ไชยยศ จิรเมธากร

ไชยยศ จิรเมธากร
รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
เริ่มดำรงตำแหน่ง
15 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
(5 ปี 218 วัน)
รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง
ดำรงตำแหน่ง
13 สิงหาคม พ.ศ. 2562 – 16 มิถุนายน พ.ศ. 2565
นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา
ดำรงตำแหน่ง
27 กันยายน พ.ศ. 2565 – 1 กันยายน พ.ศ. 2566
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ดำรงตำแหน่ง
6 มิถุนายน พ.ศ. 2553 – 8 สิงหาคม พ.ศ. 2554
นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
เลขาธิการพรรคเพื่อแผ่นดิน
ดำรงตำแหน่ง
20 เมษายน พ.ศ. 2552 – 4 มีนาคม พ.ศ. 2553
ก่อนหน้าชาญชัย ชัยรุ่งเรือง
ถัดไปสิทธิชัย โควสุรัตน์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด16 กรกฎาคม พ.ศ. 2503 (64 ปี)
อำเภอเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี ประเทศไทย
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2529–2548, 2554–ปัจจุบัน)
ไทยรักไทย (2548–2549)
เพื่อแผ่นดิน (2550–2554)
คู่สมรสภัทรวดี จิรเมธากร (หย่า)

ไชยยศ จิรเมธากร (เกิด 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2503) รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์[1] ดูแลพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อดีตรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง[2] อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี 6 สมัย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ และอดีตเลขาธิการพรรคเพื่อแผ่นดิน ปัจจุบันสังกัดพรรคประชาธิปัตย์

ประวัติ

ไชยยศ เกิดเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2503 เป็นบุตรของนายวีระ นางเล็กน้อย จิรเมธากร สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี นิติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง เมื่อปี พ.ศ. 2526 และระดับปริญญาโท สาขากฎหมายเศรษฐกิจ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นอกจากนี้ยังเคยเข้ารับการศึกษาอบรมในหลักสูตรต่าง ๆ อาทิ

ไชยยศ มีน้องสาว คือรสพิมล จิรเมธากร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 22

งานการเมือง

นายไชยยศ จิรเมธากร เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 6 สมัย[3] ได้รับเลือกตั้งครั้งแรกในการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2529 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และได้รับเลือกตั้งอีก 2 สมัยต่อเนื่องในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์เช่นเดิม คือ การเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2531 และ พ.ศ. 2535

นายไชยยศ สอบตก 2 สมัยในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2538 และ พ.ศ. 2539 และเป็นช่วงที่พรรคประชาธิปัตย์ก็ไม่มี ส.ส.ในจังหวัดอุดรธานี จนกระทั่งในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 นายไชยยศ ได้รับเลือกตั้งอีกครั้ง ในนามพรรคประชาธิปัตย์เช่นเดิม และนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา พรรคประชาธิปัตย์ก็ไม่มี ส.ส.ในจังหวัดอุดรธานีอีกเลย ต่อมาในการเลือกตั้งซ่อมแทนนายประสพ บุษราคัม ที่ถูกใบแดง นายไชยยศ ได้ลงสมัครในนามพรรคเพื่อแผ่นดิน และร่วมกิจกรรมกับพรรคภูมิใจไทย[4][5] แม้ว่าในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 นายไชยยศ จะย้ายกลับลงสมัคร ส.ส. อีกครั้งในนามพรรคประชาธิปัตย์ แต่ก็ไม่ได้รับเลือกตั้ง[6]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ลำดับที่ 28 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง[7] ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง จากนั้นในวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2565 นายไชยยศ ได้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอีกสมัยแทนนาย วีระชัย วีระเมธีกุล ที่ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็น ส.ส.[8][9] แต่ดำรงตำแหน่งได้ไม่นาน เขาก็ลาออกจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพื่อกลับไปทำหน้าที่รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี[10]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 ไชยยศได้เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ ของพรรคประชาธิปัตย์ ในลำดับที่ 8 [11]

รัฐมนตรี

นายไชยยศ จิรเมธากร ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ[12] ในรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เมื่อปี พ.ศ. 2553 สืบต่อจากนายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ ซึ่งย้ายไปเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม โดยเป็นโควต้ารัฐมนตรีของพรรคเพื่อแผ่นดิน

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

ไชยยศ จิรเมธากร ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้วทั้งหมด 7 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 จังหวัดอุดรธานี สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 จังหวัดอุดรธานี สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดอุดรธานี สังกัดประชาธิปัตย์
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 จังหวัดอุดรธานี สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  5. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดอุดรธานี สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  6. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดอุดรธานี สังกัดพรรคเพื่อแผ่นดิน
  7. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ (เลื่อนแทน)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. เปิดรายชื่อกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ จำนวน 39 คน
  2. รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง
  3. "ข้อมูลสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2010-06-07.
  4. "บุญจงบอกไชยยศมาพรรคตลอดติดกม.ยังไม่ย้าย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-20. สืบค้นเมื่อ 2011-05-08.
  5. "พผ.ประชุมเช็คส.ส.เนื้อแท้ คุยมี18เสียงพร้อมหนุนรัฐบาลทำคลอดมากับมือ เผย 8คนซบภท. 3 ร่วมมภ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2010-08-24.
  6. "ผลนับคะแนนเลือกตั้ง สส.อุดรธานี 2554 (ไม่เป็นทางการ)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-06. สืบค้นเมื่อ 2012-02-04.
  7. เปิด 150 รายชื่อผู้สมัครส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์พรรคประชาธิปัตย์
  8. "วีระชัย วีระเมธีกุล" ลาออกจาก "ส.ส.ปชป." อีกราย
  9. ประกาศสภาฯ ให้ ‘ไชยยศ จิรเมธากร’ เลื่อนเป็นส.ส.ปชป. แทน‘วีระชัย วีระเมธีกุล’
  10. ไชยยศ-นราพัฒน์ ยื่นใบลาออก จาก ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์
  11. "เผยเซฟโซนปาร์ตี้ลิสต์ ปชป. "จุรินทร์-ชวน" นำทีม "ตั๊น" ที่ 10 เบียด "เดียร์" พร้อมใส่เฝือกหาเสียง". ผู้จัดการออนไลน์. 2023-04-04. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-04-06. สืบค้นเมื่อ 2023-04-06.
  12. พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี (รวม 18 ราย) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 127 ตอน พิเศษ 72ง วันที่ 8 มิถุนายน 2553
  13. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
  14. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-05-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๙, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖

แหล่งข้อมูลอื่น

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!