ภาษาในประเทศไทย

ภาษาในประเทศไทย
ป้ายที่สถานีรถไฟหัวหินในภาษาไทยกลาง อังกฤษ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลี
ภาษาราชการไทยกลาง (ภาษาแม่ + ภาษาที่สอง 96%)
ภาษาพื้นถิ่นไทยกลาง (ภาษาแม่ 40%),
อีสาน (ภาษาแม่ 33%),
ไทยถิ่นเหนือ (ภาษาแม่ 11%),
ไทยถิ่นใต้ (ภาษาแม่ 9%)
ภาษาชนกลุ่มน้อย
ภาษาผู้อพยพ
ภาษาต่างประเทศ
ภาษามือภาษามือบ้านค้อ, ภาษามือเชียงใหม่, ภาษามือกรุงเทพเก่า, ภาษามือไทย
รูปแบบแป้นพิมพ์

ประเทศไทยเป็นที่ตั้งของภาษาพื้นเมือง 51 ภาษาและภาษาต่างด้าว 24 ภาษา[1] โดยประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาในกลุ่มภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้ และภาษาประจำชาติคือภาษาไทยกลาง ภาษาลาวมีผู้พูดริมชายแดนประเทศลาว ภาษากะเหรี่ยงมีผู้พูดริมชายแดนประเทศพม่า ภาษาเขมรมีผู้พูดใกล้ประเทศกัมพูชา และภาษามลายูมีผู้พูดทางใต้ใกล้ประเทศมาเลเซีย ภาษา 'ในประเทศ' 62 ภาษาได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการ และภาษาต่างชาติที่แรงงานต่างชาติ ชาวต่างชาติ และนักธุรกิจส่วนใหญ่พูดกันในประเทศไทย ได้แก่ ภาษาพม่า กะเหรี่ยง อังกฤษ จีน ญี่ปุ่น และเวียดนาม เป็นต้น[2]

ภาษาที่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการ

ระดับชาติ

ตารางข้างล่างประกอบด้วยกลุ่มภาษาศาสตร์ชาติพันธุ์ทั้ง 62 กลุ่มที่รัฐบาลไทยให้การรับรองในรายงานประเทศต่อคณะกรรมการสหประชาชาติที่รับผิดชอบในอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบเมื่อปี 2554 สืบค้นได้จากกรมส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม[3]:3

ภาษาจาก 5 ตระกูลภาษาที่ได้รับการยอมรับจากรัฐบาลไทย[3]
ขร้า-ไท ออสโตรเอเชียติก จีน-ทิเบต ออสโตรนีเชียน ม้ง-เมี่ยน
24 กลุ่ม 22 กลุ่ม 11 กลุ่ม 3 กลุ่ม 2 กลุ่ม
กะเลิง กะซอง กฺ๋อง มลายู (นายู / ยาวี) ม้ง
ไทยถิ่นเหนือ กูย กะเหรี่ยง (7 ภาษาย่อย) มอแกน/มอแกลน เมี่ยน
ไทดำ ขมุ - กะเหรี่ยงสะกอ อูรักลาโวยจ
ญ้อ เขมรถิ่นไทย, เขมรเหนือ - กะเหรี่ยงโป
เขิน ชอง - กะเหรี่ยงกะยา
ไทยกลาง สะโอจ - กะเหรี่ยงบะเว
ไทยโคราช กันซิว - กะเหรี่ยงปะโอ
ตากใบ ซำเร - กะเหรี่ยงกะยัน
ไทเลย โซ่ (ทะวืง) - กะเหรี่ยงกะญอ
ไทลื้อ โส้ จิ่งเผาะ / กะชีน
ไทหย่า ญัฮกุร (ชาวบน) จีน
ไทใหญ่ เยอ จีนยูนนาน
ไทยถิ่นใต้ บรู (ข่า) บีซู
ผู้ไท ปลัง (สามเตา) พม่า
พวน ปะหล่อง (Dala-ang) ล่าหู่ (มูเซอ)
ยอง มอญ ลีสู่
โย้ย เลอเวือะ อาข่า
ลาวครั่ง มลาบรี (ตองเหลือง) อึมปี้
ลาวแง้ว ละเม็ต (Lua)
ลาวตี้ ละว้า (เลอเวือะ / Lua)
ลาวเวียง/ลาวกลาง ว้า
ลาวหล่ม เวียดนาม
อีสาน
แสก

ระดับภาค

ข้อมูลภาษาระดับภาษามีจำกัด ตารางข้างล่างแสดงตระกูลภาษาทั้งหมดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยตามที่รับรองในรายงานที่เป็นแหล่งข้อมูลของประเทศ

ตระกูลภาษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย[3]
กลุ่มภาษาไท จำนวน ตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก จำนวน
ลาวอีสาน / ไทยถิ่นอีสาน 13,000,000 เขมรถิ่นไทย / เขมรเหนือ 1,400,000
ไทยกลาง 800,000 กูย / กวย (ส่วย) 400,000
ไทยโคราช / ไทเบิ้ง / Tai Deung 600,000 โส้ 70,000
ไทยเลย 500,000 บรู รวม
ผู้ไท 500,000 เวียดนาม 20,000
Ngaw 500,000 เยอ 10,000
กะเลิง 200,000 สำหรับ ญัฮกุร / ชาวบน / คนดง 7,000
โย้ย กะเลิง โย้ย และพวน โซ่ (ทะวืง) 1,500
พวน รวม มอญ 1,000
ไทดำ (โซ่ง) (ไม่ระบุ)
รวม: 16,103,000 รวม: 1,909,000
ไม่สามารถระบุเชื้อชาติและจำนวนได้: 3,288,000
21,300,000

จำนวนผู้พูดนับเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาษาในนี้อาจมีผู้พูดเพิ่มเติมนอกพื้นที่นี้

ระดับจังหวัด

ข้อมูลระดับจังหวัดมีจำกัด ผู้ที่สนใจสามารถสืบค้นเพิ่มเติมในแหล่งข้อมูล Ethnolinguistic Maps of Thailand[4] หรือ รายงานประเทศไทย ของ Ethnologue

ผู้พูดภาษาเขมรตามจำนวนร้อยละของประชากรทั้งหมดในจังหวัดของประเทศไทย
จังหวัด ร้อยละเขมรใน พ.ศ. 2533 ร้อยละเขมรใน พ.ศ. 2543
สุรินทร์[5]
0.3%
27.6%
จันทบุรี[6]
0.6%
1.6%
มหาสารคาม[7]
0.2%
0.3%
ร้อยเอ็ด[8]
0.4%
0.5%
สระแก้ว[9]
1.9%
ศรีสะเกษ[10]
30.2%
26.2%
สุรินทร์[11]
63.4%
47.2%
ตราด[12]
0.4%
2.1%
อุบลราชธานี[13]
0.8%
0.3%

ภาษาชนกลุ่มน้อย

สถานะภาษาชนกลุ่มน้อยทั้งหมด ซึ่งรวมถึงภาษาที่มีผู้พูดมากอย่างอีสานทางตะวันออกเฉียงเหนือและคำเมืองทางเหนือ มีความเสี่ยง เนื่องจากไม่ได้รับการสนับสนุนอย่างดีในนโยบายการศึกษาด้านภาษาของประเทศไทย[14] ภาษามลายูปัตตานีทางใต้เป็นภาษาหลักของชุมชนมุสลิมเชื้อสายมลายู ภาษาเขมรพูดโดยชาวเขมรเหนือวัยชรา วิธภาษาจีนพูดโดยประชากรไทยเชื้อสายจีนวัยชรา โดยมีสำเนียงแต้จิ๋วเป็นภาษาหลัก อย่างไรก็ตาม ชาวไทยเชื้อสายจีนและเขมรเหนือวัยหนุ่มสาวเปลี่ยนไปพูดภาษาไทยกลาง เปอรานากันในภาคใต้ของไทยพูดภาษาไทยถิ่นใต้ในบ้าน

สถานะเสี่ยง

รายงานประเทศไทยของ Ethnologue ใน พ.ศ. 2557 ที่ใช้ระดับการประเมินความเสี่ยงด้านภาษาของ EGIDS[15] จัดให้ประเทศไทยมีภาษาประจำชาติภาษาเดียว (ไทยกลาง), ภาษาในระดับการศึกษาภาษาเดียว (อีสาน), ภาษาที่กำลังพัฒนา 27 ภาษา, ภาษาคงที่ 18 ภาษา, ภาษาที่อยู่ในความเสี่ยง 17 ภาษา และภาษาที่กำลังสูญหาย 7 ภาษา[16]

ภาษาเรียงตามจำนวนผู้ใช้ภาษา

ข้อมูลรายงานประเทศของ ICERD ปี 2554

ตารางต่อไปนี้แสดงให้เห็นถึงภาษาราชการของไทยและภาษาอื่น ๆ ที่มีผู้ใช้มากกว่า 400,000 คน ที่รัฐบาลไทยรายงานต่ออนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ (International Convention on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination) เมื่อปี 2554[3]:99 ที่ส่วนใหญ่จะใช้แผนที่ภาษาศาสตร์ชาติพันธุ์ (Ethnolinguistic) ของประเทศไทย[4]

ภาษาราชการของไทยและภาษาอื่น ๆ ที่มีผู้ใช้มากกว่า 400,000 คน[3]

ภาษา จำนวนผู้ใช้ ตระกูลภาษา
ไทยกลาง 20.0 ล้านคน ขร้า-ไท
ไทยถิ่นอีสาน 15.2 ล้านคน ขร้า-ไท
ไทยถิ่นเหนือ 6.0 ล้านคน ขร้า-ไท
ไทยถิ่นใต้ 4.5 ล้านคน ขร้า-ไท
เขมรถิ่นไทย 1.4 ล้านคน ออสโตรเอเชียติก
มลายูปัตตานี 1.4 ล้านคน ออสโตรนีเซียน
ญ้อ 0.5 ล้านคน ขร้า-ไท
ผู้ไท 0.5 ล้านคน ขร้า-ไท
กะเหรี่ยง 0.4 ล้านคน จีน-ทิเบต
กูย 0.4 ล้านคน ออสโตรเอเชียติก

ข้อมูล Ethnologue

จำนวนในตารางข้างล่างเป็นจำนวนผู้พูดภาษาแม่ตามข้อมูลจาก Ethnologue[16] สังเกตว่า Ethnologue ระบุ 'อีสาน' เป็น 'ไทยถิ่นอีสาน' ตามรัฐบาลไทย จนกระทั่งรายงานประเทศใน พ.ศ. 2554

ภาษาในไทยที่มีผู้พูดมากกว่า 400,000 คน จากข้อมูลของ Ethnologue

ตระกูลภาษา ภาษา ISO ผู้พูด สถานะ (EGIDS) หมายเหตุ
ขร้า-ไท ไทยกลาง th 20.2 ล้านคน 1 (ชาติ)
ไทยถิ่นอีสาน tts 15.0 ล้านคน 3 (สื่อสารแพร่หลาย)
ไทยถิ่นเหนือ nod 6.0 ล้านคน 4 (การศึกษา)
ไทยถิ่นใต้ sou 4.5 ล้านคน 5 (กำลังพัฒนา)
ผู้ไท pht 0.5 ล้านคน 6a (คงที่)
ออสโตรเอเชียติก เขมรถิ่นไทย kmx 1.4 ล้านคน 5 (กำลังพัฒนา)
ออสโตรนีเซียน มลายูปัตตานี mfa 1.1 ล้านคน 5 (กำลังพัฒนา)
จีน-ทิเบต พม่า my 0.8 ล้านคน ไม่ใช่ภาษาท้องถิ่น

ข้อมูลประชากร

จากการสำรวจสำมะโนครัวประชากรเมื่อปี พ.ศ. 2543 พบว่าสี่ภาษาที่มีผู้ใช้มากที่สุดมาจากตระกูลภาษาขร้า-ไทอันได้แก่ ภาษาไทยมาตรฐาน ไทยถิ่นอีสาน (ส่วนใหญ่คือลาว)[17] คำเมือง และปักษ์ใต้ และไม่มีตัวเลือกสำหรับภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ แม้แต่ภาษาลาวก็ยังถูกจัดให้เป็น 'ไทย'[18] นอกจากนี้การแสดงออกทางเชื้อชาติของชาติพันธุ์ว่าเป็นลาวถือเป็นสิ่งต้องห้าม และชนกลุ่มนี้ได้ถือสัญชาติไทยมาราวร้อยปีแล้ว[19][20] สาเหตุก็เป็นเพราะสยามอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีวัฒนธรรมร่วมกับลาว เนื่องจากสงครามระหว่างสยามกับฝรั่งเศสในปี 2429 ที่คุกคามเอาดินแดนลาวซึ่งเป็นประเทศราชของสยามไปเป็นอาณานิคม หลังจากนั้นสยามจึงมีการสร้างเอกลักษณ์เป็นรัฐชาติสมัยใหม่โดยการเปลี่ยนคนเชื้อสายลาวในไทยให้เป็นคนไทยลุ่มเจ้าพระยาหรือไทยสยามตามแนวคิดมหาอาณาจักรไทย (Greater Thai Empire) อย่างน้อยก็ช่วงปี 2445[21]

ประชากรไทยแบ่งตามภาษา[2]
ภาษา ตระกูลภาษา จำนวนผู้ใช้ (2543)* จำนวนผู้ใช้ (2553)
ไทย ขร้า-ไท 52,325,037 59,866,190
เขมร ออสโตรเอเชียติก 1,291,024 180,533
มลายู ออสโตรนีเซียน 1,202,911 1,467,369
กะเหรี่ยง จีน-ทิเบต 317,968 441,114
จีน จีน-ทิเบต 231,350 111,866
ม้ง ม้ง-เมี่ยน 112,686 149,090
ล่าหู่ จีน-ทิเบต 70,058 -
พม่า จีน-ทิเบต 67,061 827,713
อาข่า จีน-ทิเบต 54,241 -
อังกฤษ อินโด-ยูโรเปียน 48,202 323,779
ไต ขร้า-ไท 44,004 787,696
ญี่ปุ่น ญี่ปุ่น 38,565 70,667
ละว้า ออสโตรเอเชียติก 31,583 -
ลีสู่ จีน-ทิเบต 25,037 -
เวียดนาม ออสโตรเอเชียติก 24,476 8,281
เย้า ม้ง-เมี่ยน 21,238 -
ขมุ ออสโตรเอเชียติก 6,246 -
อินเดีย อินโด-ยูโรเปียน 5,598 22,938
จีนฮ่อ จีน-ทิเบต 3,247 -
ถิ่น ออสโตรเอเชียติก 2,317 -
ภาษาท้องถิ่น - 958,251
ภาษาถิ่นและอื่น ๆ ในประเทศไทย 33,481 318,012
อื่น ๆ 33,481 448,160
ไม่ทราบ 325,134 -
รวม: 56,281,538 65,981,659

* อายุตั้งแต่ 5 ขวบขึ้นไป

นโยบายการศึกษาในด้านภาษา

ภาษาไทยเป็นภาษาในการศึกษา หลักสูตรที่ออกตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542[22] ซึ่งกำหนดระยะเวลาการศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย 12 ปี เน้นให้ภาษาไทยเป็นภาษาประจำชาติ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551[23] จัดลำดับความสำคัญต่อภาษาไทย แม้ว่าจะกล่าวถึง 'ภาษาถิ่น' และ 'ภาษาท้องถิ่น' ด้วย เช่น ภาษาชนกลุ่มน้อย ระบบการศึกษาภาษาเดียวโดยทั่วไปถูกมองว่าไม่มีประสิทธิภาพ ด้วยวัยรุ่นหนึ่งในสามไม่ได้รับการศึกษาตามหน้าที่[24] ความไม่รู้หนังสือในภาษาไทยพบได้แพร่หลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสามจังหวัดทางใต้สุดของประเทศไทย เนื่องจากภาษามลายูถิ่นปัตตานีเป็นภาษาแม่สำหรับชุมชนชาวมลายูส่วนใหญ่ นอกจากนี้ ยังมีโครงการและโรงเรียนนานาชาติที่สอนภาษาอังกฤษหรือจีนควบคู่ไปกับภาษาไทย เช่นเดียวกับโครงการนำร่องจำนวนไม่มากที่สอนภาษาชนกลุ่มน้อยควบคู่ไปกับภาษาไทยในโรงเรียนไทย[14]

อ่านเพิ่ม

  • Bradley, D. (2007). "East and Southeast Asia". ใน Moseley, C. (บ.ก.). Encyclopedia of the world’s endangered languages. London: Routledge. pp. 349–424. OCLC 47983733.
  • Bradley, D (2007). "Languages of Mainland South-East Asia". ใน Miyaoka, O.; Sakiyama, O.; Krauss, M. E. (บ.ก.). The vanishing languages of the Pacific Rim. Oxford: Oxford University Press. pp. 301–336.
  • "Ethnolinguistic Maps of Thailand" (PDF). Bangkok: Office of the National Culture Commission. 2004.
  • Lebar, F. M.; Hickey, G. C.; Musgrave, J. K. (1964). Ethnic groups of mainland Southeast Asia. New Haven: Human Relations Area Files Press. OCLC 409451.
  • Luangthongkum, Theraphan (2007). "The Position of Non-Thai Languages in Thailand". ใน Guan, Lee Hock; Suryadinata, L. (บ.ก.). Language, nation and development in Southeast Asia. Singapore: ISEAS Publishing. pp. 181–194. OCLC 190824881.
  • Matisoff, J. A. (1991). "Endangered languages of Mainland Southeast Asia". ใน Robins, R. H.; Uhlenbeck, E. M. (บ.ก.). Endangered languages. Oxford: Berg Publishers. pp. 189–228. OCLC 464005212.
  • Matisoff, J. A.; Baron, S. P.; Lowe, J. B. (1996). Languages and dialects of Tibeto-Burman (PDF). Sino-Tibetan Etymological Dictionary and Thesaurus Monograph Series 1 and 2. Berkeley: University of California Press. ISBN 0-944613-26-8.
  • Smalley, W. (1994). Linguistic Diversity and National Unity: Language Ecology in Thailand. Chicago: University of Chicago Press. ISBN 9780226762883. OCLC 29564736.
  • Suwilai Premsrirat (2004). "Using GIS For Displaying An Ethnolinguistic Map of Thailand" (PDF). ใน Burusphat, Somsonge (บ.ก.). Papers from the Eleventh Annual Meeting of the Southeast Asian Linguistics Society. Tempe, Arizona: Arizona State University, Program for Southeast Asian Studies. pp. 599–617.

อ้างอิง

  1. "Thailand". Ethnologue. สืบค้นเมื่อ 26 March 2024.
  2. 2.0 2.1 "Population by language, sex and urban/rural residence". data.un.org. สืบค้นเมื่อ 26 March 2024.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 International Convention on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination; Reports submitted by States parties under article 9 of the Convention: Thailand (PDF) (ภาษาอังกฤษ และ ไทย). United Nations Committee on the Elimination of Racial Discrimination. 28 July 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-10-09. สืบค้นเมื่อ 8 October 2016.
  4. 4.0 4.1 Ethnolinguistic Maps of Thailand (PDF). Office of the National Culture Commission. 2004. สืบค้นเมื่อ 26 March 2024.
  5. "Buri Ram: Key Indicators of the population and households, Population and Housing Census 1990 and 2000" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-08. สืบค้นเมื่อ 2017-03-08.
  6. "Chanthaburi: Key Indicators of the population and households, Population and Housing Census 1990 and 2000" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-04-07. สืบค้นเมื่อ 2024-07-06.
  7. "Maha Sarakham: Key Indicators of the population and households, Population and Housing Census 1990 and 2000" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-18. สืบค้นเมื่อ 2017-03-08.
  8. "Roi Et: Key Indicators of the population and households, Population and Housing Census 1990 and 2000" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-04-07. สืบค้นเมื่อ 2024-07-06.
  9. "Sakaeo: Key indicators of the population and households, Population and Housing Census 1990 and 2000" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-04-07. สืบค้นเมื่อ 2017-03-08.
  10. "Si Sa Ket: Key indicators of the population and households, Population and Housing Census 1990 and 2000" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-04-07. สืบค้นเมื่อ 2017-03-08.
  11. "Surin: Key indicators of the population and households, Population and Housing Census 1990 and 2000" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-02-15. สืบค้นเมื่อ 2017-03-08.
  12. "Trat: Key indicators of the population and households, Population and Housing Census 1990 and 2000" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-21. สืบค้นเมื่อ 2024-07-06.
  13. "Ubon Ratchathani: Key indicators of the population and households, Population and Housing Census 1990 and 2000" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-12. สืบค้นเมื่อ 2017-03-08.
  14. 14.0 14.1 Draper, John (2019-04-17), "Language education policy in Thailand", The Routledge International Handbook of Language Education Policy in Asia, Abingdon, Oxon: Routledge, pp. 229–242, doi:10.4324/9781315666235-16, ISBN 978-1-315-66623-5
  15. Lewis, M.P.; Simons, G.F. (2010). "Assessing endangerment: Expanding Fishman's GIDS" (PDF). Revue Roumaine de Linguistique. 55 (2): 103–120.
  16. 16.0 16.1 Lewis, M.P.; Simons, G.F.; Fennog, C.D. (2014). Ethnologue: Languages of Thailand. SIL International.
  17. Draper, John; Kamnuansilpa, Peerasit (2016). "The Thai Lao Question: The Reappearance of Thailand's Ethnic Lao Community and Related Policy Questions". Asian Ethnicity. 19: 81–105. doi:10.1080/14631369.2016.1258300. S2CID 151587930.
  18. Luangthongkum, Theraphan (2007). "The Position of Non-Thai Languages in Thailand". ใน Guan, Lee Hock; Suryadinata, L. (บ.ก.). Language, nation and development in Southeast Asia. Singapore: ISEAS Publishing. pp. 181–194. OCLC 190824881.
  19. Breazeale, Kennon (1975). The integration of the Lao states (วิทยานิพนธ์ PhD). Oxford University.
  20. Grabowsky, Volker (1996). "The Thai census of 1904: Translation and analysis". Journal of the Siam Society. 84 (1): 49–85.
  21. Streckfuss, D. (1993). The mixed colonial legacy in Siam: Origins of Thai racialist thought, 1890-1910. In L. J. Sears (Ed.), Autonomous histories, particular truths: Essays in honor of John R. W. Smail (pp.123-154). Madison, Wisconsin: University of Wisconsin-Madison.
  22. "พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒" (PDF). กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ. 1999. สืบค้นเมื่อ 26 March 2024.
  23. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ (PDF). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. 2008. สืบค้นเมื่อ 26 March 2024.
  24. "Thailand Economic Monitor – June 2015: Quality Education for All". World Bank (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-07-21.

แหล่งข้อมูลอื่น

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!