การล่มสลายของสหภาพโซเวียต ส่วนหนึ่งของสงครามเย็น และการปฏิวัติ ค.ศ. 1989 ชื่อพื้นเมือง Распад СССР หรือ Развал СССР วันที่ 16 พฤศจิกายน ค.ศ. 1988 – 26 ธันวาคม ค.ศ. 1991 (1988-11-16 – 1991-12-26 ) [ a] ที่ตั้ง สหภาพโซเวียต :
ผู้เข้าร่วม ผล
การล่มสลายของสหภาพโซเวียต (พ.ศ. 2531–2534) เป็นกระบวนการของการสลายตัวภายในประเทศของสหภาพโซเวียต ซึ่งเริ่มต้นด้วยความไม่สงบ ที่เพิ่มมากขึ้นในสาธารณรัฐต่าง ๆ ซึ่งพัฒนาไปสู่ความขัดแย้งทางการเมืองและนิติบัญญัติ อย่างต่อเนื่องระหว่างสาธารณรัฐต่าง ๆ กับรัฐบาลกลาง และสิ้นสุดลงเมื่อผู้นำของสามสาธารณรัฐหลัก (สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน และสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเบียโลรัสเซีย ) ได้ประกาศว่าสหภาพสิ้นสุดการดำรงอยู่ ร่วมกับอีกสิบเอ็ดสาธารณรัฐในเวลาต่อมา ส่งผลให้ประธานาธิบดี มีฮาอิล กอร์บาชอฟ ต้องลาออกและส่วนที่เหลืออยู่ของรัฐสภาโซเวียตได้ยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างเป็นทางการ
ความล้มเหลวของการก่อรัฐประหารเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2534 เมื่อรัฐบาลโซเวียตและชนชั้นนำทางทหารได้พยายามที่จะโค่นล้มกอร์บาชอฟและหยุดยั้ง "การเดินสวนสนามแห่งอำนาจอธิปไตย" ทำให้รัฐบาลในกรุงมอสโก สูญเสียอิทธิพลส่วนใหญ่ และสาธารณรัฐหลายแห่งต่างประกาศเอกราชในวันและเดือนต่อมา การแยกตัวของรัฐบอลติก (ซึ่งเป็นรัฐกลุ่มแรกที่ประกาศอำนาจอธิปไตยและต่อมาประกาศเอกราชอย่างเต็มรูปแบบ) ได้รับการรับรองในเดือนกันยายน พ.ศ. 2534 ข้อตกลงเบโลเวจได้รับการลงนามเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม โดยประธานาธิบดี บอริส เยลต์ซิน แห่งรัสเซีย ประธานาธิบดี Leonid Kravchuk แห่งยูเครน และประธาน Stanislav Shushkevich แห่งเบลารุส โดยได้รับรองเอกราชของกันและกันและก่อตั้งเครือรัฐเอกราช สาธารณรัฐที่เหลือยกเว้นจอร์เจีย ได้เข้าร่วมเครือรัฐเอกราชเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม โดยลงนามในคำประกาศอัลมา-อาตา [ 2]
เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม ประธานาธิบดีมีฮาอิล กอร์บาชอฟ ได้ลาออก พร้อมกับประกาศว่าตำแหน่งของเขาได้จบสิ้นแล้ว และได้ส่งมอบอำนาจ (ซึ่งรวมถึงการควบคุมด้วยรหัสการยิงหัวรบนิวเคลียร์) แก่เยลต์ซิน เมื่อตอนเย็นของวันนั้นในเวลา 19:32 น. ธงชาติโซเวียต ได้ถูกชักธงลงจากเครมลิน เป็นครั้งสุดท้ายและถูกแทนที่ด้วยธงชาติรัสเซีย [ 3] ในวันรุ่งขึ้น คำประกาศ 142-เอช ของสภาสูงของรัฐสภาโซเวียตได้รับรองเอกราชและการปกครองตนเองของสาธารณรัฐโซเวียตต่าง ๆ และยุบเลิกสหภาพอย่างเป็นทางการ[ 4] ทั้งการปฏิวัติเมื่อ พ.ศ. 2532 ในกลุ่มตะวันออก และการล่มสลายของสหภาพโซเวียตถือเป็นการยุติสงครามเย็น
ในผลพวงของสงครามเย็น อดีตสาธารณรัฐโซเวียตหลายรัฐยังคงรักษาความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับรัสเซียและจัดตั้งองค์กรพหุภาคีต่าง ๆ เช่น เครือรัฐเอกราช ประชาคมเศรษฐกิจยูเรเชีย รัฐสหภาพ สหภาพศุลกากรยูเรเชีย และสหภาพเศรษฐกิจยูเรเชีย เพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการทหาร ในทางกลับกัน รัฐบอลติกและอดีตประเทศกลุ่มตะวันออกได้เข้าร่วมกับเนโท และสหภาพยุโรป ในขณะที่จอร์เจียและยูเครนได้ปลีกตัวจากรัสเซียและแสดงความสนใจที่จะตามไปในเส้นทางเดียวกัน
การเถลิงอำนาจของกอร์บาชอฟ
มีฮาอิล กอร์บาชอฟ
แม้ว่าการปฏิรูปก่อนหน้านั้นได้ล่าช้าลงในช่วงปี พ.ศ. 2507–2525 แต่ว่าการที่คนรุ่นใหม่ได้มีอำนาจแทนคนรุ่นเก่าก็ได้สร้างสภาวะที่เหมาะแก่การปฏิรูปขึ้นอีกครั้ง ความสัมพันธ์ของสหภาพโซเวียต กับสหรัฐอเมริกา ที่เปลี่ยนแปลงไปก็ยังเป็นความจำเป็นหนึ่งของการปฏิรูป แม้ว่าประธานาธิบดีจิมมี คาร์เตอร์ ได้ล้มเลิกนโยบายประนีประนอมหลังจากที่สหภาพโซเวียตโจมตีอัฟกานิสถาน แต่ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก็ได้ขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่เหตุการณ์สงครามอิรัก-อิหร่าน ในสมัยแรกของประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกน
มีฮาอิล กอร์บาชอฟ เป็นผู้นำสหภาพโซเวียต นับตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ. 2528 ไม่นานหลังคอนสตันติน เชียร์เนนโค ถึงแก่อสัญกรรม กอร์บาชอฟได้ริเริ่มการปฏิรูปทางการเมืองหลายอย่างภายใต้นโยบายที่เรียกว่า กลัสนอสต์ ประกอบด้วย การลดความเข้มงวดในการตรวจพิจารณา การลดอำนาจหน่วยเคจีบี และการเสริมสร้างความเป็นประชาธิปไตย การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้นั้นมีจุดประสงค์เพื่อกำจัดการต่อต้านการปฏิรูปทางเศรษฐกิจจากกลุ่มอำนาจอนุรักษนิยม ภายในพรรคคอมมิวนิสต์ ภายใต้การปฏิรูปนี้ ผู้ที่ดำรงตำแหน่งสำคัญ ๆ ในพรรคคอมมิวนิสต์จะต้องมาจากการเลือกตั้ง (โดยสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์เอง) ซึ่งเป็นการใช้ระบบนี้ครั้งแรก ท่ามกลางการคัดค้านจากกลุ่มอนุรักษนิยม
อย่างไรก็ตาม การลดความเข้มงวดในการควบคุมสื่อและความพยายามที่จะสร้างการเมืองที่เปิดกว้างมากขึ้นโดยกอร์บาชอฟ ได้ปลุกความรู้สึกชาตินิยมและต่อต้านรัสเซียในสาธารณรัฐเล็ก ๆ ที่เป็นชนกลุ่มน้อยในสหภาพโซเวียต ในคริสต์ทศวรรษ 1980 เสียงที่เรียกร้องอิสรภาพจากการปกครองจากมอสโก ดังขั้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะในสาธารณรัฐแถบทะเลบอลติก คือ เอสโตเนีย ลัตเวีย และลิทัวเนีย ที่รวมกับสหภาพโซเวียตตั้งแต่ พ.ศ. 2483 โดยโจเซฟ สตาลิน ความรู้สึกชาตินิยมนั้นก็ยังได้แพร่หลายในสาธารณรัฐอื่น ๆ เช่น ยูเครน จอร์เจีย และอาเซอร์ไบจาน ขบวนการชาตินิยมเหล่านี้ได้เข้มแข็งขึ้นอย่างมากเมื่อเศรษฐกิจของสหภาพโซเวียตตกต่ำ รัฐบาลที่กรุงมอสโกนั้นกลายเป็นแพะรับบาปของภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ แสดงว่า กอร์บาชอฟนั้นได้ปลดปล่อยพลังที่จะทำลายสหภาพโซเวียตไปแล้วโดยไม่ได้ตั้งใจ
ความพยายามรัฐประหารในสหภาพโซเวียต พ.ศ. 2534
หมายเหตุ
อ้างอิง
อ่านเพิ่ม
ดูเพิ่มที่: Bibliography of the Post Stalinist Soviet Union § The Dissolution of the Soviet Union and Bloc
BOUGHTON, J. M. (1999). "After the fall: building nations out of the Soviet Union" (PDF) . Tearing Down Walls. The International Monetary Fund 1990 . International Monetary Fund . pp. 349–408.
Aron, Leon. Boris Yeltsin : A Revolutionary Life . Harper Collins (2000). ISBN 0-00-653041-9
Aron, Leon Rabinovich (25 April 2006). "The "Mystery" of the Soviet Collapse" (PDF) . Journal of Democracy (ภาษาอังกฤษ). 17 (2): 21–35. doi :10.1353/jod.2006.0022 . ISSN 1086-3214 . S2CID 144642549 . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF) เมื่อ September 23, 2018. สืบค้นเมื่อ 23 September 2018 .
Beissinger, Mark R. (2009). "Nationalism and the Collapse of Soviet Communism" . Contemporary European History (ภาษาอังกฤษ). 18 (3): 331–347. doi :10.1017/S0960777309005074 . ISSN 1469-2171 . JSTOR 40542830 . S2CID 46642309 .
Brown, Archie . The Gorbachev Factor. Oxford University Press (1997). ISBN 978-0-19288-052-9 .
Cohen, Stephen F. (27 January 2017). "Was the Soviet System Reformable?" . Slavic Review (ภาษาอังกฤษ). 63 (3): 459–488. doi :10.2307/1520337 . ISSN 0037-6779 . JSTOR 1520337 . สืบค้นเมื่อ 23 September 2018 .
Crawshaw, Steve. Goodbye to the USSR: The Collapse of Soviet Power . Bloomsbury (1992). ISBN 0-7475-1561-1
Dallin, Alexander (October 1992). "Causes of the Collapse of the USSR". Post-Soviet Affairs (ภาษาอังกฤษ). 8 (4): 279–302. doi :10.1080/1060586X.1992.10641355 . ISSN 1060-586X .
Dawisha, Karen & Parrott, Bruce (Editors). "Conflict, cleavage, and change in Central Asia and the Caucasus". Cambridge University Press (1997). ISBN 0-521-59731-5
de Waal, Thomas . Black Garden . NYU (2003). ISBN 0-8147-1945-7
Efremenko, Dmitry. Perestroika and the 'Dashing Nineties': At the Crossroads of History // Russian Geostrategic Imperatives: Collection of essays / Russian Academy of Sciences. Institute of Scientific Information for Social Sciences. – Moscow, 2019. - pp. 112–126.
Gorbachev, Mikhail . Memoirs . Doubleday (1995). ISBN 0-385-40668-1
Gvosdev, Nikolas K., ed. The Strange Death of Soviet Communism: A Post-Script . Transaction Publishers (2008). ISBN 978-1-41280-698-5
Kotkin, Stephen. Armageddon Averted: The Soviet Collapse, 1970-2000 (2nd ed. 2008) excerpt
Kotz, David, and Fred Weir. “The Collapse of the Soviet Union was a Revolution from Above.” In The Rise and Fall of the Soviet Union , edited by Laurie Stoff, 155–164. Thomson Gale (2006).
Mayer, Tom (1 March 2002). "The Collapse of Soviet Communism: A Class Dynamics Interpretation" . Social Forces (ภาษาอังกฤษ). 80 (3): 759–811. CiteSeerX 10.1.1.846.4133 . doi :10.1353/sof.2002.0012 . hdl :hein.journals/josf80 . ISSN 0037-7732 . JSTOR 3086457 . S2CID 144397576 . สืบค้นเมื่อ 23 September 2018 .
Miller, Chris (13 October 2016). The Struggle to Save the Soviet Economy: Mikhail Gorbachev and the Collapse of the USSR . University of North Carolina Press. ISBN 978-1-4696-3018-2 .
O'Clery, Conor . Moscow December 25, 1991: The Last Day of the Soviet Union . Transworld Ireland (2011). ISBN 978-1-84827-112-8
Segrillo, Angelo (December 2016). "The Decline of the Soviet Union: A Hypothesis on Industrial Paradigms, Technological Revolutions and the Roots of Perestroika" (PDF) . LEA Working Paper Series (2): 1–25. สืบค้นเมื่อ 23 September 2018 .
Plokhy, Serhii . The Last Empire: The Final Days of the Soviet Union . Oneworld (2014). ISBN 978-1-78074-646-3
Strayer, Robert. Why Did the Soviet Union Collapse? Understanding Historical Change . M. E. Sharpe (1998). ISBN 978-0-76560-004-2
Suny, Ronald. Revenge of the Past: Nationalism, Revolution, and the Collapse of the Soviet Union . Stanford University Press (1993). ISBN 978-0-80472-247-6
Walker, Edward W. Dissolution: Sovereignty and the Breakup of the Soviet Union . Rowman & Littlefield Publishers (2003). ISBN 978-0-74252-453-8
แหล่งข้อมูลอื่น
คริสต์ทศวรรษ 1940 คริสต์ทศวรรษ 1950 คริสต์ทศวรรษ 1960 คริสต์ทศวรรษ 1970 คริสต์ทศวรรษ 1980 คริสต์ทศวรรษ 1990 นโยบายต่างประเทศ อุดมการณ์ องค์กรที่เกี่ยวข้อง