พรรคกิจสังคม (อังกฤษ: Social Action Party) ก่อตั้งขึ้นในวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517[4] โดย หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช โดยให้ชื่อว่า "กิจสังคม" โดยแปลตรงตัวจากภาษาอังกฤษ โดยนำชื่อพรรคมาจากพรรคการเมืองนี้ในประเทศอังกฤษ พรรคมีสมาชิกที่ได้แจ้งต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองไว้ จำนวน 27,413 คน และมีสาขาพรรคจำนวน 4 สาขา[5] และพรรคกิจสังคมจดทะเบียนอย่างเป็นทางการอีกครั้งเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2525 หลังจากที่มีพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2524 ยกเลิกคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 6 ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พุทธศักราช 2517
รายชื่อนายกรัฐมนตรี
ประวัติพรรค
พรรคกิจสังคมก่อตั้งขึ้นโดยสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ที่มีแนวคิดเสรีนิยมในปี พ.ศ. 2517 ภายใต้การนำของหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ซึ่งเป็นอดีตเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์[6] หลังจากหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคเมื่อปลายปี พ.ศ. 2528 ได้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ ในปลายปี พ.ศ. 2529 โดยมีอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและอดีตรองหัวหน้าพรรคคือพลอากาศเอกสิทธิ เศวตศิลา และร้อยตำรวจเอกสุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ เป็นหัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรคคนใหม่
โดยสภาพแล้วพรรคกิจสังคมเป็นพรรคการเมืองขนาดกลางค่อนไปทางเล็ก มีจำนวน สส. ไม่มาก จึงมีบทบาทในการเป็นพรรคร่วมรัฐบาล หรือฝ่ายค้าน ภายหลังการยุติบทบาททางการเมืองของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช พรรคกิจสังคมก็ได้มี มนตรี พงษ์พานิช เป็นหัวหน้าพรรค จากนั้นจึงเป็น สุวิทย์ คุณกิตติ อดีตสมาชิกพรรคอีกคนหนึ่ง ที่ยังมีบทบาททางการเมืองคือ สมศักดิ์ เทพสุทิน อดีตเลขาธิการพรรค
พรรคกิจสังคม ได้ฉายาจากสื่อมวลชนว่า "พรรคแสบ" (SAP) ซึ่งย่อมาจากชื่อภาษาอังกฤษของพรรค และประกอบกับลีลาการเล่นการเมือง ของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ที่แสบสันต์เป็นที่รู้จักกันดี
นอกจากนี้แล้ว พรรคกิจสังคม ยังเคยเอาชนะพรรคประชาธิปัตย์ ในพื้นที่ภาคใต้ อันเป็นพื้นที่ฐานเสียงเข้มแข็งของพรรคประชาธิปัตย์มาแล้ว ในการเลือกตั้ง ปี พ.ศ. 2522 (กิจสังคมได้ 18 เสียง, ประชาธิปัตย์ได้ 15 เสียง)[7]
บทบาททางการเมือง
ใน การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2518 พรรคกิจสังคมลงเลือกตั้งครั้งแรก ได้ สส. เพียง 18 คน[8] แต่สร้างประวัติศาสตร์ ให้แก่วงการการเมืองไทยทันที ด้วยการสามารถ พลิกกลับเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลได้ แทนที่ พรรคประชาธิปัตย์ ที่ได้จำนวน ส.ส. สูงสุด โดยอภิปรายตอบโต้นโยบายของ รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ของหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช จนในที่สุดสภามีมติไม่ให้นโยบายของรัฐบาลผ่าน พรรคประชาธิปัตย์ และ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ได้แสดงความรับผิดชอบ ด้วยการไม่ขอรับตำแหน่ง พรรคกิจสังคมโดย ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช จึงเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลขึ้นมาเอง โดยร่วมกับพรรคเล็กพรรคน้อยต่างๆ รวมถึง 22 พรรค จัดตั้งรัฐบาลขึ้นมา นับเป็นรัฐบาลที่มาจากพรรคผสม มากที่สุดในประวัติศาสตร์จนถึงปัจจุบัน โดยมีจุดเด่นเป็นนโยบายสาธารณะต่างๆ เช่น นโยบายเงินผันสู่ชนบท นโยบายให้รถเมล์วิ่งฟรี เป็นต้น
แต่รัฐบาลเสียงผสมหลายพรรค ก็ไม่สามารถไปรอดตลอดฝั่งได้ เพราะประสบปัญหาหลายอย่าง ประจวบกับสถานการณ์การเมืองในประเทศ ในขณะนั้นที่ยังรุ่มร้อน ในที่สุด ก็ต้องยุบสภา มีการเลือกตั้งใหม่ และก็เป็นพรรคประชาธิปัตย์ กลับมาเป็นรัฐบาลอีก แต่ก็อยู่ได้ไม่นาน เนื่องด้วยความร้อนแรง ของสถานการณ์การเมืองขณะนั้นยังไม่หาย จนในที่สุดก็เกิดเป็น เหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519
หลังจากนั้น ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ก็ยังคงเล่นการเมือง และเป็นหัวหน้าพรรคกิจสังคมต่อไป ได้นำพรรคลงเลือกตั้งอีกหลายครั้ง ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 พรรคกิจสังคมได้คะแนนเสียงมาเป็นลำดับหนึ่งถึง 96 เสียง แต่หัวหน้าพรรคคือ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช กลับไม่ได้รับเลือกตั้งเสียเองในเขต 2 เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร จึงหันร่วมกับพรรคอื่นเช่น พรรคประชาธิปัตย์ พรรคชาติไทย สนับสนุน พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรีสมัยที่ 2
ความขัดแย้งภายในพรรคเกิดขึ้นเมื่อมีข่าวลือแพร่สะพัดว่าพลเอกอาทิตย์ กำลังเอก อดีตผู้บัญชาการทหารบกและผู้บัญชาการทหารสูงสุดเป็นผู้หนุนหลังพรรคอย่างลับ ๆ ภายในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2529 ด้วยการสนับสนุนทางการเงินจากธุรกิจขนาดใหญ่ ทำให้ใน การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 ส่งผลให้พรรคสูญเสียที่นั่งในรัฐสภา และกลุ่มการเมืองในพรรคที่นำโดย บุญเท่ง ทองสวัสดิ์ ได้แยกตัวออกไปก่อตั้งพรรคสหประชาธิปไตย[6]
เรื่องอื้อฉาวเกี่ยวกับการทุจริตยังคงทำลายล้างพรรค ในปี พ.ศ. 2533 เมื่อนายกรัฐมนตรีคือ พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ขู่ว่าจะขับไล่พรรคออกจากการเป็นพรรคร่วมรัฐบาล หลังจากที่ พลอากาศเอกสิทธิ ลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคและสมาชิกพรรค หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ผู้ก่อตั้งพรรคก็ได้รับเลือกให้กลับมาดำรงตำแหน่ง หัวหน้าพรรคในช่วงสั้นๆ แทนที่พลอากาศเอกสิทธิ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะพลเอกชาติชายเคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในรัฐบาลของหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ พลเอกชาติชายจึงตัดสินใจไม่ขับไล่พรรคออกจากการเป็นพรรคร่วมรัฐบาล[9]
ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2533 พรรคกิจสังคมพร้อมกับพรรคประชาธิปัตย์ถอนตัวออกจากการเป็นพรรคร่วมรัฐบาลของพลเอกชาติชาย แม้ว่าต่อมาจะกลับเข้าร่วมรัฐบาลพลเอกสุจินดา คราประยูร ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2535 ภายใต้การนำของ มนตรี พงษ์พานิช ซึ่งเป็นหัวหน้าพรรคคนใหม่แทนหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ที่วางมือทางการเมือง แต่ต่อมาก็ออกจากรัฐบาลที่สนับสนุนทหารในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2535[10]
หลังจากแตกออกเป็นสองฝ่ายภายในพรรคอันเป็นผลมาจากการแย่งชิงอำนาจในปี พ.ศ. 2542 พรรคก็ถอนตัวจากรัฐบาลที่นำโดย ชวน หลีกภัย อีกครั้ง โดยมี สส. 17 คนถอนตัวจากการร่วมรัฐบาล[11] ในปี พ.ศ. 2543 สมาชิกพรรคหลายคน รวมทั้งนายสุวิทย์ คุณกิตติ อดีตหัวหน้าพรรคตัดสินใจลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคเพื่อเข้าร่วมกับพรรคไทยรักไทย ที่นำโดย ทักษิณ ชินวัตร[12]
ภายในปี พ.ศ. 2544 พรรคกิจสังคมได้สูญเสียการสนับสนุนทางการเมืองไปมาก ทำให้ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 พรรคได้ที่นั่งในรัฐสภาเพียงที่นั่งเดียว และในระหว่างปี พ.ศ. 2548 จนถึงปี พ.ศ. 2551 พรรคกิจสังคมมิได้มีบทบาททางการเมืองเหมือนแต่ก่อน เพราะสมาชิกคนสำคัญของพรรค ได้ลาออกหรือไปเข้าร่วมกับพรรคอื่น โดยเฉพาะ พรรคไทยรักไทย
ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้ส่งผู้สมัครทั้งในระบบบัญชีรายชื่อ และระบบแบ่งเขต แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้งแม้แต่ที่นั่งเดียวในสภาผู้แทนราษฎร โดยได้รับคะแนนในระบบบัญชีรายชื่อเพียงร้อยละ 0.31 หรือ 81,824 คะแนน
การกลับมาของบทบาททางการเมือง
พรรคกิจสังคม ได้ถูกรื้อฟื้นอีกครั้ง ในปลายปี พ.ศ. 2551 ภายหลังคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2551 สุวิทย์ คุณกิตติ อดีตหัวหน้าพรรคซึ่งลาออกจากการเป็นหัวหน้าพรรคเพื่อแผ่นดิน ไม่นาน ได้กลับมาฟื้นฟูพรรคอีกครั้ง โดยนำสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรบางคนที่ยังไม่ได้สังกัดพรรคการเมือง เข้าสังกัดพรรคกิจสังคม โดยนายสุวิทย์ดำรงตำแหน่งประธานที่ปรึกษาพรรค[13] และเข้าร่วมฝ่ายรัฐบาลซึ่งสนับสนุน อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ย้ายมาสังกัด จำนวน 5 คน คือ
- เทวฤทธิ์ นิกรเทศ ส.ส.สัดส่วน จากพรรคพลังประชาชน
- สมเจตน์ ลิมปะพันธุ์ ส.ส.สุโขทัย จากพรรคชาติไทย
- มนต์ชัย วิวัฒน์ธนาฒย์ ส.ส.พิษณุโลก จากพรรคพลังประชาชน
- ชยุต ภุมมะกาญจนะ ส.ส.ปราจีนบุรี จากพรรคพลังประชาชน
- วารุจ ศิริวัฒน์ ส.ส.อุตรดิตถ์ จากพรรคพลังประชาชน
ผู้บริหารพรรค
รายนามหัวหน้าพรรค
รายนามเลขาธิการพรรค
- บุญชู โรจนเสถียร (4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517 - 26 สิงหาคม พ.ศ. 2521 ส่วนรักษาการเลขาธิการพรรค มนตรี พงษ์พานิช วันที่ 27 สิงหาคม - 12 กันยายน พ.ศ. 2521)
- เกษม ศิริสัมพันธ์ (13 กันยายน พ.ศ. 2521 – 15 ตุลาคม พ.ศ. 2525)
- โกศล ไกรฤกษ์ (20 สิงหาคม พ.ศ. 2525 – 17 มิถุนายน พ.ศ. 2527)
- พงส์ สารสิน (17 มิถุนายน พ.ศ. 2527 – 22 มกราคม พ.ศ. 2529)
- ร้อยตำรวจเอก สุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ (30 มกราคม พ.ศ. 2530 – 1 มีนาคม พ.ศ. 2532)
- มนตรี พงษ์พานิช (1 มีนาคม พ.ศ. 2532 – 9 มิถุนายน พ.ศ. 2534)
- ประยุทธ์ ศิริพานิชย์ (9 มิถุนายน พ.ศ. 2534 – 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2534)
- พลโท เขษม ไกรสรรณ์ (23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2534 – 10 เมษายน พ.ศ. 2535)
- บุญพันธ์ แขวัฒนะ (10 เมษายน พ.ศ. 2535 – 13 ตุลาคม พ.ศ. 2536)
- ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง (13 ตุลาคม พ.ศ. 2536 – 27 ธันวาคม พ.ศ. 2537)
- สุวิทย์ คุณกิตติ (2 ธันวาคม พ.ศ. 2538 – 5 มีนาคม พ.ศ. 2542)
- สมศักดิ์ เทพสุทิน (5 มีนาคม พ.ศ. 2542 – 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2542)
- ระวี หิรัญโชติ (2 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 – 9 สิงหาคม พ.ศ. 2543)
- เจษฎา ตันติบัญชาชัย (9 สิงหาคม พ.ศ. 2543 – 26 เมษายน พ.ศ. 2546)
- อุทัย นุ่มสุวรรณ (26 เมษายน พ.ศ. 2546 – 15 ธันวาคม พ.ศ. 2546)
- ปราโมทย์ ตามควร (30 เมษายน พ.ศ. 2547 – 13 ธันวาคม พ.ศ. 2547)
- อำนวย ศิริทองสุข (13 ธันวาคม พ.ศ. 2547 – 14 กันยายน พ.ศ. 2548)
- สยมภู เกียรติสยมภู (14 กันยายน พ.ศ. 2548 - 19 ตุลาคม 2561)
ผลการเลือกตั้ง
ผลการเลือกตั้งทั่วไป
การเลือกตั้ง
|
จำนวนที่นั่ง
|
คะแนนเสียงทั้งหมด
|
สัดส่วนคะแนนเสียง
|
ที่นั่งเปลี่ยน
|
สถานภาพพรรค
|
ผู้นำเลือกตั้ง
|
2518
|
|
1,982,168
|
10.8%
|
18
|
ฝ่ายค้าน (2518)
|
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช
|
แกนนำจัดตั้งรัฐบาล
(2518 - 2519)
|
2519
|
|
3,272,170
|
17.5%
|
27
|
ฝ่ายค้าน
|
2522
|
|
4,179,174
|
21.1%
|
37
|
ฝ่ายค้าน (2522 - 2523)
|
ร่วมรัฐบาล (2523 - 2526)
|
2526
|
|
7,103,177
|
26.8%
|
10
|
แกนนำจัดตั้งรัฐบาล
|
2529
|
|
4,560,615
|
12.1%
|
41
|
ร่วมรัฐบาล
|
2531
|
|
4,651,161
|
11.8%
|
3
|
ร่วมรัฐบาล (2531 - 2533)
|
พลอากาศเอก สิทธิ เศวตศิลา
|
ฝ่ายค้าน (2533 - 2534)
|
มี.ค. 2535
|
|
3,586,714
|
8.1%
|
23
|
ร่วมรัฐบาล
|
มนตรี พงษ์พานิช
|
ก.ย. 2535
|
|
1,863,360
|
4.0%
|
9
|
ร่วมรัฐบาล (2535-2536)
|
ฝ่ายค้าน (2536 - 2538)
|
2538
|
|
2,201,218
|
4.0%
|
0
|
ร่วมรัฐบาล
|
2539
|
|
3,036,544
|
5.3%
|
2
|
2544
|
|
44,926
|
0.16%
|
19
|
ฝ่ายค้าน
|
พยุง นพสุวรรณ
|
2548
|
|
58,721
|
|
1
|
ไม่ได้รับเลือกตั้ง
|
อรรถพล ชัยนันท์สมิตย์
|
2554
|
|
81,824
|
0.31%
|
0
|
สุวิทย์ คุณกิตติ
|
ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (สก.)
การเลือกตั้ง
|
จำนวนที่นั่ง
|
คะแนนเสียงทั้งหมด
|
สัดส่วนคะแนนเสียง
|
ที่นั่งเปลี่ยน
|
ผลการเลือกตั้ง
|
2537
|
|
|
|
5
|
เสียงข้างน้อย
|
การแยกตัวของสมาชิกพรรค
พรรคกิจสังคมเคยมีสมาชิกพรรคที่ลาออกไปตั้งพรรคการเมืองใหม่ หรือย้ายไปเป็นกรรมการบริหารพรรค โดยมีดังนี้
สิ้นสภาพความเป็นพรรคการเมือง
พรรคกิจสังคมสิ้นสภาพความเป็นพรรคการเมือง เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2561[14]
อ้างอิง
- ↑ รายชื่อผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พร้อมนโยบายของพรรคการเมือง เก็บถาวร 2011-06-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนจากเว็บไซต์ สำนักงาน กกต. สืบค้นวันที่ 3 มิถุนายน 2554
- ↑ ปิดตำนาน 44 ปี ‘พรรคกิจสังคม’ สมาชิกไม่ถึง 5พันคน สิ้นสภาพความเป็นพรรคการเมือง
- ↑ "พรรคกิจสังคมเปิดที่ทำการใหม่". โพสต์ทูเดย์. 2011-04-27. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-27. สืบค้นเมื่อ 2018-03-02.
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจดทะเบียนพรรคการเมือง เก็บถาวร 2011-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนราชกิจจานุเบกษา เล่ม 92 ตอนพิเศษที่ 193ง หน้า 217 วันที่ 18 กันยายน 2518
- ↑ ข้อมูลพรรคการเมืองที่ยังดำเนินการอยู่ ณ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2560สืบค้นวันที่ 1 มกราคม 2561
- ↑ 6.0 6.1 "Thai Political Parties". United States Federal Research Division of the Library of Congress.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-26. สืบค้นเมื่อ 2013-06-03.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-09-21. สืบค้นเมื่อ 2020-05-12.
- ↑ Erlanger, Steven (September 30, 1990). "For Thai Politician, a Break From Retirement". The New York Times. สืบค้นเมื่อ May 23, 2010.
- ↑ Levine, Marvin (1997). Worker Rights and Labor Standards in Asia's Four New Tigers. New York, NY: Plenum Press. p. 224. ISBN 0-306-45477-7.
- ↑ "THAILAND: Electoral Timing". Oxford Analytica.[ลิงก์เสีย]
- ↑ Wingfield, Tom (2002), "Democratization and economic crisis in Thailand", Political Business in East Asia, Routledge, p. 295, ISBN 9780415271486
- ↑ "สุวิทย์ โผล่นั่งประธานที่ปรึกษาพรรคกิจสังคม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-06-11. สืบค้นเมื่อ 2008-12-17.
- ↑ admin (2018-10-20). "ปิดตำนาน 'พรรคกิจสังคม' สิ้นสภาพความเป็นพรรคการเมือง". News.mthai.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-25. สืบค้นเมื่อ 2019-12-13.
แหล่งข้อมูลอื่น