สมชาย เบญจรงคกุล

สมชาย เบญจรงคกุล
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ดำรงตำแหน่ง
24 ตุลาคม – 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540
นายกรัฐมนตรีพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด3 กันยายน พ.ศ. 2500 (67 ปี)

นายสมชาย เบญจรงคกุล เป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในรัฐบาลของพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ และเป็นนักธุรกิจที่เคยดำรงตำแหน่งผู้บริหารหลายบริษัท

ประวัติ

สมชาย เบญจรงคกุล เกิดเมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2500 เป็นบุตรของนายสุจินต์ เบญจรงคกุล กับนางกาญจนา เบญจรงคกุล (อมรรัตนกุล) มีพี่น้องรวม 4 คน คือ

เขาสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย และระดับปริญญาตรีจาก คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

สมชายได้สมรสกับ เกรซ สิริวัฒนเวคิน มีบุตรธิดารวม 5 คน

การทำงาน

สมชาย เบญจรงคกุล เป็นนักธุรกิจชาวไทย เคยดำรงตำแหน่งผู้บริหารบริษัทหลายแห่ง อาทิ เป็นประธานกรรมการบริหารบริษัท ไทยเซทเทิลไลท์ บริษัท ยูคอมอินเตอร์เนชั่นแนล คอมมูนิเกชั่น จำกัด บริษัท ยูไนเต็ด เรดิโอ จำกัด และเป็นกรรมการบริหารบริษัท ยูไนเต็ดคอมมูนิเกชั่น อินดัสตรี จำกัด (มหาชน) บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเกชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท เดลคอม เซอร์วิส (ประเทศไทย) บริษัท เวิร์ล เทเลคอม โฮลดิ้ง จำกัด ประธานกรรมการบริหาร บริษัทยูไนเต็ด เทเลคอม เซลส์ แอนด์ เซอร์วิสเซส จำกัด (ยูเทล) และเป็นผู้บริหารของกลุ่มบริษัทยูคอม[1]

เขาเคยเป็นที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี (นายบุญพันธ์ แขวัฒนะ) ในปี พ.ศ. 2538[2] เป็นที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี (นายมนตรี พงษ์พานิช) ในปี พ.ศ. 2539 และในปี พ.ศ. 2540 ในรัฐบาลของพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข[3]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. จากไทยรัฐ
  2. คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๓๐/๒๕๓๙ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (นายธีระวัฒน์ ศิริวันสาณฑ์ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมือง,นายสมชาย เบญจรงคกุล ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี)
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 114 ตอนพิเศษ 100ง วันที่ 24 ตุลาคม 2540
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕ เก็บถาวร 2013-10-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๙, ตอน ๓๕ ข , ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕
  5. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (ชั้นสายสะพาย ในวโรกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๐ จำนวน ๔,๗๙๙ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2013-06-30.

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!