10°29′S 105°38′E / 10.483°S 105.633°E / -10.483; 105.633
ดินแดนเกาะคริสต์มาส (อังกฤษ : Territory of Christmas Island , จีน : 圣诞岛领地 , มลายู : Wilayah Pulau Krismas ) หรือโดยย่อว่า เกาะคริสต์มาส (อังกฤษ : Christmas Island , จีน : 圣诞岛 , มลายู : Pulau Krismas ) เป็นเกาะเล็ก ๆ ในมหาสมุทรอินเดีย มีพื้นที่เพียง 135 ตารางกิโลเมตร เป็นดินแดนส่วนนอก ของประเทศออสเตรเลีย อยู่ห่างจากเพิร์ท รัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย ไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ 2,360 กิโลเมตร และห่างจากกรุงจาการ์ตา ของประเทศอินโดนีเซีย ไปทางใต้ 500 กิโลเมตร
การสำรวจสำมะโนครัวประชากรบนเกาะเมื่อ ค.ศ. 2021 มีประชากรทั้งหมด 1,692 คน[ 1] โดยมากตั้งถิ่นฐานบริเวณตอนเหนือของเกาะ มีนิคมใหญ่สุดคือฟลายอิงฟิชโคฟ (หรือเดอะเซตเทิลเมนต์) ประชากรราวสองในสามเป็นชาวมาเลเซียเชื้อสายจีน หรือชาวสิงคโปร์เชื้อสายจีน แต่ในการสำรวจสำมะโนครัวประชากรครั้งล่าสุดพบว่ามีเพียงร้อยละ 21.2 เท่านั้น[ 3] รองลงมาเป็นชาวมลายู และชาวออสเตรเลีย เชื้อสายยุโรป ส่วนประชากรกลุ่มย่อยได้แก่ ชาวมาเลเซียเชื้อสายอินเดีย และชาวยูเรเชีย ภาษาหลักที่ใช้คือภาษาอังกฤษ จีน และมลายู ส่วนศาสนาหลักบนเกาะคือศาสนาอิสลาม และศาสนาพุทธ ประชากรจำนวนไม่น้อยนับถือศาสนาแต่ไม่ได้ระบุชื่อศาสนาที่นับถือ[ 3]
ชาวยุโรปคนแรกที่พบเกาะแห่งนี้คือริชาร์ด โรว์ (Richard Rowe) จากเรือ ทอมัส เมื่อ ค.ศ. 1615 ส่วนชื่อเกาะคริสต์มาส ตั้งตามวันคริสตสมภพ คือวันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ. 1643 โดยเรือเอกวิลเลียม ไมนอส์ (William Mynors) แต่เพิ่งมีมนุษย์โยกย้ายเข้าไปตั้งถิ่นฐานช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19[ 4] ด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ เกาะตั้งอยู่อย่างโดดเดี่ยวและถูกมนุษย์รบกวนน้อยมาก ทำให้เกาะแห่งนี้มีสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่น ทั้งพืชและสัตว์อย่างหลากหลาย เป็นที่สนใจแก่นักวิทยาศาสตร์และนักธรรมชาติวิทยา[ 5] พื้นที่ส่วนใหญ่ของเกาะหรือร้อยละ 63 เป็นส่วนหนึ่งของอุทยานแห่งชาติเกาะคริสต์มาส มีพื้นที่ครอบคลุมป่ามรสุม ใหญ่ของเกาะ
ประวัติ
ชาวยุโรปมาเยือนครั้งแรก
ริชาร์ด โรว์ (Richard Rowe) จากเรือ ทอมัส เป็นชาวยุโรปคนแรกที่พบเกาะแห่งนี้เมื่อ ค.ศ. 1615[ 6] ต่อมาเรือเอกวิลเลียม ไมนอส์ (William Mynors) จากเรือ รอยัลแมรี ของบริษัทอินเดียตะวันออกของบริเตน ตั้งชื่อเกาะขณะแล่นผ่านเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ. 1643 ตั้งตามวันคริสตสมภพ [ 7] เกาะคริสต์มาสปรากฏอยู่ในแผนที่การเดินเรือของอังกฤษและดัชต์ตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา ปีเตอร์ โคส (Pieter Goos) นักทำแผนที่ชาวดัตช์ได้ทำแผนที่ฉบับหนึ่งเมื่อ ค.ศ. 1666 โดยระบุชื่อเกาะแห่งนี้ว่า "โมนี" (Mony, Moni)[ 8] ซึ่งไม่ทราบที่มาหรือความหมายของชื่อ[ 9]
วิลเลียม แดมเพียร์ (William Dampier) นักเดินเรือชาวอังกฤษจากเรือ ซิกเน็ต (Cygnet) จัดทำบันทึกการเดินเรือสำรวจรอบ ๆ เกาะครั้งแรกเมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 1688[ 8] เขาบันทึกว่าไม่มีมนุษย์ตั้งถิ่นฐาน[ 10] [ 8] เขาจัดทำบัญชีสิ่งที่พบบนเกาะในหนังสือชื่อ วอยอิจส์ (Voyages)[ 11] แดมเพียร์พยายามเดินเรือจากนิวฮอลแลนด์ ไปยังหมู่เกาะโคโคส ด้วยความยากลำบาก ก่อนที่เรือของเขาจะถูกพัดออกนอกเส้นทางแล้วไปถึงเกาะคริสต์มาสในอีก 28 วันต่อมา เขาเทียบฝั่งที่เดลส์ ซึ่งเป็นชายฝั่งตะวันตกของเกาะ เขาและลูกเรืออีกสองคนจึงกลายเป็นชาวยุโรปกลุ่มแรกที่เหยียบย่างบนเกาะคริสต์มาส[ 12]
เรือเอกแดเนียล บีกแมน (Daniel Beeckman) จากเรือ อีเกิล (Eagle) แล่นผ่านเกาะแห่งนี้เมื่อวันที่ 5 เมษายน ค.ศ. 1714 เขาได้บันทึกข้อความไว้ลงในหนังสือเมื่อ ค.ศ. 1718 ชื่อ การเดินทางไปกลับเกาะบอร์เนียวในอินเดียตะวันออก (A Voyage to and from the Island of Borneo, in the East-Indies)[ 13]
การสำรวจและถูกผนวก
หน้าผาหินขรุขระที่ทอดตัวยาวตามชายฝั่งของเกาะ
มีความพยายามในการสำรวจเกาะครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1857 โดยทีมงานจากเรือ อะมิทิสต์ (Amethyst) ด้วยพยายามขึ้นไปยังจุดสูงสุดของเกาะ แต่ทว่าไม่ประสบผลสำเร็จ
ค.ศ. 1886 เรือเอกจอห์น เมเคลียร์ (John Maclear) จากเรือ เฮชเอ็มเอส ฟลายอิงฟิช (HMS Flying Fish) พบเกาะและจอดเทียบท่าที่อ่าวที่เขาตั้งชื่อให้ว่าฟลายอิงฟิชโคฟ (หรืออ่าวปลานกกระจอก) ตามชื่อเรือของตน พวกเขาจัดงานเลี้ยงฉลองเล็ก ๆ และเก็บตัวอย่างพืชและสัตว์ไปจำนวนหนึ่ง[ 8] ปีถัดมาเพเลม อัลดริช (Pelham Aldrich) จากเรือ เฮชเอ็มเอส อีเกเรีย (HMS Egeria) ขึ้นมาบนเกาะเป็นเวลา 10 วัน โดยมี โจเซฟ แจ็กสัน ลิสเตอร์ นักสะสมสิ่งของเกี่ยวกับชีววิทยา และแร่วิทยา เดินทางเข้าไปด้วย[ 8]
บรรดาหินที่ถูกส่งให้จอห์น เมอร์เรย์ ตรวจสอบ แล้วพบว่าหินเหล่านี้เป็นฟอสเฟต บริสุทธิ์ จากการค้นพบนี้เองทำให้เกาะคริสต์มาสถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร ในวันที่ 6 มิถุนายน ค.ศ. 1888[ 14]
การตั้งถิ่นฐาน
สายพานลำเลียงฟอสเฟต จากดรัมไซต์ ไปยังท่าเรือ
หลังถูกผนวกได้ไม่นาน ก็มีการตั้งนิคมขนาดน้อยย่านฟลายอิงฟิชโคฟ โดยจอร์จ คลูนีส์-รอสส์ (George Clunies-Ross) เจ้าของหมู่เกาะโคโคส ซึ่งอยู่ห่างออกไป 900 กิโลเมตรทางตะวันตกเฉียงใต้สำหรับเก็บผลิตภัณฑ์ไม้แปรรูปสำหรับอุตสาหกรรมในหมู่เกาะโคโคส
ค.ศ. 1897 ชาลส์ วิลเลียม แอนดริวส์ (Charles W. Andrews) เข้ามายังเกาะคริสต์มาสเพื่อทำการวิจัยประวัติศาสตร์ธรรมชาติบนเกาะในนามของพิพิธภัณฑ์แห่งชาติสหราชอาณาจักร [ 15]
ค.ศ. 1899 เริ่มมีการขุดเหมืองฟอสเฟต ครั้งแรกบนเกาะ โดยใช้แรงงานจากสิงคโปร์ มลายา และจีน จอห์น เดวิส เมอร์เรย์ (John Davis Murray) วิศวกรเครื่องกลที่เพิ่งจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเพอร์ดู ถูกส่งเข้าไปควบคุมงานในนามของบริษัทเหมืองฟอสเฟตและการขนส่ง (Phosphate Mining and Shipping Company) จนได้สมญาว่า "ราชาเกาะคริสต์มาส" กระทั่ง ค.ศ. 1910 เขาแต่งงานและกลับไปตั้งรกรากในลอนดอน [ 16] [ 17]
เกาะคริสต์มาสถูกปกครองร่วมกันระหว่างคณะกรรมาธิการฟอสเฟตสหราชอาณาจักร และเจ้าพนักงานจากสำนักงานอาณานิคมสหราชอาณาจักรแห่งอาณานิคมช่องแคบ ต่อมาได้โอนเป็นอาณานิคมสิงคโปร์ ตามลำดับ มีแรงงานจีนหลายคนเข้ามาทำงานบนเกาะและยังอาศัยมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ใน ค.ศ. 1922 นักวิทยาศาสตร์สังเกตสุริยุปราคา บนเกาะ เพื่อทดสอบทฤษฎีสัมพันธภาพ ของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ [ 18]
ญี่ปุ่นรุกราน
ทหารญี่ปุ่นทำการยึดป้อมปืน 6 นิ้ว บนเกาะคริสต์มาสเมื่อ ค.ศ. 1942
สงครามโลกครั้งที่สอง แผ่ขยายมายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1941 เกาะคริสต์มาสได้กลายเป็นเป้าหมายที่จักรวรรดิญี่ปุ่น ต้องการยึดครอง เพราะเกาะเต็มไปด้วยฟอสเฟต[ 19] พลปืนจากกองทัพเรือสหราชอาณาจักร พร้อมนายทหารชั้นประทวน 4 นาย และทหารอินเดีย 27 นายเข้าประจำการในพื้นที่[ 19] 20 มกราคม ค.ศ. 1942 ญี่ปุ่นเริ่มโจมตีครั้งแรกด้วย เรือดำน้ำไอ-159 ยิงตอร์ปิโดใส่เรือขนส่งสินค้าของนอร์เวย์ชื่อ เอดส์โวลด์ (Eidsvold)[ 20] เรือสูญเสียการควบคุมแล้วจึงล่มบริเวณหาดเวสต์ไวท์ หลังจากนั้นจึงเริ่มมีการโยกย้ายคนงานทั้งยุโรปและเอเชียบนเกาะไปเมืองเพิร์ท ออกจากพื้นที่สู้รบ
ปลายเดือนกุมภาพันธ์จนถึงต้นเดือนมีนาคม ค.ศ. 1942 มีการทิ้งระเบิดทางอากาศสองครั้ง ทหารญี่ปุ่นจึงให้นายอำเภอออกมาชักธงขาว เมื่อวันที่ 7 มีนาคม[ 19] หลังกองทัพเรือญี่ปุ่นถอนกำลังออกไปจากเกาะแล้ว ข้าราชการสหราชอาณาจักรจึงชักธงยูเนียนแจ็ก แทนที่ทันที[ 19] วันที่ 10-11 มีนาคมปีเดียวกัน ทหารอินเดียที่ถูกตำรวจซิกข์คุมขังได้ก่อกบฏ พวกเขาสังหารทหารสหราชอาณาจักร 5 นาย และฆ่านักโทษเชื้อสายยุโรปที่เหลืออีก 21 คน[ 19]
รุ่งเช้าของวันที่ 31 มีนาคม ค.ศ. 1942 เครื่องบินทิ้งระเบิดของญี่ปุ่นได้โจมตีสถานีวิทยุ บนเกาะ และในวันเดียวกันนั้นกองทัพเรือญี่ปุ่นจำนวน 9 ลำยกพลขึ้นบกและชาวเกาะยอมจำนน มีทหารญี่ปุ่นจากหน่วยรบพิเศษที่ 21 และ 24 จำนวน 850 นาย พร้อมทหารกองการก่อสร้างจำนวน 102 นายขึ้นบกที่ฟลายอิงฟิชโคฟ และทำการยึดครองเกาะ[ 19] ทหารญี่ปุ่นไล่แรงงานบนเกาะซึ่งส่วนใหญ่หนีไปอยู่ในป่า ญี่ปุ่นจึงเข้าซ่อมแซมเครื่องมือต่าง ๆ สำหรับขุดและส่งออกฟอสเฟต เหลือทหารรบพิเศษที่ 21 จำนวน 20 นายคอยรักษาการณ์[ 19]
วันที่ 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 1942 มีการโจมตีเรือขนส่งสินค้า นิซเซมารุ (Nissei Maru) ของญี่ปุ่นด้วยตอร์ปิโดบริเวณท่าเรือ[ 21] ทำให้จำนวนฟอสเฟตที่ส่งไปยังญี่ปุ่นมีน้อยมาก เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1943 ประชากรบนเกาะกว่าร้อยละ 60 ถูกส่งไปยังค่ายกักกันซูราบายา เหลือคนบนเกาะคือชาวจีนและมลายู 500 คน และญี่ปุ่น 15 คน เอาชีวิตรอดด้วยความแร้นแค้น กระทั่งเดือนตุลาคม ค.ศ. 1945 เรือ เฮชเอ็มเอส รอเทอร์ (HMS Rother) เรือรบของสหราชอาณาจักรเข้ามาที่เกาะและยึดเกาะคริสต์มาสกลับมาไว้ในการครอบครองโดยสหราชอาณาจักรอีกครั้งหนึ่ง[ 22] [ 23] [ 24] [ 25]
หลังสิ้นสงครามจึงได้มีการจับกุมกบฏทั้ง 7 คน และถูกดำเนินคดีโดยศาลทหาร ในสิงคโปร์ ค.ศ. 1947 มีการตัดสินให้ประหารชีวิต กบฏ 5 คน ต่อมารัฐบาลอิสระของอินเดียได้ลดโทษเหลือเพียงจำคุกตลอดชีวิต[ 19]
ขึ้นกับออสเตรเลีย
ร้านค้าแห่งหนึ่งในปูนซ้าน
ประเทศออสเตรเลีย ทำเรื่องร้องแก่สหราชอาณาจักร เรื่องการโอนอำนาจอธิปไตยของเกาะคริสต์มาสแก่ประเทศของตน ทางรัฐบาลออสเตรเลียได้ชำระเงิน 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐแก่อาณานิคมสิงคโปร์เพื่อชดเชยการสูญเสียรายได้ที่ได้จากการทำเหมืองฟอสเฟต [ 26] มีพระราชโองการว่าด้วยพระราชบัญญัติเกาะคริสต์มาสของสหราชอาณาจักร ลงวันที่ 14 พฤษภาคม ค.ศ. 1958 โอนอำนาจอธิปไตยเหนือเกาะคริสต์มาสจากสิงคโปร์ไปยังออสเตรเลียผ่านพระราชโองการที่ประกาศโดยคำแนะนำของคณะองคมนตรี (order-in-council)[ 27] ร่างพระราชบัญญัติเกาะคริสต์มาสของออสเตรเลียผ่านในเดือนกันยายน ค.ศ. 1958 และเกาะคริสต์มาสกลายเป็นดินแดนของออสเตรเลียอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1958[ 28]
สภาพิจารณาเครือจักรภพ ค.ศ. 1573 ประกาศแต่งตั้งดอนัลด์ อีแวน นิกเกลส์ (Donald Evan Nickels) เป็นผู้อำนวยการฝ่ายบริหารอย่างเป็นทางการของดินแดนเกาะคริสต์มาส เมื่อวันที่ 9 กันยายน ค.ศ. 1958[ 29] ค.ศ. 1997 เกาะคริสต์มาสและหมู่เกาะโคโคส ถูกรวมเป็นดินแดนมหาสมุทรอินเดียของออสเตรเลีย (Australian Indian Ocean Territories)[ 30]
มีการจัดตั้งนิคมซิลเวอร์ซิตี (Silver City) ช่วง ค.ศ. 1970 ด้วยบ้านเรือนที่สร้างด้วยอะลูมิเนียม เพื่อป้องกันอันตรายจากพายุไซโคลน [ 31] ช่วงแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย ค.ศ. 2004 เกาะคริสต์มาสไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต หากแต่มีนักว่ายน้ำบางคนถูกกวาดลงไปในทะเลห่างจากชายฝั่ง 150 เมตร ก่อนถูกซัดกลับเข้าฝั่ง
ภูมิศาสตร์
เกาะคริสต์มาสมีความยาว 19 กิโลเมตร และความกว้าง 14.5 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 135 ตารางกิโลเมตร มีแนวชายฝั่งทะเลยาว 138.9 กิโลเมตร เกาะเป็นเนินเขาเตี้ย ๆ ของภูเขาใต้ทะเลที่มีความสูงกว่า 4,500 เมตร[ 32]
เกาะแห่งนี้เดิมเป็นภูเขาไฟ บางที่เป็นหินบะซอลต์ พบได้บางแห่งเช่นเดอะเดลส์ หรือหาดดอลลี แต่หินที่พบบนพื้นดินส่วนใหญ่เป็นหินปูน ที่เกิดจากปะการัง มีคาสต์ ที่พบได้ตามถ้ำที่ภายในมีบ่อน้ำทะลุออกมหาสมุทร (Anchialine pool)[ 33]
ประชากร
ชาติพันธุ์และภาษา
ศาลไต้แป๊ะกงในฟลายอิงฟิชโคฟ สร้างโดยชาวจีน กลุ่มแรกที่เข้ามาทำงานเหมืองฟอสเฟต เมื่อ ค.ศ. 1898
จากการสำรวจสำมะโนครัวประชากรออสเตรเลียเมื่อ ค.ศ. 2021 ระบุว่าเกาะคริสต์มาสมีประชากรทั้งหมด 1,692 คน เป็นชาวจีน ร้อยละ 22.2 ชาวออสเตรเลีย ร้อยละ 17 ชาวมลายู ร้อยละ 16.1 ชาวอังกฤษ ร้อยละ 8.9 และชาวอินโดนีเซีย ร้อยละ 3.8[ 1]
ขณะการสำรวจสำมะโนครัวประชากรเมื่อ ค.ศ. 2016 ระบุว่าเกาะคริสต์มาสมีประชากรทั้งหมด 1,843 คน แบ่งเป็นชาวจีน ร้อยละ 21.2 (ค.ศ. 2011 มีร้อยละ 18.3) ชาวออสเตรเลีย ร้อยละ 12.7 (ค.ศ. 2011 มีร้อยละ 11.7) ชาวมลายู ร้อยละ 12 (ค.ศ. 2011 มีร้อยละ 9.3) ชาวอังกฤษ ร้อยละ 10 (ค.ศ. 2011 มีร้อยละ 8.9) ชาวไอริช ร้อยละ 2.3 (เท่ากับเมื่อ ค.ศ. 2011) และอื่น ๆ ร้อยละ 48.1[ 3] ซึ่งรวมไปถึงชาวอิหร่าน ร้อยละ 15 ชาวอัฟกานิสถาน ร้อยละ 5 และชาวอิรัก ร้อยละ 4 (สถิติเมื่อ ค.ศ. 2011)[ 34] ทั้งยังมีชาวมาเลเซียเชื้อสายอินเดีย และชาวยูเรเชีย จำนวนหนึ่ง[ 35] [ 36] ประชากรส่วนใหญ่เกิดในออสเตรเลีย ร้อยละ 38.5 รองลงมาเกิดในมาเลเซีย ร้อยละ 20.1[ 3] ประชากร 1,596 คน อาศัยอยู่ในฟลายอิงฟิชโคฟ [ 37] ส่วนสำมะโนครัวประชากรเมื่อ ค.ศ. 2001 พบว่าประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวจีนร้อยละ 70 ชาวยุโรปร้อยละ 20 และชาวมลายูร้อยละ 10[ 38]
ประชากรส่วนใหญ่บนเกาะคริสต์มาสพูดภาษาอังกฤษ กับสมาชิกในครอบครัวร้อยละ 27.8 (ค.ศ. 2011 มีร้อยละ 23.9) พูดภาษาจีนกลาง ร้อยละ 17.2 (ค.ศ. 2011 มีร้อยละ 11.2) พูดภาษามลายู ร้อยละ 17.2 (ค.ศ. 2011 มีร้อยละ 13) พูดภาษากวางตุ้ง ร้อยละ 3.7 (ค.ศ. 2011 มีร้อยละ 6) พูดภาษาหมิ่นใต้ ร้อยละ 1.5 (ค.ศ. 2011 มีร้อยละ 1) และพูดภาษาตากาล็อก ร้อยละ 1[ 3] ใน ค.ศ. 2011 มีผู้ใช้ภาษาไทย ร้อยละ 0.6[ 39] ขณะที่การสำรวจเมื่อ ค.ศ. 2001 พบว่าประชากรร้อยละ 60 พูดภาษาอื่นเป็นหลักนอกเหนือจากภาษาอังกฤษ[ 38] นอกจากนี้ยังชาวยุโรปที่อาศัยบนเกาะบางส่วนเรียนภาษาจีนกลางกับชาวจีนในปูนซ้าน [ 40]
ศาสนา
ศาสนาในเกาะคริสต์มาส
ศาสนา
ค.ศ. 2011
ค.ศ. 2016[ 3]
ค.ศ. 2021[ 1]
อิสลาม
14.8%
19.4%
22.1%
พุทธ
16.8%
18.1%
15.2%
คริสต์
10.8%
8.9%
7.3%
ไม่นับถือศาสนา
9.2%
15.2%
19.7%
อื่น ๆ
48.4%
38.4%
26.7%
เกาะคริสต์มาสมีการนับถือศาสนาค่อนข้างหลากหลาย ซึ่งประชาชนทุกคนต่างเปิดกว้างในการยอมรับการดำรงอยู่ของศาสนาต่าง ๆ ได้แก่ ศาสนาพุทธ ลัทธิเต๋า ลัทธิขงจื๊อ ศาสนาอิสลาม ศาสนาคริสต์ [ 3] และศาสนาฮินดู [ 41] เดิมประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ใน ค.ศ. 1991 ประชากรร้อยละ 55 เป็นชาวพุทธ[ 38] และการสำรวจโดยซีไอเอ เมื่อ ค.ศ. 1997 ประชากรร้อยละ 25 เป็นมุสลิม[ 42] การสำรวจสำมะโนครัวประชากรเมื่อ ค.ศ. 2016 พบว่าประชากรส่วนใหญ่เป็นมุสลิมร้อยละ 19.4 ส่วนชาวพุทธมีร้อยละ 18.1[ 3] การสำรวจสำมะโนครัวประชากรครั้งล่าสุด ค.ศ. 2021 พบว่า ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามร้อยละ 22.1 ศาสนาพุทธร้อยละ 15.2 ศาสนาคริสต์ (นับเฉพาะคาทอลิก ) ร้อยละ 7.3 ไม่นับถือศาสนาร้อยละ 19.7 และไม่ได้ระบุร้อยละ 26.7 ซึ่งจะพบว่าจำนวนผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามและไม่นับถือศาสนามีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ขณะที่ศาสนาคริสต์และพุทธก็มีศาสนิกชนลดลงเมื่อเปรียบเทียบจากปีก่อนหน้า[ 1]
มีวัดพุทธ ศาลเจ้าจีน โบสถ์คริสต์ ทั่วไปบนเกาะ[ 43] มีศาลเจ้าเต๋าสิบแห่ง พุทธสถานเจ็ดแห่ง ศาลเจ้าที่นาตุกกง และดาตุกเกอรามัต อีกจำนวนหนึ่ง[ 44] มัสยิด แห่งหนึ่งในฟลายอิงฟิชโคฟ และยังมีศูนย์ศาสนาบาไฮ อีกแห่งหนึ่งบนเกาะ[ 45] ด้วยเหตุนี้ บนเกาะจึงมีเทศกาลที่เกี่ยวเนื่องกับศาสนาเป็นจำนวนมาก เช่น วันตรุษจีน วันฮารีรายอ วันคริสต์มาส และวันอีสเตอร์ [ 46]
วัฒนธรรม
เกาะคริสต์มาสมีเอกลักษณ์พิเศษด้านความเป็นแดนพหุลักษณ์ ประชากรส่วนใหญ่มีทั้งชาวจีน มลายู และอินเดีย ซึ่งชนเหล่านี้ส่งอิทธิพลอย่างยิ่งต่อวัฒนธรรมในท้องถิ่น[ 47] เช่น นักท่องเที่ยวที่ไปเกาะคริสต์มาสควรนุ่งโสร่ง หรือปาเรโอ เพื่อปกปิดกางเกงขาสั้น ชุดว่ายน้ำ หรือเสื้อแขนกุด และควรถอดรองเท้าเมื่อเข้าไปบ้านของคนในท้องถิ่น รวมทั้งไม่ควรสัมผัสศีรษะของใคร เป็นต้น
อ้างอิง
↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 "2021 Census: Christmas Island" . Department of Infrastructure and Regional Development . Australian Government. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 16 November 2022. สืบค้นเมื่อ 27 November 2022 .
↑ Lundy, Kate (2010). "Chapter 3: The economic environment of the Indian Ocean Territories". Inquiry into the changing economic environment in the Indian Ocean Territories (PDF) . Parliament House, Canberra: Joint Standing Committee on the National Capital and External Territories. p. 22. ISBN 978-0-642-79276-1 .
↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 3.7 Australian Government – Department of Infrastructure and Regional Development. "2016 Census: Christmas Island" (PDF) . เก็บ (PDF) จากแหล่งเดิมเมื่อ 11 January 2018. สืบค้นเมื่อ 10 January 2018 .
↑ Luscombe, Stephen (2019). "Christmas Island" . The British Empire . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 4 มกราคม 2019. สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2019 .
↑ "Save Christmas Island – Introduction" . The Wilderness Society. 19 September 2002. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 9 June 2007. สืบค้นเมื่อ 14 April 2007 .
↑ James, David J.; Mcallan, Ian A.W. (August 2014). "The birds of Christmas Island, Indian Ocean: A review" . ResearchGate . Australian Field Ornithology. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2 February 2017. สืบค้นเมื่อ 20 January 2017 .
↑ "Department of the Environment, Water, Heritage and the Arts – Christmas Island History" . Australian Government. 8 กรกฎาคม 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 4 มีนาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 26 เมษายน 2009 .
↑ 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 Chisholm, Hugh, บ.ก. (1911). "Christmas Island" . สารานุกรมบริตานิกา ค.ศ. 1911 . Vol. 6 (11 ed.). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์. pp. 294–295.
↑ "Digital Collections – Maps – Goos, Pieter, ca. 1616–1675. Paskaerte Zynde t'Oosterdeel Van Oost Indien (cartographic material) : met alle de Eylanden deer ontrendt geleegen van C. Comorin tot aen Iapan" . National Library of Australia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2012-08-05. สืบค้นเมื่อ 26 April 2009 .
↑ Carney, Gerard (2006). The constitutional systems of the Australian states and territories . Cambridge University Press . p. 477 . ISBN 0-521-86305-8 . The uninhabited island was named on Christmas Day, 1643, by Captain William Mynors as he sailed past, leaving to William Dampier the honour of first landing ashore in 1688.
↑ Dampier, Captain William (1703). A New Voyage Round The World . The Crown in St Paul's Church-yard, London, England: James Knapton. pp. Contemporary full panelled calf with raised bands to spine and crimson morocco title labels, crimson sprinkled edges, 8vo.
↑ "Where is Christmas Island?" . Hamilton Stamp Club . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 20 August 2016. สืบค้นเมื่อ 2016-09-18 .
↑ "The early history of Christmas Island, in the Indian Ocean". Journal of the Malaysian Branch of the Royal Asiatic Society . 22 : 73–74. 1949.
↑ "History" . Christmas Island Tourism Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 8 ธันวาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 18 กันยายน 2016 .
↑ Andrews, Charles W. "A Monograph of Christmas Island (Indian Ocean)". in Bulletin of the British Museum. (Natural History. Geology Series, 13 :1-337) 1900.
↑ Walsh, William (1913). A Handy Book of Curious Information . London: Lippincott. p. 447.
↑ Jupp, James (2001). "Christmas Islanders". The Australian People: An Encyclopedia of the Nation, Its People and Their Origins . Cambridge, UK: Cambridge University Press. p. 225. ISBN 9780521807890 . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 3 January 2017. สืบค้นเมื่อ 2 January 2017 .
↑ John Hunt. Eclipse on Christmas Island. newspaper article in 'The Canberra Times ', 5 September 2012.
↑ 19.0 19.1 19.2 19.3 19.4 19.5 19.6 19.7 L, Klemen (1999–2000). "The Mystery of Christmas Island, March 1942" . Forgotten Campaign: The Dutch East Indies Campaign 1941–1942 . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 21 January 2016. สืบค้นเมื่อ 16 July 2011 .
↑ L, Klemen (1999–2000). "Allied Merchant Ship Losses in the Pacific and Southeast Asia" . Forgotten Campaign: The Dutch East Indies Campaign 1941–1942 . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 14 May 2012. สืบค้นเมื่อ 16 July 2011 .
↑ Cressman, Robert J. "The Official Chronology of the U.S. Navy in World War II Chapter IV: 1942" . Hyperwar/ . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 20 August 2011. สืบค้นเมื่อ 16 July 2011 .
↑ Public Record Office, England War Office and Colonial Office Correspondence/Straits Settlements.
↑ J. Pettigrew, Christmas Island in World War II , Australian Territories January 1962
↑ Interviews conducted by J G Hunt with Island residents, 1973–77.
↑ Correspondence J G Hunt with former Island residents, 1973–79.
↑ Department of External Affairs in Australia. (1957, May 16): Report from the Australian High Commission in Singapore to the Department of External Affairs in Australia. Singapore: National Archives of Singapore. (Microfilm: NAB 447)
↑ "All set for transfer. (1958, May 16)" . The Straits Times, p. 2. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 6 September 2015. สืบค้นเมื่อ 8 August 2015 .
↑ "Kerr, A. (2009). A federation in these seas: An account of the acquisition by Australia of its external territories, with selected documents" . Barton, A.C.T.: Attorney General's Dept, p. 329. (Call no.: R 325.394 KER). เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 3 September 2015. สืบค้นเมื่อ 8 August 2015 .
↑ "Mr D. E. Nickels and Mrs Nickels interviewed by Jan Adams in the Christmas Island life story oral history project" . National Library of Australia. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 17 March 2014. สืบค้นเมื่อ 13 September 2013 .
↑ "Christmas Island" . World Statesmen. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 8 February 2014. สืบค้นเมื่อ 5 July 2010 .
↑ "Island Life – Christmas Island – About" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2002. สืบค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2013 .
↑ "Submission on Development Potential No. 37" (PDF) . Northern Australia Land and Water Taskforce. 16 สิงหาคม 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF) เมื่อ 20 พฤษภาคม 2009. สืบค้นเมื่อ 26 เมษายน 2009 .
↑ Iliffe T, Humphreys W (2016). "Christmas Islands Hidden Secret" . Advanced Diver Magazine . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 10 January 2016. สืบค้นเมื่อ 2016-01-02 .
↑ Indian Ocean Territories Regional Plan 2012-2017 (PDF) . Regional Development Australia - Mid West Gascoyne. 2012. p. 21. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF) เมื่อ 2020-02-27. สืบค้นเมื่อ 2019-10-12 .
↑ "CIDHS" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 3 August 2017. สืบค้นเมื่อ 28 October 2015 .
↑ Dennis, Simone (2008). Christmas Island: An Anthropological Study . Cambria Press. pp. 91–. ISBN 9781604975109 . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 31 December 2015. สืบค้นเมื่อ 6 November 2015 .
↑ "AUSTRALIA: Christmas Island" . City Population . 28 June 2019. สืบค้นเมื่อ 13 October 2019 .
↑ 38.0 38.1 38.2 The Europa World Year Book 2004 . London: Europa Publication. 2004. p. 604.
↑ Review of aged Care in the Indian Ocean Territories (PDF) . Australian Healthcare Associates. 2014. p. 52. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF) เมื่อ 2019-08-30. สืบค้นเมื่อ 2019-10-14 .
↑ Mark Dapin (2008). Strange Country . Sydney: Pan Macmillan Australia. p. 97.
↑ Simone Dennis (2008). Christmas Island: An Anthropological Study . Cambria Press. pp. 91–. ISBN 9781604975109 .
↑ "CIA World Factbook: Christmas Island" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2018-12-25. สืบค้นเมื่อ 24 February 2012 .
↑ "Culture - Christmas Island National Park" . Parks Australia . สืบค้นเมื่อ 12 October 2019 .
↑ "Christmas Island Heritage - Temples and Shrines" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2020-06-06. สืบค้นเมื่อ 7 June 2020 .
↑ Christmas Island Tourism – Culture เก็บถาวร 24 มกราคม 2014 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน . Christmas.net.au. Retrieved on 2014-05-25.
↑ Destination Specialist: South Pacific including Micronesia . Institute of Certified Travel Agents. 2001.
↑ Neville-Hadley, Peter (14 December 2017). "Christmas Island – the next big thing in travel? Home to Chinese, Indians and Malays, it's a fascinating mix of cultures" . www.scmp.com . South China Morning Post . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 15 December 2017. สืบค้นเมื่อ 17 January 2017 .
แหล่งข้อมูลอื่น