ประเทศที่เลิกใช้โทษประหารชีวิต: 110 ประเทศ
ประเทศที่เลิกใช้โทษประหารชีวิตยกเว้นอาชญากรรมในสถานการณ์พิเศษ (เช่นอาชญากรรมในช่วงเวลาของสงคราม): 7 ประเทศ
ประเทศที่เลิกใช้โทษประหารชีวิตในทางปฏิบัติ (กฎหมายยังมีการระบุโทษสูงสุดคือประหารชีวิต แต่ไม่มีการบังคับใช้โทษประหารชีวิตมาเป็นเวลาอย่างน้อย 10 ปี และถูกเชื่อว่ามีนโยบายหรือแนวทางปฏิบัติที่จะไม่ใช้โทษประหารชีวิต): 25 ประเทศ
ประเทศที่ยังใช้โทษประหารชีวิตอยู่: 53 ประเทศ
โทษประหารชีวิต (อังกฤษ : death penalty ) หรือ อุกฤษฏ์โทษ (capital punishment ) เป็นกระบวนการทางกฎหมายซึ่งรัฐ ลงโทษอาชญากรรมของบุคคลด้วยการทำให้ตาย คำสั่งของศาลที่ให้ลงโทษบุคคลในลักษณะนี้ เรียก การลงโทษประหารชีวิต ขณะที่การบังคับใช้โทษนี้ เรียก การประหารชีวิต อาชญากรรมที่มีโทษประหารชีวิต เรียก "ความผิดอาญาขั้นอุกฤษฏ์โทษ" คำว่า capital มาจากคำภาษาละติน ว่า capitalis ความหมายตามตัวอักษร คือ "เกี่ยวกับหัว" (หมายถึงการประหารชีวิตโดยการตัดหัว) [ 1]
สังคมอดีตส่วนมากนั้นมีโทษประหารชีวิตโดยเป็นการลงโทษอาชญากร และผู้ไม่เห็นด้วยทางการเมืองหรือศาสนา ในประวัติศาสตร์ การลงโทษประหารชีวิตมักสัมพันธ์กับการทรมาน และมักประหารชีวิตในที่สาธารณะ[ 2]
ปัจจุบันมีประเทศที่ยังคงโทษประหารชีวิต 53 ประเทศ ประเทศที่ยกเลิกโทษประหารชีวิตสำหรับอาชญากรรมทุกรูปแบบโดยนิตินัย 110 ประเทศ ประเทศที่ยกเลิกโทษประหารชีวิตเฉพาะอาชญากรรมปรกติ 7 ประเทศ (โดยคงไว้สำหรับพฤติการณ์พิเศษ เช่น อาชญากรรมสงคราม ) และประเทศที่ยกเลิกโทษประหารชีวิตโดยพฤตินัย (คือ ไม่ได้ใช้โทษประหารชีวิตอย่างน้อยสิบปี และอยู่ระหว่างงดใช้โทษ หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง)[ 3] องค์การนิรโทษกรรมสากล มองว่าประเทศส่วนใหญ่เป็นผู้ยกเลิก (abolitionist) โดยองค์การฯ พิจารณาว่า 140 ประเทศเป็นผู้ยกเลิกในทางกฎหมายหรือทางปฏิบัติ[ 3] การประหารชีวิตเกือบ 90% ทั่วโลกเกิดในทวีปเอเชีย [ 4]
แทบทุกประเทศในโลกห้ามการประหารชีวิตบุคคลอายุต่ำกว่า 18 ปีขณะก่อเหตุ นับแต่ปี 2552 มีเพียงประเทศอิหร่าน ซาอุดิอาระเบียและซูดานที่ยังประหารชีวิตลักษณะนี้ กฎหมายระหว่างประเทศ ห้ามการประหารชีวิตประเภทนี้[ 5]
โทษประหารชีวิตกำลังเป็นประเด็นการถกเถียงอยู่ในหลายประเทศ และจุดยืนอาจมีได้หลากหลายในอุดมการณ์ทางการเมืองหรือภูมิภาคทางวัฒนธรรมหนึ่ง ๆ ในรัฐสมาชิกสหภาพยุโรป ข้อ 2 แห่งกฎบัตรสิทธิมูลฐานแห่งสหภาพยุโรปห้ามการใช้โทษประหารชีวิต สภายุโรปซึ่งมีรัฐสมาชิก 47 ประเทศ ยังห้ามสมาชิกใช้โทษประหารชีวิต
สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ลงมติรับข้อมติไม่ผูกพันในปี 2550, 2551 และ 2553 เรียกร้องให้มีการผ่อนเวลาการประหารชีวิตทั่วโลก ซึ่งมุ่งให้ยกเลิกในที่สุด[ 6] แม้หลายชาติยกเลิกโทษประหารชีวิตแล้ว แต่ประชากรโลกกว่า 60% อาศัยอยู่ในประเทศซึ่งเกิดการประหารชีวิต เช่น สี่ประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก คือ จีน อินเดีย สหรัฐอเมริกาและอินโดนีเซีย ซึ่งยังใช้บังคับโทษประหารชีวิต ทั้งสี่ประเทศออกเสียงคัดค้านข้อมติสมัชชาใหญ่ดังกล่าว
ประวัติ
วิธีการประหารชีวิตด้วยการตัดศีรษะโดยใช้ดาบของประเทศญี่ปุ่น สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 (ในภาพ เป็นการประหารชีวิตผู้ที่สังหารกงสุลอังกฤษประจำประเทศญี่ปุ่นที่เมืองโยโกฮามา )
ผู้นิยมอนาธิปไตย ออกุสต์ แวลองต์ (Auguste Vaillant) ถูกประหารชีวิตด้วยเครื่องกิโยติน ในประเทศฝรั่งเศสในปี 1894
การดำเนินการเกี่ยวกับอาชญากรรมและศัตรูทางการเมืองได้ถูกนำมาใช้โดยในเกือบทุกสังคมทั้งกับการลงโทษความผิดทางอาญาและความขัดแย้งทางการเมือง ในบรรดาประเทศส่วนใหญ่ที่โทษประหารในทางปฏิบัติได้ถูกสงวนไว้สำหรับคดีการฆาตกรรม (การฆ่าคน ), การจารกรรม , การก่อกบฏ หรือเป็นส่วนหนึ่งของกระทรวงยุติธรรม ในบางประเทศอาชญากรรมทางเพศเช่น การข่มขืนกระทำชำเรา , คบชู้, การร่วมประเวณีกับญาติสนิท และการสังวาสที่ผิดธรรมชาติ ถูกดำเนินการประหารชีวิตเช่นเดียวกับการก่ออาชญากรรมทางศาสนาเช่น การละทิ้งศาสนาในประเทศอิสลาม (สละอย่างเป็นทางการในศาสนาประจำชาติ ) ในหลายประเทศที่มีการใช้โทษประหารชีวิตนั้น, การค้ายาเสพติดยังคงเป็นความผิดทางกฎหมาย ในประเทศจีน การค้ามนุษย์ และกรณีที่ร้ายแรงของการทุจริตทางการเมือง จะต้องถูกลงโทษโดยการประหารชีวิต ในกองทัพทั่วโลก ศาลทหาร ได้กำหนดโทษประหารสำหรับความผิดเช่น ขี้ขลาด , ละทิ้งหน้าที่ , ไม่เชื่อฟัง และกบฏ [ 7]
การใช้การประหารชีวิตอย่างเป็นทางการได้แพร่ขยายไปสู่จุดเริ่มต้นของบันทึกในหน้าประวัติศาสตร์ บันทึกทางประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่และวิธีการปฏิบัติต่างๆ ของชนเผ่าโบราณระบุว่าโทษประหารชีวิตเป็นส่วนหนึ่งของระบบยุติธรรมของพวกเขา การลงโทษสำหรับการกระทำผิดกฎหมายของประชาชนโดยทั่วไปรวมถึงการจ่ายค่าชดเชยโดยผู้กระทำความผิด, การลงโทษทางกาย , การต่อต้าน , การเนรเทศ และการประหารชีวิต โดยปกติ, ค่าชดเชยและการหลบหนีก็เพียงพอแล้วต่อรูปแบบของความยุติธรรมที่มีอยู่ [ 8] การตอบสนองกับอาชญากรรมที่กระทำโดยชนเผ่าที่อยู่ใกล้เคียงหรือชุมชนนั้นรวมไปถึงการขอโทษอย่างเป็นทางการ เบี้ยทำขวัญ หรือ ความอาฆาตกันทั้งตระกูล (blood feud)
ความอาฆาตกันทั้งตระกูล หรือความพยาบาทอันยาวนาน (blood feud, vendetta) เกิดขึ้นเมื่อการอนุญาโตตุลาการระหว่างครอบครัวหรือชนเผ่าล้มเหลวหรือระบบอนุญาโตตุลาการเป็นสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง รูปแบบของความยุติธรรมนี้เป็นเรื่องปกติธรรมดาก่อนที่จะมีการเกิดขึ้นของระบบอนุญาโตตุลาการที่ขึ้นอยู่กับรัฐหรือการจัดระเบียบทางศาสนา มันอาจจะเป็นผลมาจากความผิดทางอาญา, ข้อพิพาทดินแดน หรือหลักปฏิบัติคุณธรรม (code of honour) "การกระทำแห่งการตอบโต้นั้นได้เน้นย้ำขีดความสามารถของกลุ่มทางสังคมเพื่อให้เกิดการปกป้องต่อตัวเองและแสดงให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ต่อศัตรู (เช่นเดียวกับชาติพันธมิตรที่มีศักยภาพ) ซึ่งการล่วงละเมิดที่จะมีต่อทรัพย์สิน, ต่อสิทธิ, หรือต่อบุคคล ในอันที่จะกระทำไปโดยที่ไม่มีใครขัดขวางนั้น จะมิอาจเกิดมีขึ้นได้โดยง่าย" [ 9]
ขบวนการสู่การประหารชีวิต "อย่างมีมนุษยธรรม"
เตียงเคลื่อนที่ในคุกรัฐซานเควนติน (San Quentin State Prison) ในประเทศสหรัฐอเมริกาที่มีนักโทษที่ถูกกักขังไว้อยู่ในระหว่างการดำเนินการประหารชีวิตโดยการฉีดยาตาย (lethal injection)
มีแนวโน้มส่วนใหญ่ของโลกที่ได้มีปฏิบัติกันมานานแล้วสำหรับในการที่จะทำให้การประหารชีวิตนั้น ได้ใช้วิธีการในการที่จะทำให้ได้รับความเจ็บปวดน้อยลงหรือมีความเป็นมนุษยธรรมมากขึ้นต่อการประหารชีวิต
การใช้ร่วมสมัย
โทษประหารชีวิตสำหรับผู้ที่กระทำผิดที่เป็นเด็กและเยาวชน (อาชญากรอายุต่ำกว่า 18 ปี ในความผิดทางอาญา) ได้กลายเป็นที่พบเห็นได้ยากมากขึ้นเรื่อย ๆ
การโต้เถียงและการอภิปราย
ผู้สนับสนุนโทษประหารชีวิตแย้งว่ามันป้องกันอาชญากรรม เป็นเครื่องมือที่ดีสำหรับตำรวจและอัยการ (ตัวอย่างเช่น ในการต่อรองคำรับสารภาพ)[ 10] รับประกันว่าอาชญากรผู้ต้องโทษจะไม่กระทำความผิดอีก และเป็นโทษยุติธรรมแล้วสำหรับอาชญากรรมเหี้ยมโหดอย่างฆาตกรเด็ก ฆาตกรต่อเนื่องและฆาตกรทรมาน ผู้คัดค้านโทษประหารชีวิตแย้งว่า มิใช่ทุกคนที่ได้รับผลจากการฆ่าคนปรารถนาโทษประหารชีวิต การประหารชีวิตแบ่งแยกต่อผู้เยาว์และคนจน และมันส่งเสริม "วัฒนธรรมความรุนแรง" และมันละเมิดสิทธิมนุษยชน[ 11]
การประหารชีวิตผิด ๆ
มักแย้งว่า โทษประหารชีวิตนำไปสู่การปฏิบัติโดยมิชอบของความยุติธรรมผ่านการประหารชีวิตผู้บริสุทธิ์อย่างผิด ๆ[ 12] หลายคนได้รับประกาศเป็นเหยื่อบริสุทธิ์ของโทษประหารชีวิต[ 13] [ 14]
นอกจากนี้ วิธีดำเนินการไม่เหมาะสมยังให้เกิดการประหารชีวิตไม่ยุติธรรม ตัวอย่างเช่น นิรโทษกรรมสากลแย้งว่าในประเทศสิงคโปร์ "รัฐบัญญัติการใช้ยาในทางที่ผิด (Misuse of Drugs Act) มีชุดข้อสันนิษฐานซึ่งผลักภาระการพิสูจน์ ของการฟ้องคดีให้ผู้ถูกกล่าวหา ซึ่งขัดต่อสิทธิซึ่งได้รับรองสากลให้สันนิษฐานว่าบริสุทธิ์ก่อนพิสูจน์ว่ามีความผิด"[ 15] หมายถึงในสถานการณ์ที่มีผู้ถูกจับได้พร้อมกับยา ในแทบทุกเขตอำนาจ การฟ้องคดีอาญามีคดีมีมูล
การตอบแทน
ผู้สนับสนุนโทษประหารชีวิตแย้งว่า โทษประหารชีวิตชอบทางศีลธรรมเมื่อใช้ในการฆ่าคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีส่วนเพิ่มความร้ายแรง เช่น การฆ่าหลายคน การฆ่าเด็ก การฆ่าตำรวจ การฆ่าทรมานและการสังหารคนจำนวนมากอย่างการก่อการร้าย การสังหารหมู่ หรือพันธุฆาต บ้างถึงกับแย้งว่า หากไม่ใช่โทษประหารชีวิตในกรณีหลังไม่ยุติธรรมอย่างชัดเจนทีเดียว ศาสตราจารย์ รอเบิร์ต เบลกเคอร์ แห่งโรงเรียนกฎหมายนิวยอร์ก ป้องกันการให้เหตุผลนี้อย่างแข็งขันโดยว่า การลงโทษต้องเจ็บปวดได้สัดส่วนกับอาชญากรรม
ผู้ให้ยกเลิกแย้งว่า การตอบแทนเป็นเพียงการแก้แค้นและให้อภัยไม่ได้ ผู้อื่นที่ยอมรับว่าการตอบแทนเป็นส่วนหนึ่งของความยุติธรรมทางอาญากระนั้นแย้งว่าการจำคุกตลอดชีวิตก็ทดแทนเพียงพอแล้ว นอกจากนี้ ยังแย้งว่า การลงโทษการฆ่าด้วยการฆ่าอีกนั้นเป็นการลงโทษซึ่งค่อนข้างเป็นเอกลักษณ์สำหรับการกระทำรุนแรง เพราะโดยทั่วไป อาชญากรรมรุนแรงมิได้ลงโทษโดยให้ผู้ก่อการได้รับกรรมเดียวกัน (เช่น ผู้ข่มขืนไม่ได้ถูกลงโทษโดยการถูกข่มขืน)[ 16]
ลำดับเหตุการณ์ยกเลิก
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
↑ Kronenwetter 2001 , p. 202 harvnb error: no target: CITEREFKronenwetter2001 (help )
↑ "Readings - History Of The Death Penalty | The Execution | FRONTLINE" . PBS. สืบค้นเมื่อ 2014-02-11 .
↑ 3.0 3.1 "Abolitionist and retentionist countries" . Amnesty International. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2015-02-15. สืบค้นเมื่อ 2010-08-23 .
↑ "University of Oslo Calls World Universities against Death Penalty - The Nordic Page - Panorama" . Tnp.no. 2011-12-05. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2016-03-24. สืบค้นเมื่อ 2014-02-11 .
↑ "Iran, Saudi Arabia, Sudan: End Juvenile Death Penalty | Human Rights Watch" . Hrw.org. 2010-10-09. สืบค้นเมื่อ 2014-02-11 .
↑ "moratorium on the death penalty" . United Nations. 15 November 2007. สืบค้นเมื่อ 23 August 2010 .
↑ "Shot at Dawn, campaign for pardons for British and Commonwealth soldiers executed in World War I" . Shot at Dawn Pardons Campaign. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2006-07-03. สืบค้นเมื่อ 2006-07-20 .
↑ So common was the practice of compensation that the word murder is derived from the French word mordre (bite) a reference to the heavy compensation one must pay for causing an unjust death. The "bite" one had to pay was used as a term for the crime itself: "Mordre wol out; that se we day by day." – Geoffrey Chaucer (1340–1400), The Canterbury Tales , The Nun's Priest's Tale, l. 4242 (1387–1400), repr. In The Works of Geoffrey Chaucer , ed. Alfred W. Pollard, et al. (1898).
↑ Translated from Waldmann, op.cit. , p. 147.
↑ James Pitkin. " "Killing Time" | January 23rd, 2008" . Wweek.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2008-01-24. สืบค้นเมื่อ 23 August 2010 .
↑ "The High Cost of the Death Penalty" . Death Penalty Focus . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2008-04-28. สืบค้นเมื่อ 27 June 2008 .
↑ "Innocence and the Death Penalty" . Deathpenaltyinfo.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2007-02-08. สืบค้นเมื่อ 23 August 2010 .
↑ "Executed Innocents" . Justicedenied.org. สืบค้นเมื่อ 23 August 2010 .
↑ "Wrongful executions" . Mitglied.lycos.de. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2009-05-22. สืบค้นเมื่อ 23 August 2010 .
↑ Amnesty International, "Singapore – The death penalty: A hidden toll of executions" เก็บถาวร 2004-01-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (January 2004)
↑ "Ethics - Capital punishment: Arguments against capital punishment" . BBC. 1 January 1970. สืบค้นเมื่อ 11 February 2014 .
แหล่งข้อมูลอื่น
คัดค้าน
สนับสนุน