พรรคไทยรักไทย (ย่อ : ทรท. อังกฤษ : Thai Rak Thai Party ) เป็นพรรคการเมืองไทยที่ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2541 ในช่วงเวลาสั้น ๆ พรรคไทยรักไทยชนะการเลือกตั้งทั่วไปสามครั้ง 8 เดือนหลังการรัฐประหาร ทำให้ทักษิณต้องลี้ภัย พรรคถูกยุบเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 โดยคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ เนื่องจากละเมิดกฎหมายเลือกตั้ง โดยกรรมการบริหารพรรคจำนวน 111 คน ถูกห้ามยุ่งเกี่ยวกับการเมืองเป็นเวลา 5 ปี[ 12] หลังจากพรรคไทยรักไทยถูกยุบ ทักษิณ ชินวัตร ได้มีบทบาทในการก่อตั้งพรรคพลังประชาชน และต่อมาพรรคพลังประชาชนถูกยุบอีก พรรคเพื่อไทย จึงมีบทบาททางการเมืองแทนพรรคไทยรักไทย
รายชื่อนายกรัฐมนตรี
ประวัติ
พรรคไทยรักไทยจดทะเบียนเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 โดย ทักษิณ ชินวัตร นักธุรกิจโทรคมนาคม พร้อมผู้ร่วมก่อตั้งอีก 22 คนอาทิ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ , ทนง พิทยะ , สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ , ร้อยตำรวจเอกปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ , พลเอกธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา และนายแพทย์พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช
พรรคไทยรักไทยใช้วิธีดึงตัวนักการเมืองหน้าเก่าจากพรรคต่างๆ เข้าร่วม จนทำให้พรรคไทยรักไทยกลายสภาพเป็นพรรคการเมืองขนาดใหญ่ในเวลาเพียงครึ่งปี โดยมี สส. เก่าอยู่แล้วประมาณ 130 คน ซึ่งสามารถแบ่งเป็นกลุ่มการเมืองได้ ไม่ว่าจะเป็น กลุ่มพลังธรรม – พลังไทย, กลุ่มวังน้ำเย็น, กลุ่มพรรคความหวังใหม่, กลุ่มพรรคชาติพัฒนา, กลุ่มพรรคชาติไทย, กลุ่มพรรคกิจสังคม, และกลุ่มพรรคประชาธิปัตย์ เป็นต้น[ 13]
พรรคไทยรักไทยมีนโยบายประชานิยม ดึงดูดเกษตรกรที่เป็นหนี้ซึ่งเป็นผลมาจากวิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 โดยสัญญาว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง พรรคยังเข้าถึงหมู่บ้านในชนบทและธุรกิจที่กำลังดิ้นรน นโยบายของพรรคไทยรักไทย ได้แก่ โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค ขยายเวลาการพักชำระหนี้สำหรับเกษตรกร กองทุนหมู่บ้าน และโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ รวมไปถึงการประกาศสงครามกับสิ่งชั่วร้าย 3 ประการ ได้แก่ สงครามความยากจน สงครามยาเสพติดและสงครามคอร์รัปชั่น
อย่างไรก็ตาม เขาละเลยพื้นที่ชนบทบางแห่งและจังหวัดทางภาคใต้ เนื่องจากทักษิณระบุว่าเขาไม่มีเหตุผลที่จะต้องทำอะไรให้กับพื้นที่ที่ไม่ได้ลงคะแนนเสียงให้เขา
ผู้ร่วมก่อตั้งพรรคไทยรักไทย
บุคลากรในพรรค
หัวหน้าพรรค
ลำดับ
รูป
รายนาม
เริ่มวาระ
สิ้นสุดวาระ
ตำแหน่งสำคัญ
1
ทักษิณ ชินวัตร (26 กรกฎาคม พ.ศ. 2492 — ปัจจุบัน)
14 กรกฎาคม พ.ศ. 2541
2 ตุลาคม พ.ศ. 2549
–
จาตุรนต์ ฉายแสง (รักษาการ) (1 มกราคม พ.ศ. 2499 — ปัจจุบัน)
2 ตุลาคม พ.ศ. 2549
30 พฤษภาคม พ.ศ. 2550
เลขาธิการพรรค
กรรมการบริหารพรรค
ชุดที่ขอจดทะเบียนพรรคการเมือง
ชุดเดิม 119 คน
ชุดก่อนการยุบพรรค
กลุ่มย่อยในพรรค
บทบาททางการเมือง
พรรคไทยรักไทยมีบทบาททางการเมืองครั้งแรก เริ่มจากการเลือกตั้งซ่อมสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ชุดที่ 8 ภายหลังที่ วิชาญ มีนชัยนันท์ , วิไล สมพันธุ์ , และ ณัฏฐพล กรรณสูต ลาออกจากตำแหน่งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ซึ่งผู้สมัครจากพรรคไทยรักไทยได้รับเลือกตั้งทั้งหมด (วิรัตน์ มีนชัยนันท์ , พลภูมิ วิภัติภูมิประเทศ , และ ศิริพงษ์ ลิมปิชัย )[ 17]
ใน การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2543 พรรคไทยรักไทยได้ส่ง สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ลงสมัครรับเลือกตั้งตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร[ 18] โดยสุดารัตน์ได้คะแนนรวมทั้งสิ้น 521,184 คะแนน ซึ่งเป็นลำดับที่สอง พ่ายแพ้ให้กับ สมัคร สุนทรเวช ซึ่งมีคะแนนเสียงมากกว่าเกือบสองเท่า (1,016,096 คะแนน)
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 พรรคไทยรักไทยชนะเหนือพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งนำโดยชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นอย่างถล่มทลาย ส.ส.ที่ได้รับการเลือกตั้งทั้งสิ้น 248 คน คิดเป็นร้อยละ 49.6 หลังรับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ทักษิณประกาศคำมั่นสัญญาไว้ว่า “ผมจะไม่ยอมทำหน้าที่เป็นเพียงผู้นำตามกฎหมายเท่านั้น ผมจะขอเป็นผู้นำที่นำการเปลี่ยนแปลงมาสู่ประเทศไทย เพื่อประเทศไทยที่ดีขึ้น พี่น้องที่เคารพครับ ผมจะขอทำหน้าที่เป็นรัฐบาลที่ไม่รู้จักคำว่าเหน็ดเหนื่อย เป็นรัฐบาลที่จะทุ่มเททำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต”[ 19]
โดยความสำเร็จของการชนะเลือกตั้งในครั้งนั้น สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี ได้อธิบายไว้ว่า เกิดจากมีปัจจัย 3 ประการที่ทำให้พรรคไทยรักไทยชนะ กล่าวคือ[ 20]
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 สร้างระบบ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 100 คนขึ้นมา เพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งของระบบพรรคเป็นครั้งแรก และยังแบ่งเขตเลือกตั้งแบบเขตเดียวเบอร์เดียว เขตที่เล็กลง ทำให้ผู้สมัคร สส. หาเสียงแบบเข้าถึงประชาชนได้ทั่วถึงมากขึ้น ทุกพรรคการเมืองใช้เพียงเบอร์เดียวในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งทั้งประเทศ ทำให้ง่ายต่อการจดจำของประชาชนผู้มาเลือกตั้ง และการเกิดขึ้นของคณะกรรมการการเลือกตั้ง เป็นครั้งแรก เป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมของรัฐธรรมนูญฉบับนี้
พรรคไทยรักไทยใช้การบริหารจัดการองค์กรสมัยใหม่ในการวางแผนเลือกตั้ง และส่งเสริมให้คนรุ่นใหม่อายุ 30-40 ปีเข้ามาทำงานการเมือง โดยมีชื่อเล่นว่า “นกแล” ซึ่งเดินหาเสียงอย่างไม่รู้เหน็ดเหนื่อย
สส.ที่พรรคไทยรักไทยได้รับเลือกตั้งมาจำนวน 248 คน พบว่า เป็น สส.เก่าจาก การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 เพียง 93 คนเท่านั้น ที่เหลืออีก 155 คน บางคนเป็นอดีต สส.ที่ไม่ได้รับเลือกตั้งในปีนั้น แต่ส่วนใหญ่คือ “นกแล” ที่มีพลังสร้างสรรค์
ภายหลังจัดตั้งรัฐบาลสำเร็จ พรรคไทยรักไทยสามารถเจรจารวม พรรคความหวังใหม่ ของพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ , ตามด้วย พรรคเสรีธรรม , และ พรรคชาติพัฒนา เข้ากับพรรคไทยรักไทย และเป็นพันธมิตรกับ พรรคชาติไทย [ 21]
และในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 พรรคไทยรักไทยก็ยังคงครองตำแหน่งพรรคอันดับหนึ่ง และเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ประเทศไทยที่สามารถจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้ ด้วยคะแนนเสียงมากถึง 377 เสียง
การเลือกตั้ง
ผลการเลือกตั้งทั่วไป
การเลือกตั้ง
จำนวนที่นั่ง
คะแนนเสียงทั้งหมด
สัดส่วนคะแนนเสียง
ผลการเลือกตั้ง
สถานภาพพรรค
ผู้นำเลือกตั้ง
2544
11,634,495
49.6%
248 ที่นั่ง
แกนนำจัดตั้งรัฐบาล
ทักษิณ ชินวัตร
2548
18,993,073
61.17%
122 ที่นั่ง
2549
16,420,755
56.45%
83 ที่นั่ง
การเลือกตั้งเป็นโมฆะ
การเลือกตั้ง
จำนวนที่นั่ง
คะแนนเสียงทั้งหมด
สัดส่วนคะแนนเสียง
ที่นั่งเปลี่ยน
หมายเหตุ
2545 [ 22]
23 ที่นั่ง
2549 [ 23]
4 ที่นั่ง
ยุบพรรค
ในการเลือกตั้งทั่วไป เมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549 พรรคไทยรักไทย ได้คะแนนในระบบบัญชีรายชื่อถึง 18,993,073 เสียง แต่ถูกกล่าวหาว่าจ้างพรรคการเมืองขนาดเล็กลงเลือกตั้ง โดยอ้างว่าพรรคต้องการหลีกเลี่ยงกฎร้อยละ 20 คณะกรรมการการเลือกตั้งจึงตั้งอนุกรรมการมาสอบ ซึ่งผลปรากฏว่ามีมูลทำให้พรรคไทยรักไทยอาจถูกยุบพรรคได้ และกำลังอยู่ในระหว่างการส่งศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรค
หลังการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 ไม่นาน ดร.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งขณะนั้นพำนักอยู่ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ได้ตัดสินใจลาออกจากหัวหน้าพรรค โดยส่งจดหมายซึ่งเขียนด้วยลายมือ โดยได้ชี้แจงสาเหตุถึงการลาออก และขอบคุณสมาชิกพรรคและผู้ให้การสนับสนุน[ 24]
หลังจากที่หัวหน้าพรรคลาออกไม่นาน ความเคลื่อนไหวของสมาชิกพรรค โดยเฉพาะผู้บริหารพรรค ต่างก็ตัดสินใจลาออกจากกรรมการบริหารพรรคและสมาชิกพรรคทันที มีการฟ้องร้องยุบพรรคไทยรักไทย มีการตรวจสอบเรื่องการทุจริต ซึ่งอาจมีผลทำให้กรรมการบริหารพรรคต้องเว้นวรรคทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี
ในวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 ตุลาการรัฐธรรมนูญ ตัดสินให้ยุบพรรคไทยรักไทย พร้อมเพิกถอนสิทธิการเมืองกรรมการบริหารพรรคจำนวน 111 คน เป็นจำนวน 5 ปี เหตุที่เพิกถอนสิทธิเพียง 111 คนใน 119 คน เนื่องจากใน 8 คนที่เหลือมีการลาออกหรือสิ้นสภาพกรรมการฯ ก่อนการกระทำผิด ได้แก่ เปรมศักดิ์ เพียยุระ , นายเสนาะ เทียนทอง , นายฐานิสร์ เทียนทอง , นายลิขิต ธีรเวคิน , นายสฤต สันติเมทนีดล , นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ , นายกร ทัพพะรังสี และนางกอบกุล นพอมรบดี อดีต ส.ส.ราชบุรี ที่ถูกยิงเสียชีวิต[ 25] [ 26]
ภายหลังการยุบพรรค สมาชิกพรรคที่เหลือรวมตัวกันเป็นกลุ่มไทยรักไทย โดยมีแกนนำอย่าง สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี [ 27] และ ปองพล อดิเรกสาร [ 28] เป็นต้น
28 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 ที่ประชุมกลุ่มไทยรักไทย มีมติให้สมาชิกย้ายไปสังกัดอยู่กับพรรคพลังประชาชน ซึ่งเป็นพรรคการเมืองขนาดเล็ก เนื่องจากเกรงว่ารัฐบาลจะหยิบยก รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาใช้ หากร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ไม่ผ่านการลงประชามติ ซึ่งจะส่งผลกระทบกับกลุ่มไทยรักไทยให้ไม่สามารถส่งผู้สมัครลงเลือกตั้งได้ จากข้อกำหนดที่ให้ผู้สมัครต้องสังกัดพรรคการเมืองครบ 90 วัน[ 29]
การแยกไปตั้งพรรค
พรรคไทยรักไทยเคยมีสมาชิกพรรคที่ลาออกไปตั้งพรรคการเมืองใหม่ หรือย้ายไปเป็นกรรมการบริหารพรรค ทั้งช่วงก่อนการยุบพรรคและหลังการยุบพรรค[ 30] โดยมีดังนี้
พรรคที่จัดตั้งก่อนการยุบพรรค
พรรคที่จัดตั้งหลังการยุบพรรค
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
↑ Atchara Pantranuwong (2008). "มายาคติและอุดมการณ์ในโฆษณาหาเสียงเลือกตั้งของพรรคไทยรักไทยในการเลือกตั้งทั่วไปวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 : การวิเคราะห์ด้วยวิธีสัญวิทยา" [Myths and ideology in Thai Rak Thai Party's February 6, 2005 general election advertisements: a semiotic analysis]. Thammasat University.
↑ Markou, Grigoris; Lasote, Phanuwat (June 26, 2015). "Populism in Asia: The case of Thaksin in Thailand" – โดยทาง ResearchGate.
↑ Forum, East Asia (September 12, 2011). "Thailand's populism has come close to its limit" . Thailand Business News . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2018-09-29. สืบค้นเมื่อ 2021-12-11 .
↑ Hicken, Allen (December 12, 2006). "Party Fabrication: Constitutional Reform and the Rise of Thai Rak Thai". Journal of East Asian Studies . 6 (3): 381–407. doi :10.1017/S159824080000463X . ISSN 1598-2408 . S2CID 9030903 .
↑ Monaghan, Dermot (November 12, 2019). "Democracy in Thailand under Thai Rak Thai government" – โดยทาง ResearchGate.
↑ Phongpaichit, Pasuk; Baker, Chris (2009). Thaksin (Second ed.). Silkworm Books. pp. 115 -123.
↑ Jayasuriya, Kanishka; Hewison, Kevin (2004). "The Antipolitics of Good Governance From Global Social Policy to a Global Populism?" (PDF) . Critical Asian Studies . 36 (4): 575.
↑ Ockey, James (July–August 2003). "Change and Continuity in the Thai Political Party System" . Asian Survey . 43 (4): 673. {{cite journal }}
: CS1 maint: date format (ลิงก์ )
↑ Hassarungsee, Ranee; Tulaphan, Poonsap S.; Kardkarnklai, Yuwadee. "Unsound government policies, successful grassroots solutions" . Social Watch . สืบค้นเมื่อ July 29, 2021 .
↑ Chaloemtiarana, Thak (2007). "Distinctions with a Difference: The Despotic Paternalism of Sarit Thanarat and the Demagogic Authoritarianism of Thaksin Shinawatra" . Crossroads: An Interdisciplinary Journal of Southeast Asian Studies . 19 : 82–83.
↑ Hawkins, Kirk; Selway, Joel (2017). "Thaksin the Populist?" . Chinese Political Science Review . 2 : 387–390.
↑ "The Constitutional Tribunal disbands Thai Rak Thai" . The Nation (Thailand) . พฤษภาคม 30, 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ มีนาคม 3, 2016. สืบค้นเมื่อ พฤษภาคม 21, 2016 .
↑ "9 ปีบนเส้นทางการเมืองของ 'ไทยรักไทย' " . mgronline.com . 2007-05-29.
↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง รับจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมือง พรรคไทยรักไทย
↑ "หญิงหน่อย ย้อนรำลึก 25 ปีแห่งชัยชนะเลือกตั้งท้องถิ่น 'พลังไทย' ก่อนก้าวสู่ 'ไทยรักไทย' " . matichon.co.th .
↑ "ย้อนดู 'กลุ่มวังบัวบาน' อดีตผู้ยิ่งใหญ่ในไทยรักไทย" . matichon.co.th .
↑ "สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ชุดที่ ๘ (๒๖ เมษายน ๒๕๔๑ - ๒๕ เมษายน ๒๕๔๕)" . BMC .
↑ "ย้อนรอยเลือกตั้ง "มหา 5 ขัน" เขย่ากรุง "สมัคร" ฝ่าด่านทะลุล้านเสียง" . www.thairath.co.th . 2022-05-22.
↑ "9 กุมภาพันธ์ 2544 - ทักษิณ ชินวัตร ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีสมัยแรก" . THE STANDARD . 2022-02-09.
↑ "ปรากฏการณ์ "รัฐบาลพรรคเดียว" ไทยรักไทย ทำไมชนะถล่มทลาย14 ปีก่อน" . www.thairath.co.th . 2019-03-14.
↑ Crampton, Thomas (2001-01-09). "Markets and Currency Rise on Strong Showing by New Party: Election Results Lift Thai Spirits" . The New York Times . ISSN 0362-4331 . สืบค้นเมื่อ 2016-05-21 .
↑ "สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ชุดที่ ๙ (๑๖ มิถุนายน ๒๕๔๕ – ๑๕ มิถุนายน ๒๕๔๙)" . bmc.go.th .
↑ "สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ชุดที่ ๑๐ (๒๓ กรกฎาคม ๒๕๔๙ – ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๓)" . bmc.go.th .
↑ "สาส์นจากลอนดอน "ทักษิณ"ประกาศลาออกจากหัวหน้าพรรคทรท" . prachatai.com .
↑ ทรท.ตายยกเข่ง! สั่งยุบพรรค-ตัดสิทธิ กก.บห.5 ปี 111 คน เก็บถาวร 2007-07-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 30 พฤษภาคม 2550
↑ สั่งยุบพรรคไทยรักไทย ตัดสิทธิ์ กก.บริหารพรรค 111 คน เก็บถาวร 2007-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 30 พฤษภาคม 2550
↑ "หมอเลี้ยบรับทาบ"จิ๋ว-สมัคร"เป็นหน.พรรคพลังประชาชน" . ryt9.com .
↑ " "ปองพล"สงสัยมีคนปล่อยข่าว"บุญคลี"เป็นหัวหน้าพรรคใหม่หวังให้ตกเป็นเป้า" . ryt9.com .
↑ "ปชป.แนะจับตาทรท.ย้ายซบพลังประชาชน แค่เอาตัวรอดไม่มุ่งประโยชน์ประชาชน" . ryt9.com .
↑ "การเมือง การมุ้ง ย้อนรอยมุ้งใหญ่ "ไทยรักไทย" หรือจะมีงานรียูเนียน?" . workpointTODAY .
↑ " "นพดล" ย้ายเข้าสังกัดพรรคพลังประชาชน แย้มอาจลงสมัคร" . ryt9.com .
แหล่งข้อมูลอื่น
แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ พรรคไทยรักไทย ถนนเพชรบุรีตัดใหม่
13°44′51″N 100°34′06″E / 13.747504°N 100.568268°E / 13.747504; 100.568268
หัวหน้าพรรค เลขาธิการพรรค โฆษกพรรค นโยบายพรรค หัวข้อที่เกี่ยวข้อง