พระยาสุนทรพิพิธ (เชย สุนทรพิพิธ)

พระยาสุนทรพิพิธ
(เชย สุนทรพิพิธ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
31 พฤษภาคม พ.ศ. 2490 – 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490
ก่อนหน้าพันเอก หลวงเชวงศักดิ์สงคราม
ถัดไปพลโท หลวงสินาดโยธารักษ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ดำรงตำแหน่ง
24 มีนาคม พ.ศ. 2489 – 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2490
ก่อนหน้าพลโท หลวงเกรียงศักดิ์พิชิต
ถัดไปแสง สุทธิพงศ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด25 กรกฎาคม พ.ศ. 2434
เสียชีวิต12 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 (81 ปี)
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสคุณหญิงประยูร สุนทรพิพิธ

พระยาสุนทรพิพิธ (เชย สุนทรพิพิธ) เป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และอดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย

ประวัติ

พระยาสุนทรพิพิธ (เชย สุนทรพิพิธ) เดิมสกุล มัฆวิบูลย์ เกิดเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2434 ณ บ้านริมคลองบางสะแกฝั่งธนบุรี เป็นบุตรนายแพ และนางหุ่น สุนทรพิพิธ เริ่มเรียนหนังสือที่วัดบางสะแกนอก ก่อนจะเข้าศึกษาชั้นประถม โรงเรียนวัดบพิตรพิมุข ต่อมาจึงได้ไปถวายตัวเป็นมหาดเล็กในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร (รัชกาลที่ 6) อยู่ที่วังปารุสวัน และพระราชวังสราญรมย์ โดยทรงโปรดเกล้า ฯ ให้เข้าเรียนในโรงเรียนมหาดเล็กหลวง หรือโรงเรียนข้าราชการพลเรือน (ปัจจุบัน คือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) จนจบประกาศนียบัตรวิชารัฏฐประศาสน์[1]

พระยาสุนทรพิพิธ สมรสกับ คุณหญิงประยูร (เศวตเลข) ธิดาของ หลวงพิสุทธิ์สัตยารักษ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดหล่มสัก และนางทรวง (จินตกานนท์) โดยนางทรวงเป็นพี่สาวของ พระยาอรรถวิรัชวาทเศรณี (ปลั่ง จินตกานนท์) อัยการมณฑลอุบลราชธานี มีบุตร-ธิดา 4 คนได้แก่ นายชัยทัต สุนทรพิพิธ นางชยศรี ชาลี นายชัยเสน สุนทรพิพิธ นายชัยเชต สุนทรพิพิธ [2]

พระยาสุนทรพิพิธ (เชย สุนทรพิพิธ) ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อ พ.ศ. 2516 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุหน้าศาลาทักษิณาประดิษฐ์ วัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน เมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2516 เวลา 16.50 น.[3]

ยศ บรรดาศักดิ์ และตำแหน่ง

2454 เป็น ขุนศุภกิจวิเลขการ 2456 เป็น หลวงศุขกิจวิเลขการ ปลัดจังหวัดขุขันธ์ (ศรีษะเกษ) 2459 เป็น ผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา 2462 เป็น ผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ 2464 เป็น พระยาสุนทรพิพิธ 2467 เป็น ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี[4]

งานการเมือง

พระยาสุนทรพิพิธ (เชย สุนทรพิพิธ) ได้รับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกใน พ.ศ. 2489 และได้รับเลือกตั้งเรื่อยมา รวม 1 สมัย[5] และได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา 1 สมัย ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีในคณะรัฐมนตรี 4 คณะ

สมาชิกรัฐสภา

พระยาสุนทรพิพิธ (เชย สุนทรพิพิธ) ได้รับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มกราคม พ.ศ. 2489 จังหวัดพิษณุโลก และ ได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 3[6]

รัฐมนตรี

พระยาสุนทรพิพิธ (เชย สุนทรพิพิธ) ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2489 ในรัฐบาลของนายปรีดี พนมยงค์[7][8] และดำรงตำแหน่งต่อในคณะรัฐมนตรีถัดมาจนถึง พ.ศ. 2490[9][10] จากนั้นใน พ.ศ. 2490 จึงได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย[11] และพ้นจากตำแหน่งไปในปีเดียวกัน[12]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. ประวัติ พระยาสุนทรพิพิธ[ลิงก์เสีย] สมาคมประวัติศาสตร์ฟุตบอลแห่งประเทศไทย
  2. อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพพระยาสุนทรพิพิธ
  3. ข่าวในพระราชสำนัก (หน้า 24-25)
  4. "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 21 กันยายน 1924.
  5. สมุดภาพสมาชิกรัฐสภา 2475 - 2502. สำนักงานเลขารัฐสภา. 2502
  6. "รายชื่อสมาชิกวุฒิสภาชุดที่ 3" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2015-06-08.
  7. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน 16 ราย)
  8. "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 15 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-03. สืบค้นเมื่อ 2015-06-08.
  9. "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 16 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-03. สืบค้นเมื่อ 2015-06-08.
  10. "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 17 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-03. สืบค้นเมื่อ 2015-06-08.
  11. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน 22 ราย)
  12. "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 18 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-02. สืบค้นเมื่อ 2015-06-08.
  13. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๑๒๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๑, ๒๗ ธันวาคม ๒๕๐๖
  14. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๗ ตอนที่ ๑๐๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๕, ๑๔ ธันวาคม ๒๕๐๓
  15. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า เก็บถาวร 2022-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๔๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๖, ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๑๑
  16. ราชกิจจานุเบกษา, บัญชีรายนาม ผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ เก็บถาวร 2022-05-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๙๐๕, ๒๓ มิถุนายน ๒๔๗๘
  17. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๙๕๒, ๒๓ มิถุนายน ๒๔๘๔
  18. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความ ส่งเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2022-05-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๐๐๔, ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๔๗๙
  19. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบัน เก็บถาวร 2022-05-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๒๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๘๖๙, ๒๖ กุมภาพันธ์ ๑๒๙
  20. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญราชรุจิ เก็บถาวร 2022-05-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๘๘๘, ๒๖ พฤศจิกายน ๑๓๐


Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!