วิชัย ริ้วตระกูล


ดร. วิชัย ริ้วตระกูล

เกิด12 ตุลาคม พ.ศ. 2485 (82 ปี)
จังหวัดสิงห์บุรี ประเทศไทย
สัญชาติไทย
มีชื่อเสียงจากนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ
ญาติแสงโสม ริ้วตระกูล (ภรรยา)​

ศาสตาจารย์เกียรติคุณ ดร.วิชัย ริ้วตระกูล (เกิด 12 ตุลาคม พ.ศ. 2485) กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ[1] ของมหาวิทยาลัยนครพนม นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช ประจำปี พ.ศ. 2548[2] ผู้เชี่ยวชาญด้านเคมีอินทรีย์สังเคราะห์ และการค้นหาสารผลิตภัณฑ์ธรรมชาติที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพจากสมุนไพร เพื่อการพัฒนาเป็นยาชนิดต่าง ๆ เกิดที่ตำบลทับยา อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี สมรสกับนางแสงโสม (วิเชียรโชติ) ริ้วตระกูล มีธิดา 2 คนชื่อ แพทย์หญิงสิริมนต์ ประเทืองธรรม และนางมนฑิรา ทวีสิน ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ เป็นราชบัณฑิต สาขาวิชาเคมี สำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสถาน

ประวัติ

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. วิชัย ริ้วตระกูล เป็นผู้เชี่ยวชาญเคมี ประจำคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยทั้งในและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง เช่น จากองค์การอนามัยโลก ทางด้าน Male and Female Fertility Regulation จาก CONRAD, USAID ทางด้าน Male Fertility Regulation จาก International Foundation for Science (IFS) ทางด้าน Bioactive Natural Products ขณะนื้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัย ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ โครงการพัฒนาบัณฑิตศึกษาและการวิจัยทางเคมี (Postgraduate Education and Research Program in Chemistry - PERCH) และ International Program in Chemical Sciences (IPICS)

ประวัติการศึกษา

ปริญญากิตติมศักดิ์

ประวัติการทำงาน

  • เริ่มรับราชการเป็นอาจารย์ประจำ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ตั้งแต่พ.ศ. 2514 จนถึงปัจจุบัน โดยได้รับตำแหน่งเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ ในปี พ.ศ. 2519, 2522 และ 2527 ตามลำดับ
  • หัวหน้าภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในปี 2537-2544
  • ประธานคณะกรรมการจัดการประชุมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 17 และ 18 ที่ปรึกษาชั่วคราว HRP/WHO
  • ประธานของ The Steering Committee of WHO Task on Plants for Fertility Regulation
  • กรรมการสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร ระหว่างปี พ.ศ. 2539-2542
  • กรรมการในคณะกรรมการอุดมศึกษาเอกชน ทบวงมหาวิทยาลัย
  • กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของสภาวิชาการ สภาสถาบันราชภัฏ ระหว่างปี 2541-2543

หน้าที่การงานในปัจจุบัน

  • กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สภามหาวิทยาลัยบูรพา[3]
  • ประธานกรรมการพิจารณาขอเปิดดำเนินการหลักสูตร และการรับรองมาตรฐานการศึกษา สาขาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติและเทคโนโลยี ของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ทบวงมหาวิทยาลัย
  • กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิประจำสำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และประจำสำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • หัวหน้าคณะผู้ประสานงานโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก สกว.
  • ผู้อำนวยการโครงการพัฒนาบัณฑิตศึกษาและการวิจัยทางเคมี (Postgraduate Education and Research Program in Chemistry - PERCH) ซึ่งเป็น Consortium การผลิตนักศึกษาและงานวิจัยทางเคมี ร่วมกัน 5 มหาวิทยาลัย คือ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • กรรมการในกองบรรณาธิการเกียรติคุณของ วารสารสงขลานครินทร์ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • ได้รับรางวัลวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ของมูลนิธิโทเรเพื่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ประเทศไทยประเภทบุคคล ประจำปี พ.ศ. 2538

ด้านต่างประเทศ

  • เป็นผู้ประสานงานและดำเนินการควบคุมการวิจัย โครงการแลกเปลี่ยนระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดล กับประเทศบังคลาเทศ และศรีลังกา โดยได้รับการสนับสนุนจากประเทศสวีเดน
  • เป็นที่ปรึกษาทางวิทยาศาสตร์ของ International Foundation For Science (IFS), The Asian Network of Research on Antidiabetes Plants (ANRAP) และ International Program in the Chemical Sciences (IPICS)
  • เป็น Editorial Board Associate Editor ของ Asian Journal of Andrology และ Pharmaceutical Biology ตามลำดับ
  • เป็นเครือข่าย และผู้ประสานงานเครือข่ายเคมีผลิตภัณฑ์ธรรมชาติประเทศไทย ขององค์การยูเนสโก ปี 2545-2548

เกียรติคุณและรางวัล

ผลงานด้านการวิจัย

งานวิจัยของศาสตราจารย์ ดร. วิชัย ริ้วตระกูล เป็นงานวิจัยพื้นฐานแบบกำหนดทิศทาง ซึ่งจะมุ่งเน้นทั้งสร้างองค์ความรู้ใหม่ การศึกษาวิจัยในเรื่องที่อาจจะนำผลงานไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์และเชิงสาธารณประโยชน์ได้ งานวิจัยแบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนแรกคือ การวิจัยพื้นฐานแบบกำหนดทิศทางด้านเคมีอินทรีย์สังเคราะห์ ส่วนที่สองคือ การวิจัยในโครงการ Drug Discovery ซึ่งเป็นการศึกษาแบบกำหนดทิศทาง เพื่อมุ่งเน้นศึกษาและค้นหาสารผลิตภัณฑ์ธรรมชาติที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพ จากต้นไม้ที่ขึ้นในประเทศไทย เช่น พืชในสกุล Gardenia, Polyalthia, Garcinia, Ventilago และพันธุ์พืช Ventilago harmandiana, Garcinia speciosa, Garcinia hanburyi, Mallotus spodocarpus, Ochna intergerrima และ Diospyros variegata เพื่อนำมาใช้เป็นสารโครงสร้างนำ (lead structures) ในการพัฒนาเป็นยาต่าง ๆ เช่น สารที่มีฤทธิ์แก้อาการอักเสบทั้งชนิดกินและชนิดทา สารฆ่าเซลส์มะเร็ง สารฆ่าเชื้อไวรัสเอชไอวี สารที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ฤทธิ์ต้านจุลชีพ ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และฤทธิ์ควบคุมการเจริญพันธุ์ในเพศชาย เป็นต้น ซึ่งการพัฒนาโครงการดังกล่าว ได้นำไปสู่การพัฒนาห้องปฏิบัติการการทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพที่ได้มาตรฐาน ที่ภาควิชาเภสัชวิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และที่ภาควิชาสรีรวิทยา และภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

นอกจากนี้การวิจัยดำเนินการหาสารพวกที่มีสารที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ฤทธิ์ต้านจุลชีพ และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ อาจจะนำมาพัฒนาใช้เป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง และใช้ในการรักษาสภาพของผลิตผลทางเกษตรให้คงความสดนานยิ่งขึ้นได้ด้วย

การดำเนินการวิจัยในโครงการ drug discovery จะประกอบด้วยเครือข่ายของนักวิจัยจาก หอพันธุ์ไม้ กรมป่าไม้ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

บางส่วนของงานวิจัยของศาสตราจารย์ ดร. วิชัย ริ้วตระกูล ได้ถูกนำไปเผยแพร่ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ BBC World ผ่านดาวเทียมในรายการ Tomorrow’s World: Vision of the Future เมื่อเดือนเมษายน ปี พ.ศ. 2540 คือ ผลงานวิจัยเกี่ยวกับสาร Triptolide ซึ่งมีสารที่มีฤทธิ์ควบคุมการเจริญพันธุ์ในเพศชาย โดยทำการทดลองในลิง marmoset ตัวผู้ จากการทดลองพบว่าสาร Triptolide เป็นสารตัวแรกที่ได้ผ่านการทดสอบว่าเป็นสารที่ไม่ก่อให้เกิดการกลายพันธุ์ เท่าที่ได้ศึกษามาจนถึงขณะนี้ไม่พบความเป็นพิษของสารนี้ต่อสัตว์ทดลอง และมีฤทธิ์ได้เป็นที่น่าพอใจ

ศาสตราจารย์ ดร.วิชัย ริ้วตระกูล มีผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ จำนวน 116 เรื่อง เขียนบทความลงในหนังสือตำราวิชาการระดับนานาชาติ จำนวน 5 เรื่อง จดสิทธิบัตรระดับนานาชาติ จำนวน 1 เรื่อง ผลงานวิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์อย่างเป็นรูปธรรมแล้ว คือการพัฒนาสารจากไพล (Zingiber cassumunar) สำหรับใช้ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง Plaitanoids และการพัฒนาสารจาก เกษรบัวหลวง (Nelumbo nucifera) สำหรับใช้ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง Lotusia เป็นต้น

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ
  2. นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2548 เก็บถาวร 2013-05-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนสืบค้นข้อมูลเมื่อ 23 กันยายน 2556
  3. ประวัติคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย เก็บถาวร 2014-01-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นข้อมูลเมื่อ 23 กันยายน 2556
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2014-04-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๕, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๒๐๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๙, ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๓๔
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๔๙, เล่ม ๑๒๓ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๑๔๓, ๒๕ ธันวาคม ๒๕๔๙
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา ประจำปี ๒๕๕๕ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๑๐ ข หน้า ๓๑, ๒๖ มีนาคม ๒๕๕๖
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๖๖๘, ๒๕ ธันวาคม ๒๕๓๙

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!