เหรียญจักรพรรดิมาลา

เหรียญจักรพรรดิมาลา
มอบโดย พระมหากษัตริย์ไทย
อักษรย่อร.จ.พ.
ประเภทเหรียญบำเหน็จในราชการ
วันสถาปนาพ.ศ. 2436
ประเทศไทย ราชอาณาจักรไทย
จำนวนสำรับไม่จำกัดจำนวน
แพรแถบ
ผู้สมควรได้รับพระมหากษัตริย์, สมเด็จพระบรมราชินี, พระบรมวงศานุวงศ์, ข้าราชการพลเรือน
มอบเพื่อสำหรับบุคคลที่มีคุณงามความดี ข้าราชการพลเรือนที่รับราชการไม่น้อยกว่า 25 ปี
สถานะยังพระราชทานอยู่
ผู้สถาปนาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ประธานพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
สถิติการมอบ
รายล่าสุด5 สิงหาคม พ.ศ. 2567
ลำดับเกียรติ
สูงกว่าเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ เหรียญเงินดิเรกคุณาภรณ์
รองมาเหรียญศารทูลมาลา
เหรียญลูกเสือสรรเสริญ ชั้นที่ 1
เสมอเหรียญจักรมาลา
หมายเหตุพระราชทานเป็นกรรมสิทธิ์ หากได้รับพระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา จะไม่ได้รับพระราชทานเหรียญจักรมาลา

เหรียญจักรพรรดิมาลา ใช้อักษรย่อว่า ร.จ.พ. เป็นเหรียญสำหรับพระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบในราชการสำหรับข้าราชการพลเรือน[1] สถาปนาขึ้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนาขึ้นเมื่อปีมะเส็ง ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436) เนื่องในการพระราชพิธีรัชดาภิเษก สมโภชสิริราชสมบัติครบ 25 ปี[2]

ลักษณะของเหรียญ

เหรียญจักรพรรดิมาลา ตามพระราชบัญญัติเหรียญจักรพรรดิมาลา ร.ศ. 114 ด้านหน้าและด้านหลัง

เหรียญจักรพรรดิมาลาเมื่อแรกสถาปนาในปี พ.ศ. 2436 มีลักษณะตามที่กำหนดในภายหลัง ตามความในมาตรา 2 แห่งพระราชบัญญัติเหรียญจักรพรรดิมาลา ร.ศ. 114 ซึ่งตราขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2438 ดังนี้

"เหรียญจักรพรรดิมาลานี้มีสัณฐานเปนรูปจักร ด้านน่ามีพระบรมราชสาทิศฉายาลักษณ์ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระมหาพิไชยมงกุฎ ยอดมีรัศมีแลพวงมาไลใบไชยพฤกษ์วงโดยรอบ ที่ขอบจักรมีอักษร แสดงพระบรมราชนามาภิไธยว่า "จุฬาลงกรณ์ บรมราชาธิราช สยามินทร์" ด้านหลังที่ขอบจักร มีอักษรแสดงคุณของผู้ที่จะได้รับพระราชทาน และแสดงศกที่ได้ทรงสร้างเหรียญนี้ว่า "สำหรับปรนนิบัติราชการดี รัตนโกสินทร์ศก ๑๑๒" ที่กลางเหรียญมีอักษรว่า "พระราชทานแก่" แลจะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จารึกนามผู้ที่จะได้รับพระราชทานลงในกลางเหรียญที่ใต้พวงมาไล อันมีช่อดอกไม้รับรองอยู่นั้น เหรียญนี้จะได้ห้อยแพรแถบสีเหลืองริมชมภู ห้อยกับเข็มอันมีอักษรจารึกว่า "ราชสุปรีย์" สำหรับติดที่รังดุมเสื้อ ณ อกข้างซ้าย"

ต่อมาในปี พ.ศ. 2454 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แก้ไขรูปแบบเหรียญจักรพรรดิมาลาให้มีลักษณะใกล้เคียงกับเหรียญจักรมาลาซึ่งพระราชทานสำหรับข้าราชการฝ่ายทหาร ปรากฏความตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติเหรียญจักรพรรดิมาลา ร.ศ. 130 ว่า

"เหรียญจักรพรรดิมาลาเทียบเหรียญจักรมาลาของทหาร เปนเหรียญเงินมีสัณฐานเปนรูปจักร์ ด้านหน้ามีรูปพระครุฑพาหอยู่ในวงจักร์ ด้านหลังมีรูปช้างอยู่ในวงจักร์ มีอักษรจาฤกรอบวงว่า "บำเหน็จแห่งความยั่งยืนแลมั่นคงในราชการ" ข้างบนเหรียญมีเข็มวชิราวุธห้อยกับแพรแถบสีแดง ขอบสีเหลืองกับสีเขียว มีเข็มเงินเบื้องบนแพรแถบจาฤกอักษร ราชสุปรีย สำหรับติดที่อกเสื้อข้างซ้าย"

ในปี พ.ศ. 2484 ได้มีการปรับปรุงลักษณะของเหรียญจักรพรรดิมาลาอีกครั้ง โดยยังคงลักษณะของเหรียญเดิมที่กำหนดไว้ตามพระราชบัญญัติเหรียญจักรพรรดิมาลา ร.ศ. 130 เกือบทั้งหมด แต่ไม่มีเข็มคำว่า "ราชสุปรีย" ประดับที่ตอนบนของแพรแถบเหรียญ ตามความบรรยายในมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา พ.ศ. 2484 ดังนี้

"เหรียญจักรพรรดิมาลามีลักษณะเป็นเหรียญเงินกลมรูปจักร ด้านหน้ามีรูปครุฑพ่าห์อยู่ในวงจักร ด้านหลังมีรูปช้างอยู่ในวงจักร จารึกอักษรโดยรอบว่า “บำเหน็จแห่งความยั่งยืนและมั่นคงในราชการ” เบื้องบนเหรียญมีเครื่องหมายพระวชิราวุธห้อยกับแพรแถบกว้าง 3 เซนติเมตร สีแดงขอบสีเหลืองกับสีเขียว ประดับที่อกเสื้อเบื้องซ้าย สำหรับพระราชทานสตรีใช้ห้อยกับแพรแถบผูกเป็นรูปแมลงปอ ประดับเสื้อที่หน้าบ่าซ้าย"

การพระราชทาน และการส่งคืน/การเรียกคืน

เหรียญจักรพรรดิมาลาเมื่อประดับร่วมกับเหรียญราชอิสริยาภรณ์ที่ระลึกชนิดต่างๆ
  • สำหรับพระราชทานแก่ข้าราชการฝ่ายพลเรือน ที่รับราชการมาด้วยความเรียบร้อยเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 25 ปี การนับเวลาราชการ ให้นับโดยคำนวณเวลาราชการทั้งหมดของผู้นั้นรวมกัน แต่ถ้าผู้นั้นเข้ารับราชการก่อนอายุครบ 18 ปีบริบูรณ์ ให้นับตั้งแต่อายุครบ 18 ปีบริบูรณ์
  • ทหารหรือตำรวจ ที่รับราชการเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 15 ปี หากยังไม่เข้าเกณฑ์ที่จะรับพระราชทานเหรียญจักรมาลาก็ให้ได้รับพระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลาแทน
  • พระราชทานให้เป็นกรรมสิทธิ์ เมื่อผู้ได้รับพระราชทานวายชนม์ให้ทายาทโดยธรรมเก็บรักษาไว้เป็นที่ระลึกได้ แต่ไม่มีสิทธิ์ประดับ
  • ผู้ซึ่งได้รับพระราชทานเหรียญนี้จะได้รับพระราชทานประกาศนียบัตรฯ ทรงลงพระปรมาภิไธยและประทับพระราชลัญจกรด้วย
  • ถ้าผู้ได้รับพระราชทาน หรือทายาทโดยธรรม ประพฤติตนไม่สมเกียรติ อาจทรงเรียกคืนได้ ถ้าส่งคืนไม่ได้ ด้วยประการใด ๆ ภายในกำหนดสามสิบวัน จะต้องใช้ราคาของเหรียญแก่ทางราชการตามราคาของเครื่องราชอิสริยาภรณ์นั้น

ผู้ที่ได้รับพระราชทาน

อ้างอิง

  1. พระราชบัญญัติเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2552 เล่มที่ 126 ตอนที่ 62
  2. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติเหรียญจักรพรรดิมาลา เล่ม ๑๒ ตอน ๔๙ หน้า ๔๘๐

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!