ปรีชา เลาหพงศ์ชนะ

ปรีชา เลาหพงศ์ชนะ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
ดำรงตำแหน่ง
5 ตุลาคม พ.ศ. 2541 – 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2542
นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
ดำรงตำแหน่ง
2 สิงหาคม พ.ศ. 2548 – 19 กันยายน พ.ศ. 2549
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ดำรงตำแหน่ง
11 มีนาคม พ.ศ. 2548 – 2 สิงหาคม พ.ศ. 2548
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด15 มกราคม พ.ศ. 2497 (70 ปี)
เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร
พรรคการเมืองชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน

ปรีชา เลาหพงศ์ชนะ ประธานกรรมการ บริษัท กรุงไทย แลนด์ ดีวีลอปเมนท์ จำกัด อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม แกนนำกลุ่มวังพญานาค ร่วมกับนายพินิจ จารุสมบัติ อดีตกรรมการบริหารพรรคสามัคคีธรรม[1] และเป็นหนึ่งในคณะกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย และภายหลังได้ย้ายเข้าสังกัดพรรคเพื่อแผ่นดิน

ประวัติ

นายปรีชา เลาหพงศ์ชนะ เกิดเมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2497 ที่จังหวัดพระนคร สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และปริญญาโท จากคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[2]

นายปรีชา เลาหพงศ์ชนะ มีพี่สามคนได้แก่ นาย วิบูลย์ เลาหพงศ์ชนะ อดีตที่ปรึกษารองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่สอง[3] นาย วิโรจน์ เลาหพงศ์ชนะ กรรมการบริษัท กรุงไทย แทรคเตอร์ จำกัด และนางปัทมา ถนอมพงษ์พันธุ์

นาย ปรีชา เลาหพงศ์ชนะ มีบุตรสาวหนึ่งคนได้แก่ นางสาว ชวพร เลาหพงศ์ชนะ อดีตผู้ถือหุ้นรายใหญ่ บริษัท อุบล ไบโอ เอทานอล จำกัด (มหาชน)[4]และกรรมการ บริษัท ทริปเปิลพี แอสเชท จำกัด และ บุตรชายหนึ่งคน นาย ศิวะศิษฐ์ เลาหพงศ์ชนะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท รียูซิท์ (ประเทศไทย)

และมีญาติเป็นนักการเมืองได้แก่ นายสมบัติ เลาหพงศ์ชนะ ที่ปรึกษารองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 นายธกร เลาหพงศ์ชนะ ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปฏิบัติหน้าที่เลขานุการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง นายนิกร เลาหพงศ์ชนะ อดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม นางพิชชารัตน์ เลาหพงศ์ชนะ รองประธานกรรมการคนที่ห้าใน คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรไทย (รัฐบาล แพทองธาร ชินวัตร)

การทำงาน

นายปรีชา เลาหพงศ์ชนะ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดอุบลราชธานี ในปี พ.ศ. 2529 สังกัดพรรคกิจสังคม ต่อมาได้ย้ายมาสังกัดพรรคสามัคคีธรรม ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2535 และย้ายมาอยู่พรรคชาติพัฒนา ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2538 จนกระทั่งได้ย้ายมาลงสมัครในแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคไทยรักไทย ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544

นายปรีชา เลาหพงศ์ชนะ เคยดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในปี พ.ศ. 2535 ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ปี พ.ศ. 2537[5] และเป็นรัฐมนตรีครั้งแรกในปี พ.ศ. 2540 ในตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม[6] (2 สมัย) กระทั่งในรัฐบาลของพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร จึงได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ[7] และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์

หลังถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง

ในปี พ.ศ. 2550 ได้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549[8] จึงได้นำสมาชิกในกลุ่มวังพญานาค ย้ายไปสังกัดพรรคเพื่อแผ่นดิน โดยได้รับตำแหน่งที่ปรึกษาหัวหน้าพรรค ต่อมาได้แถลงลาออกจากตำแหน่งที่ปรึกษาและตำแหน่งในคณะกรรมการนโยบายและยุทธศาสตร์ของพรรคเพื่อแผ่นดิน โดยมีเหตุผลว่า เพื่อสร้างบรรยากาศแห่งความสมานฉันท์ และความเรียบร้อยในการแก้ไขปัญหาของประเทศชาติ และเพื่อให้เป็นไปตามข้อหารือของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ซึ่งการแถลงลาออกครั้งนี้ได้กระทำพร้อมกับ นายพินิจ จารุสมบัติ, นายสุชาติ ตันเจริญ, นางลลิตา ฤกษ์สำราญ, นายเอกภาพ พลซื่อ และนายสมศักดิ์ คุณเงิน[9]

ในการจัดตั้งของรัฐบาลซึ่งนำโดยพรรคประชาธิปัตย์ ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2551 นายปรีชา เลาหพงศ์ชนะ เป็นบุคคลหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการนำสมาชิกในกลุ่มให้การสนับสนุนนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี และเป็นหนึ่งในสามบุคคลที่มีบทบาทสำคัญ ในนาม "3พี" (ไพโรจน์ สุวรรณฉวี พินิจ จารุสมบัติ และปรีชา เลาหพงศ์ชนะ)[10] ต่อมาในปี พ.ศ. 2554 ได้เข้าร่วมงานการเมืองกับกลุ่มของนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ ในนามพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน

ปัจจุบัน หันไปทำงานด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และวางมือทางการเมือง[11]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจดทะเบียนพรรคการเมือง (พรรคสามัคคีธรรม)ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 109 ตอนที่ 6ก วันที่ 24 มกราคม 2535
  2. "ประวัติผู้สมัคร ส.ส." คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-07. สืบค้นเมื่อ 2010-08-25. {{cite web}}: ระบุ |accessdate= และ |access-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  3. ประกาศสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองขอลาออกจากตำแหน่ง (นายวิบูลย์ เลาหพงศ์ชนะ)
  4. รายชื่อผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ปี 2561 บริษัท อุบล ไบโอ เอทานอล จำกัด (มหาชน)
  5. คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๕๓/๒๕๓๗ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (จำนวน ๑๖ ราย)
  6. "พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี และแต่งตั้งรัฐมนตรี" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-10-25. สืบค้นเมื่อ 2013-06-25. {{cite web}}: ระบุ |accessdate= และ |access-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  7. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี
  8. "เปิดรายชื่อ ทั้ง 111 กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นระยะเวลา 5 ปี !!!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2011-06-02. {{cite web}}: ระบุ |accessdate= และ |access-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  9. ""พินิจ-ปรีชา" แถลงลาออกที่ปรึกษาเพื่อแผ่นดิน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-07. สืบค้นเมื่อ 2010-08-25.
  10. อนาคต “ 3 พี” ... สลาย “พผ.” เข้าร่วมรัฐบาล !!![ลิงก์เสีย]
  11. “ปรีชา เลาหพงศ์ชนะ”จากนักการเมืองสู่ดีเวลลอปเปอร์
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๑, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๒
  13. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๖, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๑

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!