ไพโรจน์ นิงสานนท์

ไพโรจน์ นิงสานนท์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ดำรงตำแหน่ง
2 มีนาคม พ.ศ. 2534 – 22 มีนาคม พ.ศ. 2535
นายกรัฐมนตรีอานันท์ ปันยารชุน
ก่อนหน้าปิยะณัฐ วัชราภรณ์
ถัดไปบุญพันธ์ แขวัฒนะ
ดำรงตำแหน่ง
10 มิถุนายน พ.ศ. 2535 – 22 กันยายน พ.ศ. 2535
ก่อนหน้าบุญพันธ์ แขวัฒนะ
ถัดไปบุญพันธ์ แขวัฒนะ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด2 เมษายน 2471
เสียชีวิต16 มีนาคม 2564 (92 ปี)[1]
โรงพยาบาลรามาธิบดี[1] กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
คู่สมรสนางสุมาลี นิงสานนท์
(ชาย 1 หญิง 5 คน)

นายแพทย์ไพโรจน์ นิงสานนท์ เป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในรัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน (2 สมัย) และเป็นอดีตสมาชิกวุฒิสภา

ประวัติ

ไพโรจน์ นิงสานนท์ เกิดเมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2471[1] เป็นบุตรคนที่ 2 จากจำนวน 6 คน ของหลวงเจริญรถสิน (เจริญ นิงสานนท์) อดีตหัวหน้ากองคลังเงิน กรมรถไฟ กับนางตาบทิพย์ เจริญรถสิน (สกุลเดิม:แพทยานนท์) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีแพทยศาสตรบัณฑิต และสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ระดับปริญญาโทสาขาสาธารณสุขศาสตร์ จากประเทศสหรัฐอเมริกา และได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาสาธารณสุข จากมหาวิทยาลัยมหิดล

วันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2564 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว​ โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม​ฯ พระราชทานน้ำหลวงอาบศพ และพระราชทานโกศแปดเหลี่ยม​

วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2564 นางรสนา โตสิตระกูล​ เป็นประธานในการสวดพิธีอภิธรรมศพ

วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2564 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว​ โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม​ฯ ให้พระราชทานเพลิงศพ ณ วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร

การทำงาน

ไพโรจน์ นิงสานนท์ เคยรับราชการประจำกระทรวงสาธารณสุข เคยดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงสาธารณสุข[2] ต่อมาเขาได้รับแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษาคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ซึ่งมีนายบุญชนะ อัตถากร เป็นประธาน ต่อจากนั้นเขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในรัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน เมื่อปี พ.ศ. 2534[3] และปี พ.ศ. 2535[4]

ต่อมาในปี พ.ศ. 2549 นายไพโรจน์ ได้ร่วมกันลงนามทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอนายกรัฐมนตรีพระราชทาน เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2549 โดยอ้างอิงความตามมาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540[5]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 "อาลัย! "นพ.ไพโรจน์ นิงสานนท์" อดีตรัฐมนตรีว่าการ สธ". กองบรรณาธิการ Hfocus. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม 2564. {{cite news}}: |first= ไม่มี |last= (help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  2. สปสช.ร่วมจุดตะเกียงหน้าบ้านนายกฯ 6 มิ.ย.
  3. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๔ ราย) เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนเล่ม 108 ตอนที่ 45 วันที่ 6 มีนาคม 2534
  4. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๖ ราย)เล่ม 109 ตอนที่ 69 วันที่ 14 มิถุนายน 2535
  5. นายกรัฐมนตรีพระราชทาน
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๒๔๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๑ ธันวาคม ๒๕๓๐
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-06-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๐ ตอนที่ ๒๐๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๖, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๒๖
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๙๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๑๘, ๘ มิถุนายน ๒๕๒๒
ก่อนหน้า ไพโรจน์ นิงสานนท์ ถัดไป
ปิยะณัฐ วัชราภรณ์ (ครั้งแรก)
บุญพันธ์ แขวัฒนะ (ครั้งที่ 2)

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
(2 มีนาคม พ.ศ. 2534 - 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 (ครั้งแรก)
10 มิถุนายน พ.ศ. 2535 - 22 กันยายน พ.ศ. 2535 (ครั้งที่ 2))
บุญพันธ์ แขวัฒนะ

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!