พรรคใหม่ (ย่อ: ม.) เป็นพรรคการเมืองไทยที่จดทะเบียนก่อตั้งพรรคเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เป็นพรรคการเมืองที่ได้รับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2566
ประวัติ
พรรคใหม่ ก่อตั้งขึ้นโดยมีการประชุมร่วมกันจัดตั้งพรรคการเมือง เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 และยื่นจดทะเบียนตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 เป็นพรรคการเมืองเลขที่ 5/2565 ตั้งแต่วันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 ใช้ชื่อว่า "พรรคใหม่" ชื่อย่อ "ม." และใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า "NEW PARTY" โดยมีตราสัญลักษณ์พรรคเป็นรูป "กำปั้น"
พรรคใหม่ มีนายกฤดิทัช แสงธนโยธิน เป็นหัวหน้าพรรค และมีนายสุปรีย์ แสงสว่าง เป็นเลขาธิการพรรค
บทบาททางการเมือง
การเลือกตั้ง พ.ศ. 2566
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 พรรคใหม่ส่งผู้สมัครแบบแบ่งเขต จำนวน 4 คน และแบบบัญชีรายชื่อจำนวน 10 คน ได้รับหมายเลข 1[1] โดยนำเสนอนโยบายล้างบางทุจริต และการปฏิรูประบบราชการทุกหน่วยงาน การยกเลิกเครดิตบูโร การจำกัดสิทธิถือครองที่ดิน เพิ่มสวัสการที่อยู่อาศัย รักษาพยาบาล และกองทุนวัยรุ่นสร้างตัว ให้ผู้เรียนจบใหม่มีเงินทุนใช้ประกอบอาชีพ[2] และได้รับเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 1 ที่นั่ง
หลังการเลือกตั้ง พรรคใหม่ได้เปิดตัวเข้าร่วมรัฐบาลกับพรรคก้าวไกล ในฐานะพรรคที่ได้รับที่นั่งสูงสุดในสภาผู้แทนราษฎร แต่ต่อมาได้ประกาศถอนตัวจากการเข้าร่วมจัดตั้งรัฐบาล เนื่องจากเกิดกระแสต่อต้านจากกลุ่มผู้สนับสนุนพรรคก้าวไกลในสื่อสังคมออนไลน์ "กูไม่เอาพรรคใหม่" หลังมีหนึ่งในคณะกรรมการบริหารพรรคใหม่ ถูกเปิดเผยว่าเคยมีการเผยแพร่คลิปพูดถึงกรณียืนยันไม่แก้ไขกฎหมายความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย[3]
วันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2567 นายกฤดิทัช แสงธนโยธิน สส.บัญชีรายชื่อ ถูกขับออกจากพรรค ต่อมาได้เข้ามสมัครสมาชิกพรรคกล้าธรรม โดยกฤดิทัชให้สัมภาษณ์ว่า ตนสมัครเป็นสมาชิกพรรคกล้าธรรมแล้ว หลังจากที่พรรคใหม่ ซึ่งเป็นพรรคเดิมที่ตนสังกัด มีมติขับตนออกจากสมาชิกพรรค อย่างไรก็ดีในการทำงานในพรรคใหม่ฐานะพรรคร่วมฝ่ายค้าน ยอมรับว่าไม่มีบทบาท ไม่มีที่ยืน และทำงานร่วมกันไม่ได้ ต้องอยู่อย่างโดดเดี่ยว และเมื่อมีหลายพรรคที่รัฐบาลชวนไปอยู่ด้วยจึงได้ตัดสินใจร่วมงานกับพรรคกล้าธรรม ซึ่งยอมรับว่าการตัดสินใจดังกล่าวเพราะได้พูดคุยกับร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า และที่ผ่านมา สส.ในกลุ่มพรรคเล็ก 5-6 คนคุยกันตลอด เพราะมีแนวทางขับเคลื่อนเพื่อยื่นญัตติต่างๆ ร่วมกัน แต่การย้ายสังกัดพรรคกล้าธรรมนั้น ขณะนี้มีชัดเจน 2 คน ส่วนที่เหลือยังอยู่ระหว่างการพิจาณาแนวทาง ซึ่งตนตอบแทนคนอื่นไม่ได้[4]
การเลือกตั้ง
ผลการเลือกตั้งทั่วไป
การเลือกตั้ง
|
จำนวนที่นั่ง
|
คะแนนเสียงทั้งหมด
|
สัดส่วนคะแนนเสียง
|
ที่นั่งเปลี่ยน
|
ผลการเลือกตั้ง
|
ผู้นำเลือกตั้ง
|
2566
|
|
249,731
|
0.67%
|
1
|
ฝ่ายค้าน
|
กฤดิทัช แสงธนโยธิน
|
อ้างอิง