ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ (ประเทศไทย)

ผู้สำเร็จราชการแทน
แห่งราชอาณาจักรไทย
ธงประจำตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
ผู้ดำรงตำแหน่งคนปัจจุบัน
ตำแหน่งว่าง
ตั้งแต่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2559
ผู้แต่งตั้งพระมหากษัตริย์ไทย
วาระขึ้นอยู่กับพระมหากษัตริย์
สถาปนาพ.ศ. 2411

ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เป็นผู้บริหารราชการแผ่นดินในพระปรมาภิไธยหรือพระนามาภิไธยพระมหากษัตริย์ไทย เนื่องจากพระมหากษัตริย์ดำรงอยู่ในสถานะพิเศษ หรือทรงพระประชวรก็ดี ทรงไม่อาจบริหารพระราชกิจได้ก็ดี หรือไม่ทรงอยู่ในประเทศไทยก็ดี

ข้อกำหนดตามรัฐธรรมนูญ

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงกระทำสัตย์ปฏิญาณต่อสภาผู้แทนราษฎรพระที่นั่งอนันตสมาคม ในวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2499 เพื่อรับตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 กำหนดให้มีผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ภายใต้วิธีการและเงื่อนไขดังต่อไปนี้

มาตรา 16

ในเมื่อพระมหากษัตริย์จะไม่ประทับอยู่ในราชอาณาจักร หรือจะทรงบริหารพระราชภาระไม่ได้ด้วยเหตุใดก็ตาม จะทรงแต่งตั้งบุคคลคนหนึ่งหรือหลายคนเป็นคณะขึ้น ให้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์หรือไม่ก็ได้ และในกรณีที่ทรงแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ให้ประธานรัฐสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ

มาตรา 17

ในกรณีที่พระมหากษัตริย์มิได้ทรงแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ตามมาตรา 16 หรือในกรณีที่พระมหากษัตริย์ไม่สามารถทรงแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เพราะยังไม่ทรงบรรลุนิติภาวะหรือเพราะเหตุอื่น แต่ต่อมาคณะองคมนตรีพิจารณาเห็นว่ามีความจำเป็นสมควรแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์และไม่อาจกราบบังคมทูลให้ทรงแต่งตั้งได้ทันการ ให้คณะองคมนตรีเสนอชื่อบุคคลคนหนึ่งหรือหลายคนเป็นคณะ ตามลำดับที่โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมกำหนดไว้ก่อนแล้วให้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ แล้วแจ้งประธานรัฐสภาเพื่อประกาศในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ แต่งตั้งผู้นั้นขึ้นเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

มาตรา 18

ในระหว่างที่ไม่มีผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ตามมาตรา 16 หรือ มาตรา 17 ให้ประธานองคมนตรีเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เป็นการชั่วคราวไปพลางก่อน

ในกรณีที่ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ซึ่งได้รับการแต่งตั้งตามมาตรา 16 หรือ มาตรา 17 ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ประธานองคมนตรีทำหน้าที่ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เป็นการชั่วคราวไปพลางก่อน

ในระหว่างที่ประธานองคมนตรีเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ตามวรรคหนึ่งหรือในระหว่างที่ประธานองคมนตรีทำหน้าที่ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ตามวรรคสอง ประธานองคมนตรีจะปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเป็นประธานองคมนตรีมิได้ ในกรณีเช่นว่านี้ ให้คณะองคมนตรีเลือกองคมนตรีคนหนึ่งขึ้นทำหน้าที่ประธานองคมนตรีเป็นการชั่วคราวไปพลางก่อน

ธงประจำตำแหน่ง

ธงประจำตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์กำหนดให้มีขึ้นครั้งแรกในพระราชบัญญัติธง พ.ศ. 2479 สำหรับใช้เป็นเกียรติยศของผู้ดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ธงนี้มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส พื้นธงสีขาว ตรงกลางของผืนธงมีอาร์มสีเหลือง กว้าง 1 ใน 3 ส่วนของความกว้างของผืนธง ภายในอาร์มสีเหลืองมีอาร์มสีธงชาติกว้าง 3 ใน 5 ส่วนของความกว้างของอาร์มสีเหลือง เหนืออาร์มมีครุฑพ่าห์สีแดงขนาดเท่าอาร์มสีเหลือง

รายพระนามและรายนามผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ของไทย

รัชกาลที่ 5

ลำดับ รูป รายพระนาม/รายนาม ระยะการดำรงตำแหน่ง หมายเหตุ
1 สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) พ.ศ. 2411 - พ.ศ. 2416 ผู้สำเร็จราชการในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(ครองราชสมบัติครั้งที่ 1)
2 สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระอัครราชเทวี 7 เมษายน พ.ศ. 2440[1] - 16 ธันวาคม พ.ศ. 2440 ผู้สำเร็จราชการในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 1 ซึ่งภายหลังได้มีการเฉลิมพระนามาภิไธยเป็น

สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ

3 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร 27 มีนาคม พ.ศ. 2450[2] - 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2450 ผู้สำเร็จราชการในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 2 ซึ่งภายหลังได้ทรงขึ้นครองสิริราชสมบัติเป็น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6)

รัชกาลที่ 6

ลำดับ รูป รายพระนาม/รายนาม ระยะการดำรงตำแหน่ง หมายเหตุ
1 สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา พ.ศ. 2468 ผู้สำเร็จราชการในขณะที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประชวรเมื่อปลายรัชกาล ซึ่งภายหลังขึ้นครองราชย์เป็น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7)

รัชกาลที่ 7

ลำดับ รูป รายพระนาม/รายนาม ระยะการดำรงตำแหน่ง หมายเหตุ
1 สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต 9 เมษายน พ.ศ. 2475 - 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2475 ผู้สำเร็จราชการในขณะที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จออกจากกรุงเทพมหานครในช่วงเสด็จแปรพระราชฐานฤดูร้อน โดยพระองค์เสด็จไปประทับยังวังไกลกังวล ที่หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
2 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์ 12 มกราคม พ.ศ. 2477[3][2] - 2 มีนาคม พ.ศ. 2478[2] ผู้สำเร็จราชการในขณะที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จยังต่างประเทศ จนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติ พระองค์จึงพ้นจากตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

รัชกาลที่ 8

เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทรยังทรงพระเยาว์ ไม่สามารถปฏิบัติพระราชภารกิจได้ สภาผู้แทนราษฎรจึงได้ตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ขึ้น ประกอบด้วย[4]

ลำดับ รูป รายพระนาม/รายนาม ระยะการดำรงตำแหน่ง หมายเหตุ
1

พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตน์จาตุรนต์ 2 มีนาคม พ.ศ. 2478[2] - 12 สิงหาคม พ.ศ. 2478 ทรงเป็นประธานคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

ต่อมาพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตน์จาตุรนต์
ทรงปลงพระชนม์พระองค์เอง ทำให้พ้นจากตำแหน่งผู้สำเร็จราชการ

2

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา 2 มีนาคม พ.ศ. 2478[2] - 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2487 เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ หลังจากการสิ้นพระชนม์ของ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตน์จาตุรนต์ ทำให้ทรงเป็นประธานคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต่อมาพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา ทรงลาออกจากตำแหน่ง
3 เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) 2 มีนาคม พ.ศ. 2478[2] - 30 ธันวาคม พ.ศ. 2481 เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต่อมาเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม)
ถึงแก่อสัญกรรม ทำให้พ้นจากตำแหน่งผู้สำเร็จราชการ
4 เจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน (อุ่ม อินทรโยธิน) 21 สิงหาคม พ.ศ. 2478[5] - 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2485 ได้รับการแต่งตั้งหลังจากการสิ้นพระชนม์ของ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตน์จาตุรนต์ เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2478)

ต่อมาเจ้าพระยาพิชเยนทรโยธินถึงแก่อสัญกรรม ทำให้พ้นจากตำแหน่งผู้สำเร็จราชการ

5 หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์) 16 ธันวาคม พ.ศ. 2484[6] - 20 กันยายน พ.ศ. 2488 ได้รับการแต่งตั้งเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2484

แทนเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) ซึ่งถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่

30 ธันวาคม พ.ศ. 2481

ต่อมาเมื่อเจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน ถึงแก่อสัญกรรมในปี พ.ศ. 2485 พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา ทรงลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2487 และไม่ได้แต่งตั้งผู้ใดเพิ่ม

จึงมีนายปรีดี พนมยงค์ เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แต่ผู้เดียว[7]

รัชกาลที่ 9

ลำดับ รูป รายพระนาม/รายนาม เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ หมายเหตุ
พระสุธรรมวินิจฉัย (ชม วณิกเกียรติ) 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 16 มิถุนายน พ.ศ. 2489 เป็นผู้สำเร็จราชการแทนเป็นการชั่วคราว[8]
พระยานลราชสุวัจน์ (ทองดี นลราชสุวัจน์) 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 16 มิถุนายน พ.ศ. 2489 เป็นผู้สำเร็จราชการแทนเป็นการชั่วคราว[8]
สงวน จูฑะเตมีย์ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 16 มิถุนายน พ.ศ. 2489 เป็นผู้สำเร็จราชการแทนเป็นการชั่วคราว[8]
Prince Rangsit Prayurasakdi พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระชัยนาทนเรนทร 16 มิถุนายน พ.ศ. 2489[9] 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490
Phraya Manavaratsevi พระยามานวราชเสวี (ปลอด วิเชียร ณ สงขลา)
Standard of the Regent of Siam คณะอภิรัฐมนตรี
ทำหน้าที่ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490[10] 23 มกราคม หรือ 23 มีนาคม พ.ศ. 2492 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ได้ให้อำนาจในการจัดตั้ง

คณะอภิรัฐมนตรี ประกอบด้วย
1. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระชัยนาทนเรนทร
2. พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร
3. พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอดิศรอุดมศักดิ์
4. พระยามานวราชเสวี (ปลอด วิเชียร ณ สงขลา)
5. หลวงอดุลเดชจรัส (อดุล อดุลเดชจรัส) (บัตร พึ่งพระคุณ)

คณะฯ ยุบเลิกไปเมื่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 มีผลบังคับใช้

Prince Rangsit Prayurasakdi พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระชัยนาทนเรนทร 23 มิถุนายน พ.ศ. 2492[11] พ.ศ. 2492
4 มิถุนายน พ.ศ. 2493[12] 7 มีนาคม พ.ศ. 2494 ทรงได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ สิ้นพระชนม์ขณะดำรงตำแหน่ง
Standard of the Regent of Siam พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร 12 มีนาคม พ.ศ. 2494[13] 19 ธันวาคม พ.ศ. 2495
Queen Sirikit สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี 22 ตุลาคม พ.ศ. 2499[14] 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499 ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ขณะพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระผนวช

ซึ่งภายหลังได้มีการเฉลิมพระนามาภิไธยเป็น

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

Princess Srinagarindra สมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2502[15] 21 ธันวาคม พ.ศ. 2502 ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ขณะพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จเยือนสาธารณรัฐเวียดนาม
8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2503[16] 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2503 ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ขณะพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จเยือนสาธารณรัฐอินโดนีเซีย
2 มีนาคม พ.ศ. 2503[17] 5 มีนาคม พ.ศ. 2503 ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ขณะพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จเยือนสหภาพพม่า
14 มิถุนายน พ.ศ. 2503[18] 18 มกราคม พ.ศ. 2504 ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ขณะพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จเยือนสหรัฐอเมริกา และหลายประเทศในทวีปยุโรป
11 มีนาคม พ.ศ. 2505[19] 22 มีนาคม พ.ศ. 2505 ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ขณะพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จเยือนสาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน
20 มิถุนายน พ.ศ. 2505[20] 27 มิถุนายน พ.ศ. 2505 ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ขณะพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จเยือนสหพันธรัฐมาลายา
17 สิงหาคม พ.ศ. 2505[21] 13 กันยายน พ.ศ. 2505 ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ขณะพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จเยือนนิวซีแลนด์และเครือรัฐออสเตรเลีย
Standard of the Regent of Siam พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร
(ประธานองคมนตรี)
27 พฤษภาคม พ.ศ. 2506[22] 8 มิถุนายน พ.ศ. 2506 ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ขณะพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จเยือนประเทศญี่ปุ่นและสาธารณรัฐจีน
9 กรกฎาคม พ.ศ. 2506[23] 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2506 ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ขณะพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จเยือนสาธารณรัฐฟิลิปปินส์
Princess Srinagarindra สมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ 12 กันยายน พ.ศ. 2507[24] 6 ตุลาคม พ.ศ. 2507 ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ขณะพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จเยือนราชอาณาจักรกรีซ และสาธารณรัฐออสเตรีย
15 กรกฎาคม พ.ศ. 2509 [25] 7 ตุลาคม พ.ศ. 2509 ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ขณะพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จเยือนสหราชอาณาจักร
23 เมษายน พ.ศ. 2510[26] 30 เมษายน พ.ศ. 2510 ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ขณะพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จเยือนจักรวรรดิอิหร่าน
6 มิถุนายน พ.ศ. 2510[27] 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2510 ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ขณะพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จเยือนสหรัฐอเมริกาและแคนาดา

รัชกาลที่ 10

ลำดับ รูป รายนาม เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ หมายเหตุ
1 Prem Tinsulanonda เปรม ติณสูลานนท์ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 1 ธันวาคม พ.ศ. 2559[28] เป็นผู้สำเร็จราชการแทนเป็นการชั่วคราวไปพลางก่อน โดยผลของมาตรา 24 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550[29] ประกอบมาตรา 2 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557[30] ระหว่างรอพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ตอบรับคำเชิญเถลิงราชสมบัติกษัตริย์รัชกาลใหม่[31][32] โดยมิได้มีการประกาศแต่งตั้งอย่างเป็นทางการ

อ้างอิง

  1. ราชกิจจานุเบกษา, ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม ๑๓, แผ่นที่ ๕๑, วันที่ ๒๑ มีนาคม รัตนโกสินทร์ศก ๑๑๕, หน้า ๕๙๙
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 นับตามปีปฏิทินสากล
  3. พระราชกฤษฎีกา ตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ พุทธศักราช ๒๔๗๖ เก็บถาวร 2011-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ราชกิจจานุเบกษา, ๑๑ มกราคม ๒๔๗๖, เล่ม ๕๐, หน้า ๘๓๘, สืบค้นวันที่ 6 พฤศจิกายน 2561
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศพิเศษ เรื่อง ตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เก็บถาวร 2007-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๑, ตอน ๐ก, ๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๗, หน้า ๑๓๓๒
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ ตั้งซ่อมคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์และตั้งประธานคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ใหม่ เก็บถาวร 2007-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๒, ตอน ๐ก, ๒๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘, หน้า ๑๒๖๐
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศตั้งซ่อมคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ นายปรีดี พนมยงค์ (หลวงประดิษฐ์มนูธรรม) เก็บถาวร 2007-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๘, ตอน ๐ก, ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๔, หน้า ๑๘๒๑
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศประธานสภาผู้แทนราษฎร เรื่องตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เก็บถาวร 2007-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน , เล่ม ๖๑, ตอน ๔๕ก, ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๗, หน้า ๗๓๐
  8. 8.0 8.1 8.2 พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๑๖ ราย)
  9. ประกาศ ตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศแต่งตั้ง อภิรัฐมนตรี เก็บถาวร 2011-11-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 64, ตอน 54, 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490, หน้า 688
  11. "ประกาศ ตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-20. สืบค้นเมื่อ 2018-11-06.
  12. "ประกาศ ตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-20. สืบค้นเมื่อ 2018-11-06.
  13. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้ง ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์, เล่ม 69, ตอน 18, 20 มีนาคม พ.ศ. 2494, หน้า 402
  14. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้ง สมเด็จเจ้าฟ้ามหานคร กริชกรณ์ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในระหว่างที่ผนวช เก็บถาวร 2011-11-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 73, ตอน 76 ก, 25 กันยายน พ.ศ. 2499, หน้า 1035
  15. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
  16. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
  17. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
  18. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
  19. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
  20. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
  21. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
  22. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ (พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤติยากร ประธานองคมนตรี)
  23. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ (พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤติยากร ประธานองคมนตรี)
  24. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
  25. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
  26. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
  27. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
  28. สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ได้ขึ้นทรงราชย์สืบราชสันตติวงศ์ เป็นพระมหากษัตริย์ "ประกาศเฉลิมพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 133 (102 ก): 2. 1 ธันวาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 28 มีนาคม 2567.
  29. มาตรา 24 ในระหว่างที่ยังไม่มีประกาศอัญเชิญองค์พระรัชทายาทหรือองค์ผู้สืบราชสันตติวงศ์ขึ้นทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ตามมาตรา 23 ให้ประธานองคมนตรีเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เป็นการชั่วคราวไปพลางก่อน แต่ในกรณีที่ราชบัลลังก์ว่างลงในระหว่างที่ได้แต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ไว้ตามมาตรา 18 หรือมาตรา 19 หรือระหว่างเวลาที่ประธานองคมนตรีเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ตามมาตรา 20 วรรคหนึ่ง ให้ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์นั้น ๆ แล้วแต่กรณี เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ต่อไป ทั้งนี้ จนกว่าจะได้ประกาศอัญเชิญองค์พระรัชทายาทหรือองค์ผู้สืบราชสันตติวงศ์ขึ้นทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์
  30. มาตรา 2 ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ให้บทบัญญัติของหมวด 2 พระมหากษัตริย์ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ซึ่งยังคงมีผลใช้บังคับอยู่ตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 11/2557 ลงวันที่ 22 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 ยังคงใช้บังคับต่อไปเป็นส่วนหนึ่งของรัฐธรรมนูญนี้ และภายใต้บังคับมาตรา 43 วรรคหนึ่ง ที่ใดในบทบัญญัติดังกล่าวอ้างถึงรัฐสภา หรือประธานรัฐสภา ให้หมายถึง สภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ตามรัฐธรรมนูญนี้ แล้วแต่กรณี
  31. กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี (2017-01-01). "เหตุการณ์แห่งปี ร.10 ขึ้นทรงราชย์ 1 ธ.ค. 59". สืบค้นเมื่อ 2024-03-28.
  32. "Thailand's King Bhumibol Adulyadej dead at 88". BBC News. 13 October 2016. สืบค้นเมื่อ 28 March 2024.

Read other articles:

هذه المقالة يتيمة إذ تصل إليها مقالات أخرى قليلة جدًا. فضلًا، ساعد بإضافة وصلة إليها في مقالات متعلقة بها. (أبريل 2021) تسرد هذه المقالة أكبر الشركات في ألمانيا من حيث إيراداتها وصافي أرباحها وإجمالي أصولها، وفقًا لمجلات الأعمال الأمريكية فورتشن و فوربس. قائمة الشركات الألمان

 

 

Roadtown, Tortola Hindia Barat Britania (bahasa Inggris: British West Indies) sekarang adalah Teritorial Seberang Laut Britania di Caribbean, Anguilla, Bermuda, Kepulauan Cayman, Turk dan Kepulauan Caicos dan Montserrat.[1] Sebelum kemerdekaan beberapa negara baru, wilayah tersebut meliputi sejumlah besar pulau di kawasan tersebut, bersama dengan dua koloni daratan utama, yang seluruhnya masuk bagian dari Kekaisaran Britania.[2][3][4] Pada 1912, Hindia Barat Br...

 

 

  Cañuela alta Cañuela alta (Lolium arundinaceum)TaxonomíaReino: PlantaeDivisión: MagnoliophytaClase: ApogoniaSubclase: CommelinidaeOrden: PoalesFamilia: PoaceaeSubfamilia: PooideaeTribu: PoeaeSubtribu: LoliinaeGénero: LoliumEspecie: Lolium arundinaceum(Schreb.) Darbysh., 1993Sinonimia Schedonorus arundinaceus [editar datos en Wikidata] La cañuela alta o festuca alta (Lolium arundinaceum) es una especie de la familia de las gramíneas (Poaceae). Es nativa de Europa y del ...

  Kennalestes Rango temporal: 83,5 Ma - 70,6 Ma PreЄ Є O S D C P T J K Pg N Cretácico Superior Fósiles de Kennalestes gobiensisTaxonomíaReino: AnimaliaFilo: ChordataClase: MammaliaOrden: AsioryctitheriaFamilia: KennalestidaeGénero: KennalestesEspecie: K. gobiensisKielan-Jaworowska, 1968[editar datos en Wikidata] Kennalestes gobiensis es una especie extinta de mamíferos insectívoros semejantes a una musaraña. Era un mamífero común en Mongolia durante el Cret...

 

 

هذه المقالة يتيمة إذ تصل إليها مقالات أخرى قليلة جدًا. فضلًا، ساعد بإضافة وصلة إليها في مقالات متعلقة بها. (مارس 2016) هذه المقالة تحتاج للمزيد من الوصلات للمقالات الأخرى للمساعدة في ترابط مقالات الموسوعة. فضلًا ساعد في تحسين هذه المقالة بإضافة وصلات إلى المقالات المتعلقة بها

 

 

Japanese web novel and its manga and anime adaptations Shangri-La FrontierFirst tankōbon volume cover of the mangaシャングリラ・フロンティア~クソゲーハンター、神ゲーに挑まんとす~(Shangurira Furontia ~ Kusogē hantā, Kamigē ni Idoman to su ~)GenreAction[1]Fantasy[1] Novel seriesWritten byKatarinaPublished byShōsetsuka ni NarōOriginal runMay 2017 – present MangaWritten byKatarinaIllustrated byRyosuke FujiPublished...

Campeonato Mundial de Ginástica Artística de 2011 Dados Sede Tóquio Maior vencedor Kohei Uchimura Maior vencedora Viktoria Komova Jordyn Wieber Lu Sui / Yao Jinnan Nação vencedora  China ← Roterdã 10 Antuérpia 13  → O XLIII Campeonato Mundial de Ginástica Artística ocorreu entre os dias 8 e 16 de outubro de 2011, no Tokyo Metropolitan Gymnasium, na cidade de Tóquio, Japão. O evento serviu como Pré-Olímpico para os Jogos Olímpicos de 2012, em Londres, j...

 

 

Sungai RT 12Papan Nama Sungai RT 12LokasiNegaraIndonesiaProvinsiKalimantan SelatanCiri-ciri fisikHulu sungai  - lokasiKalimantan Panjang223 meter Sungai RT 12 adalah sungai yang mengalir di kota Banjarmasin, Kalimantan Selatan, Indonesia. Geografi Sungai ini mengalir di kecamatan Banjarmasin Utara.[1] Sungai ini memiliki panjang 223 m dengan lebar 2 m.[2] Lihat pula Daftar sungai di Banjarmasin Daftar sungai di Kalimantan Referensi ^ BPS Kota Banjarmasin (2014)....

 

 

بونيودكور شعار نادي بونيودكور الاسم الكامل نادي بونيودكور اللقب ---- تأسس عام 6 يوليو 2006 الملعب ستاد بونيودكور طشقند، أوزبكستان(السعة: 34,000) البلد أوزبكستان  الدوري دوري أوزبكستان 2014 الرابع الإدارة المالك ---- الرئيس ايسوك اخباروف المدير الفني سيرجي لوتشان المدرب ميرجلال ق...

Este artículo o sección necesita referencias que aparezcan en una publicación acreditada.Este aviso fue puesto el 18 de julio de 2016. 1601, la basílica de Székesfehérvár, ardiendo La Basílica de Székesfehérvár fue una de las grandes iglesias del estilo románico erigida en Székesfehérvár, Hungría, cerca de 1010 por el rey san Esteban I de Hungría, el fundador del Estado medieval húngaro y cristianizador de su gente. Esta basílica tuvo una planta de 60×30 metros, que hace 1...

 

 

PSV in het seizoen 2023/24 kan verwijzen naar: PSV in het seizoen 2023/24 (mannen) PSV in het seizoen 2023/24 (vrouwen) Bekijk alle artikelen waarvan de titel begint met PSV in het seizoen 2023/24 of met PSV in het seizoen 2023/24 in de titel. Dit is een doorverwijspagina, bedoeld om de verschillen in betekenis of gebruik van PSV in het seizoen 2023/24 inzichtelijk te maken. Op deze pagina staat een uitleg van de verschillende betekenissen van PSV in het seizoen 2023/...

 

 

Place in Debub. جنوب, EritreaSenafe ሰንዓፈصنعفىSenafeLocation in EritreaCoordinates: 14°42′N 39°25′E / 14.700°N 39.417°E / 14.700; 39.417Country EritreaRegionDebub. جنوبDistrictSenafe DistrictElevation2,446 m (8,025 ft)Population • Total45,000ClimateBSk Senafe (Arabic: صنعفى, Tigrinya: ሰንዓፈ) is a market town in southern Eritrea, on the edge of the Eritrean highlands ሶይራ. The surrounding area is inhabit...

هذه المقالة يتيمة إذ تصل إليها مقالات أخرى قليلة جدًا. فضلًا، ساعد بإضافة وصلة إليها في مقالات متعلقة بها. (مايو 2020) مدينة كاراكاس الجامعية موقع اليونيسكو للتراث العالمي الدولة فنزويلا[1]  النوع ثقافي المعايير (i) معيار تقدير القيمة العالمية الاستثثنائية  [لغات أ...

 

 

Chinese TV series or program Chronicle of LifeGenreHistorical fiction Melodrama RomanceBased onLonely Courtyard in Late Spring by Fei Wo Si CunWritten byJiang Guangyu Rao HouDirected byWu JinyuanStarringHawick LauZheng Shuang Vin ZhangOpening themeNo End by Hawick LauEnding themeWhen We First Meet, Love Already Ends by Xiang XiangCountry of originChinaOriginal languageMandarinNo. of episodes40ProductionProducerYu ZhengProduction locationHengdian World StudiosRunning time45 minutesProduct...

 

 

2009–10 concert tour by Arctic Monkeys Humbug TourWorld tour by Arctic MonkeysAssociated albumHumbugStart date13 January 2009 (2009-01-13)End date22 April 2010 (2010-04-22)No. of shows105Arctic Monkeys concert chronology Favourite Worst Nightmare Tour(2007) Humbug Tour(2009–10) Suck It and See Tour(2011–12) The Humbug Tour was a world concert tour by British indie rock band Arctic Monkeys in support of their third studio album, Humbug.[1] Although H...

Franc Miklošič Vuk Karadžić Ivan Mažuranić Dimitrije Demeter Đuro Daničić Ivan Kukuljević Sakcinski El Acuerdo Literario de Viena (alfabeto croata: Bečki književni dogovor, serbio cirílico: Бечки књижевни договор) fue resultado de una reunión que tuvo lugar en marzo de 1850, en la cual se dieron cita escritores de Croacia, Serbia y uno de Eslovenia, con el propósito de discutir hasta qué punto se podría lograr que sus distintas literaturas se aunaran y uni...

 

 

Haeinsa Janggyeong Panjeon, perpustakaan Tripitaka KoreanaSitus Warisan Dunia UNESCOKriteriaKultural: iv, viNomor identifikasi737Pengukuhan1995 (Ke-19) Korean nameHangul해인사 Hanja海印寺 Alih AksaraHaeinsaMcCune–ReischauerHaeinsa Haeinsa atau Kuil Haein adalah kuil Buddha utama dari sekte Jogye di Korea Selatan dan menyimpan Tripitaka Koreana, cetakan Tripitaka kayu yang berjumlah 81.258 pres kayu sejak tahun 1398.[1] Sebagai salah satu Tiga Kuil Mustika, Haeinsa melamba...

 

 

اللات اللات شريك مناة، العزى نظيره عند الرومانيين مينيرفا المنطقة جزيرة العرب الديانة وثنية تعديل مصدري - تعديل   الآلهة العربية قبل الإسلام الآلهة التدمرية بل يرحبول عجليبوول نبو بعل شمين بعل حمون مناة اللات أرصو عزيزو أترعتا شيع القوم الآلهة النبطية اللات ذو الشرى ال...

Species of amphibian Warty newt redirects here. See also Asian warty newts and Laos warty newt. Northern crested newt Male during breeding season Conservation status Least Concern (IUCN 3.1)[1] Scientific classification Domain: Eukaryota Kingdom: Animalia Phylum: Chordata Class: Amphibia Order: Urodela Family: Salamandridae Genus: Triturus Species: T. cristatus Binomial name Triturus cristatus(Laurenti, 1768) Synonyms Over 40,[2] including: Lacertus aquatilis Garsaul...

 

 

American college football season 2012 Louisiana–Lafayette Ragin' Cajuns footballNew Orleans Bowl championNew Orleans Bowl, W 43–34 vs. East CarolinaConferenceSun Belt ConferenceRecord5–4, 4 wins vacated (4–2 Sun Belt, 2 wins vacated)Head coachMark Hudspeth (2nd season)Offensive coordinatorJay Johnson (2nd season)Defensive coordinatorGreg Stewart (2nd season)Home stadiumCajun FieldSeasons← 20112013 → 2012 Sun Belt Conference football standings ...

 

 

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!