สาธารณรัฐเซเนกัล
République du Sénégal (ฝรั่งเศส)
คำขวัญ : "Un Peuple, Un But, Une Foi" (ฝรั่งเศส ) "หนึ่งชนชาติ หนึ่งเป้าหมาย หนึ่งศรัทธา" เมืองหลวง และเมืองใหญ่สุด
ดาการ์ 14°40′N 17°25′W / 14.667°N 17.417°W / 14.667; -17.417 ภาษาราชการ ฝรั่งเศส ภาษากลาง ภาษาประจำชาติ กลุ่มชาติพันธุ์ การปกครอง รัฐเดี่ยว ประธานาธิบดีแบบสาธารณรัฐ [ 2] Bassirou Diomaye Faye Ousmane Sonko Amadou Mame Diop
สภานิติบัญญัติ รัฐสภา เป็นเอกราช • ก่อตั้งสาธารณรัฐ
25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1958 • จากฝรั่งเศสa
4 เมษายน ค.ศ. 1960 20 สิงหาคม ค.ศ. 1960
พื้นที่ • รวม
196,712 ตารางกิโลเมตร (75,951 ตารางไมล์) (อันดับที่ 86 ) 2.1 ประชากร • พ.ศ. 2560 ประมาณ
15,411,614[ 3] (อันดับที่ 72 ) • สำมะโนประชากร 2016
16,624,000[ 4] (อันดับที่ 73 ) 68.7 ต่อตารางกิโลเมตร (177.9 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 134 ) จีดีพี (อำนาจซื้อ ) 2020 (ประมาณ) • รวม
66.438 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[ 5] (อันดับที่ 99 ) 3,675 ดอลลาร์สหรัฐ[ 5] (อันดับที่ 158 ) จีดีพี (ราคาตลาด) 2020 (ประมาณ) • รวม
28.02 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[ 5] [ 6] (อันดับที่ 105 ) 1,675 ดอลลาร์สหรัฐ[ 5] (อันดับที่ 149 ) จีนี (2011) 40.3[ 7] ปานกลาง เอชดีไอ (2019) 0.512[ 8] ต่ำ · อันดับที่ 168 สกุลเงิน West African CFA franc (XOF )เขตเวลา UTC (เวลามาตรฐานกรีนิช )ขับรถด้าน ขวา รหัสโทรศัพท์ +221 โดเมนบนสุด .sn
เซเนกัล (ฝรั่งเศส : Sénégal ) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐเซเนกัล (ฝรั่งเศส : République du Sénégal ) เป็นประเทศที่อยู่ในแอฟริกาตะวันตก มีพรมแดนทางตะวันตกจรดมหาสมุทรแอตแลนติก ทางเหนือจรดมอริเตเนีย ทางตะวันออกจรดมาลี และทางใต้จรดกินี และกินี-บิสเซา โดยล้อมแกมเบีย ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันตกของประเทศไว้เกือบทั้งหมด และมีหมู่เกาะกาบูเวร์ดี ตั้งอยู่ห่างจากชายแดนตะวันตกไปราว 560 กิโลเมตร
ภูมิศาสตร์
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มกึ่งทะเลทราย โดยค่อย ๆ ลาดสูงขึ้นไปจรดเชิงเขาบริเวณตะวันออกเฉียงใต้ที่อุดมไปด้วยป่าไม้
ประวัติศาสตร์
ศตวรรษที่ 19-20
ยุคอาณานิคม ชาวยุโรปชาติแรกที่เข้ามาตั้งรกราก ได้แก่ ชาวโปรตุเกสในคริสต์ศตวรรษที่ 15 แต่ต่อมาในศตวรรษที่ 17 อิทธิพลของฝรั่งเศสเริ่มเข้ามาและมีเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ และสามารถสยบรัฐมุสลิมรัฐสุดท้ายได้ในปี 1893 เซเนกัลตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสนานถึง 300 ปี (1659-1960) และดาการ์กลายเป็นเมืองหลวงของอาณานิคมฝรั่งเศสในแอฟริกาตะวันตก เซเนกัลได้รับเอกราชโดยรวมอยู่ในสหพันธรัฐมาลีในวันที่ 20 มิถุนายน 1960 และได้ถอนตัวออกจากสหพันธรัฐเพื่อเป็นประเทศเอกราชอย่างแท้จริงเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 1960
หลังการประกาศเอกราช
ยุคหลังได้รับเอกราช เมื่อเซเนกัลได้รับเอกราช นาย เลออปอล เซดาร์ ซ็องกอร์ เป็นประธานาธิบดีคนแรกและเป็นประมุขของประเทศ จนเมื่อปี 1980 นักการเมืองรุ่นใหม่ ได้กดดันให้เขาลาออกเนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจส่งผลให้นาย Abdou Diouf ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีขณะนั้นได้ขึ้นเป็นประธานาธิบดีคนที่สองของเซเนกัลแทน และดำรงตำแหน่งต่อมาเป็นเวลา 19 ปี โดยได้รับเลือกตั้งทั้งหมด 3 ครั้ง ในปี 1983, 1988 และ 1993 ในการเลือกตั้งเมื่อปี 2000 นาย Diouf พ่ายแพ้แก่ผู้นำฝ่ายค้าน นาย Abdoulaye Wade เนื่องจากชาวเซเนกัลอยากเห็นความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและเกิดความเบื่อหน่ายในพรรคสังคมนิยมของนาย Diouf ซึ่งครองอำนาจมานานถึง 40 ปี และมีความแตกแยกภายในพรรคสูง อนึ่ง เซเนกัลเคยรวมประเทศกับแกมเบียจัดตั้งสหพันธรัฐเซเนแกมเบียในปี 1982 แต่ก็กลับแยกกันดังเดิมอีกในปี 1989
การเมืองการปกครอง
บริหาร
การเมืองเซเนกัลมีความมั่นคงมากที่สุดประเทศหนึ่งในภูมิภาคแอฟริกาตะวันตก และ เป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศในแอฟริกาซึ่งไม่เคยประสบเหตุปฏิวัติรัฐประหาร พรรคร่วมรัฐบาล นำโดยพรรค Senegalese Democratic Party ของประธานาธิบดี Wade คุมเสียงข้างมากในสภา การเมืองจึงมีเสถียรภาพสูง นอกจากนี้ ยังสามารถสร้างแนวร่วมได้เพิ่มขึ้น
ปัญหาสำคัญของเซเนกัลคือการต่อต้านจากกลุ่มติดอาวุธ the Movement of Democratic Forces in Casamance ของชนเผ่า Dioula ซึ่งไม่พอใจในการปกครองของชนเผ่า Wolof ซึ่งเป็นเผ่าใหญ่ที่สุดของเซเนกัล เนื่องจากเห็นว่า กลุ่มตนไม่ได้รับความสนใจจากรัฐบาลในอดีต แม้ว่าจะมีการลงนามความตกลงสันติภาพกันเมื่อเดือนธันวาคม 2004 แต่ก็ยังมีต่อต้านอยู่เสมอ แม้ว่าจะมีปัญหาภายในดังกล่าว แต่ก็ถือได้ว่าเซเนกัลเป็นหนึ่งในประเทศประชาธิปไตยที่มีเสถียรภาพมากที่สุดแห่งหนึ่งในแอฟริกา
การแบ่งเขตการปกครอง
ประเทศเซเนกัลแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 14 เขตการปกครอง (regions) ได้แก่
เขตดาการ์
เขตดิอัวร์เบล
เขตฟาทิค
เขตคาฟฟรีน
เขตเคาแล็ค
เขตเคเดาเกา
เขตโคลดา
เขตลูกา
เขตมาตัม
เขตเซดิว
เขตเซนต์หลุยส์
เขตทัมบาเคาน์ดา
เขตทิเอส
เขตชิกูยน์ชอร์
เศรษฐกิจ
โครงสร้าง
เซเนกัลเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจที่สำคัญของภูมิภาคแอฟริกาตะวันตก แต่ใน ค.ศ. 1993 เซเนกัลประสบปัญหาความตกต่ำทางเศรษฐกิจอันเป็นผลมาจากการขาดดุลการค้าและมีหนี้สินต่างประเทศอยู่เป็นจำนวนมาก เป็นผลให้เศรษฐกิจขยายตัวเพียงร้อยละ 2.1 ต่อมาเมื่อวันที่ 1 มกราคม 1994 รัฐบาลได้มีการปฏิรูปเศรษฐกิจโดยการสนับสนุนจากประเทศผู้บริจาค การปฏิรูปเริ่มจากการประกาศลดค่าเงินสกุลฟรังค์เซฟา (CFA) ลง 50 % (ค่า CFA ได้ผูกค่าเงินตายตัวกับค่าเงินยูโร) การควบคุมราคาและการอุดหนุนได้ค่อย ๆ ยกเลิกไป ผลจากการปฏิรูปส่งผลให้เศรษฐกิจเซเนกัลปรับตัวดีขึ้น GDP ขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 5 ในช่วงปี 1995-2006 อัตราเงินเฟ้อลดลงเหลือร้อยละ 2 ในปี 2006
ในฐานะที่ เซเนกัลเป็นสมาชิกสหภาพเศรษฐกิจและการเงินแห่งแอฟริกาตะวันตก (WAEMU) เซเนกัลได้ดำเนินการในการรวมตัวให้เข้มข้นมากขึ้นโดยการปรับระบบภาษีที่คิดกับนอกกลุ่มให้เป็นหนึ่งเดียวกัน และดูแลนโยบายการเงินอย่างมีเสถียรภาพมากขึ้น ปัญหาการว่างงานยังคงเป็นแรงผลักดันให้มีคนเซเนกัลอพยพไปยุโรปเพื่อหางานทำอย่างต่อเนื่อง วิกฤติด้านพลังงานก็เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่ส่งผลให้เกิดปัญหาไฟดับบ่อยครั้งในบริเวณที่กว้างขวางในปี 2006 นอกจากนั้น เซเนกัลยังพึ่งพาเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตามผลจากการประกาศโครงการยกหนี้ให้กับประเทศยากจนของ IMF นั้น เซเนกัลได้รับการปลดหนี้ไปถึง 2 ใน 3
เศรษฐกิจของเซเนกัลขึ้นอยู่กับภาคบริการ การค้า การขนส่ง และการท่องเที่ยวเป็นหลัก เนื่องจากจุดเด่นด้านทำเลที่ตั้งของเซเนกัลที่เป็นศูนย์กลางกระจายสินค้าและการขนส่งในแอฟริกาตะวันตก แต่ในด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมกลับได้รับการพัฒนาน้อย อุตสาหกรรมที่สำคัญได้แก่ อุปกรณ์ก่อสร้าง และการแปรรูปทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ปลา น้ำมันจากถั่วลิสง และฟอสเฟต
รายได้หลักของเซเนกัลมาจากการส่งออกสินค้าภาคเกษตร อาทิ ถั่วลิสง ประมง ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ฟอสเฟต ฝ้าย การท่องเที่ยว การบริการ และพึ่งพาเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ ทั้งนี้ ประเทศและองค์กรที่ให้ความช่วยเหลือเซเนกัลในด้านการพัฒนามีหลายแหล่ง อาทิ ฝรั่งเศส กองทุนการเงินระหว่างประเทศ สหภาพยุโรป ธนาคารเพื่อการพัฒนาแอฟริกา USAID ญี่ปุ่น เยอรมนี แคนาดา และหน่วยงานของสหประชาติ รัฐบาลเซเนกัลมีนโยบายเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจของประเทศจากสังคมนิยมเป็นทุนนิยม สนับสนุนการค้าเสรีโดยได้เริ่มผ่อนคลายมาตรการกีดกันทางการค้า และแปรรูปรัฐวิสาหกิจ เนื่องจากแรงกดดันจากองค์การระหว่างประเทศที่ให้ความช่วยเหลือ โดยเฉพาะ IMF และธนาคารโลก ซึ่งประสงค์ให้รัฐบาลเซเนกัลปฏิรูปนโยบายทางเศรษฐกิจเป็นแบบการค้าเสรี
ประชากรศาสตร์
จำนวนประชากร 14,354,690 คน (กรกฎาคม 2015) อัตราขยายตัว 2.6 % (2007)
เชื้อชาติ
เชื้อชาติ – โวลอฟ 43.3%, พูลาร์ 23.8%, เซเรร์ 14.7 %, โจล่า 3.7 %, แมนดินก้า 3 %, โซนินเก 1.1 %, ชาวยุโรปและเลบานอน 1 %, อื่น ๆ 9.4 %
ศาสนา
ประชากรเซเนกัลส่วนใหญ่ นับถือศาสนามุสลิม 94 %, คริสเตียน 5 % (ส่วนใหญ่เป็นแคธอลิค, ความเชื่อท้องถิ่น 1 % พุทธ 0.01% ดูเพิ่มได้ในพุทธศาสนาในประเทศเซเนกัล
ภาษา
ภาษาฝรั่งเศส (ภาษาทางการ), โวลอฟ, พูลาร์, โจล่า, แมนดินก้า
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
อ่านเพิ่ม
Babou, Cheikh Anta, Fighting the Greater Jihad: Amadu Bamba and the Founding of the Muridiyya of Senegal, 1853–1913 , (Ohio University Press, 2007)
Behrman, Lucy C, Muslim Brotherhood and Politics in Senegal , (iUniverse.com, 1999)
Buggenhage, Beth A, Muslim Families in Global Senegal: Money Takes Care of Shame , (Indiana University Press, 2012)
Bugul, Ken, The Abandoned Baobab: The Autobiography of a Senegalese Woman , (University of Virginia Press, 2008)
Foley, Ellen E, Your Pocket is What Cures You: The Politics of Health in Senegal , (Rutgers University Press, 2010)
Gellar, Sheldon, Democracy in Senegal: Tocquevillian Analytics in Africa , (Palgrave Macmillan, 2005)
Glover, John, Sufism and Jihad in Modern Senegal: The Murid Order , (University of Rochester Press, 2007)
Kane, Katharina, Lonely Planet Guide: The Gambia and Senegal , (Lonely Planet Publications, 2009)
Kueniza, Michelle, Education and Democracy in Senegal , (Palgrave Macmillan, 2011)
Mbacké, Khadim, Sufism and Religious Brotherhoods in Senegal , (Markus Wiener Publishing Inc., 2005)
Streissguth, Thomas, Senegal in Pictures , (Twentyfirst Century Books, 2009)
Various, Insight Guide: Gambia and Senegal , (APA Publications Pte Ltd., 2009)
Various, New Perspectives on Islam in Senegal: Conversion, Migration, Wealth, Power, and Femininity , (Palgrave Macmillan, 2009)
Various, Senegal: Essays in Statecraft , (Codesria, 2003)
Various, Street Children in Senegal , (GYAN France, 2006)
แหล่งข้อมูลอื่น
Trade
ลิงก์ไปยังบทความที่เกี่ยวข้อง
การเป็นสมาชิก
สมาชิก สมาชิกภูมิภาค สมาชิกสมทบ ผู้สังเกตการณ์ ผู้ที่ถูกระงับ
องค์การ เลขาธิการ วัฒนธรรม
นานาชาติ ประจำชาติ ภูมิศาสตร์ ศิลปิน ประชาชน อื่น ๆ