พวงเพ็ชร ชุนละเอียด ม.ป.ช. ม.ว.ม. (เกิด 31 ตุลาคม พ.ศ. 2500) ชื่อเล่น แจ๋น เป็นนักการเมืองชาวไทย เคยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเลย ปัจจุบันเป็นผู้อำนวยการเลือกตั้งกรุงเทพมหานครของพรรคเพื่อไทย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล เศรษฐา ทวีสิน
ประวัติ
พวงเพ็ชร ชุนละเอียด เกิดเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2500 ที่กรุงเทพมหานคร จบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนเซนต์ฟรังซีสซาเวียร์คอนแวนต์ และมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ปริญญาตรี สาขาวิชาเคมีและชีววิทยา จาก North Texas State University (ปัจจุบัน คือ University of North Texas) ประเทศสหรัฐอเมริกา ระดับปริญญาโท สาขาบริหารธุรกิจ จาก Southeastern Oklahoma State University ประเทศสหรัฐอเมริกา และปริญญาเอก ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาภาวะผู้นำเชิงยุทธศาสตร์ ความเป็นเลิศ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
ชีวิตครอบครัว เธอสมรสกับอัญญฤทธิ์ นิรมร มีบุตร-ธิดาด้วยกัน 2 คน คือ นางสาวอลิน นิรมร และ นายอรัญชัย นิรมร[1]
ตั้งแต่ก่อนเข้าวงการการเมือง เธอได้รับการขนานนามว่าเจ้าแม่สายมู และมักถูกเพื่อนๆตั้งให้เป็นหัวหน้ากลุ่มทำบุญไหว้พระอยู่ตลอด บรรดานักธุรกิจ นักแสดง และนักการเมืองต่าง ๆ พากันเข้า-ออกบ้านเพื่อไหว้ขอพร ขอความสำเร็จกับ พระราหู ที่อยู่ที่บ้านองค์ที่ได้ทำพิธีปลุกเสกแบบเต็มรูปแบบ ซึ่งตั้งใหญ่กลางลานบ้านของเธอ อย่างไม่ขาดสาย[2]
ตลอดเส้นทางการเมืองของเธอ มีสายสัมพันธ์อันดีกับครอบครัวชินวัตรมาโดยตลอดเสมอมา ตั้งแต่สมัยพรรคไทยรักไทย จนจวบมาถึงพรรคเพื่อไทย ช่วงที่ทักษิณ ชินวัตร ลี้ภัยในต่างประเทศ เธอเดินทางไปพบเขาอยู่บ่อยครั้ง นับได้ว่าเป็นขุนพลการเมืองที่ครอบครัวชินวัตร ไว้วางใจมากที่สุดคนหนึ่ง[3]
การทำงาน
เข้าสู่การเมือง
เธอได้แจ้งเกิดทางการเมืองครั้งแรก โดยเคยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาจังหวัดเลย (ส.อบจ.เลย) เขตอำเภอภูเรือ เมื่อปี 2538 จนต่อมาในการเลือกตั้งปี 2539 เธอได้สินใจสมัคร ส.ส.เลย ในนามพรรคชาติพัฒนา โดยได้ลงเลือกตั้งในทีมเดียวกันกับ พล.อ.อาทิตย์ กำลังเอก อดีตผู้บัญชาการทหารบก ผลเลือกตั้งครั้งนั้น เธอได้คะแนน 109,880 คะแนน ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.สมัยแรก[4]
บทบาทในพรรคไทยรักไทย
จากนั้น เธอได้ย้ายมาเป็นสมาชิกพรรคไทยรักไทย ในปี 2548 โดยได้เป็น ส.ส.บัญชีรายชื่อ และเป็นที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี ที่ปรึกษารัฐมนตรีและเลขานุการรัฐมนตรีหลายกระทรวง แต่ต่อมาภายหลังการรัฐประหาร 2549 เธอได้เป็นหนึ่งใน 111 อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย (บ้านเลขที่ 111) ซึ่งถูกเพิกถอนสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี ตามคำวินิจฉัยในคดียุบพรรคการเมือง เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 ของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ [5]
เธอกลับสู่งานการเมืองอีกครั้ง ในปี 2556 ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ร่วมก่อตั้งพรรคไทยรักษาชาติ
เธอเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งพรรคไทยรักษาชาติ ในปี 2561 ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมการสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. และผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ พรรคไทยรักษาชาติ แต่ถูกยุบพรรค
มาดามนครบาล
เธอเข้ามาร่วมงานการเมืองกับพรรคเพื่อไทย หลังจากที่คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ และอดีตทีมยุทธศาสตร์บางกลุ่มลาออกจากพรรคเพื่อไทย เธอได้เป็นประธานโซนที่ 2 ในคณะกรรมการประสานพื้นที่เขตเลือกตั้งทั่วประเทศ และในการเลือกตั้งซ่อม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร เขตเลือกตั้งที่ 9 (หลักสี่-จตุจักร) พวงเพ็ชรให้การสนับสนุน สุรชาติ เทียนทอง และสามารถเอาชนะ สรัลรัศมิ์ เจนจาคะ (ภรรยา สิระ เจนจาคะ) เจ้าของพื้นที่เดิมได้ ต่อมาเธอเป็นผู้อำนวยการการเลือกตั้ง สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร พรรคเพื่อไทย ขณะที่บรรดาสื่อมวลชนพากันตั้งฉายา เรียกขานเธอว่า ‘มาดามนครบาล’[6] เธอพาพรรคเพื่อไทยกวาดเก้าอี้ ส.ก. ได้ 20 ที่นั่ง จากทั้งหมด 50 ที่นั่ง[7]
เมื่อเสร็จสิ้นการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร พรรคเพื่อไทยแต่งตั้งเธอเป็นประธานคณะกรรมการประสานงานการเมืองพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดย
พวงเพ็ชร ได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฏร ระบบบัญชีรายชื่อ ในลำดับที่ 98[8]
ต่อมาในปี 2566 เธอได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน[9] กระทั่งพ้นจากตำแหน่งในเดือนเมษายน พ.ศ. 2567[10]
การฝึกอบรมหลักสูตร
พวงเพ็ชร ชุนละเอียด ผ่านการศึกษาอบรมหลายหลักสูตร ได้แก่
- หลักสูตร นักบริหารยุทธศาสตร์การป้องกันและปราบปรามการทุจริตระดับสูง (นยปส.) รุ่นที่ 12
- หลักสูตร สื่อสุขภาพ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ (สส.) รุ่นที่ 2
- หลักสูตร การบริหารการท่องเที่ยวสำหรับนักบริหารระดับสูง (ททท.) รุ่นที่ 3
- หลักสูตร การพัฒนาเมืองและการเลือกตั้งระดับสูง (พตส.) รุ่นที่ 9
- หลักสูตร ผู้บริหารระดับสูงด้านการค้าและการพาณิชย์ (TEPCOT) รุ่นที่ 10
- หลักสูตร ผู้บริหารระดับสูงด้านวิทยาการพลังงาน (วพน.) รุ่นที่ 8
- หลักสูตร ผู้บริหารกระบวนการยุติธรรม (บยส.) ระดับสูงรุ่นที่ 17
- หลักสูตร ภูมิพลังแผ่นดินสำหรับผู้บริหารระดับสูง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รุ่นที่ 1
- หลักสูตร นักบริหารการยุติธรรมทางปกครองระดับสูง (บยป.) รุ่นที่ 3
- หลักสูตร ผู้บริหารระดับสูงด้านการบริหารงานพัฒนาเมือง (มหานคร) รุ่นที่ 1
- หลักสูตร การบริหารจัดการด้านความมั่นคงขั้นสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (สวปอ.มส.) รุ่นที่ 2
- หลักสูตร ผู้บริหารระดับสูงสถาบันวิทยาการตลาดทุน (วตท.) รุ่นที่ 10
- หลักสูตร การป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐร่วมเอกชน (ปรอ.) รุ่นที่ 21 วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.2551)
- หลักสูตร โครงการยุทธศาสตร์ศึกษาสำหรับผู้บริหารระดับสูง รุ่นที่ 2 สมาคมยุทธศาสตร์แห่งประเทศไทย
- หลักสูตร การเมืองการปกครองในระบบประชาธิปไตยสำหรับนักบริหารระดับสูง รุ่นที่ 3 สถาบันพระปกเก้า
ตำแหน่งทางการเมือง
ตำแหน่งด้านสังคม
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
อ้างอิง