อนันต์ ฉายแสง

อนันต์ ฉายแสง
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
ดำรงตำแหน่ง
15 มีนาคม พ.ศ. 2518 – 8 มกราคม พ.ศ. 2519
นายกรัฐมนตรีหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ดำรงตำแหน่ง
8 มกราคม – 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2519
นายกรัฐมนตรีหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
ดำรงตำแหน่ง
15 มกราคม – 5 สิงหาคม พ.ศ. 2529
นายกรัฐมนตรีเปรม ติณสูลานนท์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด20 มกราคม พ.ศ. 2471
อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา
เสียชีวิต23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 (95 ปี)
อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา
คู่สมรสนางเฉลียว ฉายแสง

อนันต์ ฉายแสง (20 มกราคม พ.ศ. 2471 – 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และกระทรวงสาธารณสุข อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดฉะเชิงเทรา 4 สมัย

ประวัติ

อนันต์ ฉายแสง เกิดเมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2471 (นับแบบใหม่) เป็นบุตรของนายสุข กับนางแฟ้ง ฉายแสง [1] สมรสกับนางเฉลียว ฉายแสง มีบุตร-ธิดา 4 คน คือ นายจาตุรนต์ ฉายแสง นายกลยุทธ ฉายแสง นายวุฒิพงศ์ ฉายแสง และ นางฐิติมา ฉายแสง

อนันต์ ฉายแสง ถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 สิริอายุรวม 95 ปี[2]วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2567 ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีเป็นประธานในพิธีพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุวัดเทพนิมิตร ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา มีผู้เข้าร่วมพิธีอาทิ สมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี อุทัย พิมพ์ใจชน อดีตประธานรัฐสภา

งานการเมือง

ดาบตำรวจ อนันต์ เคยเป็นข้าราชการตำรวจมาก่อน โดยเป็นตำรวจชั้นประทวนก่อนที่จะเข้าสู่วงการการเมืองด้วยการเป็นสมาชิกสภาเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา เมื่อปี พ.ศ. 2501 และเป็นเทศมนตรี เมื่อปี พ.ศ. 2502 ถึง พ.ศ. 2510 [3]

ต่อมาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดฉะเชิงเทรา ครั้งแรก ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2512 และได้รับเลือกเรื่อยมา จนถึง พ.ศ. 2544 รวม 4 สมัย [4] เขาเคยเป็นรองเลขาธิการพรรคสันติชน ในปี พ.ศ. 2517[5] และเป็นรองหัวหน้าพรรคประชาชน ในปี พ.ศ. 2531[6]

อนันต์ ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เมื่อ พ.ศ. 2518 ในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช (ครม.36)[7] ต่อมาถูกปรับไปดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข[8] และเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เมื่อ พ.ศ. 2528 ในรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ (ครม.43) [9]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

อนันต์ ฉายแสง ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 4 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2512 จังหวัดฉะเชิงเทรา สังกัดพรรคอิสระ
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2518 จังหวัดฉะเชิงเทรา สังกัดพรรคสันติชน
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 จังหวัดฉะเชิงเทรา สังกัดพรรคก้าวหน้า (พ.ศ. 2526)
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดฉะเชิงเทรา สังกัดพรรคไทยรักไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย] กรมการปกครอง
  2. สิ้น ‘อนันต์ ฉายแสง’ บิดาจาตุรนต์ อดีตรัฐมนตรี-นักการเมืองดังแปดริ้ว
  3. นักการเมืองถิ่นจังหวัดฉะเชิงเทรา. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ศรุดา สมพอง สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า. 2550
  4. ศูนย์ข้อมูลนักการเมือง
  5. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจดทะเบียนพรรคการเมือง เก็บถาวร 2011-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 92 ตอน 193 ง พิเศษ หน้า 1 18 กันยายน พ.ศ. 2518
  6. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พรรคประชาชนเปลี่ยนแปลงชื่อพรรค ภาพเครื่องหมายพรรค และคณะกรรมการบริหารพรรค
  7. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๖ ราย)
  8. พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง และรัฐมนตรีลาออก (๑. นายทวิช กลิ่นประทุม ๒. นายบุญส่ง สมใจ ๓. นายอนันต์ ฉายแสง)
  9. พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออก ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง และตั้งรัฐมนตรี (นายอบ วสุรัตน์ นายประโยชน์ เนื่องจำนงค์ ลาออก นายจิรายุ อิศรางกูร ฯ พ้นจากตำแหน่งและตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ตั้งนายอนันต์ ฉายแสง นายมีชัย วีระไวทยะ)
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๑, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๑
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๑๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๒๗ มกราคม ๒๕๒๙

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!