กองทัพแดงของกรรมกรและของชาวนา Рабоче-крестьянская Красная армия ประจำการ 15 มกราคม ค.ศ. 1918 – 25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1946 (1918-01-15 – 1946-02-25 ) ประเทศ ขึ้นต่อ พรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต รูปแบบ ทหาร บทบาท ภาคพื้น กำลังรบ 34,401,807 นายที่รับใช้ในสงครามโลกครั้งที่สอง ปฏิบัติการสำคัญ ผู้บังคับบัญชา ควบคุมโดย เลขาธิการแห่งคณะกรรมการกลางแห่งพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต (บอลเชวิค) โจเซฟ สตาลิน (3 เมษายน ค.ศ.1922 – 16 ตุลาคม ค.ศ.1952)
ธงกองทัพแดงอย่างไม่เป็นทางการ เพราะกำลังภาคพื้นของโซเวียตไม่มีธงอย่างเป็นทางการ[ 1]
กองทัพแดงของกรรมกรและของชาวนา (รัสเซีย : Рабоче-крестьянская Красная армия; РККА , อักษรโรมัน : Raboche-krest'yanskaya Krasnaya armiya; RKKA , สัทอักษรสากล: [rɐˈbot͡ɕɪ krʲɪsʲˈtʲjanskəjə ˈkrasnəjə ˈarmʲɪjə] ) เกิดขึ้นเป็นกลุ่มการรบคอมมิวนิสต์ปฏิวัติของสหภาพโซเวียตระหว่างสงครามกลางเมืองรัสเซีย ค.ศ. 1918-1922 ต่อมา ได้เติบโตเป็นกองทัพแห่งชาติ จนถึงคริสต์ทศวรรษ 1930 กองทัพแดงเป็นหนึ่งในกองทัพใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์
"กองทัพแดง" หมายถึงสีดั้งเดิมของขบวนการคอมมิวนิสต์ เมื่อสัญลักษณ์แห่งชาติโซเวียตแทนที่สัญลักษณ์ปฏิวัติ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1946 กองทัพแดงจึงถูกเปลี่ยนชื่อเป็นกองทัพบกโซเวียต (รัสเซีย : Советская Армия, Sovetskaya Armiya )
กองทัพแดงได้รับชื่อเสียงอย่างกว้างขวางว่าเป็นกำลังตัดสินชี้ขาดในชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ในเขตสงครามยุโรป สงครามโลกครั้งที่สอง ระหว่างปฏิบัติการในแนวรบด้านตะวันออก กองทัพแดงได้รบปะทะและเอาชนะกองทัพเยอรมันทั้งหมดราว 80% ที่วางกำลังในสงคราม[ 2]
ประวัติ
กองกำลังเรดการ์ด ที่โรงงานวุลกาน
ปฐมบท
ในช่วงการปฏิวัติเดือนกุมภาพันธ์ (เดือนมีนาคม พ.ศ. 2460 ตามปฏิทินเกรโกเรียน) เป็นการปฏิวัติในเฉพาะบริเวณนครเปโตรกราด (ปัจจุบัน: เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก) ภายใต้ภาวะความวุ่นวายนั้นเอง สมาชิกรัฐสภาหลวงดูมาถือโอกาสเข้ายึดอำนาจการบริหารประเทศและจัดตั้งรัฐบาลเฉพาะกาลขึ้น เหล่าผู้นำกองทัพต่างรู้สึกว่าความพยายามปราบปรามการจลาจลของตนนั้นไร้ผล และพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 พระเจ้าซาร์แห่งรัสเซียองค์สุดท้ายก็ทำการสละราชสมบัติ ในตอนแรกเริ่ม พวกโซเวียต (สภาแรงงาน) ซึ่งนำโดยพวกสังคมนิยมหัวรุนแรงอนุญาตให้รัฐบาลเฉพาะกาลเข้าบริหารประเทศ แต่ยืนยันให้พวกตนได้รับอภิสิทธิ์ในการแทรกแซงรัฐบาลและควบคุมกองกำลังต่าง ๆ มากมาย กล่าวได้ว่าการปฏิวัติเดือนกุมภาพันธ์เกิดขึ้นในบริบทของความพ่ายแพ้ทางทหารอย่างหนักในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง (พ.ศ. 2457 - 2461) ซึ่งทำให้กองทัพส่วนมากอยู่ในสภาพของการก่อกบฏ
ช่วงเวลาของ พหุอำนาจ (Dual power) จึงได้ถือกำเนิดขึ้น ซึ่งเป็นช่วงที่รัฐบาลเฉพาะกาลครอบครองอำนาจรัฐ ขณะที่เครือข่ายโซเวียตแห่งชาติซึ่งนำโดยพวกสังคมนิยมก็ได้รับการสวามิภักดิ์จากเหล่าชนชั้นล่างและพวกฝ่ายซ้าย และตลอดช่วงเวลาแห่งความวุ่นวายนี้มีการก่อกบฏ, ประท้วง และนัดหยุดงานมากมายหลายครั้ง ต่อมารัฐบาลเฉพาะกาลตัดสินใจที่จะยังคงทำสงครามกับเยอรมนีต่อไป ส่งผลให้พวกบอลเชวิกและนักสังคมนิยมกลุ่มต่าง ๆ เริ่มออกมารณรงค์ให้ยุติการสู้รบกับเยอรมนี บอลเชวิกได้ทำการเปลี่ยนกองกำลังจากชนชั้นแรงงานให้ไปเป็น เรดการ์ด และกองกำลังนี้เองที่บอลเชวิกควบคุมเอาใจใส่อย่างมีนัยสำคัญ และแล้วพวกบอลเชวิกก็สามารถเข้ายึดอำนาจประเทศได้ในที่สุด หลังจากนั้นมาเรดการ์ดก็ได้เปลี่ยนมาเป็นกองกำลังทหารที่จะต้องทำหน้าที่ปกป้องประเทศรัสเซียอันเป็นแผ่นดินเกิดของตนและปกป้องพรรคคอมมิวนิส์แห่งสภาพโซเวียต (บอลเชวิก) ที่ได้ถูกก่อตั้งขึ้น
สงครามกลางเมือง
ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1918 เมื่อกลุ่มเชโกสโลวัก (อดีตนักโทษสงครามที่เดินทางทางรถไฟสายทรานส์ไซบีเรียไปยังเมืองวลาดีวอสตอคและเป็นพวกลี้ภัย) เกิดปะทะกับกองทหารโซเวียตที่บริเวณภูเขายูรัล และยังมีทีท่าว่าจะยึดขบวนรถไฟ การยึดครองนี้จะทำให้กองกำลังต่อต้านการปฏิวัติ (หรือพวกขาว "Whites") สามารถจัดกองทัพต่อต้านบอลเชวิคในไซบีเรียตะวันตก กองกำลังฝ่ายขาวนี้ยังมีที่ตั้งมั่นอยู่ในเขตรัสเซียในยุโรป ซึ่งถูกเยอรมันยึดครองในเดือนมีนาคม ค.ศ.1918 ระหว่างเริ่มการยึดครองนั้น กองทหารอังกฤษได้เข้ามาตั้งมั่นที่เมืองอาร์คันเกลสค์ มูร์มันสก์ และทรานส์คอเคซัส เหมือนกับว่าจะช่วยฝ่ายรัสเซียขาว และกองกำลังฝรั่งเศสก็เข้ามาตั้งที่โอเดสซา แต่ปรากฏว่าทั้งสองชาติไม่ได้ต้องการที่จะเข้ามาปล่อยฝ่ายขาวอย่างจริงจัง เพราะทั้งสองได้ถอนตัวออกไปหมดในตอนปลาย ค.ศ.1919
พวกบอลเชวิคถูกคุกคามจากรอบด้าน โดยในยูเครนนั้น เยอรมนีได้สนับสนุนรัฐบาลแยกดินแดนชาวยูเครน ส่วนทางใต้นายทหารพระเจ้าซาร์คือ นายพลเดนีกิน (Denikin) ได้จัดตั้งกองทัพอาสาสมัครมีกำลังสำคัญคือ ทหารคอสแซคขับไล่พวกแดงออกจากคอเคซัส ในยูรัลและไซบีเรีย นายพลสมัยพระเจ้าซาร์คือนายพล อะเลคซันดร์ คอลชัค จัดตั้งกองทัพของตนขึ้นมาพร้อมกับประกาศตนเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในรัสเซียในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1918 กองกำลังของทั้งสองฝ่ายต่างมุ่งเข้าโจมตีมอสโกใน ค.ศ. 1919 แต่กองทัพคอลชัคถูกกองทัพแดงขับไล่ไปไซบีเรียใน ค.ศ. 1920 กองทัพเดนีกินถูกทำลายใน ค.ศ. 1920 และเมื่อมีกองทัพของอดีตนายพลสมัยพระเจ้าซาร์อีกคนหนึ่งคือ ยูเดนิช ยกจากเอสโตเนียสู่เปโตรกราดในฤดูร้อน ค.ศ. 1919 ก็ต้องเป็นฝ่ายแพ้ เช่นเดียวกัน การคุกคามครั้งสำคัญเกิดขึ้นอีกเมื่อโปแลนด์ยกกองทัพบุกยูเครน ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1920 กองทัพแดงขับไล่ทหารโปแลนด์ถอยร่นไปถึงแม่น้ำวิสตูลา แต่ชาวโปแลนด์ผู้รักชาติสามารถร่วมมือกันรักษากรุงวอร์ซอไว้ได้ และทั้งสองฝ่ายได้ลงนามสงบศึกในเดือนตุลาคม
ด้วยความพ่ายแพ้ของฝ่ายขาวทุกด้าน ทำให้บอลเชวิคสามารถขยายอิทธิพลเข้าไปในทุกภูมิภาค แห่งสุดท้ายคือ วลาดีวอสตอค ซึ่งได้รับการฟื้นฟูขึ้นภายหลังการยึดครองของญี่ปุ่น ค.ศ. 1918 ได้ถอนตัวออกไปใน ค.ศ. 1922 การที่ชัยชนะของบอลเชวิคเกิดขึ้นด้วยหลายปัจจัย เช่น การที่เลออน ทรอตสกี สามารถระดมกำลังทหารของพระเจ้าซาร์จัดเป็นกองทัพแดงที่แข็งแกร่ง การควบคุมเขตอุตสาหกรรมสำคัญทางภาคกลาง และความสามารถในการส่งกำลังจากมอสโกออกไปยังที่ที่ต้องการได้เป็นรัศมีกว้าง
เครื่องหมายแสดงชั้นยศของกองทัพแดงยุคแรก ค.ศ. 1919–1924
สงครามโปแลนด์-โซเวียต
ยุคการปรับปรุงขนานใหญ่
สงครามจีน-โซเวียต
สงครามฤดูหนาวในฟินแลนด์
โจเซฟ สตาลินมีความต้องการดินแดนบางส่วนของประเทศฟินแลนด์และต้องการสร้างกองทัพเรือที่นั่น จึงส่งทูตไปเจรจาโดยตั้งเงื่อนไขว่าให้เลื่อนเขตแดนให้ห่างจากเมืองเลนินกราดออกไปอีก 25 กิโลเมตรและสร้างฐานทัพเรือ แต่การเจรจาล้มเหลวเพราะฟินแลนด์ปฏิเสธไม่ยอมยกดินแดนบางส่วน และไม่ยอมให้โซเวียตสร้างฐานทัพเรือในดินแดนของตน
ทำให้สตาลินไม่พอใจจึงส่งกองทัพแดงไปรุกรานประเทศฟินแลนด์จำนวนราวหนึ่งล้านคน การโจมตีได้เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2482 (ค.ศ. 1939) เมื่อทหารในกองทัพแดงราวหนึ่งล้านคนบุกเข้าจู่โจมตามแนวรบหลายจุดบริเวณพรมแดนระหว่างสหภาพโซเวียตกับฟินแลนด์ กองทัพฟินแลนด์บัญชาการโดยจอมพลมานเนอร์ไฮม์ สามารถต่อต้านการโจมตีได้อย่างมีประสิทธิภาพแม้ว่าจะมีกำลังพลน้อยกว่ามาก อย่างไรก็ตาม ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ทหารรัสเซียเข้าไปในฟินแลนด์ได้สำเร็จ หลังใช้ปืนใหญ่ระดมโจมตีแนวป้องกันตามคอคอดคาเรเลียซึ่งอยู่ทางทิศใต้ของฟินแลนด์รวมทั้งการโจมตีทางอากาศ สงครามสิ้นสุดลงในวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2483 (ค.ศ. 1940) เมื่อมีการลงนามในสัญญาสันติภาพมอสโก โดยฟินแลนด์ยอมยกดินแดนบางส่วนให้โซเวียตและยอมให้โซเวียตก่อสร้างฐานทัพเรือบนคาบสมุทรฮังโก การรุกรานฟินแลนด์ในครั้งนี้ทำให้สหภาพโซเวียตถูกขับออกจากสันนิบาตชาติ
สงครามโลกครั้งที่ 2
ในสมัยของสตาลิน ได้มีการพยายามพัฒนาประเทศ ให้เป็นอุตสาหกรรมหนัก ส่วนหนึ่งก็เพื่อการสร้างอาวุธที่ทันสมัยให้กองทัพแดง และยังมีการอบรมสร้างนายทหารให้มีความสามารถมากขึ้น แต่ช่วงการกวาดล้างปรปักษ์ของสตาลินนายทหารที่มีฝีมือถูกกวาดล้างไปมาก ทำให้เมื่อต้นสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพแดงจึงถูกกองทัพนาซีเยอรมนี โจมตีจนย่อยยับ จึงมีการเปลี่ยนโครงสร้างการบังคับบัญชาใหม่ โดยพรรคคอมมิวนิสต์โซเวียตเข้ามามีบทบาทการบัญชาการมากขึ้น นำนายทหารที่มีความสามารถเหลืออยู่คือพลเอกซูคอฟเข้ามาบัญชาการกองทัพอีก ย้ายโรงงานผลิตอาวุธไปทางตะวันออก ทำให้กองทัพแดงมีประสิทธิภาพมากขึ้น ประกอบกับฤดูหนาวอันโหดร้ายของสหภาพโซเวียตทำให้ขวัญทหารนาซีเยอรมันตกต่ำลงไปมาก ทำให้ในยุทธภูมิสตาลินกราด กองทัพแดงแห่งโซเวียตสามารถหยุดยั้งกองทัพนาซีไม่ให้เข้ายึดเมืองสตาลินกราดได้ อันเป็นผลให้กองทัพที่ 6 ของนาซีเยอรมันต้องยอมจำนน เกมจึงพลิกให้กองทัพแดงกลายเป็นฝ่ายบุกจึงส่งผลให้กองทัพแดงมีโอกาสรุกเข้าไปในยุโรปตะวันออกและตีเบอร์ลินแตกเป็นประเทศแรกก่อนฝ่ายสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร สาธารณรัฐฝรั่งเศส อีกด้วย ทำให้สหภาพโซเวียตได้มีการขยายอำนาจครอบครองยุโรปตะวันออก ทำให้สหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตมีอาณาเขตเพิ่มขึ้นเป็น 15 สาธารณรัฐ
ต่อมาในช่วงเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1945 ซึ่งเป็นช่วงที่แผ่นดินญี่ปุ่นโดนกองทัพสหรัฐฯทิ้งระเบิดด้วยระเบิดปรมาณูทั้งสองลูกที่เมืองฮิโรชิมา และเมืองนางาซากิ ซึ่งในช่วงระหว่างนั้น กองทัพแดงได้บุกเข้าโจมตีกองทัพญี่ปุ่นที่อยู่ประจำการในแมนจูเรียและเกาหลีเหนือซึ่งรัสเซียได้เห็นสนธิสัญญาไม่รุกรานกันระหว่างรัสเซีย-ญี่ปุ่นได้ครบวันแล้ว นอกจากนั้นการโจมตีครั้งนี้เป็นการภายใต้ข้อตกลงลับของสตาลิน,รูสเวลท์,เชอร์ชิลล์ว่าจะบุกญี่ปุ่นภายใน 3 เดือนหลังจากนาซีเยอรมันยอมแพ้ แต่ว่าจักรพรรดิญี่ปุ่นได้ประกาศยอมแพ้สงครามทำให้สงครามโลกครั้งที่ 2 จบลงอย่างสมบูรณ์
ยุคสงครามเย็น
โครงสร้าง
บุคลากร
งบประมาณ
ยุทธภัณฑ์
อาวุธประจำกาย
อาวุธประจำหน่วย
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
↑ "флажные мистификации" [The flag Hoax] (ภาษารัสเซีย). vexillographia.ru. สืบค้นเมื่อ 11 September 2010 .
↑ Norman Davies: "Since 75%–80% of all German losses were inflicted on the eastern front it follows that the efforts of the western allies accounted for only 20%–25% ". Source: Sunday Times, 05/11/2006.
Helene Carrere D'Encausse, The End of the Soviet Empire: The Triumph of the Nations , Basic Books, 1992, ISBN 0-465-09818-5
Zaloga, Steven J., James Grandsen (1984). Soviet Tanks and Combat Vehicles of World War Two , London: Arms and Armour Press. ISBN 0-85368-606-8 .
แหล่งข้อมูลอื่น