ศาสตราจารย์พิเศษ จิตติ ติงศภัทิย์ (16 มีนาคม พ.ศ. 2451 – 3 มีนาคม พ.ศ. 2538) เป็นนักกฎหมายชาวไทย ดำรงตำแหน่งองคมนตรีตั้งแต่ปี 2527 ถึง 2538 และถึงแก่อสัญกรรมขณะดำรงตำแหน่ง
จิตติประสิทธิ์ประสาทวิชากฎหมายมาเป็นเวลานานจนได้รับยกย่องเป็นปรมาจารย์แห่งวงการกฎหมายไทย และได้รับการกล่าวขานว่า ตั้งมั่นอยู่ในความบริสุทธิ์ยุติธรรม[1]
ประวัติ
จิตติเกิดที่อำเภอสัมพันธวงศ์ จังหวัดพระนคร บิดาชื่อ ทองจีน ติงศภัทิย์ มารดาชื่อละม้าย ติงศภัทิย์ มีน้องสาวชื่อ สำเนียง
บิดาของจิตติเสียชีวิตไปตั้งแต่จิตติอายุได้เพียง 4 ขวบ มารดาได้เริ่มสอนหนังสือให้ตั้งแต่ก่อนเข้าโรงเรียน จากนั้น ได้รับการศึกษาจากโรงเรียนครูเชย
การศึกษา
- พ.ศ. 2467 สอบไล่ได้มัธยมบริบูรณ์ (มัธยม 8) จากโรงเรียนมัธยมวัดปทุมคงคา
- พ.ศ. 2470 สำเร็จเนติบัณฑิตชั้นที่ 2 จากโรงเรียนกฎหมาย กระทรวงยุติธรรม
- พ.ศ. 2485 สำเร็จนิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง
- พ.ศ. 2500 ท่านได้สำเร็จนิติศาสตรมหาบัณฑิต LL.M. (Magna Cum Laude) และกฎหมายเปรียบเทียบ MC.L. จากมหาวิทยาลัย Southern Methodist University, Dallas, Texas ประเทศสหรัฐอเมริกาโดยได้รับเกียรตินิยมและเกียรติประวัติ ว่าทำคะแนนเป็นอันดับหนึ่งของห้องและเป็นคะแนนที่สูงสุดนับแต่เปิดหลักสูตรนี้มา
ชีวิตครอบครัว
สมรสกับ คุณหญิงตลับ (โล่ห์สุวรรณ) ติงศภัทิย์ เภสัชศาสตร์บัณฑิตจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บุตรีนายร้อยเอกหลวงมลายบรจักร (บุญมี โล่ห์สุวรรณ) และนางจรูญ มลายบรจักร (จรูญ โล่ห์สุวรรณ) เมื่อ
วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2489 มีบุตร-ธิดา เป็น ชาย 1 หญิง 5 คือ
- จินตลา วิเศษกุล สมรสกับ มยูร วิเศษกุล มีบุตร 2 คน คือ ฟ้าใส วิเศษกุล และไปรยา วิเศษกุล
- จาริต ติงศภัทิย์ สมรสกับ หม่อมราชวงศ์กัลยา จิตรพงศ์ มีบุตร 1 คน คือ รมณียา ติงศภัทิย์
- จิตริยา ปิ่นทอง สมรสกับ เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง มีบุตร 1 คน คือ จารีย์ ปิ่นทอง
- จาตุรี ติงศภัทิย์
- จีรติ เมลกา สมรสกับ นายมาร์ค เมลกา
- พิรุณา ติงศภัทิย์
การทำงาน
รับราชการเป็นพนักงานอัยการในกรมอัยการ กระทรวงมหาดไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2471 และได้โอนย้ายมารับราชการเป็นข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม ต่อมาใน พ.ศ. 2512 จึงลาออกจากราชการเพราะรับราชการนาน ในตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา และได้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานกฎหมาย (ปัจจุบันคือฝ่ายกฎหมาย) ธนาคารแห่งประเทศไทย จนเกษียณอายุราชการที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หลังจากนั้นได้ดำรงตำแหน่งสำคัญต่างๆ ดังนี้
- 2514–2517 คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- 2516 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516[2]
- 2517 ประธานวุฒิสภา
- 2520 ประธานคณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2521 (ชุดแรก)
- 2527 ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้เป็นองคมนตรี ตั้งแต่วันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2527[3] จนถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2538
หน้าที่ราชการพิเศษ
- ประธานคณะกรรมการร่างกฎหมาย กองที่ 6 สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
- ประธานคณะกรรมการเรื่องราวร้องทุกข์ กองที่ 2 สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
- กรรมการเนติบัณฑิตยสภา
- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย
- กรรมการในคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
- กรรมการส่งเสริมพาณิชย์นาวี กระทรวงคมนาคม
- กรรมการพิเศษพิจารณาสนธิสัญญา กระทรวงการต่างประเทศ
- กรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขานิติศาสตร์
- ประธานคณะกรรมการบริหารสภาวิจัยแห่งชาติ
- กรรมการประจำคณะ และกรรมการปริญญาโท คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- อาจารย์พิเศษที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และวิชากฎหมายอาญาที่สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา
- ที่ปรึกษากฎหมาย บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
- กรรมการในคณะกรรมการนิติศาสตร์สากล (International Commission of Jurists) โดยเป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับเกียรตินี้ฯ
นอกจากนี้ ท่านยังได้รับการประกาศให้เป็น “นักกฎหมายดีเด่น” โดยสมาคมนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2526 และนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2533 กลุ่มสาขานิติศาสตร์
ผลงานทางวิชาการ
- ตำรากฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยตั๋วเงิน
- ตำรากฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยบัญชีเดินสะพัด และตั๋วเงิน
- ตำรากฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยบุคคล
- ตำรากฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยประกันภัย
- คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 2 มาตรา 354-452
- คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 2 มาตรา 395-405, มาตรา 406-419 เรื่องจัดการงานนอกสั่งและลาภมิควรได้
- คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 2 มาตรา 241-452 ร่วมกับ ยล ธีรกุล
- รวมหมายเหตุท้ายคำพิพากษาฎีกา กฎหมายลักษณะครอบครัวรวบรวมโดยไพโรจน์ กัมพูสิริ
- หลักกฎหมายแพ่งลักษณะหนี้ แต่งโดย จี๊ด เศรษฐบุตร แก้ไขเพิ่มเติมโดยจิตติ ติงศภัทิย์ และดาราพร ถิระวัฒน์
- ความรู้เบื้องต้นแห่งกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยยืม ฝากทรัพย์ แก้ไขเพิ่มเติมโดยจิตติ ติงศภัทิย์
- คำอธิบายประมวลกฎหมายอาญา ภาค 1
- คำอธิบายประมวลกฎหมายอาญา ภาค 2 ตอนที่ 1
- คำอธิบายประมวลกฎหมายอาญา ภาค 2 ตอนที่ 2 และภาค 3
- แนวคำบรรยายอาชญาวิทยาและทัณฑวิทยา ร่วมกับไชยเจริญ สันติศิริ
- หลักวิชาชีพนักกฎหมาย
- Credit and Security in Thailand : the Legal Problems of Development Finance, St.Lucia, New York. University of Queensland Press, 1974
ตำรากฎหมายดังกล่าวของศาสตราจารย์จิตติ ติงศภัทิย์ ยังคงใช้เป็นตำรามาตรฐานทางด้านกฎหมาย และได้รับการอ้างอิงเรื่อยมาในปัจจุบัน[4] โดยเฉพาะตำรากฎหมายแพ่งและพาณิชย์[5]และคำอธิบายประมวลกฎหมายอาญา ทั้งสามภาค[6]
ทัศนคติในเชิงคุณธรรม
ศาสตราจารย์จิตติ ติงศภัทิย์ ได้เคยกล่าววลีอมตะไว้ว่า “ นักกฎหมายต้องมีความบริสุทธิ์ และมี ความยุติธรรมเป็นเป้าหมาย” ท่านเป็นผู้ริเริ่มการเรียนการสอนวิชาหลักวิชาชีพนักกฎหมาย ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และในเรื่องการใช้หลักรัฐศาสตร์หรือนิติศาสตร์ในการปกครองบ้านเมืองและตัดสินคดีนั้น โดยท่านได้เคยกล่าวไว้ว่า “ก่อนที่จะออกกฎหมายผู้ตรากฎหมายต้องดูข้อ เท็จจริงแวดล้อมของสังคมซึ่งก็ต้องใช้หลักรัฐศาสตร์ในการพิจารณาเพื่อให้ กฎหมายเป็นกลไกที่มีประสิทธิภาพสามารถแก้ปัญหาของสังคมได้ แต่เมื่อกฎหมายมีผลใช้บังคับแล้วการวินิจฉัยตัดสินคดีก็ต้องใช้กฎหมายคือ ใช้หลักนิติศาสตร์เป็น justice under law จะมาใช้หลักรัฐศาสตร์ในการตัดสินคดีไม่ได้”[7]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
อ้างอิง
- ↑ นิติสโมสร
- ↑ "พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2014-07-08.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งองคมนตรี (นายจิตติ ติงศภัทิย์ หม่อมหลวงอัศนี ปราโมช)
- ↑ "เกียรติคุณประกาศ นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-31. สืบค้นเมื่อ 2007-07-16.
- ↑ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร เก็บถาวร 2007-12-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน์
- ↑ "เนติบัณฑิตยสภา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-10. สืบค้นเมื่อ 2007-07-16.
- ↑ "สำนักพิมพ์วิญญูชน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-09. สืบค้นเมื่อ 2007-07-16.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-12-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๕๙ ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๕ พฤษภาคม ๒๕๓๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๒ ตอนที่ ๒๖๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๖, ๒๖ ธันวาคม ๒๕๑๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๒ ตอนที่ ๑๑๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๕, ๒๓ ธันวาคม ๒๕๐๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ให้แก่ผู้วายชนม์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๖, ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา เก็บถาวร 2022-05-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๑ ตอนที่ ๔๙ ง หน้า ๗๐๐, ๑๙ มีนาคม ๒๕๑๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน เก็บถาวร 2022-12-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๔๑ ง หน้า ๒๔๗๒, ๓ สิงหาคม ๒๔๘๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๑ ตอนที่ ๘๗ ง หน้า ๓๒๘, ๒๙ ธันวาคม ๒๔๙๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๑๖๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๒๐ กันยายน ๒๕๓๔
แหล่งข้อมูลอื่น
|
---|
ประธาน | | |
---|
รองประธานคนที่ 1 | |
---|
รองประธานคนที่ 2 | |
---|
(ในวงเล็บ) หมายถึง สมัยดำรงตำแหน่งของบุคคลนั้น (กรณีมากกว่า 1 สมัย) |
|
---|
สาขาสหวิทยาการ | |
---|
สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ และคณิตศาสตร์ | |
---|
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ | |
---|
สาขาวิทยาศาสตร์เคมี และเภสัช | |
---|
สาขาเกษตรศาสตร์ และชีววิทยา | |
---|
สาขาวิศวกรรมศาสตร์ และอุตสาหกรรมวิจัย | |
---|
สาขาปรัชญา | |
---|
สาขารัฐศาสตร์และ รัฐประศาสนศาสตร์ | |
---|
สาขาเศรษฐศาสตร์ | |
---|
สาขานิติศาสตร์ | |
---|
สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ และนิเทศศาสตร์ | |
---|
สาขาสังคมวิทยา | |
---|
สาขาการศึกษา | |
---|