จักรวรรดิอะคีเมนียะห์ หรือ จักรวรรดิเปอร์เชียอะคีเมนียะห์ (อังกฤษ: Achaemenid Empire หรือ Achaemenid Persian Empire, เปอร์เซียเก่า: 𐎧𐏁𐏂, อักษรโรมัน: Xšāşa, แปลตรงตัว 'จักรวรรดิ'; ประมาณ 550 – 330 ปีก่อนคริสต์ศักราช) เป็นหนึ่งในจักรวรรดิแรกของจักรวรรดิเปอร์เชียที่ปกครองอาณาบริเวณส่วนใหญ่ของเกรตเตอร์อิหร่านที่ตามมาจากจักรวรรดิมีเดีย ในยุคที่รุ่งเรืองที่สุด จักรวรรดิอะคีเมนียะห์มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 7.5 ล้านตารางกิโลเมตร[1] ทำให้เป็นจักรวรรดิที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในยุคโบราณ และเป็นจักรวรรดิที่วางรากฐานของระบบการปกครองจากศูนย์กลาง[2]
จักรวรรดิอะคีเมนียะห์ที่ก่อตั้งขึ้นโดยจักรพรรดิไซรัสมหาราช ครอบคลุมอาณาบริเวณสามทวีปที่รวมทั้งดินแดนในอัฟกานิสถาน และ ปากีสถาน บางส่วนของเอเชียกลาง อานาโตเลีย เธรซ บริเวณริมฝั่งทะเลดำส่วนใหญ่ อิรัก ตอนเหนือของซาอุดีอาระเบีย จอร์แดน ปาเลสไตน์ เลบานอน ซีเรีย และอียิปต์ไปจนถึงลิเบีย จักรวรรดิอะคีเมนียะห์เป็นศัตรูของนครรัฐกรีกในสงครามกรีก-เปอร์เซีย เพราะไปปล่อยชาวยิวจากบาบิโลเนีย และในการก่อตั้งให้ภาษาแอราเมอิกเป็นภาษาราชการ และพ่ายแพ้ต่ออเล็กซานเดอร์มหาราชในปี 330 ก่อนคริสต์ศักราช
ความสำคัญทางประวัติศาสตร์โลกของจักรวรรดิอะคีเมนียะห์ที่ก่อตั้งโดยจักรพรรดิไซรัสมหาราช ก็คือการวางรากฐานที่ได้รับความสำเร็จของระบบการบริหารการปกครองจากศูนย์กลาง และของรัฐบาลที่มีปรัชญาในการสร้างประโยชน์ให้แก่มวลชน[2]
อ้างอิง
ดูเพิ่ม
|
---|
โบราณ | |
---|
ยุคกลาง | |
---|
ยุคใหม่ | |
---|
หมายเหตุ: เรียงลำดับตามปีการก่อตั้ง เลขในวงเล็บหลังชื่อแสดงปีการก่อตั้ง |