สงครามกลางเมืองรัสเซีย

สงครามกลางเมืองรัสเซีย
ส่วนหนึ่งของ การปฏิวัติรัสเซีย

ตามเข็มนาฬิกาจากบน: ทหารแห่งกองทัพดอน; กองพันทหารราบรัสเซียขาวในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1920; ทหารแห่งกองทัพทหารม้าที่ 1; เลออน ทรอตสกี ใน ค.ศ. 1918; การแขวนคอคนงานในเยคาเตรีโนสลัฟโดยออสเตรีย
วันที่7 พฤศจิกายน ค.ศ. 191716 มิถุนายน ค.ศ. 1923[j][1]: 3, 230 [2]
(5 ปี 7 เดือน 1 สัปดาห์ 2 วัน)
สนธิสัญญาสันติภาพ
สถานที่
ผล

บอลเชวิคชนะ:

ดินแดน
เปลี่ยนแปลง
ยกให้แก่รัฐบอลเชวิค
การยกให้แก่ชาติอื่น
คู่สงคราม






กองกำลังอื่น ๆ:
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ

สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย วลาดีมีร์ เลนิน
สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย เลออน ทรอตสกี
สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย มีฮาอิล คาลีนิน
สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย มีคาอิล ตูคาเชฟสกี
สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย มีฮาอิล ฟรุนเซ
สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย คลีเมนต์ โวโรชีลอฟ
สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย เซมิออน บูดิออนนืย
สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย วาซีลี บลูย์เคียร์
สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย โจเซฟ สตาลิน


วลาดีมีร์ วอลสกี
มารียา สปีรีโดโนวา
นือกือฟอร์ ฮรือฮอริว 
แนสตอร์ มัคนอ
สเตปัน เปตรีเชนโก
และคนอื่น ๆ

อะเลคซันดร์ เคเรนสกี Surrendered
อะเลคซันดร์ คอลชัค โทษประหารชีวิต
ลัฟร์ คอร์นีลอฟ 
อันตอน เดนีกิน
ปิออตร์ วรานเกล
นีโคไล ยูเดนิช
กริกอรี เซมิออนอฟ โทษประหารชีวิต
เยฟเกนี มิลเลียร์
สาธารณรัฐดอน ปิออตร์ ครัสนอฟ
อาร์. วอน อุนเกรน โทษประหารชีวิต


โปแลนด์ ยูแซฟ ปิวซุดสกี
เค.จี.อี. มันเนอร์เฮม
ซือมอน แปตลูรา
และคนอื่น ๆ
กำลัง

กองกำลังท้องถิ่น:


อื่น ๆ:

อื่น ๆ:

สงครามกลางเมืองรัสเซีย[k] (7 พฤศจิกายน ค.ศ. 1917 — 16 มิถุนายน ค.ศ. 1923) เป็นความขัดแย้งทางการเมืองที่ต่อสู้กันหลายฝ่ายในพื้นที่จักรวรรดิรัสเซียเดิม ซึ่งเหตุการณ์เริ่มต้นจากการล้มล้างอำนาจรัฐบาลชั่วคราวรัสเซียที่เป็นประชาธิปไตยสังคมนิยมในระหว่างการปฏิวัติเดือนตุลาคม โดยมีหลายฝ่ายที่ประสงค์จะแย่งชิงอำนาจเพื่อกำหนดอนาคตทางการเมืองของรัสเซีย ผลที่ตามมาจากความขัดแย้งนี้นำไปสู่การก่อตั้งสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซียและสหภาพโซเวียตในภายหลังในพื้นที่ส่วนใหญ่ของอดีตจักรวรรดิ สงครามกลางเมืองถือเป็นจุดสิ้นสุดของการปฏิวัติรัสเซียและเป็นหนึ่งในเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในคริสต์ศวรรษที่ 20

ระบอบราชาธิปไตยรัสเซียยุติลงหลังการสละราชสมบัติของซาร์นีโคไลที่ 2 ในระหว่างการปฏิวัติเดือนกุมภาพันธ์ และประเทศเข้าสู่สถานะรัฐทวิอำนาจ ซึ่งความตึงเครียดของอำนาจควบคู่สิ้นสุดลงเมื่อเกิดการปฏิวัติเดือนตุลาคมที่นำโดยบอลเชวิค โดยได้ล้มล้างอำนาจของรัฐบาลชั่วคราวของสาธารณรัฐรัสเซียใหม่ บอลเชวิคเข้ายึดอำนาจโดยไม่ได้รับการรับรองในระดับสากลและสถานการณ์ภายในประเทศจุดประกายให้เกิดสงครามกลางเมือง ซึ่งสองกองกำลังที่ใหญ่ที่สุดประกอบด้วย กองทัพแดงที่ต่อสู้เพื่อการก่อตั้งรัฐสังคมนิยมซึ่งนำโดยบอลเชวิคของวลาดีมีร์ เลนิน และกองกำลังพันธมิตรอย่างหลวม ๆ ที่เรียกขานกันว่ากองทัพขาว ซึ่งเป็นแนวหลักของฝ่ายการเมืองที่ต่อต้านบอลเชวิคทั้งฝ่ายขวาและฝ่ายซ้าย นอกจากนี้ยังมีกลุ่มสังคมนิยมที่ขัดแย้งกับบอลเชวิค โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มอนาธิปไตยยูเครนมัคนอวช์ชีนาและพรรคสังคมนิยมปฏิวัติฝ่ายซ้าย เช่นเดียวกันกับกองทัพเขียวซึ่งไม่ฝักใฝ่อุดมการณ์ใด ๆ ต่อต้านบอลเชวิค ขบวนการขาว และการแทรกแซงของต่างชาติ[7] มีทั้งหมดสิบสามชาติที่เข้าแทรกแซงประเทศเพื่อต่อต้านกองทัพแดง โดยที่โดดเด่นคือการแทรกแซงของฝ่ายสัมพันธมิตร ซึ่งมีเป้าประสงค์หลักคือการสร้างแนวรบด้านตะวันออกของสงครามโลกครั้งที่หนึ่งอีกครั้ง สามชาติมหาอำนาจกลางได้เข้าแทรกแซงรัสเซียเช่นกัน เพื่อคานกับการแทรกแซงของฝ่ายสัมพันธมิตร โดยมีเป้าประสงค์หลักในการรักษาดินแดนที่พวกเขาได้รับในสนธิสัญญาเบรสท์-ลีตอฟสก์ที่ลงนามกับรัสเซียโซเวียต

ในช่วงแรกของสงคราม บอลเชวิคสามารถรวมอำนาจควบคุมเหนือพื้นที่ส่วนใหญ่ของอดีตจักรวรรดิ การลงนามในสนธิสัญญาเบรสท์-ลีตอฟสก์ ซึ่งเป็นการสงบศึกอย่างเร่งด่วนกับจักรวรรดิเยอรมัน ส่งผลให้รัสเซียถูกยึดครองดินแดนอันกว้างใหญ่ในระหว่างความโกลาหลจากการปฏิวัติ ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1918 หน่วยทหารเชโกสโลวักในรัสเซียกระทำการกบฏในไซบีเรีย ซึ่งการตอบสนองต่อเหตุการณ์นี้ ฝ่ายสัมพันธมิตรเริ่มเข้าแทรกแซงรัสเซียเหนือและไซบีเรีย และได้รวมกับกองกำลังอื่นในการจัดตั้งรัฐบาลชั่วคราวแห่งรัสเซียทั้งปวง ทำให้บอลเชวิคสูญเสียการควบคุมดินแดนเหลือเพียงพื้นที่ส่วนใหญ่ของรัสเซียยุโรปและบางส่วนของเอเชียกลาง ใน ค.ศ. 1919 กองทัพขาวดำเนินการรุกหลายแนวรบจากฝั่งตะวันออกในเดือนมีนาคม จากฝั่งใต้ในเดือนกรกฎาคม และฝั่งตะวันตกในเดือนตุลาคม อย่างไรก็ตาม การรุกของกองทัพขาวถูกตอบโต้จากการรุกกลับแนวรบด้านตะวันออก การรุกกลับแนวรบด้านใต้ และความพ่ายแพ้ของกองทัพตะวันตกเฉียงเหนือ

ในระหว่าง ค.ศ. 1919 กองทัพขาวถอยทัพและในช่วงเริ่มต้น ค.ศ. 1920 ได้ปราชัยทั้งหมดสามแนวรบ[8] แม้ว่าบอลเชวิคจะเป็นฝ่ายชนะ แต่ขอบเขตของรัฐรัสเซียนั้นลดลง อันเนื่องจากกลุ่มชาติพันธุ์ที่ไม่ใช่รัสเซียจำนวนมากถือโอกาสขณะประเทศระส่ำระสายผลักดันการประกาศเอกราชของชาติตนเอง[9] ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1921 ระหว่างสงครามโปแลนด์–โซเวียต ได้มีการลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพรีกา ซึ่งแบ่งแยกดินแดนพิพาทในเบลารุสและยูเครนระหว่างสาธารณรัฐโปแลนด์กับรัสเซียโซเวียต ทางการโซเวียตพยายามที่จะรวมประเทศเอกราชทั้งหมดที่แยกตัวออกจากอดีตจักรวรรดิอีกครั้ง แต่ก็ประสบผลสำเร็จเพียงบางส่วนเท่านั้น เอสโตเนีย ฟินแลนด์ ลัตเวีย และลิทัวเนียสามารถขับไล่การบุกครองของโซเวียตได้สำเร็จ ในขณะที่ยูเครน เบลารุส (อันเป็นผลมาจากสงครามโปแลนด์–โซเวียต) อาร์มีเนีย อาเซอร์ไบจาน และจอร์เจียถูกยึดครองโดยกองทัพแดง[10][11] ในระหว่าง ค.ศ. 1921 รัสเซียโซเวียตสามารถพิชิตขบวนการชาตินิยมยูเครนและยึดครองคอเคซัส แม้ว่ายังมีการก่อการกำเริบต่อต้านบอลเชวิคในเอเชียกลางที่ดำเนินไปจนกระทั่งปลายทศวรรษ 1920[12]

กองทัพภายใต้การบัญชาการของอะเลคซันดร์ คอลชัคถูกบีบบังคับให้ล่าถอยกำลังไปทางตะวันออก กองทัพแดงรุกหน้าต่อไปทางตะวันออก แม้จะพบการต้อต้านในชีตา ยาคุต และมองโกเลีย ในแนวรบทางใต้ กองทัพแดงสามารถแยกกองทัพดอนกับกองทัพอาสาสมัครและบีบบังคับให้อพยพไปยังโนโวรอสซีสค์ในเดือนมีนาคม และไปยังไครเมียในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1920 หลังจากนั้นมีการต่อต้านบอลเชวิคเป็นระยะ ๆ เป็นเวลาหลายปีกระทั่งการล่มสลายของกองทัพขาวในยาคูเตียในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1923 แต่ขบวนการบาสมาชิในเอเชียกลางและดินแดนฮาบารอฟสค์ยังคงดำเนินต่อกระทั่ง ค.ศ. 1934 สงครามกลางเมืองรัสเซียสร้างความเสียหายต่อมนุษยชาติเป็นอย่างมาก โดยมีผู้เสียชีวิตจากสงครามประมาณ 7 ถึง 12 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนเป็นพลเมืองทั้งสิ้น[13]

เชิงอรรถ

  1. เป็นฝ่ายเดียวกับบอลเชวิคจนถึงเดือนมีนาคม ค.ศ. 1918 เมื่อทั้งสองฝ่ายแตกแยกกันเนื่องจากสนธิสัญญาเบรสท์-ลีตอฟสก์ สมาชิกพรรคส่วนใหญ่หันมาต่อต้านบอลเชวิค แต่ก็ยังมีส่วนน้อยที่ยังคงเป็นพันธมิตรกับบอลเชวิคในภายหลังต่อมา
  2. เป็นฝ่ายเดียวกับบอลเชวิคจนถึง ค.ศ. 1919 และเป็นปรปักษ์ในเวลาต่อมา
  3. เป็นฝ่ายเดียวกับบอลเชวิคจนถึง ค.ศ. 1920 และเป็นปรปักษ์ในเวลาต่อมา
  4. สนับสนุนบอลเชวิคในสงครามโปแลนด์–โซเวียต
  5. ในทางพฤตินัยถูกล้มล้างภายหลังการปฏิวัติบอลเชวิคในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1917 แต่แท้จริงแล้วถูกยกเลิกอย่างเป็นทางการในเดือนมกราคม ค.ศ. 1918 หลังจากการยุบสภาร่างรัฐธรรมนูญ
  6. สงครามกลางเมืองฟินแลนด์
  7. สนับสนุนโปแลนด์ในสงครามโปแลนด์–โซเวียต
  8. กองทัพญี่ปุ่นยังคงอยู่ในซาฮาลินเหนือจนถึง ค.ศ. 1925
  9. ขบวนการบาสมาชิ
  10. แม้ว่าสงครามหลักจะยุติลงตั้งแต่วันที่ 25 ตุลาคม ค.ศ. 1922 แต่ยังคงมีกบฏต่อต้านบอลเชวิคดำเนินต่อไปในเอเชียกลางและตะวันออกไกลตลอดช่วงทศวรรษ 1920 ถึงทศวรรษ 1930
  11. รัสเซีย: Гражданская война в России, อักษรโรมัน: Grazhdanskaya voyna v Rossii

อ้างอิง

  1. Mawdsley, Evan (2007). The Russian Civil War. New York: Pegasus Books. ISBN 9781681770093.
  2. Последние бои на Дальнем Востоке. М., Центрполиграф, 2005.
  3. Bullock, David (2008). The Russian Civil War 1918–22. Oxford: Osprey Publishing. ISBN 978-1-84603-271-4. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 July 2020. สืบค้นเมื่อ 26 December 2017.
  4. Erickson 1984, p. 763.
  5. Belash, Victor & Belash, Aleksandr, Dorogi Nestora Makhno, p. 340
  6. Damien Wright, Churchill's Secret War with Lenin: British and Commonwealth Military Intervention in the Russian Civil War, 1918–20, Solihull, UK, 2017, pp. 394, 526–528, 530–535; Clifford Kinvig, Churchill's Crusade: The British Invasion of Russia 1918–1920, London 2006, ISBN 1-85285-477-4, p. 297; Timothy Winegard, The First World Oil War, University of Toronto Press (2016), p. 229
  7. Russian Civil War เก็บถาวร 26 สิงหาคม 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Encyclopædia Britannica Online 2012
  8. Leggett 1981, p. 184; Service 2000, p. 402; Read 2005, p. 206.
  9. Hall 2015, p. 83.
  10. Lee 2003, pp. 84, 88.
  11. Goldstein 2013, p. 50.
  12. Hall 2015, p. 84.
  13. Mawdsley 2007, p. 287. sfn error: multiple targets (2×): CITEREFMawdsley2007 (help)

บรรณานุกรม

หนังสืออ่านเพิ่ม

  • Acton, Edward, V. et al. eds. Critical companion to the Russian Revolution, 1914–1921 (Indiana UP, 1997).
  • Brovkin, Vladimir N. (1994). Behind the Front Lines of the Civil War: Political Parties and Social Movements in Russia, 1918–1922. Princeton UP. excerpt เก็บถาวร 28 กรกฎาคม 2020 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • Dupuy, T. N. The Encyclopedia of Military History (many editions) Harper & Row Publishers.
  • Ford, Chris. "Reconsidering the Ukrainian Revolution 1917–1921: The Dialectics of National Liberation and Social Emancipation." Debatte 15.3 (2007): 279–306.
  • Peter Kenez. Civil War in South Russia, 1918: The First Year of the Volunteer Army (U of California Press, 1971).
  • Lincoln, W. Bruce. Red victory: A history of the Russian Civil War (1989).
  • Luckett, Richard. The White Generals: An Account of the White Movement and the Russian Civil War (Routledge, 2017).
  • Marples, David R. Lenin's Revolution: Russia, 1917–1921 (Routledge, 2014).
  • Moffat, Ian, ed. The Allied Intervention in Russia, 1918–1920: The Diplomacy of Chaos (2015)
  • Polyakov, Yuri. The Civil War in Russia: Its Causes and Significance (Novosti, 1981).
  • Serge, Victor. Year One of the Russian Revolution (Haymarket, 2015).
  • Smele, Jonathan D. "Still Searching for the 'Third Way': Geoffrey Swain's Interventions in the Russian Civil Wars". Europe-Asia Studies 68.10 (2016): 1793–1812. doi:10.1080/09668136.2016.1257094.
  • Smele, Jonathan D. "'If Grandma had Whiskers...': Could the Anti-Bolsheviks have won the Russian Revolutions and Civil Wars? Or, the Constraints and Conceits of Counterfactual History." Revolutionary Russia (2020): 1–32. doi:10.1080/09546545.2019.1675961.
  • Stewart, George. The White Armies of Russia: A Chronicle of Counter-Revolution and Allied Intervention (2008) excerpt เก็บถาวร 27 มิถุนายน 2015 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • Stone, David R. "The Russian Civil War, 1917–1921," in The Military History of the Soviet Union.
  • Swain, Geoffrey (2015). The Origins of the Russian Civil War excerpt เก็บถาวร 28 กรกฎาคม 2020 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

แหล่งข้อมูลปฐมภูมิ

  • Butt, V. P., et al., eds. The Russian Civil War: Documents from the Soviet Archives (Springer, 2016).
  • McCauley, Martin, ed. The Russian Revolution and the Soviet State 1917–1921: Documents (Springer, 1980).
  • Murphy, A. Brian, ed. The Russian Civil War: Primary Sources (Springer, 2000) online review เก็บถาวร 27 มิถุนายน 2020 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

แหล่งข้อมูลอื่น

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!