอ 3166-2
แผนที่
กุสตาไน
196,001
0, 885,570
KZ-KUS
โวรัล
151,339
0, 598,880
KZ-ZAP
วึสเกียเมียน
283,226
1,396,593
KZ-VOS
เปียโตรปัฟล์
0 97,993
0, 596,535
KZ-SEV
คาราฆันเดอ
427,982
1,341,700
KZ-KAR
คืยซิลออร์ดา
226,019
0, 678,794
KZ-KZY
–
0, 1,170
0, 603,499
KZ-SHY
ตารัซ
144,264
1,022,129
KZ-ZHA
เตอร์กิสถาน
117,249
2,469,357
KZ-TUR
–
000, 710
0, 613,006
KZ-AST
–
000,0 57
0,0 36,175
ปัฟโลดาร์
124,800
0, 742,475
KZ-PAV
อักเตา
165,642
0, 485,392
KZ-MAN
อักเตอเบีย
300,629
0, 757,768
KZ-AKT
เกิกเชียเตา
146,219
0, 737,495
KZ-AKM
ตัลเดอโกร์ฆัน
223,924
1,807,894
KZ-ALM
–
000, 319
1,365,632
KZ-ALA
อาเตอเรา
118,631
0, 510,377
KZ-ATY
ใน พ.ศ. 2538 รัฐบาลคาซัคสถานและรัสเซีย ได้ทำข้อตกลงให้รัสเซียเช่าพื้นที่ 6,000 ตารางกิโลเมตร รอบท่าอวกาศยานบัยโกเงอร์ และเมืองบัยโกเงอร์เป็นเวลา 20 ปี
นโยบายต่างประเทศ
ความสัมพันธ์กับไทย
ความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศดำเนินไปอย่างราบรื่นมาโดยตลอด ตั้งแต่มีการสถาปนาความสัมพันธ์เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2535 ปัจจุบัน ความสัมพันธ์ไทย – คาซัคสถานนับได้ว่ามีพัฒนาการที่ก้าวหน้าและแน่นแฟ้น ยิ่งขึ้น โดยได้มีการแลกเปลี่ยนการเยือนระดับสูงระหว่างกัน รวมทั้งได้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และความร่วมมือด้านต่าง ๆ ระหว่างกันอย่างต่อเนื่อง อาทิ ความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวและบริการ และวิชาการ เป็นต้น
ไทยได้แต่งตั้งนาย Mirgali Kunayev เป็น กสม. ณ นครอัลมาเตอ และมีอำนาจตรวจลงตรา ซึ่งนักท่องเที่ยวคาซัคสถานสามารถขอรับการตรวจลงตราเพื่อพำนักในไทยได้เกิน 15 วัน
ผู้นำไทยกับคาซัคสถานมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดและมีการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างกันอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งมีส่วนช่วยให้ความร่วมมือระหว่างสองประเทศดำเนินไปอย่างราบรื่น คาซัคสถานได้ให้การสนับสนุนไทยในการสมัครเป็นสมาชิกการประชุมว่าด้วยการปฏิสัมพันธ์และการแสวงหามาตรการเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจในเอเชีย (Conference on Interaction and Confidence Building Measures in Asia - CICA) ซึ่งเป็นกรอบการประชุมเพื่อส่งเสริมความมั่นคงและเสถียรภาพในภูมิภาคเอเชียที่คาซัคสถานได้ริเริ่มขึ้น โดยไทยได้เข้าเป็นสมาชิกของ CICA เมื่อเดือนตุลาคม 2547
ฝ่ายคาซัคสถานประสงค์ที่จะสมัครเป็นสมาชิกการประชุมว่าด้วยความมั่นคงระหว่างประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN Regional Forum - ARF) และขอรับการสนับสนุนจากประเทศไทย
ไทยได้สนับสนุนคาซัคสถานในการเข้าร่วมเป็นสมาชิกความร่วมมือเอเชีย (Asia Cooperation Dialogue - ACD) ซึ่งไทยริเริ่ม โดยในระหว่างการประชุมรัฐมนตรี ACD เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2546 ที่จังหวัดเชียงใหม่ ที่ประชุมฯ ได้ให้การสนับสนุนอย่างเป็นเอกฉันท์ในการรับคาซัคสถานเข้าเป็นสมาชิก ACD
กองทัพ
กองทหารเกียรติยศหน่วยพิทักษ์สาธารณรัฐ
กองทัพบก
ทหารคาซัคสถานส่วนใหญ่ถูกสืบทอดมาจากกองทัพแดง ของสหภาพโซเวียต หน่วยงานเหล่านี้กลายเป็นแกนหลักของทหารคาซัคสถานสมัยใหม่ กองทัพบกคาซัคสถานได้มุ่งเน้นที่หน่วยรถหุ้มเกราะ ในปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1990 หน่วยหุ้มเกราะได้ขยายจาก 500 คัน ถึง 1,613 คัน ใน ค.ศ. 2005
คาซัคสถานได้ส่งทหารวิศวกร 49 คน ไปยังอิรัก เพื่อให้ความช่วยเหลือภารกิจของสหรัฐ ในการบุกรุกอิรัก
เศรษฐกิจ
โครงสร้างทางเศรษฐกิจ
คาซัคสถานเป็นประเทศที่มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับสองในกลุ่มประเทศอดีตสหภาพโซเวียต มีทรัพยากรที่สำคัญเป็นจำนวนมาก เช่น น้ำมันดิบ แร่ธาตุ ตลอดจนยังมีขีดความสามารถทางการเกษตรอันเนื่องมาจากพื้นที่สำหรับเพาะปลูกและทำปศุสัตว์ ที่กว้างขวาง
ก่อนปี พ.ศ. 2533 ระบบเศรษฐกิจคาซัคสถานเป็นส่วนหนึ่งของระบบการแบ่งการผลิตของสหภาพโซเวียต โดยถูกกำหนดให้มีความชำนาญด้านเกษตรกรรม ตามโครงการดินแดนบริสุทธิ์ฮรุชชอฟ (Khrushchev Virgin Lands) ส่วนอุตสาหกรรมหลักขึ้นอยู่กับการขุดเจาะน้ำมันและการทำเหมืองแร่ การผสมโลหะ และการสกัดแร่ธาตุ ตลอดจนการผลิตเครื่องจักรขนาดใหญ่ เช่น เครื่องมือก่อสร้าง รถแทรกเตอร์ และเครื่องมือเครื่องใช้ในการเกษตร
ภายหลังการสลายตัวของสหภาพโซเวียต ความต้องการสินค้าเครื่องจักรกลหนักซึ่งเป็นสินค้าหลักของคาซัคสถานได้ลดลง ส่งผลให้สภาพเศรษฐกิจตกต่ำอย่างมากระหว่างปี พ.ศ. 2534 - 2537 อัตราเงินเฟ้อสูงและมูลค่า Real GDP ลดลงมากกว่าร้อยละ 5 ระหว่างปี พ.ศ. 2538 - 2540 รัฐบาลคาซัคสถานได้ปฏิรูประบบเศรษฐกิจและแปรรูปรัฐวิสาหกิจอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ทรัพย์สินส่วนใหญ่ตกสู่ภาคเอกชน อัตราการเจริญเติบโตของประเทศเริ่มฟื้นตัวขึ้น
ในปี พ.ศ. 2539 คาซัคสถานได้เข้าร่วมเป็นภาคีความร่วมมือก่อสร้างท่อส่งน้ำมันในทะเลแคสเปียน ซึ่งส่งผลให้สามารถส่งออกน้ำมันได้มากขึ้น
ในปี พ.ศ. 2541 สภาวะการตกต่ำของราคาน้ำมันในตลาดโลกได้ส่งผลให้เศรษฐกิจของคาซัคสถานตกต่ำลงชั่วขณะ แต่หลังจากปี พ.ศ. 2542 ราคาน้ำมันได้ถีบตัวสูงขึ้น ประกอบกับการลดค่าเงิน ที่ถูกจังหวะและการเกษตรที่ได้ผลดี ทำให้ภาวะเศรษฐกิจคาซัคสถานเจริญเติบโต
ภาคเกษตรกรรม
เกษตรกรรม เป็นภาคอุตสาหกรรม ที่มีการจ้างงานมากที่สุด คิดเป็นหนึ่งในสามของการส่งออก หรือ ร้อยละ 20-25 ของแรงงานภาคอุตสาหกรรม ผลผลิตหลักได้แก่ เมล็ดพันธุ์พืช
แต่การเก็บเกี่ยวผลผลิตที่ไม่แน่นอนและการปฏิรูประบบเศรษฐกิจอย่างลุ่ม ๆ ดอน ๆ ทำให้การเก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์พืชที่เคยสูงสุดในปี พ.ศ. 2535 กลับตกต่ำที่สุดในปี พ.ศ. 2538 และการผลิตภาคการเกษตรซึ่งเคยมีส่วนแบ่งรายได้ประชาชาติร้อยละ 23 ในปี พ.ศ. 2532 กลับลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 8.6 ในปี พ.ศ. 2543 ส่วนภาคการบริการที่ถูกละเลยภายใต้ระบอบคอมมิวนิสต์ กลับมีการขยายตัวขึ้นอย่างเห็นได้ชัดนับแต่ได้รับเอกราช
ส่วนด้านการค้า ที่อยู่อาศัย และการคมนาคม ก็มีการขยายตัวอย่างรวดเร็วเช่นกัน สำหรับการลงทุนนั้นมีมูลค่าร้อยละ 19 ของ GDP โดยหนึ่งในสี่ของการลงทุนนั้น มาจากบริษัทต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมน้ำมันและโลหะ
การครอบครองกรรมสิทธิ์ที่ดิน
การโอนธุรกิจที่ดินให้เป็นของภาคเอกชนดำเนินไปอย่างช้า ๆ และรัฐบาลอนุญาตให้ชาวคาซัคเท่านั้นเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินเกษตรกรรมได้ ในกรณีที่ชาวต่างชาติและประชาชนทั่วไปต้องการครอบครองกรรมสิทธิ์ที่ดินอื่น ๆ จะต้องมีบ้านหรือทรัพย์สินอยู่บนที่ดินผืนนั้น ส่วนที่ดินนอกเหนือจากนั้นถูกครอบครองโดยภาครัฐ
การปฏิรูปเศรษฐกิจ
ประธานาธิบดีนาซาร์บาเยฟได้นำความล้มเหลวและข้อผิดพลาดของการปฏิรูปเศรษฐกิจในยุโรปตะวันออก มาเป็นพื้นฐานในการกำหนดนโยบายปฏิรูปเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะข้อผิดพลาดเกี่ยวกับการเร่งสร้างระบบเศรษฐกิจแบบตะวันตก ด้วยการปฏิเสธบทบาทของรัฐในระบบเศรษฐกิจและนำกลไกตลาดมาใช้ทันทีโดยมิได้มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้สามารถรองรับการพัฒนาของระบบอย่างสอดคล้องกันเสียก่อน ด้วยเหตุนี้ คาซัคสถานจึงให้ความสำคัญกับการดำเนินบทบาทของรัฐในการควบคุม การผลิต การหมุนเวียนเงินทุน และการดำเนินความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับต่างประเทศต่อไป พร้อมทั้งผสมผสานกลไกของรัฐและกลไกตลาดเข้าด้วยกัน
สภาพเศรษฐกิจของคาซัคสถานกำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนาไปสู่ระบบการตลาดแบบเสรี ในปี พ.ศ. 2539 คาซัคสถานเริ่มฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและมีเสถียรภาพทางการเงินมากขึ้น สังเกตได้จากอัตราเงินเฟ้อของราคาผู้บริโภคลดลงเหลือเพียงร้อยละ 39.1 ในปี พ.ศ. 2539 เมื่อเทียบกับปี พ.ศ. 2538 ที่มีอัตราร้อยละ 175 และปี พ.ศ. 2537 ที่มีอัตราถึงร้อยละ 1,900 ส่วนอัตราการว่างงานนั้นอยู่ในระดับที่ต่ำ
อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ทางเศรษฐกิจก็ยังมีความเปราะบางอยู่ โดยเฉพาะในส่วนของอุตสาหกรรมผลิตเหล็กและเหมืองแร่ยังตกต่ำอยู่ เพราะขาดแคลนเงินทุนและปัจจัยในการผลิต ทำให้มีส่วนเกินของแรงงานและประสิทธิภาพ ส่วนทางภาคเกษตรกรรม นั้น ผลผลิตก็ยังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าที่คาดหมายกันไว้
การลงทุนขุดเจาะน้ำมันที่บ่อน้ำมัน Tengiz ของคาซัคสถาน ซึ่งรัฐบาลคาซัคสถานลงทุนร่วมกับบริษัท Chevron ของสหรัฐ ฯ ได้รับผลกระทบจากการดำเนินนโยบายของรัสเซียที่จะจำกัดการส่งออกน้ำมันของคาซัคสถานผ่านท่อส่งน้ำมันของตน โดยล่าสุด บ่อน้ำมัน Tengiz สามารถส่งออกน้ำมันได้เพียง 880,000 บาร์เรลต่อเดือนเท่านั้น ในขณะที่เป้าหมายการผลิตในปี พ.ศ. 2540 คือ 30,000 บาร์เรลต่อวัน
อย่างไรก็ตาม คาซัคสถาน รัสเซีย ตุรกี อาเซอร์ไบจาน และสหรัฐอเมริกา ก็ได้ร่วมกันหารือเพื่อแก้ไขปัญหาการส่งออกน้ำมันผ่านท่อของประเทศต่าง ๆ ของคาซัคสถานแล้ว เนื่องจากคาซัคสถานมีโครงการสร้างท่อขนส่งน้ำมันและแก๊สผ่านรัสเซีย ไปยังชายฝั่งทะเลดำ โดยได้เริ่มดำเนินการในปี พ.ศ. 2541 และจะสิ้นสุดโครงการภายในสิ้นปี พ.ศ. 2543 แต่เส้นทางที่ท่อส่งน้ำมันและก๊าซผ่านนั้น เป็นประเทศคู่แข่งทางด้านนี้กับคาซัคสถานทั้งสิ้น เช่น อาเซอร์ไบจาน อิหร่าน และรัสเซีย และต้นทุนของการสร้างท่อก็มีราคาแพง ซึ่งในระยะยาวแล้ว คาซัคสถานจะต้องให้ความคุ้มครองแก่เส้นทางของท่อส่งออกน้ำมันและแก๊สทั้งด้านการค้าและการเมือง
เท่าที่ผ่านมา ประเทศที่ดูจะประสบความสำเร็จมากที่สุดในการดำเนินธุรกิจน้ำมันกับคาซัคสถาน ได้แก่ ตุรกี ซึ่งบรรลุข้อตกลงกับคาซัคสถานที่จะร่วมกันพัฒนาบ่อน้ำมัน และแก๊สธรรมชาติ ในคาซัคสถานถึง 7 แห่ง โดยตุรกีจะได้รับส่วนแบ่งเป็นน้ำมันจำนวน 2.1 พันล้านบาร์เรล และแก๊สธรรมชาติจำนวน 208.9 พันล้านลูกบาศก์เมตร คาซัคสถานมีน้ำมันสำรองถึง 2.5% ของปริมาณน้ำมันโลก และคาดว่าภายในปี 2560 จะติดอันดับ 1 ใน 10 ผู้ส่งออกน้ำมัน [ 15]
สำหรับการดึงดูดนักลงทุนจากต่างชาติ คาซัคสถานจะต้องแก้ปัญหาการทุจริตและปัญหาความไม่โปร่งใสของการลงทุน ซึ่งพบอยู่ทั่วไป โดยเฉพาะการครอบครองด้านเศรษฐกิจโดยกลุ่มผู้จัดการน้ำมันที่มีอำนาจทางการเมือง จะทำให้รัฐบาลมีรายได้จากการเก็บภาษีน้อยลง
สถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบัน
ก่อนวิกฤตเศรษฐกิจของรัสเซีย คาซัคสถานได้รับการกล่าวถึงจากนานาชาติค่อนข้างดี ในแง่ของความพยายามและผลของการพัฒนาประเทศ แต่โดยที่รัสเซียเป็นประเทศคู่ค้าหลักของคาซัคสถาน จึงทำให้คาซัคสถานได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจ ครั้งนี้ด้วย โดยเมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2542 รัฐบาลและธนาคารชาติคาซัคสถานได้ประกาศจะยุติการแทรกแซงเพื่อพยุงอัตราการแลกเปลี่ยนของเงินเต็งเก (Tenge) และปล่อยค่าเงินลอยตัว เพื่อให้สินค้าของคาซัคสถานสามารถแข่งขันกับสินค้าจากประเทศอื่นที่ได้ลดค่าเงินในตลาดโลกได้ ทั้งนี้ ค่าเงินเต็งเกอ่อนตัวลงอย่างต่อเนื่อง จากอัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อ 88 เต็งเก ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2542 จนเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2546 อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 146.37 เต็งเก
อย่างไรก็ดี คาซัคสถานได้พัฒนาระบบการเงินการธนาคารเป็นอย่างมาก รวมทั้งมีการปฏิรูประบบเศรษฐกิจและการเงิน จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2543 คาซัคสถานเป็นประเทศแรกของอดีตสหภาพโซเวียตที่สามารถจ่ายชำระหนี้คืนแก่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้ล่วงหน้าก่อนกำหนดถึง 7 ปี และในปี พ.ศ. 2545 ได้มีความร่วมมือกับรัฐบาลสหรัฐอเมริกาในด้านการวางแผนระบบเศรษฐกิจ ทั้งนี้ การปรับเปลี่ยนกฎระเบียบเกี่ยวกับภาษีและระบบการคลังมีส่วนช่วยในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมาก
น้ำมัน และแก๊สธรรมชาติ ยังคงเป็นอุตสาหกรรมหลักที่ทำรายได้ให้แก่ประเทศ ทั้งนี้ มีการพิสูจน์แล้วว่าคาซัคสถานเป็นแหล่งสำรองน้ำมันของโลกร้อยละ 2.5 และจะสามารถผลิตน้ำมันได้วันละ 3 ล้านบาร์เรลภายในปี พ.ศ. 2558 ซึ่งจะทำให้คาซัคสถานอยู่ในกลุ่ม 1 ใน 10 ของประเทศผู้ส่งออกน้ำมันของโลก
การท่องเที่ยว
ทะเลสาบ Issyk-Kul
แม้ว่าภูเขาและทะเลสาบเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ แต่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีการเติบโตช้ามากเพราะได้รับการลงทุนน้อย[ 16] ในช่วงทศวรรษ 2000 มีนักท่องเที่ยวเฉลี่ยปีละ 450,000 คน ส่วนใหญ่มาจากรัสเซีย ทะเลสาบ Issyk-Kul และภูเขาเทียนฉานเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ค่อนข้างนิยม
โครงสร้างพื้นฐาน
การศึกษา
สถานศึกษาในคาซัคสถาน
การศึกษาเป็นสากลและบังคับไปจนถึงระดับมัธยมศึกษาและอัตราการรู้หนังสือของผู้ใหญ่เป็น 99.5% การศึกษาประกอบด้วยการศึกษาหลัสามขั้นตอนคือ: ระดับประถมศึกษา (1-4 รูปแบบ), การศึกษาขั้นพื้นฐานทั่วไป (5-9 ฟอร์ม) และการศึกษาระดับอาวุโส (แบบฟอร์ม 10-11 หรือ 12) แบ่งเป็นหมวดวิชาศึกษาทั่วไปอย่างต่อเนื่องและการศึกษามืออาชีพ ปัจจุบันมีมหาวิทยาลัย โรงเรียน และสถาบันการดนตรี โรงเรียนที่สูงขึ้นและสูงขึ้นอยู่ที่วิทยาลัย
ประชากร
เชื้อชาติ
เมืองที่ใหญ่ที่สุดในประเทศคาซัคสถาน
อันดับ
ชื่อ
แคว้น
ประชากร
อัลมาเตอ
1
อัลมาเตอ
อัลมาเตอ
1,703,481
เชิมเกนต์ คาราฆันเดอ
2
อัสตานา
อัสตานา
860,368
3
เชิมเกนต์
เชิมเกนต์
683,273
4
คาราฆันเดอ
คาราฆันเดอ
496,173
5
อักเตอเบีย
อักเตอเบีย
427,719
6
ตารัซ
ฌัมเบิล
351,476
7
ปัฟโลดาร์
ปัฟโลดาร์
350,998
8
วึสเกียเมียน
คาซัคสถานตะวันออก
344,421
9
เซียเมียย์
คาซัคสถานตะวันออก
312,136
10
โวรัล
คาซัคสถานตะวันตก
278,096
ศาสนา
จากการสำรวจในปี ค.ศ. 2009 พบว่าชาวคาซัคสถานร้อยละ 70.2 นับถือศาสนาอิสลาม รองลงมาคือศาสนาคริสต์ นิกายอีสเทิร์นออร์โธด็อกซ์ ร้อยละ 26.6 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 0.50 , ศาสนาอื่นๆ (โดยเฉพาะศาสนายูดาห์ ) ร้อยละ 0.2, มีร้อยละ 2.8 ระบุว่าตนเป็นผู้ที่ไม่มีศาสนา และร้อยละ 0.5 ไม่ได้ระบุว่านับถือศาสนาใด[ 17]
ศาสนาอิสลาม เป็นศาสนาที่มีจำนวนศาสนิกมากที่สุดในประเทศ ตามมาด้วยศาสนาคริสต์ นิกายรัสเซียออร์ทอดอกซ์ หลังจากการแยกตัวออกจากสหภาพโซเวียต คาซัคสถานมีการแสดงออกถึงการนับถือศาสนา เสรีภาพในการนับถือศาสนา และการปฏิบัติศาสนกิจที่แพร่หลายขึ้น ศาสนสถานกว่าร้อยแห่งเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว สมาคมทางศาสนาเพิ่มขึ้นจาก 670 แห่งในปี ค.ศ. 1990 เป็น 4,170 แห่งในปัจจุบัน[ 18]
ชาวมุสลิมส่วนใหญ่นับถือนิกายซุนนีย์ มัซฮับฮานาฟี ศาสนิกชนส่วนใหญ่คือกลุ่มเชื้อสายคาซัค กว่าร้อยละ 60 และในกลุ่มชาวอุซเบก , อุยกูร์ และตาตาร์ [ 19] มีชาวซุนนีย์น้อยกว่าร้อยละ 1 ศึกษามัซฮับซาฟิอี (โดยเฉพาะกลุ่มเชื้อสายเชเชน ) มีมัสยิดทั้งหมด 2,300 แห่ง[ 18] ซึ่งทุกแห่งได้เข้าร่วมกับสมาคมจิตวิญญาณมุสลิมคาซัคสถาน (Spiritual Association of Muslims of Kazakhstan) โดยขึ้นตรงต่อศาลมัฟติ (Mufti)[ 20] และมีวันอีดิลอัฎฮาเป็นวันหยุดราชการ[ 18]
หนึ่งในสี่ของประชากรนับถือศาสนาคริสต์นิกายรัสเซียออร์ทอดอกซ์ ในกลุ่มประชาชนที่มีเชื้อสายรัสเซีย , ยูเครน และเบลารุสเซีย [ 21] นอกจากนี้ยังมีนิกายโรมันคาทอลิก และโปรเตสแตนต์ [ 19] มีโบสถ์คริสต์นิกายออร์ทอดอกซ์ 3,258 แห่ง, โบสถ์นิกายโรมันคาทอลิก 93 แห่ง และโบสถ์ของนิกายโปรเตสแตนต์กว่า 500 แห่ง ทั้งนี้วันคริสต์มาส ของนิกายออร์ทอดอกซ์ได้เป็นวันหยุดราชการของประเทศเช่นกัน[ 18] นอกจากนี้ยังมีศาสนาอื่น ๆ เช่น ยูดาห์ , บาไฮ , ฮินดู , พุทธ เป็นอาทิ[ 19]
ตามข้อมูลการสำรวจสำมะโนประชากรในปี ค.ศ. 2009 มีคริสต์ศาสนิกชนน้อยมากที่มิใช่กลุ่มชาวสลาฟและเยอรมัน ตามตาราง[ 22]
ชาติพันธุ์
อิสลาม
คริสต์
ยูดาห์
พุทธ
อื่น ๆ
ไม่มีศาสนา
ไม่ระบุ
คาซัค
98.34%
0.39%
0.02%
0.01%
0.02%
0.98%
0.26%
รัสเซีย
1.43%
91.64%
0.04%
0.02%
0.03%
6.09%
0.75%
อุซเบก
99.05%
0.39%
0.01%
0.01%
0.02%
0.37%
0.16%
ยูเครน
0.94%
90.74%
0.03%
0.01%
0.02%
7.31%
0.94%
อุยกูร์
98.35%
0.51%
0.02%
0.01%
0.03%
0.61%
0.47%
ตาตาร์
79.57%
10.24%
0.02%
0.03%
0.06%
8.11%
1.97%
เยอรมัน
1.58%
81.59%
0.05%
0.04%
0.11%
13.96%
2.68%
เกาหลี
5.24%
49.35%
0.21%
11.40%
0.14%
28.51%
5.16%
ตุรกี
99.13%
0.30%
0.01%
0.01%
0.02%
0.33%
0.21%
อาเซอรี
94.81%
2.51%
0.02%
0.02%
0.03%
1.86%
0.76%
เบลารุสเซีย
0.79%
90.16%
0.04%
0.01%
0.03%
7.82%
1.15%
ดันกัน
98.93%
0.37%
0.01%
0.03%
0.04%
0.34%
0.28%
เคิร์ด
98.28%
0.53%
0.03%
0.02%
0.02%
0.74%
0.38%
ทาจิก
97.78%
0.91%
0.01%
0.02%
0.08%
0.85%
0.35%
โปแลนด์
0.69%
90.07%
0.04%
0.01%
0.13%
7.30%
1.76%
เชเชน
93.69%
2.99%
0.02%
0.01%
0.05%
2.08%
1.16%
คีร์กีซ
96.67%
0.89%
0.03%
0.03%
0.02%
1.51%
0.86%
อื่น ๆ
34.69%
52.32%
0.82%
0.91%
0.13%
8.44%
2.69%
รวม
70.20%
26.32%
0.03%
0.09%
0.02%
2.82%
0.51%
ภาษา
หมายเหตุ
↑ นอกจากภาษาคาซัค ภาษารัสเซียมีสถานะทางการทุกระดับและทุกรูปแบบ[ 2]
↑ อักษรทางการของภาษาคาซัค (จนถึง ค.ศ. 2025) และภาษารัสเซีย
↑ อักษรทางการของภาษาคาซัค (ค.ศ. 2025 เป็นต้นมา)
↑ ชาวคาซัคสถานรวมพลเมืองทั้งหมด ซึ่งตรงข้ามกับชาวคาซัคที่เป็นชื่อเรียกกลุ่มชาติพันธุ์คาซัค [ 5]
อ้างอิง
↑ "Қазақстан Республикасының елордасы – Нұр-Сұлтан қаласының атауын Қазақстан Республикасының елордасы – Астана қаласы деп өзгерту туралы" . Akorda (ภาษาคาซัค). 17 September 2022. สืบค้นเมื่อ 17 September 2022 .
↑ "Constitution of the Republic of Kazakhstan" เก็บถาวร 14 กรกฎาคม 2014 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน . zan.kz.
↑ "Численность населения Республики Казахстан по отдельным этносам на начало 2020 года" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2020-05-27. สืบค้นเมื่อ 6 August 2020 .
↑ "Religion in Kazakhstan; GRF" . www.globalreligiousfutures.org . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2016-11-13. สืบค้นเมื่อ 2021-10-26 .
↑ Schneider, Johann F.; Larsen, Knud S.; Krumov, Krum; Vazow, Grigorii (2013). Advances in International Psychology: Research Approaches and Personal Dispositions, Socialization Processes and Organizational Behavior (ภาษาอังกฤษ). Kassel university press GmbH. p. 164. ISBN 978-3-86219-454-4 . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 27 February 2018.
↑ Kazakhstan . CIA World Factbook .
↑ "Негізгі" . stat.gov.kz . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 30 May 2019. สืบค้นเมื่อ 30 May 2019 .
↑ 8.0 8.1 8.2 8.3 "World Economic Outlook Database, October 2019" . IMF.org . International Monetary Fund . สืบค้นเมื่อ 29 January 2020 .
↑ "GINI index (World Bank estimate)" . data.worldbank.org . World Bank . สืบค้นเมื่อ 7 May 2019 .
↑ "Human Development Report 2020" (PDF) (ภาษาอังกฤษ). United Nations Development Programme . 15 December 2020. สืบค้นเมื่อ 15 December 2020 .
↑ "Traditional Institutions in Modern Kazakhstan" . src-h.slav.hokudai.ac.jp .
↑ ASTANA, YURI ZARAKHOVICH | (2006-09-27). "Breaking News, Analysis, Politics, Blogs, News Photos, Video, Tech Reviews" . Time (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0040-781X . สืบค้นเมื่อ 2022-10-12 .
↑ "Parliament of the Republic of Kazakhstan" . www.parlam.kz .
↑ "Analytical report" (PDF) . www.liportal.de . 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF) เมื่อ 2017-11-27. สืบค้นเมื่อ 2021-03-07 .
↑ ท่องไปกับใจตน - คาซัคสถาน สวรรค์แห่งเอเชียกลาง
↑ Kyrgyzstan country profile . Library of Congress Federal Research Division (January 2007). This article incorporates text from this source, which is in the public domain .
↑ "The results of the national population census in 2009" . Agency of Statistics of the Republic of Kazakhstan. 12 November 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2011-07-22. สืบค้นเมื่อ 21 January 2010 .
↑ 18.0 18.1 18.2 18.3 Religious Situation Review in Kazakhstan เก็บถาวร 2017-10-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Congress of World Religions. Retrieved on 2009-09-07.
↑ 19.0 19.1 19.2 Kazakhstan – International Religious Freedom Report 2008 U.S. Department of State. Retrieved on 2009-09-07.
↑ Islam in Kazakhstan เก็บถาวร 2009-09-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Retrieved on 2009-09-07.
↑ "Kazakhstan" . United States Commission on International Religious Freedom . United States Department of State . 2009-10-26. สืบค้นเมื่อ 2010-06-03 .
↑ "Нац состав.rar" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2011-05-11. สืบค้นเมื่อ 2011-07-24 .
ดูเพิ่ม
Alexandrov, Mikhail (1999). Uneasy Alliance: Relations Between Russia and Kazakhstan in the Post-Soviet Era, 1992–1997 . Westport, CT: Greenwood Press. ISBN 0-313-30965-5 .
Cameron, Sarah. (2018) The Hungry Steppe: Famine, Violence, and the Making of Soviet Kazakhstan (Cornell University Press, 2018) online review
Clammer, Paul; Kohn, Michael & Mayhew, Bradley (2004). Lonely Planet Guide: Central Asia . Oakland, CA: Lonely Planet. ISBN 1-86450-296-7 .
Cummings, Sally (2002). Kazakhstan: Power and the Elite . London: Tauris. ISBN 1-86064-854-1 .
Demko, George (1997). The Russian Colonization of Kazakhstan . New York: Routledge. ISBN 0-7007-0380-2 .
Fergus, Michael & Jandosova, Janar (2003). Kazakhstan: Coming of Age . London: Stacey International. ISBN 1-900988-61-5 .
George, Alexandra (2001). Journey into Kazakhstan: The True Face of the Nazarbayev Regime . Lanham: University Press of America. ISBN 0-7618-1964-9 .
Martin, Virginia (2000). Law and Custom in the Steppe . Richmond: Curzon. ISBN 0-7007-1405-7 .
Nahaylo, Bohdan and Victor Swoboda. Soviet Disunion: A History of the Nationalities problem in the USSR (1990) excerpt
Nazarbayev, Nursultan (2001). Epicenter of Peace . Hollis, NH: Puritan Press. ISBN 1-884186-13-0 .
Nazpary, Joma (2002). Post-Soviet Chaos: Violence and Dispossession in Kazakhstan . London: Pluto Press. ISBN 0-7453-1503-8 .
Olcott, Martha Brill (2002). Kazakhstan: Unfulfilled Promise . Washington, DC: Brookings Institution Press . ISBN 0-87003-189-9 .
Rall, Ted (2006). Silk Road to Ruin: Is Central Asia the New Middle East? . New York: NBM. ISBN 1-56163-454-9 .
Rashid, Ahmed. The Resurgence of Central Asia: Islam or Nationalism? (2017)
Robbins, Christopher (2007). In Search of Kazakhstan: The Land That Disappeared . London: Profile Books. ISBN 978-1-86197-868-4 .
Rosten, Keith (2005). Once in Kazakhstan: The Snow Leopard Emerges . New York: iUniverse. ISBN 0-595-32782-6 .
Smith, Graham, ed. The Nationalities Question in the Soviet Union (2nd ed. 1995)
Thubron, Colin (1994). The Lost Heart of Asia . New York: HarperCollins. ISBN 0-06-018226-1 .
แหล่งข้อมูลอื่น
ทั่วไป
รัฐบาล
การค้า
48°N 68°E / 48°N 68°E / 48; 68
ลิงก์ไปยังบทความที่เกี่ยวข้อง
รัฐเอกราช
เดนมาร์ก นอร์เวย์ ฟินแลนด์ สหราชอาณาจักร
นานาชาติ ประจำชาติ ภูมิศาสตร์ วิชาการ ศิลปิน ประชาชน อื่น ๆ