ฐิติมา ฉายแสง

ฐิติมา ฉายแสง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดฉะเชิงเทรา เขต 1
เริ่มดำรงตำแหน่ง
14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
(ข้อผิดพลาด: แม่แบบ:อายุปีและวัน รองรับเฉพาะปีพุทธศักราช หากใช้เป็นคริสต์ศักราช กรุณาใช้ แม่แบบ:Age in years and days)
ก่อนหน้ากิตติชัย เรืองสวัสดิ์
คะแนนเสียง35,488 (30.45%)
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
19 สิงหาคม พ.ศ. 2554 – 24 มกราคม พ.ศ. 2555
(0 ปี 152 วัน)
นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ก่อนหน้าปณิธาน วัฒนายากร
ปฏิบัติหน้าที่แทน
ดำรงตำแหน่ง
25 มกราคม พ.ศ. 2555 – 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
(0 ปี 34 วัน)
นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ถัดไปอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2503 (64 ปี)
อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา
พรรคการเมืองไทยรักไทย (2548–2550)
พลังประชาชน (2550–2551)
เพื่อไทย (2551–2561, 2564–ปัจจุบัน)
ไทยรักษาชาติ (2561–2562)
คู่สมรสปรีชา บุณยกิดา

ฐิติมา ฉายแสง (เกิด 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2503) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดฉะเชิงเทรา เขต 1 สังกัดพรรคเพื่อไทย อดีตโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี อดีตเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม อดีตรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง[1] และเป็นน้องสาวของจาตุรนต์ ฉายแสง

ประวัติ

ฐิติมา ฉายแสง มีชื่อเล่นว่า เปิ้ล เกิดเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2503[2] ที่ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นบุตรสาวของนายอนันต์ และนางเฉลียว ฉายแสง เป็นน้องสาวของนายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย และนายวุฒิพงศ์ ฉายแสง อดีตรัฐมนตรี ปัจจุบันสมรสกับปรีชา บุณยกิดา มีบุตร 2 คน

ฐิติมา ฉายแสง สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ระดับปริญญาตรี ด้านศึกษาศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยศิลปากร ระดับปริญญาโท ด้านบริหารธุรกิจ และด้านบริหารรัฐกิจ จากมหาวิทยาลัยเซาท์อีสเทอร์น ประเทศสหรัฐอเมริกา

การทำงาน

ฐิติมา ฉายแสง เคยทำงานเป็นผู้เชี่ยวชาญประจำตัวนายจาตุรนต์ ฉายแสง ต่อมาได้เข้าสู่งานการเมืองโดยการสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดฉะเชิงเทรา เขต 1 ในปี พ.ศ. 2548 สังกัดพรรคไทยรักไทย และได้รับแต่งตั้งเป็นโฆษกคณะกรรมาธิการการพาณิชย์ สภาผู้แทนราษฎร ต่อจากนั้นในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 สังกัดพรรคพลังประชาชน ได้รับเลือกตั้งในพื้นที่เดิม และได้รับแต่งตั้งเป็นรองประธานคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ รวมถึงมีบทบาทในการอภิปรายในสภา จนกระทั่งได้รับฉายาจากนายประมวล เอมเปีย ส.ส.ชลบุรี พรรคประชาธิปัตย์ ว่า "นางมารร้าย"[3]

ในวันที่ 17 กุมภาพันธุ์ พ.ศ. 2553 นางฐิติมา ฉายแสง เข้าร่วมการชุมนุม กับกลุ่ม นปช.[4]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 ฐิติมาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่เดิม สังกัดพรรคเพื่อไทย แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง โดยแพ้ให้กับ ดร.บุญเลิศ ไพรินทร์ จากพรรคประชาธิปัตย์[5] ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จากนั้นได้รับแต่งตั้งเป็นรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง แต่ยังคงปฏิบัติหน้าที่ในฐานะโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเช่นเดิม

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 ฐิติมาได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง สังกัดพรรคไทยรักษาชาติ แต่พรรคถูกยุบเสียก่อน จึงทำให้เธอหมดสิทธิ์ในการลงเลือกตั้ง จึงลงพื้นที่ช่วยหาเสียงให้นายกิตติชัย เรืองสวัสดิ์ ผู้สมัคร ส.ส. เขต 1 ฉะเชิงเทรา พรรคอนาคตใหม่ โดยให้สัมภาษณ์ว่า เพราะพรรคอนาคตใหม่ มีจุดยืนประชาธิปไตยที่แน่วแน่ ประกอบกับพื้นที่ที่ผู้สมัครของพรรคอนาคตใหม่ลงสมัครเป็นเขตพื้นที่เมือง ซึ่งมีนักศึกษาเยอะ วัยรุ่นเยอะ มีมหาวิทยาลัย มีโรงเรียนใหญ่ๆ หลายแห่ง ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีแนวโน้มที่จะเลือกพรรคอนาคตใหม่ เพราะเป็นเหมือนตัวแทนของคนรุ่นใหม่[6] ฐิติมากลับเข้าพรรคเพื่อไทยในเวลาต่อมา

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 ฐิติมาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่เดิม สังกัดพรรคเพื่อไทย และได้รับเลือกตั้งอีกครั้งในรอบ 12 ปี

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 จังหวัดฉะเชิงเทรา เขต 1 สังกัดพรรคไทยรักไทย
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดฉะเชิงเทรา เขต 2 สังกัดพรรคพลังประชาชน ร่วมกับ วุฒิพงศ์ ฉายแสง
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 จังหวัดฉะเชิงเทรา เขต 1 สังกัดพรรคเพื่อไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. ครม.ตั้ง ขรก.การเมือง"ปู 2"ครบทุกตำแหน่ง "วัน อยู่บำรุง"นั่งที่ปรึกษา รมช.คค.-"ผดุง"ตามโผเลขาฯ มท.1[ลิงก์เสีย]
  2. 'ฐิติมา ฉายแสง'สวย เผ็ด ดุ[ลิงก์เสีย]
  3. "พิจารณา พ.ร.บ.งบฯเดือดรอบดึก"มาร์ค"ยันคลิปเสียงเก๊ ซัดกันนัว ส.ส.ปชป.ด่า"นางมารร้าย" ประชุมสภาล่ม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-08-30. สืบค้นเมื่อ 2011-08-04.
  4. 'แม้ว'ยุคนแปดริ้วป่วนกรุงปลายเดือนนี้
  5. เลือกตั้งแปดริ้วล้มยักษ์ ตระกูลฉายแสง-ตันเจริญปราชัย เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนมติชน
  6. https://www.khaosod.co.th/politics/news_2300828
  7. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๗, เล่ม ๑๔๑ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๔, ๑๓ สิงหาคม ๒๕๖๗
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕,, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๒๔, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕

แหล่งข้อมูลอื่น

ก่อนหน้า ฐิติมา ฉายแสง ถัดไป
รศ.ดร.ปณิธาน วัฒนายากร
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
(25 สิงหาคม พ.ศ. 2554 - 24 มกราคม พ.ศ. 2555)
ปฏิบัติหน้าที่แทน
(25 มกราคม พ.ศ. 2555 - 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555)
อนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด
(รักษาการ)

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!