พรรคเพื่อแผ่นดิน

พรรคเพื่อแผ่นดิน
หัวหน้าไตรเทพ รัตนาจารย์ (รองหัวหน้าพรรค) (รักษาการ)
รองหัวหน้า
  • ไตรเทพ รัตนาจารย์
เลขาธิการยศพนต์ สุธรรม
เหรัญญิกมาโนชญ์ เชื้อชาติ
นายทะเบียนสมาชิกกฤตธี จันทร์สง่า
โฆษกไตรเทพ รัตนาจารย์
กรรมการบริหาร
  • ณรง ชุมพล
คำขวัญสร้างชาติ ธำรงศาสน์ เทิดราชบัลลังก์ (2550-2563)
คุณธรรมสร้างคน ประชาชนสร้างชาติ (2563 - 2566)
ก่อตั้ง2 ตุลาคม พ.ศ. 2550
(ข้อผิดพลาด: แม่แบบ:อายุปีและวัน รองรับเฉพาะปีพุทธศักราช หากใช้เป็นคริสต์ศักราช กรุณาใช้ แม่แบบ:Age in years and days)
ถูกยุบ13 มีนาคม พ.ศ. 2566
(ข้อผิดพลาด: แม่แบบ:อายุปีและวัน รองรับเฉพาะปีพุทธศักราช หากใช้เป็นคริสต์ศักราช กรุณาใช้ แม่แบบ:Age in years and days)
(15 ปี 162 วัน)
แยกจากพรรคไทยรักไทย
ที่ทำการ7/1 หมู่ 14 ตำบลโนน อำเภอโนนนารายณ์ จังหวัดสุรินทร์ 32130
สมาชิกภาพ  (ปี 2566)6,427 คน[1]
เว็บไซต์
http://www.ppdth.com/
การเมืองไทย
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง
ตราสัญลักษณ์เดิมของพรรคเพื่อแผ่นดินในปี พ.ศ. 2550 – 2563 แต่ก่อนสี้นสภาพพรรคเพื่อแผ่นดินก่อนการเลือกตั้ง ปี 2566

พรรคเพื่อแผ่นดิน เป็นพรรคการเมืองไทยซึ่งก่อตั้งในกลางปี พ.ศ. 2550 มีสุวิทย์ คุณกิตติ เป็นหัวหน้าพรรคคนแรก เป็นพรรคการเมืองที่เคยได้รับเลือกตั้งมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสภาผู้แทนราษฎร 1 สมัย

ประวัติ

ยุคก่อตั้ง

ในช่วงก่อตั้ง นายสุวิทย์ คุณกิตติ เป็นหัวหน้าพรรคคนแรก ยุทธศาสตร์หาเสียงของพรรคคือ "นำรอยยิ้มกลับสู่สังคมไทย" มีอดีต ส.ส.ภาคอีสานเป็นสมาชิก เช่น กลุ่มของพินิจ จารุสมบัติ ปรีชา เลาหพงศ์ชนะ วัฒนา อัศวเหม โสภณ เพชรสว่าง กลุ่มอดีต ส.ส.กรุงเทพมหานคร ในกลุ่มกรุงเทพ 50 ของสุรนันท์ เวชชาชีวะ รวมทั้งกลุ่มบ้านริมน้ำของสุชาติ ตันเจริญ และกลุ่มทางภาคเหนือของกิ่งกาญจน์ ณ เชียงใหม่ อีกด้วย ในส่วนของกลุ่มบุคคลอื่นที่ไม่ได้เป็นนักการเมืองมาก่อน แต่ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกพรรคด้วยก็ได้แก่ นายสุระ แสนคำ หรือ เขาทราย แกแล็คซี่ อดีตแชมป์โลกชาวไทย [2] และ นาวาอากาศตรีปิยะพงษ์ ผิวอ่อน อดีตนักฟุตบอลทีมชาติไทย เป็นต้น

กรรมการบริหารพรรค (2 ตุลาคม 2550 - 30 ตุลาคม 2551)

ผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญในคณะกรรมการบริหารพรรค ได้แก่

รายนาม ตำแหน่ง
นายสุวิทย์ คุณกิตติ หัวหน้าพรรค
นายจิรายุ วสุรัตน์ รองหัวหน้าพรรค
นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง
นายไชยยศ จิรเมธากร
พลเอก ธงชัย เกื้อสกุล
นายปาน พึ่งสุจริต
นายพฤฒิชัย ดำรงรัตน์
นายมั่น พัธโนทัย
นายศุภรักษ์ ควรหา
นายสิทธิชัย โควสุรัตน์
นายสุรเดช ยะสวัสดิ์
นายกริช กงเพชร
นายพิเชษฐ์ ตันเจริญ
นายแวมาฮาดี แวดาโอะ
นายสาคร สุขศรีวงศ์
นายสานิต ว่องสัธนพงษ์
นายสุรชาติ ชำนาญศิลป์
นายวัชระ พรรณเชษฐ์ เลขาธิการพรรค
นายสันติ สาทิพย์พงษ์ รองเลขาธิการพรรค
นายกัษณ คินิมาน
นางกุสุมาลวตี ศิริโกมุท
นายจีรวงศ์ สนิทวงศ์ชัย
นายนพดล พลซื่อ
นายพูลพล อัศวเหม
นายพิริยะ โตสกุลวงศ์
นายภัทรศักดิ์ โอสถานุเคราะห์
นางมุกดา พงษ์สมบัติ
นายศราวุธ เพชรพนมพร
นายสิทธิชัย จันทร์ธารักษ์
นายอนันต์ แสงวัณณ์
นายวชิระมณฑ์ คุณะเกษมธนาวัฒน์ โฆษกพรรค
นางปรียาภา แสงสุรินทร์ นายทะเบียนสมาชิกพรรค
นางสาวลักษณา การะเกตุ เหรัญญิกพรรค

กรรมการบริหารพรรค (9 ธันวาคม 2551 - 27 มีนาคม 2552)

ชื่อ ตำแหน่ง
พลตำรวจเอก ประชา พรหมนอก [3] หัวหน้าพรรค
พลเอก ธงชัย เกื้อสกุล รองหัวหน้าพรรค
นายสิทธิชัย จันทร์ธารักษ์
นายชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม
นายรณฤทธิชัย คานเขต
นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง ควบตำแหน่งเลขาธิการพรรค
นายไชยยศ จิรเมธากร โฆษกพรรค

การเลือกกรรมการบริหารพรรคชุดดังกล่าวนี้ มีเรื่องวุ่นวายตามมาซึ่งมีสมาชิกพรรคบางส่วนอ้างว่าการที่พลตำรวจเอกประชา ขึ้นเป็นหัวหน้าพรรค ถือเป็นโมฆะ เนื่องจากผิดข้อบังคับพรรค กระทั่งต้องมีการส่งเรื่องให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) พิจารณา โดยพลตำรวจเอกประชายังคงดำรงตำแหน่งเรื่อยมาระหว่างรอผลพิจารณา เรื่องราวได้ลุกลามจนถึงขั้นพยายามลงมติขับพลตำรวจเอกประชาออกจากตำแหน่งในเวลาต่อมา ท้ายสุดผลของการพิจารณาจาก กกต. หลังจากตรวจสอบข้อเท็จจริงเรื่องข้อบังคับต่างๆ มติ กกต.เสียงข้างมากเห็นว่า การประชุมดังกล่าวไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.พรรคการเมืองและข้อบังคับพรรคเพื่อแผ่นดิน จึงทำให้มติการเลือกพลตำรวจเอกประชา พรหมนอกเป็นหัวหน้าพรรค ถือเป็นโมฆะ [4]

กรรมการบริหารพรรค (20 เมษายน 2552 - พ.ศ. 2554)

ชื่อ ตำแหน่ง
นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง หัวหน้าพรรค
ร.ต.หญิงระนองรักษ์ สุวรรณฉวี (ลาออก 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553) รองหัวหน้าพรรค
นายสิทธิชัย โควสุรัตน์ รองหัวหน้าพรรค
นพ.พฤฒิชัย ดำรงรัตน์ (ลาออก 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553)
นายกว้าง รอบคอบ
นายสุรเดช ยะสวัสดิ์
นายนิมุคตาร์ วาบา
นายธีระทัศน์ เตียวเจริญโสภา (ลาออก 24 ก.พ. 2553)
นายไชยยศ จิรเมธากร (ลาออก 4 มี.ค. 2553) เลขาธิการพรรค
นายประนอม โพธิ์คำ (ลาออก 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553) รองเลขาธิการพรรค
นายสมพงษ์ พิศาลกิจวนิช (ลาออก 5 มี.ค. 2553)
นางพรรณี จารุสมบัติ รองเลขาธิการพรรค
นายอดุลย์ นิลเปรม นายทะเบียนสมาชิกพรรค
นายอนุวัฒน์ วิเศษจินดาวัฒน์ เหรัญญิกพรรค (ลาออก 24 ก.พ. 2553)
นายแพทย์อลงกต มณีกาศ โฆษกพรรค

การเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหาร[5][6][7]

ยุค พ.ศ. 2554

ต่อมาในเดือนเมษายน พ.ศ. 2554 ผู้บริหารของพรรครวมชาติพัฒนา และพรรคเพื่อแผ่นดิน ได้ประกาศรวมตัวกันและตั้งพรรคใหม่ขึ้น ชื่อว่า "พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน" โดยสมาชิกของพรรคเพื่อแผ่นดินจำนวนมาก โดยเฉพาะอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้ลาออกจากพรรคเพื่อแผ่นดินและสมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรครวมชาติพัฒนา[8]

กลางเดือนธันวาคม พ.ศ. 2556 กรรมการบริหารพรรคเพื่อแผ่นดินมีมติให้ ศาสตราจารย์ ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี เป็นหัวหน้าพรรค และนำสมาชิกพรรคสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทั้งแบบบัญชีรายชื่อและแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง[9] ในนามพรรคเพื่อแผ่นดิน เบอร์ 53

ยุคหลังการเลือกตั้ง 2562

ต่อมาในวันอาทิตย์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 พรรคเพื่อแผ่นดินได้จัดการประชุมใหญ่สามัญพรรคเพื่อแผ่นดิน ครั้งที่ 1/2563 ที่โรงแรมเชียงใหม่ออร์คิด จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่จำนวน 12 คนพร้อมกับเปลี่ยนแปลงตราสัญลักษณ์พรรคซึ่งที่ประชุมมีมติเลือกนายประมวล เอมเปีย อดีตรองโฆษก พรรคประชาธิปัตย์ เป็นหัวหน้าพรรคคนใหม่ พร้อมกรรมการบริหารพรรคอีก 11 คน[10] ต่อมาพรรคเพื่อแผ่นดินได้ถูกยุบพรรคเมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2566 เนื่องจากทางพรรคไม่มีการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองมากว่า 1 ปีเพราะคณะกรรมการบริหารพรรคลาออกจากสมาชิกพรรคทั้งคณะ[11]

กรรมการบริหารพรรค (26 กรกฎาคม 2563 -13 มีนาคม 2566)

รายชื่อ ตำแหน่ง
ประมวล เอมเปีย
(ลาออกจากสมาชิกพรรคเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2565)
หัวหน้าพรรค
ไตรเทพ รัตนาจารย์ รองหัวหน้าพรรค
เฉลิมชัย ตันเจริญ (ลาออกจากสมาชิกพรรคเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2563)[12]
พันตำรวจเอก สนธยา แสงเภา
(ลาออกจากสมาชิกพรรคเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2565)
สดใส โรจนวิชัย
(ลาออกจากสมาชิกพรรคเมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2565)
โสภณ ศรีมาเหล็ก เลขาธิการพรรค (ลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564)[13]
ยศพนต์ สุธรรม
(แต่งตั้งแทน 4 เมษายน พ.ศ. 2564)
เลขาธิการพรรค
มาโนชญ์ เชื้อชาติ เหรัญญิกพรรค
กฤตธี จันทร์สง่า นายทะเบียนสมาชิกพรรค
ว่าที่ร้อยตรี พิทักษ์ จิระวนิชกุล
(ลาออกจากสมาชิกพรรคเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2565)
โฆษกพรรค
เอกรินทร์ นิลสวัสดิ์ กรรมการบริหารพรรค
ณรง ชุมพล
ชัยพร ภูผารัตน์
(ลาออกจากสมาชิกพรรคเมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2565)
ไพฑูรย์ วชิรวงศ์ภิญโญ
(ลาออกจากสมาชิกพรรค เมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2565)

อดีตสมาชิกพรรคที่มีชื่อเสียง

สภานโยบายและยุทธศาสตร์พรรค

ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2550 พรรคเพื่อแผ่นดินได้แต่งตั้ง นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย เป็นประธานสภานโยบายและยุทธศาสตร์พรรค โดยมีคณะกรรมการสภาฯ ประกอบด้วย นายวิจิตร สุพินิจ อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย นายศุภชัย พิศิษฐวานิช อดีตปลัดกระทรวงการคลัง นายบรรพต หงษ์ทอง อดีตปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายวิเชียร เตชะไพบูลย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงิน และ นายนิทิต พุกกะณะสุต ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงิน โดยทั้งหมดจะเป็นทีมเศรษฐกิจของพรรคเพื่อแผ่นดินด้วย [14]

ต่อมานายสุรเกียรติ ได้ลาออกจากตำแหน่ง ประธานสภานโยบายและยุทธศาสตร์พรรค เนื่องจากเป็นหนึ่งใน 111 อดีตกรรมกรรมบริหารพรรคไทยรักไทย ที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี และ กกต. วินิจฉัยว่าไม่สมควรดำรงตำแหน่งใดๆ ในพรรคการเมืองระหว่างที่ถูกตัดสิทธิ์ดังกล่าว

การเลือกตั้ง

ผลการเลือกตั้ง จำนวนที่นั่ง คะแนนเสียงทั้งหมด สัดส่วนคะแนนเสียง ที่นั่งเปลี่ยน ผลการเลือกตั้ง ผู้นำเลือกตั้ง
2550
24 / 480
1,981,021 5.44% เพิ่มขึ้น24 ร่วมรัฐบาล สุวิทย์ คุณกิตติ
2562
0 / 500
31,307 ลดลง24 ไม่ได้รับเลือกตั้ง ชัยยงค์ พรหมวงศ์
รถหาเสียงของพรรคเพื่อแผ่นดิน ที่จังหวัดเชียงใหม่ ในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2550

บทบาททางการเมือง

การถอนตัวจากการร่วมรัฐบาล สมัยนายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี

ในค่ำวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 นายสุวิทย์ คุณกิตติ ในฐานะหัวหน้าพรรคได้จัดแถลงข่าวที่กระทรวงอุตสาหกรรมร่วมกับกรรมการบริหารพรรคอีก 2 คน ถอนตัวจากการร่วมรัฐบาลคณะรัฐมนตรีคณะที่ 57 โดยอ้างถึงมีความพยายามของรัฐบาลที่จะดึงดันแก้ไขรัฐธรรมนูญ การจาบจ้วงเบื้องสูง และความไม่ชัดเจนในกรณีปราสาทเขาพระวิหารขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก แต่ต่อมา บรรดาสมาชิกได้แถลงว่า การลาออกครั้งนี้เป็นการกระทำของนายสุวิทย์คนเดียว มิได้ผ่านมติของกรรมการบริหารพรรค[15] [16]

การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี ในปี พ.ศ. 2551

ในการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีปี พ.ศ. 2551 ต่อจากนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี จากรณียุบพรรคพลังประชาชน การลงมติครั้งนี้มีกระแสข่าวถึงความไม่แน่นอนในการเปลี่ยวขั้วรัฐบาล ของพรรคร่วมรัฐบาล ซึ่งรวมถึงพรรคเพื่อแผ่นดินด้วยเช่นกัน ก่อนการลงมติมีการแถลงข่าวที่สร้างความสับสนถึงมติของพรรคเพื่อแผ่นดินอยู่เป็นระยะว่าจะเป็นเช่นไร จนมีเมื่อนายเสนาะ เทียนทอง หัวหน้าพรรคประชาราช ได้เสนอชื่อพลตำรวจเอกประชา พรหมนอก หัวหน้าพรรคเพื่อแผ่นดินในขณะนั้น ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี ด้วยเหตุว่าเป็นคนกลางและมีคุณวุฒิ เหมาะกับสถานการณ์บ้านเมือง แต่เมื่อถึงวันลงมติเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 เสียงของ ส.ส. ในพรรคเพื่อแผ่นดินทั้งหมด 21 เสียงในเวลานั้น ได้แตกเป็น 2 ส่วน ดังนี้

ส.ส.ที่ลงมติเลือกนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี

  1. นายไชยยศ จิรเมธากร ส.ส.อุดรธานี
  2. นายนรพล ตันติมนตรี ส.ส.เชียงใหม่
  3. นายประนอม โพธิ์คำ ส.ส.นครราชสีมา
  4. นายพิกิฏ ศรีชนะ ส.ส.ยโสธร
  5. นายพิเชษฐ์ ตันเจริญ ส.ส.ฉะเชิงเทรา
  6. นายพลพีร์ สุวรรณฉวี ส.ส.นครราชสีมา
  7. ร้อยตรีหญิง ระนองรักษ์ สุวรรณฉวี ส.ส.นครราชสีมา
  8. นายรณฤทธิชัย คานเขต ส.ส.ยโสธร
  9. นายอนุวัฒน์ วิเศษจินดาวัฒน์ ส.ส.นครราชสีมา
  10. นายวิทยา บุตรดีวงศ์ ส.ส.มุกดาหาร
  11. นายสุชาติ ตันติวณิชชานนท์ ส.ส.อุบลราชธานี
  12. นายแพทย์อลงกต มณีกาศ ส.ส.นครพนม

ส.ส.ที่ลงมติเลือกพลตำรวจเอกประชา พรหมนอก เป็นนายกรัฐมนตรี

  1. พลตำรวจเอกประชา พรหมนอก ส.ส.สัดส่วน กลุ่มจังหวัดที่ 3
  2. หม่อมราชวงศ์กิติวัฒนา ไชยันต์ ส.ส.สัดส่วน กลุ่มจังหวัดที่ 6
  3. นางจิตรวรรณ หวังศุภกิจโกศล ส.ส.นครราชสีมา
  4. นายปุระพัฒน์ วิเศษจินดาวัฒนา ส.ส.สัดส่วน กลุ่มจังหวัดที่ 5
  5. นายมานพ ปัตนวงศ์ ส.ส.สัดส่วน กลุ่มจังหวัดที่ 8
  6. นายแพทย์วัลลภ ไทยเหนือ ส.ส.สัดส่วน กลุ่มจังหวัดที่ 4
  7. นายแพทย์แวมาฮาดี แวดาโอะ ส.ส.นราธิวาส
  8. นายสมเกียรติ ศรลัมพ์ ส.ส.สัดส่วน กลุ่มจังหวัดที่ 2
  9. นายสุรเดช ยะสวัสดิ์ ส.ส.สัดส่วน กลุ่มจังหวัดที่ 1

การลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรี พ.ศ. 2553

การอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี 5 คน เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม และวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2553 ซึ่งมีการลงมติในวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2553 โดย ส.ส.ของพรรคเพื่อแผ่นดินบางส่วน ได้ลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีในรัฐบาล 2 คน คือ นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล และนายโสภณ ซารัมย์ จากพรรคภูมิใจไทย ทำให้แกนนำของพรรคภูมิใจไทย แสดงความไม่พอใจ และเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีปรับพรรคเพื่อแผ่นดินออกจากพรรคร่วมรัฐบาล[17]

ต่อมาได้มีการปรับรัฐมนตรีในส่วนของพรรคเพื่อแผ่นดิน จำนวน 3 คน คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีที รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ออกจากตำแหน่ง และมีการแต่งตั้งรัฐมนตรีจากพรรคประชาธิปัตย์ พรรคมาตุภูมิ แทนในโควตาของพรรค โดยให้โควตารัฐมนตรีให้พรรคเพื่อแผ่นดิน เพียง 1 ตำแหน่ง คือ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

การเลือกตั้งภายหลังการย้ายออกของอดีต ส.ส.

พรรคเพื่อแผ่นดิน โดยนายกว้าง รอบคอบ รักษาการหัวหน้าพรรค ประกาศแสดงเจตนารมณ์ของพรรคว่าจะไม่มีการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 เพื่อป้องกันความสับสันระหว่างพรรคเพื่อแผ่นดิน และพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน ซึ่งสมาชิกของพรรคเพื่อแผ่นดินส่วนใหญ่ได้ย้ายเข้าไปร่วมงานทางการเมืองด้วย ส่วนกิจกรรมของพรรคเพื่อแผ่นดินยังคงมีต่อไป

พรรคเพื่อแผ่นดิน ได้ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งอีกครั้งในการเลือกตั้งซ่อมที่จังหวัดเชียงใหม่ เขต 3 แทนนางสาวชินณิชา วงศ์สวัสดิ์ เมื่อวันที 2 มิถุนายน พ.ศ. 2555 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง

พรรคเพื่อแผ่นดิน ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 ซึ่งกำหนดให้มีขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 มีหมายเลขประจำพรรคคือ หมายเลข 53 แต่การเลือกตั้งในครั้งนั้นเป็นโมฆะตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ

หมายเหตุ


อ้างอิง

  1. ข้อมูลพรรคการเมืองที่ยังดำเนินการอยู่ ณ วันที่ 8 มีนาคม 2566
  2. หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 17 ตุลาคม 2550
  3. มติเพื่อแผ่นดินเลือก ประชา นั่งหัวหน้าพรรคฯ
  4. โมฆะ “ประชา” หน.พรรค
  5. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรคและกรรมการบริหารพรรคเพื่อแผ่นดิน10 มิถุนายน 2553
  6. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรคเพื่อแผ่นดิน17 มิถุนายน 2553
  7. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงกรมการบริหารพรรคเพื่อแผ่นดิน6 มกราคม 2554
  8. เพื่อแผ่นดิน-รวมชาติพัฒนา แถลงจับมือทำงานการเมือง[ลิงก์เสีย]
  9. สมาชิกพรรคสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทั้งแบบบัญชีรายชื่อและแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง[ลิงก์เสีย]
  10. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรค และคณะกรรมการบริหารพรรคเพื่อแผ่นดิน
  11. ราชกิจจาฯ ประกาศ 'พรรคเพื่อแผ่นดิน' สิ้นสภาพความเป็นพรรคการเมือง
  12. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรคเพื่อแผ่นดิน
  13. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรคเพื่อแผ่นดิน
  14. "หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ วันที่ 28 ตุลาคม 2550". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-30. สืบค้นเมื่อ 2021-09-26.
  15. “หมัก” แพแตก! “เพื่อแผ่นดิน” ถอนตัวต้านแก้ รธน.-ไม่พอใจเสีย “พระวิหาร” เก็บถาวร 2012-11-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ผู้จัดการออนไลน์ 29 กรกฎาคม 2551
  16. “เพื่อแผ่นดิน” ถอนตัวชักวุ่น! ส.ส.ยังอาลัยเก้าอี้ อ้างไม่ใช่มติพรรค เก็บถาวร 2012-11-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ผู้จัดการออนไลน์ 29 กรกฎาคม 2551
  17. พรรคภูมิใจไทยจี้พรรคประชาธิปัตย์ ปรับพรรคเพื่อแผ่นดินออก

แหล่งข้อมูลอื่น

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!