อรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์

อรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์
ปลัดกระทรวงมหาดไทย
เริ่มดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม 2567
(ข้อผิดพลาด: แม่แบบ:อายุปีและวัน รองรับเฉพาะปีพุทธศักราช หากใช้เป็นคริสต์ศักราช กรุณาใช้ แม่แบบ:Age in years and days)
ก่อนหน้าสุทธิพงษ์ จุลเจริญ
อธิบดีกรมการปกครอง
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม 2566 – 30 กันยายน 2567
(0 ปี 365 วัน)
ก่อนหน้าแมนรัตน์ รัตนสุคนธ์
ถัดไปไชยวัฒน์ จุนถิระพงศ์
อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม 2565 – 30 กันยายน 2566
(0 ปี 364 วัน)
ก่อนหน้าสมคิด จันทมฤก
ถัดไปชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด16 กรกฎาคม พ.ศ. 2514 (53 ปี)
คู่สมรสจิณณารัชช์ สัมพันธรัตน์
ศิษย์เก่า
ชื่อเล่นป็อป
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย
สังกัด กองทัพบกไทย
กองอาสารักษาดินแดน
ประจำการพ.ศ. 2538 – ปัจจุบัน
ยศ ว่าที่ร้อยตรี
นายกองเอก[1]
บังคับบัญชากองอาสารักษาดินแดนจังหวัดตาก
กองอาสารักษาดินแดนจังหวัดลำพูน

อรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ (เกิด 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2514) เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญชาวไทย ดำรงตำแหน่งสำคัญ ๆ เช่นปลัดกระทรวงมหาดไทย ประธานคณะกรรมการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค อธิบดีกรมการปกครอง อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน, รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก และผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน

ประวัติ

ชีวิตส่วนตัว

อรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ ชื่อเล่น ป็อป เกิดเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2514 ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร

โดยมีคุณทวดคือพระยาศรีธรรมศุภราช (เจริญ จารุจินดา) อดีตสมุหเทศาภิบาลมณฑลพิษณุโลก มณฑลนครศรีธรรมราช และมณฑลอีสาน ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นหลานตาของพระประยุทธชลธี (แป๊ะ วีราสา) อดีตผู้ช่วยเสนาธิการทหารเรือ ผู้ว่าราชการจังหวัดตราด ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ (เป็นทหารเรือคนแรกที่รับตำแหน่งข้าหลวงจังหวัด (ผู้ว่าราชการจังหวัด)) และเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนคร ในสมัยควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี

ประวัติการศึกษา

รางวัล

การทำงาน

รับราชการ

อรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ เริ่มต้นรับราชการที่กระทรวงมหาดไทย ในตำแหน่งเจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน 3 สำนักงานจังหวัดฉะเชิงเทรา แล้วโอนมารับราชการที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนอยู่ระยะหนึ่ง ต่อมาจึงโอนกลับมาทำงานที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ก่อนจะก้าวหน้าในตำแหน่งทางราชการเรื่อยมา กระทั่งได้ก้าวเข้าสู่เส้นทางการเป็นผู้ว่าราชการจังหวัด ด้วยการดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัดสิงห์บุรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี จากนั้นได้เป็นรองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน[2]

ในปี 2560 ได้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดครั้งแรกในตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน[5] ต่อมาในปี 2562 ได้ย้ายมาดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดตาก[6] จากนั้นในปีถัดมาคือในปี 2563 ได้ย้ายเข้ามาดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวงมหาดไทย[7] ต่อมาในปี 2565 ได้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน[8] ในปี 2566 ได้ย้ายมาดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมการปกครอง[9]

กระทั่งวันอังคารที่ 6 สิงหาคม 2567 ในการประชุมคณะรัฐมนตรี ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้อรรษิษฐ์ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงมหาดไทยสืบต่อจากสุทธิพงษ์ จุลเจริญ[10] และราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2567 ว่ามีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ อรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ ให้ดำรงตำแหน่ง ปลัดกระทรวงมหาดไทย ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2567[11]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดน, เล่ม ๑๓๓ ตอนที่ ๖ ข หน้า ๑๑, ๓ มีนาคม ๒๕๕๙
  2. 2.0 2.1 "เปิดเส้นทาง อรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ ว่าที่ ปลัดมหาดไทย คนที่ 42 นั่งยาว 7 ปี". มติชน.
  3. "โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน", วิกิพีเดีย, 2024-09-24, สืบค้นเมื่อ 2024-09-26
  4. https://www.matichonweekly.com/advertorial/article_662179
  5. "ครม.ไฟเขียวตั้ง 22 ผู้ว่าราชการจังหวัด และ 4 ผู้ตรวจฯ มท". ไทยรัฐ.
  6. "ครม.ไฟเขียวโยกย้าย 31 อธิบดี-ผู้ว่าราชการจังหวัด". ไทยพีบีเอส.
  7. "ด่วน! มหาดไทย แต่งตั้ง-โยกย้าย รองปลัดกระทรวง-อธิบดี-ผู้ว่าฯ 36 ราย". มติชน.
  8. "มท.แต่งตั้งบิ๊กลอต 'แมนรัตน์'อธิบดีกรมการปกครอง 'อรรษิษฐ์'คุมพัฒนาชุมชน". แนวหน้า.
  9. "ครม.เคาะตั้งอธิบดี-ผู้ว่าฯ มหาดไทย 'อรรษิษฐ์' ย้ายนั่งอธิบดีปกครอง ผวจ.บุรีรัมย์ ขึ้นปภ". มติชน.
  10. "ครม.แต่งตั้งปลัดอว.-มหาดไทยใหม่ พร้อมเห็นชอบอีก 17 ตำแหน่ง". สำนักข่าวอิศรา.
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ, เล่ม ๑๔๑ ตอนพิเศษ ๒๖๕ ง หน้า ๖, ๒๔ กันยายน ๒๕๖๗
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๑๕, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
  13. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๘, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๓๑ ข หน้า ๕๓, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๘
  14. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๕๔, ๘ ตุลาคม ๒๕๔๗
  15. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๙ ข หน้า ๕, ๒ กันยายน ๒๕๕๓
  16. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๓๙ ตอนพิเศษ ๓ ข หน้า ๖๑, ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๔
  17. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ และเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๕๔ - ๒๕๕๕, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๒๖, ๒๐ มกราคม ๒๕๕๘

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!