การล่มสลายของยูโกสลาเวียแผนที่แบบเคลื่อนไหวแสดงการล่มสลายของยูโกสลาเวียระหว่าง ค.ศ. 1991–1992 สีแทนดินแดนต่าง ๆ
|
วันที่ | 25 มิถุนายน ค.ศ. 1991 – 27 เมษายน ค.ศ. 1992 (10 เดือน 2 วัน) |
---|
ที่ตั้ง | ยูโกสลาเวีย |
---|
ผล | สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวียแตกออกเป็นสาธารณรัฐต่าง ๆ |
---|
การล่มสลายของยูโกสลาเวีย เป็นชุดความผันผวนและความขัดแย้งทางการเมืองในยูโกสลาเวียช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1990 การล่มสลายนี้เป็นผลมาจากวิกฤตทางการเมืองและเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1980 ทำให้ยูโกสลาเวียแตกออกเป็นสาธารณรัฐต่าง ๆ และนำไปสู่สงครามยูโกสลาเวีย อันเป็นสงครามยืดเยื้อที่นองเลือดที่สุดในทวีปยุโรปนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สอง[1]
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ราชอาณาจักรยูโกสลาเวียถูกฝ่ายอักษะบุกครอง จึงเกิดกองกำลังหลายฝ่ายที่สู้รบกับฝ่ายอักษะและสู้รบกันเอง ต่อมาพลพรรคยูโกสลาเวียซึ่งเป็นกองกำลังนิยมลัทธิคอมมิวนิสต์ที่ได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายสัมพันธมิตรสามารถเอาชนะฝ่ายอักษะ ล้มล้างระบอบกษัตริย์ และจัดตั้งสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวียที่ประกอบด้วยบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา โครเอเชีย มาซิโดเนีย มอนเตเนโกร เซอร์เบีย และสโลวีเนีย[2] โดยแต่ละสาธารณรัฐปกครองโดยสันนิบาตคอมมิวนิสต์แห่งยูโกสลาเวีย ยูโกสลาเวียภายใต้การปกครองของยอซีป บรอซ ตีโตมีเสถียรภาพทางการเมืองและความเจริญทางเศรษฐกิจ[3] แต่เมื่อตีโตถึงแก่อสัญกรรมในปี ค.ศ. 1980 รัฐบาลกลางยูโกสลาเวียไม่สามารถแก้ไขปัญหาด้านสังคมเศรษฐกิจได้ ในปี ค.ศ. 1981 เกิดการประท้วงเรียกร้องการปกครองตนเองในคอซอวอ ตามด้วยการขึ้นสู่ตำแหน่งประธานาธิบดีเซอร์เบียของสลอบอดัน มีลอเชวิชที่มีแนวคิดรวมศูนย์อำนาจ ระหว่างปี ค.ศ. 1988–1989 มีลอเชวิชก่อการปฏิวัติต้านระบบข้าราชการประจำ (Anti-bureaucratic revolution) เพื่อล้มล้างรัฐบาลปกครองตนเองของคอซอวอและวอยวอดีนา แต่การปฏิวัตินี้ได้รับการต่อต้านจากโครเอเชียและสโลวีเนีย ความแตกแยกนี้นำไปสู่การยุบเลิกสันนิบาตคอมมิวนิสต์แห่งยูโกสลาเวียในปี ค.ศ. 1990[4]
ปีค.ศ. 1991 โครเอเชียและสโลวีเนียประกาศเอกราชหลังสงครามยูโกสลาเวียอุบัติในเดือนมีนาคม ปีเดียวกัน โดยโครเอเชียรบกับสาธารณรัฐเซิร์บครายีนาที่สนับสนุนโดยยูโกสลาเวียในสงครามประกาศเอกราชโครเอเชีย[5] ขณะที่สโลวีเนียรบกับยูโกสลาเวียในสงครามสิบวัน[6] ต่อมาปีค.ศ. 1992 สงครามยูโกสลาเวียยิ่งทวีความซับซ้อนขึ้นเมื่อเกิดสงครามบอสเนียขึ้นระหว่างชาวบอสนีแอก ชาวโครแอต และชาวเซิร์บ สงครามนี้มีการกวาดล้างทางเชื้อชาติ การสังหารหมู่ และการข่มขืนจนมีผู้เสียชีวิตรวมกว่า 100,000 คน[7] ก่อนที่จะยุติลงเมื่อมีการลงนามในความตกลงเดย์ตันในปี ค.ศ. 1995[8]
อ้างอิง
- ↑ Lockie, Alex; Rosen, Armin (July 11, 2019). "Here's the awful story of the worst European massacre since World War II". Business Insider. สืบค้นเมื่อ October 2, 2020.
- ↑ "1946 Yugoslav Constitution". worldstatesmen.org. สืบค้นเมื่อ October 2, 2020.
- ↑ Robertson, James (July 17, 2017). "The Life and Death of Yugoslav Socialism". Jacobin. สืบค้นเมื่อ October 2, 2020.
- ↑ "Slobodan Milosevic". Britannica. สืบค้นเมื่อ October 2, 2020.
- ↑ Darko Zubrinic. "Croatia within ex-Yugoslavia". Croatianhistory.net. สืบค้นเมื่อ February 7, 2010.
- ↑ Fraudet, Xavier (2006). France's Security Independence: Originality and Constraints in Europe, 1981-1995. Peter Lang. p. 129. ISBN 978-3-03911-141-1.
- ↑ "Bosnia war dead figure announced". BBC. 21 June 2007. สืบค้นเมื่อ 16 February 2013.
- ↑ "Dayton Accords". Britannica. สืบค้นเมื่อ October 2, 2020.
|
---|
|
คริสต์ทศวรรษ 1940 | |
---|
คริสต์ทศวรรษ 1950 | |
---|
คริสต์ทศวรรษ 1960 | |
---|
คริสต์ทศวรรษ 1970 | |
---|
คริสต์ทศวรรษ 1980 | |
---|
คริสต์ทศวรรษ 1990 | |
---|
นโยบายต่างประเทศ | |
---|
อุดมการณ์ | |
---|
องค์กรที่เกี่ยวข้อง | |
---|