เหรียญลูกเสือสรรเสริญ เป็นเหรียญสำหรับพระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบในราชการ สำหรับพระราชทานแก่ลูกเสือ ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ ผู้ตรวจการลูกเสือ กรรมการลูกเสือและเจ้าหน้าที่ลูกเสือ[1]
ประวัติของเหรียญลูกเสือสรรเสริญ
ต้นแบบของเหรียญลูกเสือสรรเสริญ มาจาก "เหรียญที่ระลึกลูกเสือ" ซึ่งพระราชทานให้ลูกเสือที่ออกจากประจำการไปเป็นเสือป่า ต่อมาได้พัฒนาเป็นต้นเค้าของเหรียญลูกเสือสรรเสริญซึ่งมีสามชั้นคือทอง นาค เงิน ก่อนที่มาสู่เหรียญลูกเสือสรรเสริญในปัจจุบัน ลูกเสือที่ได้รับพระราชทานเหรียญลูกเสือสรรเสริญครั้งแรก เป็นเหรียญลูกเสือสรรเสริญชั้นที่ 2 (เหรียญเงิน) ได้แก่ลูกเสือตรีเล็กซัน วิเศษรัตน์ เลขประจำตัว 887 สังกัดกองลูกเสือเสนาจังหวัดหนองคายที่ 1 (หนองคายวิทยาคาร) ซึ่งได้ช่วยเหลือเด็กหญิงอรรตพนธ์ สงกะศิริ ให้พ้นอันตรายจากการจมน้ำตายที่ท่าวัดหายโศก อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย ประกาศ ณ วันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2483
ลักษณะของเหรียญและชนิดของเหรียญ
ลักษณะของเหรียญ
ตามพระราชบัญญัติลูกเสือ พ.ศ. 2551 มาตรา 56 [2] ได้กำหนดลักษณะของเหรียญลูกเสือสรรเสริญ ไว้ว่า
"มาตรา 56 เหรียญลูกเสือสรรเสริญเป็นเหรียญเงินมีลักษณะกลมรี ขนาดกว้าง 2.5 เซนติเมตร ยาว 3.2 เซนติเมตร ด้านหน้าตรงกลางมีตราหน้าเสือประกอบวชิระ ริมขอบส่วนบนมีอักษรว่า “ลูกเสือ” และส่วนล่างมีอักษรว่า “เสียชีพอย่าเสียสัตย์” ตราหน้าเสือประกอบวชิระและตัวอักษรให้ทำเป็นลายดุน ด้านหลังเป็นพื้นเกลี้ยงจารึกนาม เลขหมายประจำตัวของผู้ซึ่งได้รับพระราชทานนามหน่วยลูกเสือที่สังกัด และวันที่พระราชทาน ที่ขอบส่วนบนของเหรียญมีห่วงห้อยแพรแถบ ขนาดกว้าง 2.4 เซนติเมตร มีริ้วสีดำกว้าง 1.2 เซนติเมตร อยู่กลาง ริมทั้งสองข้างมีริ้วสีเหลือง กว้าง 6 มิลลิเมตร ประดับที่อกเสื้อเหนือปกกระเป๋าเบื้องซ้าย"
ชนิดของเหรียญ
ตามพระราชบัญญัติลูกเสือ พ.ศ. 2551 มาตรา 56 และ 57[3] ได้แบ่งชนิดของเหรียญลูกเสือสรรเสริญ เป็น 3 ชั้น คือ
ชั้นที่ 1
มีเฟลอร์เดอลีส์ ทำด้วยโลหะเงินประดับที่แพรแถบ 2 ดอกตามแนวนอน จะพระราชทานแก่ผู้มีความดี ความชอบซึ่งได้ทำการรักษาความปลอดภัยหรือสันติสุขเพื่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์หรือได้ช่วยชีวิตผู้ตกอยู่ในอันตราย ทั้งนี้ โดยตนเองได้ฝ่าอันตรายจนถึงขนาดที่สมควรได้รับพระราชทานเหรียญนี้ หรือตนเองได้ประสบอันตรายถึงทุพพลภาพหรือถึงเสียชีวิต
ชั้นที่ 2
มีเฟลอร์เดอลีส์ ทำด้วยโลหะเงินประดับที่แพรแถบตรงกึ่งกลาง 1 ดอก จะพระราชทานแก่ผู้มีความดีความชอบซึ่งได้ช่วยชีวิตผู้ตกอยู่ในอันตรายโดยตนเองได้ประสบอันตรายหรือฝ่าอันตราย หรือแก่ผู้ซึ่งได้ทำความดีความชอบในข้อต่อไปนี้ ทุกข้อรวมกันไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยครั้ง และในแต่ละข้อไม่น้อยกว่าสิบครั้ง คือ
- ช่วยเหลือผู้ได้รับทุกข์ยากลำบากที่ควรช่วย
- ช่วยเหลือหรือป้องกันผู้อื่นหรือทรัพย์สินของผู้อื่นให้พ้นอันตราย
- ช่วยสัตว์ให้พ้นจากการทรมานหรือพ้นทุกขเวทนา
- ทำการปฐมพยาบาล
- ช่วยเหลือราชการ
- ช่วยเหลือกิจการอันเป็นสาธารณกุศล
- ช่วยเหลือผู้ปกครอง
- ช่วยเหลือกิจการต่าง ๆ ของโรงเรียน หรือสถานที่ทำงานซึ่งไม่ใช่หน้าที่ตามปกติ
ชั้นที่ 3
ไม่มีเฟลอร์เดอลีส์ประดับที่แพรแถบ จะพระราชทานแก่ผู้มีความดีความชอบซึ่งได้ช่วยชีวิตผู้ตกอยู่ในอันตรายแม้เพียงครั้งเดียว หรือแก่ผู้ซึ่งได้ทำความดีความชอบตามเกณฑ์สำหรับเหรียญลูกเสือสรรเสริญชั้นที่ 2 ทุกข้อรวมกันไม่น้อยกว่าห้าสิบครั้งและในแต่ละข้อไม่น้อยกว่าห้าครั้ง
แพรแถบย่อ
|
ชั้นที่ 1
|
ชั้นที่ 2
|
ชั้นที่ 3
|
รายนามผู้ได้รับเหรียญลูกเสือสรรเสริญ
เหรียญลูกเสือสรรเสริญ ชั้นที่ 1
เหรียญลูกเสือสรรเสริญ ชั้นที่ 2
ประจำปี
|
รายชื่อ
|
ตำแหน่ง
|
สังกัด
|
เหตุการณ์
|
อ้างอิง
|
2566
|
นายวุฒิศักดิ์ มั่งคั่ง
|
ลูกเสือวิสามัญ
|
โรงเรียนนครนายกวิทยาคม จังหวัดนครนายก
|
กระโดดน้ำช่วยเหลือนักท่องเที่ยว 3 พ่อแม่ลูกรอดตาย นายวุฒิศักดิ์ ได้รับบาดเจ็บติดเชื้อในกระแสเลือด เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2566[6]
|
[7]
|
2565
|
นายสุขวัฒ แก้วเจริญ
|
ลูกเสือสามัญ รุ่นใหญ่
|
โรงเรียนหลวงพ่อปานคลองด่านอนุสรณ์ จังหวัดสมุทรปราการ
|
ช่วยคนขับรถซึ่งประสบอุบัติเหตุพุ่งลงคลอง[8]
|
[9]
|
2564
|
นายอิทธิเดช ไทรชมภู
|
ครู
|
โรงเรียนอนุราชประสิทธิ์ จังหวัดนนทบุรี
|
|
[10]
|
2562
|
เด็กหญิงจารุวรรณ ศรีสุขใส
|
เนตรนารีสามัญรุ่นใหญ่
|
โรงเรียนบ้านควนประชาสรรค์ จังหวัดนครศรีธรรมราช
|
ช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุทางน้ำ จนพ้นอันตราย[11]
|
[12]
|
เด็กชายปรวิทย์ สุขเมฆ
|
ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่
|
โรงเรียนบ้านควนประชาสรรค์ จังหวัดนครศรีธรรมราช
|
เหรียญลูกเสือสรรเสริญ ชั้นที่ 3
ประจำปี
|
รายชื่อ
|
ตำแหน่ง
|
สังกัด
|
เหตุการณ์
|
อ้างอิง
|
2566
|
เด็กชายศิราพัช ศรีงาม
|
ลูกเสือสามัญ
|
โรงเรียนศาลาคู้ กรุงเทพ
|
ทำ CPR ช่วยเด็กจมน้ำจนรอดชีวิต[13]
|
[7]
|
2565
|
นายอนิรุทธิ์ อมรแก้ว
|
รองผู้อำนวยการลูกเสือโรงเรียน
|
โรงเรียนวัดมุขธารา จังหวัดนครศรีธรรมราช
|
|
[9]
|
นายวรรณประกรณ์ จุมพลน้อย
|
ผู้อำนวยการลูกเสือโรงเรียน
|
โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน 2 (สมาน สุเมโธ) จังหวัดขอนแก่น
|
|
2564
|
นายสมชาย ถาวรผล
|
ผู้อำนวยการลูกเสือโรงเรียน
|
โรงเรียนบ้านสระเกษ จังหวัดเพชรบูรณ์
|
|
[10]
|
นายภูมินิวัฒน์ ปานอินทร์
|
ผู้กำกับลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่
|
โรงเรียนบ้านราหุล จังหวัดเพชรบูรณ์
|
|
2563
|
นายธนกฤต สิงห์เรือง
|
ผู้ช่วยผู้ตรวจการลูกเสือ
|
จังหวัดอุบลราชธานี
|
|
[5]
|
นายศิวกร สิงห์เรือง
|
ผู้กํากับกลุ่มลูกเสือ
|
โรงเรียนประสิทธิ์ศึกษาสงเคราะห์ จังหวัดอุบลราชธาน
|
|
2562
|
เด็กชายชนัญญู เพชรอาวุธ
|
ลูกเสือสามัญ
|
โรงเรียนบ้านควนประชาสรรค์ จังหวัดนครศรีธรรมราช
|
ช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุทางน้ำ จนพ้นอันตราย[11]
|
[12]
|
นางสาวเรขา ข่ายเงิน
|
ผู้กำกับกองลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่
|
โรงเรียนบ้านซำตะเคียน จังหวัดพิษณุโลก
|
ช่วยเหลือผู้บาดเจ็บสาหัส จากอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์[11]
|
นางนงลักษณ์ เศรษฐพูธ์
|
ผู้ช่วยผู้ตรวจการลูกเสือ
|
สำนักงานลูกเสือแห่งชาติ
|
ช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุรถบรรทุกชนกับรถหกล้อ[11]
|
นายครรชิต คูณสาร
|
ผู้ช่วยผู้ตรวจการลูกเสือ
|
สำนักงานลูกเสือแห่งชาติ
|
ช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุรถบรรทุกชนกับรถหกล้อ[11]
|
อ้างอิง