ป้อมปราบศัตรูพ่าย เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร ถือเป็นเขตอนุรักษ์เมืองเก่า แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมทางฝั่งพระนคร
ที่ตั้งและอาณาเขต
เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของฝั่งพระนคร มีอาณาบริเวณติดต่อกับเขตข้างเคียง ดังนี้
ที่มาของชื่อเขต
ชื่อเขต "ป้อมปราบศัตรูพ่าย" ตั้งขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ป้อมป้องกันข้าศึกที่ตั้งอยู่ใต้ตลาดนางเลิ้งบ้านญวน[3] ใกล้สะพานนพวงศ์[4] ซึ่งเป็นหนึ่งในเจ็ดป้อมที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นตลอดฝั่งคลองผดุงกรุงเกษม (คูพระนครใหม่ในสมัยนั้น) ต่อมาเมื่อตัวเมืองขยายออกไปมากขึ้นและความจำเป็นในการป้องกันศัตรูด้วยป้อมปราการก็หมดไป ป้อมนี้จึงถูกรื้อลงพร้อมกับป้อมอื่น ๆ
ประวัติศาสตร์
อำเภอป้อมปราบศัตรูพ่าย ตั้งขึ้นตามประกาศกระทรวงนครบาลเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2458[5] (รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว) เป็นอำเภอชั้นในอำเภอหนึ่งของกรุงเทพพระมหานคร (เปลี่ยนชื่อมาจากมณฑลกรุงเทพ) ตั้งที่ทำการอยู่บริเวณถนนหลวง หลังวัดเทพศิรินทราวาส ตำบลป้อมปราบศัตรูพ่าย[3] ต่อมาในวันที่ 21 ตุลาคม ปีเดียวกัน ได้มีประกาศกระทรวงนครบาลกำหนดเขตการปกครองในกรุงเทพพระมหานครขึ้นใหม่ โดยกำหนดให้อำเภอป้อมปราบศัตรูพ่ายรวมอยู่ในท้องที่จังหวัดพระนคร[6]
ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2469 (รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว) ทางการได้เปลี่ยนแปลงฐานะเขตการปกครองขนาดเล็กที่มีอาณาเขตติดต่อกันใกล้ชิดในจังหวัดพระนคร เพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณแผ่นดิน อำเภอป้อมปราบศัตรูพ่ายจึงถูกลดฐานะลงเป็น กิ่งอำเภอป้อมปราบศัตรูพ่าย ขึ้นกับอำเภอสามยอด[7] จนกระทั่งเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2472 ทางการได้ยุบกิ่งอำเภอป้อมปราบศัตรูพ่ายลง ย้ายที่ว่าการอำเภอสามยอดไปตั้งทำการที่กิ่งอำเภอป้อมปราบศัตรูพ่าย และเรียกชื่อว่า อำเภอป้อมปราบศัตรูพ่าย[8] แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 22 ตำบล[9]
ใน พ.ศ. 2481 (รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล) ทางการได้ปรับปรุงเขตการปกครองใหม่เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ โดยให้ยุบรวมอำเภอที่มีขนาดเนื้อที่เล็กและจำนวนประชากรไม่มากเข้าด้วยกัน สำหรับอำเภอป้อมปราบศัตรูพ่ายได้รับโอนพื้นที่ตำบลวัดโสมนัส ตลาดนางเลิ้ง และมหานาคจากอำเภอนางเลิ้งซึ่งถูกยุบลงในคราวนี้[10] และได้ย้ายที่ว่าการอำเภอไปตั้งที่สามแยกถนนหลานหลวงตัดกับถนนพะเนียง ตำบลวัดโสมนัส ซึ่งเคยเป็นที่ตั้งที่ว่าการอำเภอนางเลิ้ง[9]
ใน พ.ศ. 2483 มีประกาศเปลี่ยนแปลงเขตตำบลและอำเภอในจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี ตำบลมหานาคและตลาดนางเลิ้งถูกยุบรวมเข้ากับตำบลวัดโสมนัส ตำบลบ้านบาตรถูกยุบไปรวมกับตำบลวัดเทพศิรินทร์และป้อมปราบศัตรูพ่าย ตำบลโรงเลี้ยงเด็กและสวนมะลิถูกยุบรวมเข้ากับตำบลวัดเทพศิรินทร์ และตำบลวรจักรถูกยุบรวมเข้ากับตำบลป้อมปราบศัตรูพ่าย[11] จากนั้นกระทรวงมหาดไทยได้มีประกาศเปลี่ยนแปลงเขตการปกครองในจังหวัดพระนครใหม่อีกครั้งเมื่อ พ.ศ. 2490 ครั้งนี้กำหนดให้อำเภอป้อมปราบศัตรูพ่ายแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 5 ตำบล[12]
ต่อมามีประกาศคณะปฏิวัติให้รวมจังหวัดพระนครกับจังหวัดธนบุรีเข้าด้วยกันเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรีใน พ.ศ. 2514[9] ซึ่งเป็นปีเดียวกับที่อำเภอป้อมปราบศัตรูพ่ายได้ย้ายที่ว่าการจากถนนหลานหลวงไปตั้งอยู่ที่ถนนศุภมิตร ตำบลวัดโสมนัส (ที่ตั้งปัจจุบัน)[3] และในปีถัดมา (พ.ศ. 2515) ก็มีประกาศคณะปฏิวัติเปลี่ยนรูปแบบการบริหารเมืองหลวงใหม่อีกครั้งจากนครหลวงกรุงเทพธนบุรีเป็นกรุงเทพมหานคร แบ่งพื้นที่ออกเป็นเขตและแขวงแทนอำเภอและตำบล[9] อำเภอป้อมปราบศัตรูพ่ายจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย นับแต่นั้น
การแบ่งเขตการปกครอง
เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 5 แขวง ได้แก่
หมาย เลข |
อักษรไทย |
อักษรโรมัน |
พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2566) |
ความหนาแน่น (ธันวาคม 2566) |
แผนที่
|
1. |
ป้อมปราบ |
Pom Prap |
0.535 |
12,308 |
23,005.61 |
|
2. |
วัดเทพศิรินทร์ |
Wat Thep Sirin |
0.347 |
5,721 |
16,487.03
|
3. |
คลองมหานาค |
Khlong Maha Nak |
0.448 |
8,073 |
18,020.09
|
4. |
บ้านบาตร |
Ban Bat |
0.251 |
5,743 |
22,880.48
|
5. |
วัดโสมนัส |
Wat Sommanat |
0.350 |
6,255 |
17,871.43
|
ทั้งหมด |
1.931 |
38,100 |
19,730.71
|
ประชากร
สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย[13]
|
ปี (พ.ศ.) |
ประชากร |
การเพิ่มและการลด
|
2535 |
92,251 |
ไม่ทราบ
|
2536 |
83,680 |
-8,571
|
2537 |
81,642 |
-2,038
|
2538 |
80,932 |
-710
|
2539 |
80,173 |
-759
|
2540 |
79,182 |
-991
|
2541 |
78,376 |
-806
|
2542 |
76,602 |
-1,774
|
2543 |
75,220 |
-1,382
|
2544 |
73,979 |
-1,241
|
2545 |
73,240 |
-739
|
2546 |
72,040 |
-1,200
|
2547 |
61,163 |
-10,877
|
2548 |
60,001 |
-1,162
|
2549 |
58,768 |
-1,233
|
2550 |
57,461 |
-1,307
|
2551 |
56,464 |
-997
|
2552 |
54,601 |
-1,863
|
2553 |
53,526 |
-1,075
|
2554 |
52,093 |
-1,433
|
2555 |
50,930 |
-1,163
|
2556 |
50,092 |
-838
|
2557 |
49,280 |
-812
|
2558 |
48,585 |
-695
|
2559 |
47,450 |
-1,135
|
2560 |
46,581 |
-869
|
2561 |
45,701 |
-880
|
2562 |
43,485 |
-2,216
|
2563 |
41,524 |
-1,961
|
2564 |
40,418 |
-1,106
|
2565 |
39,310 |
-1,108
|
2566 |
38,100 |
-1,210
|
การคมนาคม
ถนนสายหลักในพื้นที่เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ได้แก่
สถานที่สำคัญ
- สถานที่ราชการ
- วัด
- โรงเรียน
- อื่น ๆ
ตลาด
- ตลาดคลองถม เป็นตลาดนัดวันเสาร์-อาทิตย์ ซึ่งส่วนมากจะขายเกี่ยวกับชิ้นส่วนไฟฟ้าราคาถูก
- ตลาดโบ๊เบ๊ ตลาดที่ขายเสื้อผ้าราคาถูก
- ตลาดนางเลิ้ง ตลาดบกแห่งแรกของไทย และเป็นชุมชนที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
13°45′29″N 100°30′47″E / 13.758°N 100.513°E / 13.758; 100.513
|
---|
แขวง | | |
---|
ประวัติศาสตร์ |
- อำเภอป้อมปราบศัตรูพ่าย จังหวัดพระนคร
- กิ่งอำเภอป้อมปราบศัตรูพ่าย อำเภอสามยอด จังหวัดพระนคร
- อำเภอป้อมปราบศัตรูพ่าย จังหวัดพระนคร (ครั้งที่ 2)
- เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร
|
---|
ภูมิศาสตร์ | |
---|
เศรษฐกิจ | |
---|
สังคม | การศึกษา | |
---|
ราชการ | |
---|
วัฒนธรรม | |
---|
กีฬา | |
---|
สุขภาพ | |
---|
มูลนิธิ | |
---|
|
---|
|
สถานที่ใกล้เคียงกับเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย |
---|
|