ประเทศสโลวีเนีย

46°07′N 14°49′E / 46.117°N 14.817°E / 46.117; 14.817

สาธารณรัฐสโลวีเนีย

Republika Slovenija (สโลวีเนีย)
ที่ตั้งของ ประเทศสโลวีเนีย  (เขียวเข้ม) – ในยุโรป  (เขียว & เทาเข้ม) – ในสหภาพยุโรป  (เขียว)
ที่ตั้งของ ประเทศสโลวีเนีย  (เขียวเข้ม)

– ในยุโรป  (เขียว & เทาเข้ม)
– ในสหภาพยุโรป  (เขียว)

เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
ลูบลิยานา
46°03′N 14°30′E / 46.050°N 14.500°E / 46.050; 14.500
ภาษาราชการสโลวีเนีย[i]
กลุ่มชาติพันธุ์
(2002[1][2])
ศาสนา
(2018)[3]
การปกครองรัฐเดี่ยว สาธารณรัฐระบบรัฐสภา
นาตาชา ปีตส์ มูซาร์
โรเบิร์ต โดฟ
สภานิติบัญญัติรัฐสภา
สภาแห่งชาติ
สมัชชาแห่งชาติ
ก่อตั้ง
29 ตุลาคม ค.ศ. 1918
1 ธันวาคม ค.ศ. 1918
19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1944
29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1945
• เอกราชจาก
ยูโกสลาเวีย
25 มิถุนายน ค.ศ. 1991[4]
• ลงนาม
ข้อตกลง Brioni
7 กรกฎาคม ค.ศ. 1991
23 ธันวาคม ค.ศ. 1991
• เข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติ
22 พฤษภาคม ค.ศ. 1992
1 พฤษภาคม ค.ศ. 2004
พื้นที่
• รวม
20,271 ตารางกิโลเมตร (7,827 ตารางไมล์) (150th)
0.7[5]
ประชากร
• 2021 ประมาณ
เพิ่มขึ้น 2,108,708[6] (อันดับที่ 147)
• สำมะโนประชากร 2002
1,964,036
103[6] ต่อตารางกิโลเมตร (266.8 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 106)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2022 (ประมาณ)
• รวม
97.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[7] (อันดับที่ 93)
เพิ่มขึ้น 46,281 ดอลลาร์สหรัฐ[7] (อันดับที่ 37)
จีดีพี (ราคาตลาด) 2022 (ประมาณ)
• รวม
65.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[7] (อันดับที่ 80)
เพิ่มขึ้น 31,026 ดอลลาร์สหรัฐ[7] (อันดับที่ 36)
จีนี (2020)positive decrease 23.5[8]
ต่ำ
เอชดีไอ (2019)เพิ่มขึ้น 0.917[9]
สูงมาก · 22nd
สกุลเงินEuro () (EUR)
เขตเวลาUTC+1 (เวลายุโรปกลาง)
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)
UTC+2 (เวลาออมแสงยุโรปกลาง)
รูปแบบวันที่วว. ดด. ปปปป (ค.ศ.)
ขับรถด้านขวามือ
รหัสโทรศัพท์+386
รหัส ISO 3166SI
โดเมนบนสุด.si[ii]
เว็บไซต์
www.slovenia.si
  1. ในบางเทศบาลมีภาษาฮังการีและอิตาลีเป็นภาษาร่วมทางการ
  2. และ .eu ในฐานะรัฐสมาชิกสหภาพยุโรป

ประเทศสโลวีเนีย (อังกฤษ: Slovenia; สโลวีเนีย: Slovenija, [slɔˈʋèːnija])[10] หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐสโลวีเนีย (อังกฤษ: Republic of Slovenia; สโลวีเนีย: Republika Slovenija,[11] อักษรย่อ: RS[12]) เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในยุโรปกลาง[13] ซึ่งเป็นเส้นทางการค้าและแหล่งวัฒนธรรมหลักของทวีปยุโรป[14][15] มีอาณาเขตทางตะวันตกจรดอิตาลี ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดทะเลเอเดรียติก ทางใต้และตะวันออกจรดโครเอเชีย ทางตะวันออกเฉียงเหนือจรดฮังการีและทางเหนือจรดออสเตรีย[16] มีพื้นที่ประมาณ 20,273 ตารางกิโลเมตรและมีประชากร 2.06 ล้านคน[17] สโลวีเนียเป็นสาธารณรัฐระบบรัฐสภา และเป็นสมาชิกของสหประชาชาติ สหภาพยุโรปและเนโท[18] เมืองหลวงและเมืองใหญ่สุดคือลูบลิยานา[19]

พื้นที่ส่วนใหญ่ของสโลวีเนียเป็นภูเขา[20]และมีลักษณะอากาศแบบภูมิอากาศภาคพื้นทวีปหลัก[21] ยกเว้นภูมิภาคชายฝั่งจะมีภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียนและภูมิภาคตะวันตกเฉียงเหนือซึ่งมีภูมิอากาศแบบเทือกเขาแอลป์[22] นอกจากนี้ไดนาริกแอลป์และที่ราบพันโนเนียก็พอได้ในสโลวีเนียเช่นกัน สโลวีเนียเป็นหนึ่งประเทศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ[23][24]เป็นหนึ่งในพื้นที่ที่มีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์มากในยุโรป[25] ทั้งแม่น้ำจำนวนมาก ชั้นหินอุ้มน้ำและแหล่งธารน้ำใต้ดิน[26] สโลวีเรียมีป่าปกคลุมมากกว่าครึ่งหนึ่งของประเทศ[27] ส่วนการตั้งถิ่นฐานของประชากรก็จะกระจักกระจายกันไป[28]

ประวัติศาสตร์สโลวีเนียได้รับทั้งวัฒนธรรมและภาษาจากสลาวิกตะวันตก สลาวิกใต้ เจอร์แมนิก โรมานซ์และฮังกาเรียน[29][30][31] ถึงแม้ประชากรในประเทศจะไม่ได้เป็นเอกพันธุ์เดียวกันแต่ส่วนใหญ่เป็นชาวสโลวีน[32] ภาษาสโลวีเนียซึ่งเป็นภาษาหนึ่งในกลุ่มภาษาสลาวิกใต้เป็นภาษาราชการของประเทศ ประชากรส่วนใหญ่ในประเทศไม่นับถือศาสนาอย่างแท้จริง[33] แต่วัฒนธรรมและเอกลักษณ์ของประเทศได้รับอิทธิพลจากโรมันคาทอลิกและลูเทอแรน[34] เศรษฐกิจของประเทศสโลเวเนียเป็นแบบเปิดขนาดเล็กและเป็นอุตสาหกรรมมุ่งการส่งออก[35] ที่ได้รับอิทธิพลจากต่างประเทศ[36] และได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากวิกฤติหนี้สาธารณะยุโรปที่เริ่มช่วงปลายยุค 2000[37] เศรษฐกิจหลักคืออุตสาหกรรมบริการตามด้วยอุตสาหกรรมและอุตสาหกรรมการก่อสร้าง[38]

ในอดีตพื้นที่ของสโลเวเนียเป็นส่วนหนึ่งของรัฐที่แตกต่างกันหลายแห่งทั้งจักรวรรดิโรมัน จักรวรรดิไบแซนไทน์ จักรวรรดิการอแล็งเฌียง จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ที่ปกครองโดยราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค สาธารณรัฐเวนิส จังหวัดอิลลิเรียของนโปเลียนที่ 1ที่ปกครองโดยฝรั่งเศส จักรวรรดิออสเตรียและจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2461 ประชาชนชาวสโลวีนตัดสินใจก่อตั้งรัฐแห่งชาวสโลวีน โครแอต และเซิร์บ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2461 รัฐแห่งชาวสโลวีน โครแอต และเซิร์บรวมตัวกับราชอาณาจักรเซอร์เบียกลายเป็นราชอาณาจักรแห่งชาวเซิร์บ โครแอต และสโลวีน (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นราชอาณาจักรยูโกสลาเวียใน พ.ศ. 2472) ช่วนระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง สโลวีเนียถูกยึดครอบครองและผนวกโดยเยอรมนี อิตาลีและฮังการีและพื้นที่เล็ก ๆ อยู่ในการปกครองของรัฐเอกราชโครเอเชียที่เป็นรัฐหุ่นเชิดของนาซีเยอรมนี[39] หลังจากนั้นสโลวีเนียเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งสหพันธ์สาธารณรัฐประชาชนยูโกสลาเวียภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวียซึ่งเป็นรัฐคอมมิวนิสต์ประเทศเดียวในกลุ่มตะวันออกซึ่งไม่เคยเป็นส่วนหนึ่งของกติกาสัญญาวอร์ซอ ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2534 หลังจากมีการเปิดประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนอันเป็นระบบพรรคการเมืองหลายพรรค สโลวีเนียจึงแยกตัวจากยูโกสลาเวียและกลายเป็นประเทศเอกราช[4] พ.ศ. 2547 สโลวีเนียได้เข้าร่วมกับเข้าเนโทและสหภาพยุโรป ใน พ.ศ. 2550 สโลวีเนียกลายเป็นประเทศยุคหลังคอมมิวนิสต์ประเทศแรกที่เข้าร่วมกับยูโรโซน[40] และใน พ.ศ. 2553 ได้เข้าร่วมโออีซีดีอันเป็นองค์กรระหว่างประเทศของกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว[41]

ประวัติศาสตร์

ประเทศสโลวีเนียเคยเป็น 1 ใน 6 รัฐของยูโกสลาเวีย ยูโกสลาเวียเดิมประกอบด้วย 6 สาธารณรัฐ กล่าวคือ สาธารณรัฐสโลวีเนีย โครเอเชีย เซอร์เบีย บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา มอนเตเนโกร และมาซิโดเนีย รวมทั้งคอซอวอและวอยวอดีนาซึ่งเป็นจังหวัดปกครองตนเอง

การเมือง

การเมืองในช่วง พ.ศ. 2533 – 2547

สโลวีเนียมีการเลือกตั้งครั้งแรกใน พ.ศ. 2533 นาย Milan Kucan ได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี ภายหลังการแยกตัวเป็นเอกราช มีการจัดการเลือกตั้งอย่างเสรีในเดือนธันวาคม 2535 ซึ่งประธานาธิบดี Kucan ได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีอีกครั้ง

ใน พ.ศ. 2535 พรรค Liberal Democratic (LDS) ของนาย Janez Drnovsek ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง นาย Drnovsek ได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และจัดตั้งรัฐบาลผสมโดยการประสานผลประโยชน์ของฝ่ายต่าง ๆ นาย Drnovsek มีนโยบายที่จะนำสโลวีเนียสู่เวทีระหว่างประเทศ ทำให้พรรค LDS ได้รับความนิยมจากประชาชนอย่างต่อเนื่องและได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2539 ในสมัยที่ 2 นี้ นาย Drnovsek ให้ความสำคัญต่อการเข้าเป็นสมาชิก EU และองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (NATO) ในด้านเศรษฐกิจ มีนโยบายส่งเสริมระบบเศรษฐกิจเสรี โดยเน้นการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจและการแปรรูปรัฐวิสาหกิจอย่างต่อเนื่อง

อย่างไรก็ดี ในเดือนเมษายน 2543 เกิดความขัดแย้งระหว่างพรรคร่วมรัฐบาล นาย Drnovsek ได้พยายามปรับคณะรัฐมนตรี แต่ไม่เป็นผล พรรค Slovenian People's Party (SLS) ซึ่งรวมกับพรรค Christian Democrats (SKD) และใช้ชื่อพรรคใหม่ว่าพรรค SLS+SKD สามารถร่วมมือกับพรรค Slovenian Democratic (SDS) จนมีเสียงสนับสนุนในสภาฯ มากพอ ได้จัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ในเดือนพฤษภาคม 2543 โดยมีนาย Andrej Bajuk รองหัวหน้าพรรค SLS+SKD เป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลของนาย Bajuk ได้บริหารประเทศจนถึงเดือนกันยายน 2543 เมื่อรัฐสภาสโลวีเนียครบวาระ

ในเดือนตุลาคม 2543 สโลวีเนียได้จัดการเลือกตั้งทั่วไป ผลการเลือกตั้งปรากฏว่าพรรค LDS ของนาย Drnovsek ยังคงได้รับความนิยมจากประชาชน นาย Drnovsek ได้จัดตั้งรัฐบาลผสม 4 พรรค โดยร่วมกับพรรค United List of Social Democrats (ZLSD) พรรค SLS+SKD และพรรค Democratic Party of Retired Persons of Slovenia (DeSUS) โดยนาย Drnovsek ยังคงได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ต่อมา ในเดือนพฤศจิกายน 2545 นาย Drnovsek ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในตำแหน่งประธานาธิบดีและได้รับเลือกตั้ง จึงได้แต่งตั้งนาย Anton Rop เป็นนายกรัฐมนตรี โดยรัฐสภาได้ให้การรับรองเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2545

กองทัพ

ตำรวจ

การแบ่งเขตการปกครอง

ภูมิศาสตร์

สโลวีเนียตั้งอยู่ในบริเวณภูมิภาคกลางและตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปยุโรปติดกับเทือกเขาแอลป์และมีชายฝั่งติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ตั้งอยูที่ละติจูด 45 องศาถึง 47 องศาเหนือและจากลองจิจูด 13 องศาถึง 17 องศาตะวันออก โดยเส้นเมริเดียนที่ 15 องศาตะวันออกเป็นเส้นที่เกือบจะแบ่งประเทศเป็น2ฝั่งพอดี[42] เซนทรอยด์ของสโลวีเนียตั้งอยู่ที่พิกัด 46°07'11.8" N และ 14°48'55.2" E[43] ในซิลิบนาเขตเทศบาลลิทิยา[44] ทริกลาฟคือจุดสูงสุดของสโลวีเนียมีความสูง 2,864 เมตร ประเทศสโลวีเนียมีค่าเฉลี่ยอยู่เหนือระดับน้ำทะเล 557 เมตร

4 ภูมิภาคหลักในยุโรปเจอได้ในสโลวีเนีย: เทือกเขาแอลป์ ที่ราบพันโนเนีย ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและไดนาริกแอลป์ ถึงแม้ว่าชายฝั่งทะเลเอเดรียติกจะใกล้กับทะเลเมดิเตอร์เรเนียนแต่พื้นที่ของสโลวีเนียส่วนใหญ่อยู่ในบริเวณลุ่มน้ำของทะเลดำ เทือกเขาแอลป์รวมทั้งจูเลียนแอลป์ เทือกเขาแคมนิก-ซาวินยาแอลป์ เทือกเขาคาราเวกซ์ร่วมทั้งเทือกเขาโพโฮเจห์ครอบคลุมสโลวีเนียตอนเหนือตามแนวชายแดนออสเตรีย ชายฝั่งของประเทศสโลวีเนียจากอิตาลีถึงโครเอเชียยาวประมาณ 47 กิโลเมตร[45]

คำว่าภูมิประเทศคาสต์ (Karst topography) หมายถึงที่ราบสูงคาสต์ทางตะวันตกเฉียงใต้ของสโลเวเนีย เป็นภูมิภาคหินปูนของแม่น้ำใต้ดิน ทางแคบระหว่างเขาและถ้ำระหว่างลูบลิยานาและทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ที่ราบพันโนเนียทางภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือติดชายแดนโครเอเชียและฮังการีเป็นที่ราบใหญ่ของประเทศอย่างไรก็ตามภูมิประเทศสโลวีเนียส่วนใหญ่เป็นเนินเขาและภูเขา พื้นที่สูงกว่า 200 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลคิดเป็นประมาณ 90% ของประเทศ

มากกว่าครึ่งของประเทศถูกปกคลุมด้วยป่า[46] ทำให้สโลวีเนียเป็นประเทศที่มีป่ามากเป็นอันดับ 3 ของยุโรปรองจากฟินแลนด์และสวีเดน พื้นที่ส่วนใหญ่ถูกปกคลุมด้วยป่าต้นบีช ต้นเฟอร์ โอ๊ก และมีผลผลิตที่ค่อนข้างสูง[47] ยังคงพบป่าดึกดำบรรพ์โดยป่าที่ใหญ่ที่สุดพบในคอเชวเย ทุ่งหญ้าครอบคลุมพื้นที่ 5,593 กิโลเมตร ทุ่งนาและสวนหย่อมครอบคลุมพื้นที่ 954 ตารางกิโลเมตร สวนผลไม้ครอบคลุมพื้นที่ 363 ตารางกิโลเมตรและไร่องุ่นครอบคลุมพื้นที่ 216 ตารางกิโลเมตร

เศรษฐกิจ

ประชากร

2 ล้านคน (พ.ศ. 2546) ชาวสโลวีน ร้อยละ 92 ชาวโครแอต ร้อยละ 1 ชาวเซิร์บ บอสเนีย ฮังการี และอื่น ๆ

เมืองใหญ่

วัฒนธรรม

อ้างอิง

  1. "Census 2002: 7. Population by ethnic affiliation, Slovenia, Census 1953, 1961, 1971, 1981, 1991 and 2002". Statistical Office of the Republic of Slovenia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-06. สืบค้นเมื่อ 2 February 2011.
  2. "Prebivalstvo: demografsko stanje, jeziki in veroizpovedi". 10 October 2017.
  3. "Eurobarometer 90.4 (December 2018): Attitudes of Europeans towards Biodiversity, Awareness and Perceptions of EU customs, and Perceptions of Antisemitism", Special Eurobarometer, European Union: European Commission, 2019, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-03-13, สืบค้นเมื่อ 9 August 2019 – โดยทาง GESIS
  4. 4.0 4.1 Škrk, Mirjam (1999). "Recognition of States and Its (Non-) Implication on State Succession: The Case of Successor States to the Former Yugoslavia". ใน Mrak, Mojmir (บ.ก.). Succession of States. Martinus Nijhoff Publishers. p. 5. ISBN 9789041111456.
  5. "Površina ozemlja in pokrovnost tal, določena planimetrično, 2005" [Surface area and land cover determined planimetrically, 2005] (ภาษาสโลวีเนีย และ อังกฤษ). Statistical Office of the Republic of Slovenia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-11. สืบค้นเมื่อ 2 February 2011.
  6. 6.0 6.1 "Prebivalstvo" (ภาษาสโลวีเนีย). Statistical Office of Slovenia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-28. สืบค้นเมื่อ 1 October 2021.
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 "World Economic Outlook Database, October 2021". IMF.org. International Monetary Fund. สืบค้นเมื่อ 31 January 2022.
  8. "Gini coefficient of equivalised disposable income – EU-SILC survey". ec.europa.eu. Eurostat. สืบค้นเมื่อ 9 August 2021.
  9. Human Development Report 2020 The Next Frontier: Human Development and the Anthropocene (PDF). United Nations Development Programme. 15 December 2020. pp. 343–346. ISBN 978-92-1-126442-5. สืบค้นเมื่อ 16 December 2020.
  10. "Slovenski pravopis 2001: Slovenija".
  11. เสียงอ่านภาษาสโลวีเนีย: [ɾɛˈpùːblika slɔˈʋèːnija]. ข้อมูล: "Slovenski pravopis 2001: Republika Slovenija".
  12. เสียงอ่านภาษาสโลวีเนีย: [ɾəˈsə́]. ข้อมูล: "Slovenski pravopis 2001: Republika Slovenija".
  13. Černe, Andrej (2004). Orožen Adamič, Milan (บ.ก.). Gateway to Western, Central, and Southeastern Europe (PDF). Slovenia: A Geographical Overview. Association of the Geographical Societies of Slovenia. p. 127. ISBN 961-6500-49-X. For centuries, the territory of Slovenia has been crossed by traditional transportation routes connecting northern Europe with southern, eastern, and western Europe. Slovenia's location in the northwestern part of the Mediterranean's most inland bay on the Adriatic Sea where the Alps, the plateaus of the Dinaric Alps, and the western margins of the Pannonian Basin meet gives [it] a relatively quite advantageous traffic and geographical position distinguished by its transitional character and the links between these geographical regions. In a wider macroregional sense, this transitional character and these links have not changed since prehistoric times.
  14. Černe, Andrej (2004). Orožen Adamič, Milan (บ.ก.). "Gateway to Western, Central, and Southeastern Europe" (PDF). Slovenia: A Geographical Overview. Association of the Geographical Societies of Slovenia: 127. ISBN 961-6500-49-X. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  15. Murovec, Nika; Kavaš, Damijan (ธันวาคม 2010). Introducing the National Context: Brief Presentation of the National Context (PDF). SWOT Analysis: Status of the Creative Industries in Ljubljana. Ljubljana: Inštitut za ekonomska raziskovanja [Institute for Economic Research]. p. 5. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 8 มีนาคม 2016.
  16. Nicoll, William; Schoenberg, Richard (1998). Europe beyond 2000: the enlargement of the European Union towards the East. Whurr Publishers. p. 121. ISBN 978-1-86156-064-3.
  17. "About Slovenia: Republic of Slovenia". Vlada.si. Government of Slovenia, Republic of Slovenia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-26. สืบค้นเมื่อ 25 November 2012.
  18. "Slovenia First 20 Years". Slovenia: South Australia Newsletter. Winter 2010–2011. ISSN 1448-8175. สืบค้นเมื่อ 25 November 2012.
  19. Vuk Dirnberk, Vojka; Tomaž Valantič. Statistični portret Slovenije v EU 2011 [Statistical Portrait of Slovenia in the EU 2011] (PDF) (ภาษาสโลวีเนีย และ อังกฤษ). Statistical Office of the Republic of Slovenia. ISSN 1854-5734. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-08-08. สืบค้นเมื่อ 2 February 2011.
  20. Perko, Drago (2008). "Slovenia at the Junction of Major European Geographical Units" (PDF). The Slovenian. Toronto: Vse Slovenski Kulturni Odbor [The All Slovenian Cultural Committee].
  21. Fallon, Steve (2007). "Environment". Slovenia (5th ed.). Lonely Planet. p. 40. ISBN 978-1-74104-480-5.
  22. Ogrin, Darko (2004). "Modern Climate Change in Slovenia". ใน Orožen Adamič, Milan (บ.ก.). Slovenia: A Geographical Overview (PDF). Association of the Geographical Societies of Slovenia. p. 45. ISBN 961-6500-49-X. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 17 กรกฎาคม 2013.
  23. Blažič, Mateja. Arih, Andrej. Nartnik, Irena. Turk, Inga (26 March 2008). "Endangered Species". Environmental Agency of the Republic of Slovenia, Ministry of the Environment and Spatial Planning. สืบค้นเมื่อ 8 March 2012.{{cite web}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  24. Hlad, Branka; Skoberne, Peter, บ.ก. (2001). "Characteristics of Biological and Landscape Diversity in Slovenia". Biological and Landscape Diversity in Slovenia: An Overview (PDF). Ljubljana: Environmental Agency of the Republic of Slovenia, Ministry of the Environment and Spatial Planning. p. 13. ISBN 961-6324-17-9. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 25 พฤศจิกายน 2012.
  25. "World Water Day 2011". Statistical Office of the Republic of Slovenia. 18 March 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-27. สืบค้นเมื่อ 2018-06-21.
  26. "Country Introduction". European state of the environment 2010 – contributions from Slovenia. Environmental Agency of the Republic of Slovenia, Ministry of the Environment and Spatial Planning. สืบค้นเมื่อ 8 March 2012.
  27. "Slovenian Forest in Figures". Slovenia Forest Service. กุมภาพันธ์ 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 มีนาคม 2012.
  28. Kladnik, Drago (2004). "Modern Climate Change in Slovenia". ใน Orožen Adamič, Milan (บ.ก.). Slovenia: A Geographical Overview (PDF). Association of the Geographical Societies of Slovenia. p. 93. ISBN 961-6500-49-X.
  29. "SOER: Country Introduction". Environment Agency of the Republic of Slovenia. สืบค้นเมื่อ 3 February 2011.
  30. Vinkler, Jonatan (2008). Medkulturni dialog kot temeljna vrednota EU [Intercultural Dialogue as the Fundamental Value of the EU] (PDF) (ภาษาสโลวีเนีย และ อังกฤษ). Faculty of Humanities Koper, University of Primorska. ISBN 978-961-92233-2-1. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 4 March 2012.
  31. "Resolution on the National Security Strategy of the Republic of Slovenia" (PDF). National Assembly of the Republic of Slovenia. 21 June 2001. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 14 April 2010. สืบค้นเมื่อ 3 February 2011.
  32. Zupančič, Jernej (2004). "Ethnic Structure of Slovenia and Slovenes in Neighbouring Countries". ใน Orožen Adamič, Milan (บ.ก.). Slovenia: A Geographical Overview (PDF). Association of the Geographical Societies of Slovenia. p. 87. ISBN 961-6500-49-X.
  33. Martinšek, Maja (2007). Odnos med državo in religijo v Sloveniji [The Relationship Between the State and Religion in Slovenia] (PDF). Faculty of Humanities, University of Ljubljana.
  34. Štrubelj, Dejan (2006). Primerjava narodne, verske in jezikovne sestave Slovenije: diplomsko delo [Comparison of Ethnic, Religious and Ethnic Structure of Slovenia: Diploma Thesis] (PDF) (ภาษาสโลวีเนีย). Faculty of Arts, University of Ljubljana. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 11 พฤษภาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 29 มกราคม 2011.
  35. Lahovnik, Matej (January–February 2011). "Corporate Strategies In The Post-Transition Economy: The Case Of Slovenian Companies". The Journal of Applied Business Research. 27 (1): 61–68. ISSN 0892-7626. COBISS 19878374.
  36. Banutai, Andreja (2011). Analiza modela gospodarske diplomacije Republike Slovenije [Analysis of the Economic Diplomacy Model of the Republic of Slovenia] (PDF) (ภาษาสโลวีเนีย และ อังกฤษ). Ljubljana: Faculty of Social Sciences, University of Ljubljana. p. 5.
  37. "Osnovni gospodarski podatki o Sloveniji" (ภาษาสโลวีเนีย). Embassy of the Republic of Slovenia Vienna. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 มิถุนายน 2012. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2012.
  38. Fajić, Lejla, บ.ก. (September 2011). "Tabela 2b: Dodana vrednost po dejavnostih in bruto domači proizvod" [Table 2b: Added Value by Activities and Gross Domestic Product]. Jesenska napoved gospodarskih gibanj 2011: statistična priloga [Autumn Prediction of Economic Movements 2011: Statistical Appendix] (PDF) (ภาษาสโลวีเนีย). Ljubljana: Institute for Macroeconomic Analysis and Development (UMAR/IMAD), Republic of Slovenia. p. 45.
  39. Sečen, Ernest (16 April 2005). "Mejo so zavarovali z žico in postavili mine" [They Protected the Border with Wire and Set up Mines]. Dnevnik.si (ภาษาสโลวีเนีย).
  40. P. Ramet, Sabrina (2008). "Democratization in Slovenia – The Third Stage". Serbia, Croatia and Slovenia at Peace and at War: Selected Writings, 1983–2007. LIT Verlag Münster. p. 272. ISBN 978-3-03735-912-9.
  41. Dutta, Manoranjan (2011). "Historical Progression of the EU". The United States of Europe: European Union and the Euro Revolution. 9781780523149. p. 31. ISBN 9781780523149.
  42. Jenko, Marjan (2005). "O pomenu meridiana 15° vzhodno od Greenwicha" (PDF). Geodetski vestnik (ภาษาสโลวีเนีย). Vol. 49 no. 4. pp. 637–638. สืบค้นเมื่อ 5 January 2010.
  43. "Simboli in sestavine" (ภาษาสโลวีเนีย). GEOSS Society. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-01. สืบค้นเมื่อ 12 February 2012.
  44. Geografske koordinate skrajnih točk (ภาษาสโลวีเนีย และ อังกฤษ). Statistical Office of the Republic of Slovenia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-26. สืบค้นเมื่อ 12 February 2012.
  45. Valantič, Tomaž (2010). Slovenija v številkah (PDF) (ภาษาสโลวีเนีย และ อังกฤษ). Statistical Office of the Republic of Slovenia. ISSN 1318-3745. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-02-21. สืบค้นเมื่อ 2 February 2011.
  46. "In 2016, forest covered 58.3% of Slovenia". Statistical Office of the Republic of Slovenia. 27 September 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-26. สืบค้นเมื่อ 2018-06-20.
  47. "Forestation and variety of forests". Slovenia Forest Service. 2009. สืบค้นเมื่อ 2 February 2011.

อ่านเพิ่ม

  • Perko, Drago, Ciglic, Rok, Zorn, Matija (eds.), The Geography of Slovenia: Small But Diverse (Cham, Springer, 2020).
  • Stanić, Stane, Slovenia (London, Flint River Press, 1994).
  • Oto Luthar (ed.), The Land Between: A History of Slovenia. With contributions by Oto Luthar, Igor Grdina, Marjeta Šašel Kos, Petra Svoljšak, Peter Kos, Dušan Kos, Peter Štih, Alja Brglez and Martin Pogačar (Frankfurt am Main etc., Peter Lang, 2008).
  • The World Book Encyclopedia of People and Places, O–S Oman to Syria (Chicago, World Book, 2011).

แหล่งข้อมูลอื่น

รัฐบาล
การท่องเที่ยว

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!