ภาษาขมุ

ภาษาขมุ
ภาษากำมุ
พาซา คะมุ้
ออกเสียง[pʰasa̤ː kʰəmúʔ] (ภาษาขมุตะวันตกถิ่นห้วยเอียน จังหวัดเชียงราย)[1]
ประเทศที่มีการพูดลาว, ไทย, เวียดนาม, จีน
ชาติพันธุ์ชาวขมุ
จำนวนผู้พูดไม่ทราบ (798,400 คน อ้างถึงสำมะโน ค.ศ. 1990–2015)[2][3]
ตระกูลภาษา
ระบบการเขียนอักษรลาว, อักษรไทย, อักษรละติน
รหัสภาษา
ISO 639-3อย่างใดอย่างหนึ่ง:
kjg – ภาษาขมุ
khf – ภาษาขมุพุทธ[4][5]

ภาษาขมุ [ขะ-หฺมุ] หรือ ภาษากำมุ เป็นภาษาของชาวขมุซึ่งอาศัยอยู่ในตอนเหนือของประเทศลาวรวมถึงพื้นที่ใกล้เคียงในประเทศไทย ประเทศเวียดนาม และประเทศจีน จัดอยู่ในกลุ่มภาษาขมุของตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก โดยในตระกูลภาษานี้ ภาษาขมุมักได้รับการระบุว่ามีความใกล้ชิดกับภาษากลุ่มปะหล่องและภาษากลุ่มคาซีมากที่สุด[6]

การกระจายตามเขตภูมิศาสตร์

บริเวณที่มีการพูดภาษาขมุถิ่นโดยประมาณในประเทศลาว

สุวิไล เปรมศรีรัตน์ (2002)[7] รายงานที่ตั้งและภาษาถิ่นของภาษาขมุในประเทศไทย ประเทศลาว ประเทศเวียดนาม และประเทศจีนดังต่อไปนี้

ภาษาถิ่น

ภาษาขมุประกอบด้วยภาษาถิ่นหลายภาษาโดยไม่มีวิธภาษามาตรฐาน ภาษาขมุถิ่นมีความแตกต่างกันในแง่จำนวนเสียงพยัญชนะ การใช้ลักษณะน้ำเสียง และระดับอิทธิพลจากภาษาประจำชาติที่อยู่โดยรอบ ภาษาขมุถิ่นต่าง ๆ โดยส่วนใหญ่สามารถเข้าใจซึ่งกันและกันได้ อย่างไรก็ตาม ผู้พูดภาษาถิ่นที่อยู่ไกลจากกันออกไปอาจสื่อสารกันลำบากขึ้น

ภาษาขมุในท้องถิ่นต่าง ๆ สามารถจัดเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ได้สองกลุ่ม ได้แก่ ภาษาขมุตะวันตกและภาษาขมุตะวันออก

  • ภาษาขมุตะวันตก ได้แก่ภาษาขมุที่พูดกันเป็นหลักในจังหวัดน่านและจังหวัดเชียงราย ประเทศไทย; แขวงบ่อแก้ว แขวงอุดมไซ และแขวงหลวงน้ำทา ประเทศลาว; และในบางหมู่บ้านของจังหวัดปกครองตนเองสิบสองปันนา ประเทศจีน[8] ภาษาขมุถิ่นในกลุ่มนี้มีหน่วยเสียงพยัญชนะน้อยกว่าภาษาขมุตะวันออกและมีการเปรียบต่างหน่วยเสียงระหว่างลักษณะน้ำเสียงทุ้ม-ต่ำกับลักษณะน้ำเสียงแรง-ดัง-สูง (หรือใส-แรง) ภาษาถิ่นบางภาษายังผ่านภาวะการเป็นภาษามีลักษณะน้ำเสียงไปเป็นภาษามีวรรณยุกต์แล้วด้วย
  • ภาษาขมุตะวันออก ได้แก่ภาษาขมุที่พูดกันเป็นหลักในแขวงพงสาลี แขวงหลวงพระบาง แขวงหัวพัน และแขวงเชียงขวาง ประเทศลาว; จังหวัดเหงะอาน จังหวัดเซินลา และจังหวัดเดี่ยนเบียนในประเทศเวียดนาม; และในบางหมู่บ้านของจังหวัดปกครองตนเองสิบสองปันนา ประเทศจีน[8] ภาษาขมุถิ่นในกลุ่มนี้มีแนวโน้มตรงกันข้ามกับภาษาขมุตะวันตก กล่าวคือ ไม่มีการเปรียบต่างหน่วยเสียงระหว่างลักษณะน้ำเสียงหรือระหว่างวรรณยุกต์ แต่มีการเปรียบต่างหน่วยเสียงระหว่างเสียงพยัญชนะหยุด 3 ประเภท (ก้อง ไม่ก้อง และไม่พ่นลม) และระหว่างเสียงพยัญชนะนาสิก 3 ประเภท (ก้อง ไม่ก้อง และนำด้วยเสียงหยุด เส้นเสียง) ในตำแหน่งต้นพยางค์

สัทวิทยา

พยัญชนะ

หน่วยเสียงพยัญชนะภาษาขมุ
ลักษณะการออกเสียง ตำแหน่งเกิดเสียง
ริมฝีปาก ปุ่มเหงือก เพดานแข็ง เพดานอ่อน เส้นเสียง
เสียงนาสิก ก้อง m n ɲ ŋ
ไม่ก้อง ɲ̥ ŋ̥
นำด้วย [ˀ] ˀm ˀn ˀɲ ˀŋ
เสียงหยุด ก้อง b d ɟ ɡ
ไม่ก้อง ไม่พ่นลม p t c k ʔ
พ่นลม
เสียงเสียดแทรก (f) s h
เสียงรัว ก้อง r
ไม่ก้อง
เสียงข้างลิ้น ก้อง l
ไม่ก้อง
เสียงกึ่งสระ ก้อง w j
ไม่ก้อง
นำด้วย [ˀ] ˀw ˀj
  • หน่วยเสียงในช่องสีแดงคือหน่วยเสียงที่ปรากฏเฉพาะในภาษาขมุตะวันออกถิ่นต่าง ๆ
  • หน่วยเสียงที่เป็นได้ทั้งพยัญชนะต้นและพยัญชนะท้ายมี 15 หน่วยเสียง ได้แก่ /m/, /n/, /ɲ/, /ŋ/, /p/, /t/, /c/, /k/, /ʔ/, /s/, /h/, /r/, /l/, /w/ และ /j/[9]
  • หน่วยเสียงพยัญชนะต้นควบมี 13 หน่วยเสียง ได้แก่ /pr/, /pl/, /pʰr/, /tr/, /tʰr/, /cr/, /cʰr/, /kr/, /kl/, /kw/, /kʰr/, /kʰw/ และ /sr/ (แต่หน่วยเสียง /tʰr/ ไม่ปรากฏในภาษาขมุตะวันตกถิ่นห้วยเอียน จังหวัดเชียงราย)[10]
  • หน่วยเสียง /c/ เมื่ออยู่ในตำแหน่งต้นพยางค์ออกเสียงเป็น [t͡ɕ] และเมื่ออยู่ในตำแหน่งท้ายพยางค์ออกเสียงเป็น [c][11]
  • หน่วยเสียง /cʰ/ ออกเสียงเป็น [t͡ɕʰ][11]
  • หน่วยเสียง /f/ เป็นหน่วยเสียงที่ปรากฏเฉพาะในคำยืมจากภาษากลุ่มไทที่อยู่โดยรอบ[12]
  • หน่วยเสียง /s/ เมื่ออยู่ในตำแหน่งท้ายพยางค์ออกเสียงเป็น [jh], [h], [ç] หรือ [s] ขึ้นอยู่กับภาษาถิ่น[13]
  • หน่วยเสียง /w̥/ ออกเสียงเป็นเสียงเปิด ริมฝีปาก-เพดานอ่อน ไม่ก้อง
  • เสียง [ˀj] หรือ [ʔj] จัดเป็นหน่วยเสียงเอกเทศในภาษาขมุตะวันออก แต่จัดเป็นหน่วยเสียงย่อยของหน่วยเสียง /j/ ในภาษาขมุตะวันตก โดยปรากฏเฉพาะในคำบางคำและในคำยืมจากภาษากลุ่มไท[14]

สระ

สระในภาษาขมุมีทั้งสิ้น 22 เสียง เป็นสระเดี่ยว 19 เสียง และสระประสมสองเสียง 3 เสียง ภาษาขมุถิ่นทุกภาษามีหน่วยเสียงสระคล้ายคลึงกัน แม้ว่าภาษาขมุถิ่นบางภาษาจะได้พัฒนาระบบลักษณะน้ำเสียงขึ้นใช้ แต่สระยังคงเหมือนเดิม[9]

สระเดี่ยว

หน่วยเสียงสระเดี่ยวภาษาขมุ[9]
ระดับลิ้น ตำแหน่งลิ้น
หน้า กลาง หลัง
สูง i, ɨ, ɨː u,
กึ่งสูง e, ə, əː o,
กึ่งต่ำ ɛ, ɛː ʌː ɔ, ɔː
ต่ำ a,
  • สระสั้น /e/, /ɛ/, /ɨ/, /ə/, /u/, /o/ และสระยาว /ʌː/ มีจำนวนการเกิดไม่มากนัก[15]
  • คำที่มีพยัญชนะท้ายเป็น [h] สระมักจะมีลักษณะเป็นเสียงสั้น เช่น [sih] 'นอน' ในขณะที่คำที่มีพยัญชนะท้ายเป็น [ʔ] สระมักจะมีลักษณะเป็นเสียงยาว เช่น [ləʔ] 'ดี'[16]
  • เสียงสระในพยางค์แรกของคำ (ซึ่งเป็นพยางค์ที่ไม่ลงเสียงหนัก) อาจมีการแปรเสียง เช่น /kato̤ŋ/ [kəto̤ŋ~kɨto̤ŋ] 'ไข่'[17]

สระประสม

ภาษาขมุมีหน่วยเสียงสระประสม 3 หน่วยเสียง ได้แก่ /iə/, /ɨə/ และ /uə/[9]

ลักษณ์เหนือหน่วยแยกส่วน

ภาษาขมุนั้นมีทั้งภาษาถิ่นที่ใช้ลักษณะน้ำเสียง ภาษาถิ่นที่ใช้วรรณยุกต์และความแตกต่างของพยัญชนะต้น (พ่นลมหรือไม่พ่นลม) ภาษาถิ่นที่ใช้วรรณยุกต์แต่ไม่ใช้ความแตกต่างของพยัญชนะต้น (พ่นลมหรือไม่พ่นลม) และภาษาถิ่นที่ไม่ใช้ทั้งลักษณะน้ำเสียงและวรรณยุกต์ แต่ใช้ความแตกต่างของพยัญชนะต้น (ก้องหรือไม่ก้อง) ในการจำแนกความหมายของคำ ดังตัวอย่างในตาราง

ตัวอย่างพัฒนาการของเสียงวรรณยุกต์ในภาษาขมุ 4 ถิ่น[18][19]
คำ ภาษาไม่มีวรรณยุกต์
และไม่มีลักษณะน้ำเสียง
ภาษามีลักษณะน้ำเสียง ภาษามีวรรณยุกต์
ภาษาขมุตะวันออก ภาษาขมุตะวันตก
ถิ่นที่ 1 ถิ่นที่ 2 ถิ่นที่ 3
'เหล้า' buːc pṳːc pʰùːc pùːc
'ถอด' puːc pûːc púːc pûːc
'เหยี่ยว' ɡlaːŋ kla̤ːŋ kʰlàːŋ klàːŋ
'หิน' klaːŋ klâːŋ kláːŋ klâːŋ

จากตาราง ภาษาขมุตะวันออกเป็นตัวแทนของภาษาขมุดั้งเดิมที่รักษาความเปรียบต่างระหว่างพยัญชนะก้องกับพยัญชนะไม่ก้องในตำแหน่งต้นพยางค์ และเป็นภาษาไม่มีลักษณะน้ำเสียงและไม่มีวรรณยุกต์ แต่ในภาษาขมุตะวันตกถิ่นที่ 1 พยัญชนะก้องในตำแหน่งต้นพยางค์ได้กลายเป็นพยัญชนะไม่ก้องพร้อมสระที่มีลักษณะน้ำเสียงทุ้ม-ต่ำ ในภาษาขมุตะวันตกถิ่นที่ 2 พยัญชนะก้องในตำแหน่งต้นพยางค์ได้กลายเป็นพยัญชนะไม่ก้อง พ่นลม ส่วนลักษณะน้ำเสียงทุ้ม-ต่ำได้พัฒนาไปเป็นเสียงวรรณยุกต์ต่ำ ส่วนภาษาขมุตะวันตกถิ่นที่ 3 พยัญชนะก้องในตำแหน่งต้นพยางค์ได้กลายเป็นพยัญชนะไม่ก้องพร้อมสระที่มีเสียงวรรณยุกต์ต่ำ ในขณะเดียวกัน ภาษาขมุตะวันตกยังคงรักษาเสียงพยัญชนะไม่ก้องในตำแหน่งต้นพยางค์จากภาษาขมุดั้งเดิมเอาไว้ แต่ได้พัฒนาลักษณะน้ำเสียงแรง-ดัง-สูงหรือวรรณยุกต์สูง (หรือสูง-ตก) ขึ้นมาเป็นลักษณ์เด่นจำแนกควบคู่กัน[20]

ในภาษาขมุถิ่นที่ใช้ลักษณะน้ำเสียงบางภาษา (เช่น ภาษาขมุตะวันตกถิ่นห้วยเอียน จังหวัดเชียงราย) ลักษณะน้ำเสียงยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ ถ้าเป็นคำที่มีคู่เทียบเสียง ลักษณะน้ำเสียงที่ 1 และลักษณะน้ำเสียงที่ 2 ในคำเหล่านั้นจะมีลักษณะต่างกันอย่างชัดเจน แต่ถ้าไม่มีคู่เทียบเสียง ลักษณะน้ำเสียงทั้งสองจะใกล้เคียงกัน[21] และถ้าเป็นคำหลายพยางค์ จะลงเสียงหนักและระบุลักษณะน้ำเสียงที่พยางค์สุดท้ายเท่านั้น ส่วนพยางค์อื่นจะไม่ลงเสียงหนัก จึงไม่ระบุลักษณะน้ำเสียง เช่น /kato̤ŋ/ 'ไข่', /sicáːŋ/ 'ช้าง', /talptáːp/ 'ผีเสื้อ', /taleŋtéŋ/ 'แมลงปอ'[22]

ไวยากรณ์

วิทยาหน่วยคำ

โดยทั่วไปภาษาขมุเป็นภาษาไม่มีการเปลี่ยนรูปคำเพื่อแสดงเพศหรือพจน์ (ยกเว้นคำสรรพนาม) และไม่มีการกระจายรูปคำกริยาตามกาลหรือการณ์ลักษณะ นอกจากนี้ยังมีแนวโน้มที่จะเป็นภาษาที่มีคำพยางค์เดียวมากขึ้นเช่นเดียวกับภาษาอื่น ๆ ในตระกูลออสโตรเอเชียติก เช่น ภาษามัล ภาษาเวียดนาม[23] อย่างไรก็ตาม ในภาษาขมุก็มีการเติมหน่วยคำเติมเพื่อแสดงลักษณะทางไวยากรณ์อยู่บ้าง แต่จัดเป็นระบบไม่ได้ชัดเจนนัก[23]

สรรพนาม

คำสรรพนามแทนบุคคลมีรูปเป็นเอกพจน์ ทวิพจน์ และพหูพจน์ดังนี้[24]

สรรพนาม เอกพจน์ ทวิพจน์ พหูพจน์
บุรุษที่ 1 โอะ อะ อิ
บุรุษที่ 2 ชาย แยะ ซะว้า ปอ
หญิง ปา
บุรุษที่ 3 ชาย เกอ ซะน้า นอ
หญิง นา
สัตว์ เกอ, นา
สิ่งของ เกอ

คำสรรพนามที่ใช้เชื่อมประโยคซึ่งตรงกับคำว่า "อันที่" "คนที่" หรือ "ตัวที่" ในภาษาไทย ภาษาขมุจะใช้ว่า กัม หรือ นัม

หน่วยคำเติม

คำในภาษาขมุที่มีมากกว่า 1 พยางค์อาจเกิดจากการเติมหน่วยคำเติมหน้า (อุปสรรค) หรือหน่วยคำเติมกลาง (อาคม) เพื่อแสดงลักษณะทางไวยากรณ์ การเติมหน่วยคำเติมยังอาจทำให้ลักษณะน้ำเสียงในพยางค์ที่ 2 เปลี่ยนไปด้วย ตัวอย่างการเติมหน่วยคำเติมมีดังนี้[25]

  • หน่วยคำเติมหน้า {ซัง–} และ {รึน–} ทำให้คำกริยาเป็นคำนาม เช่น
จุ้ 'เจ็บ' → ซังจุ้ 'ความเจ็บป่วย'
เต็น 'นั่ง' → รึนเต็น 'ที่นั่ง'
  • หน่วยคำเติมหน้า {ตึร–} และ {อึน–} ทำให้คำกริยาเป็นคำคุณศัพท์ เช่น
เวียด 'บิด' → ตึรเวียด 'ที่ผิดไปจากรูปเดิม'
จ้าก 'ฉีก' → อึนจ้าก 'ที่ฉีกขาด'
  • หน่วยคำเติมหน้า {ปะ–} และ {ปึน–} เปลี่ยนคำกริยาทั่วไปให้เป็นคำกริยาก่อเหตุ (กริยาการีต) เช่น
เลียน 'ออก' → ปะเลี้ยน 'ทำให้ออก'
ล้ง 'ลืม, ไม่รู้ทาง' → ปึนล้ง 'ปล่อย, ทำให้หลงทาง'
  • หน่วยคำเติมกลาง {–ึรน–} ทำให้คำกริยาเป็นคำนาม เช่น
แก้บ 'คีบ' → กึร 'คีม'
ต้าญ 'สาน' → ตึรนาญ 'เครื่องสาน'

วากยสัมพันธ์

ภาษาขมุเป็นภาษาที่มีการเรียงลำดับคำแบบประธาน–กริยา–กรรมเป็นหลัก มีการใช้คำสันธานน้อย โดยมากใช้ประโยคเรียงต่อกันเท่านั้น คำบุพบทมีไม่กี่คำ ที่ใช้มากคือคำว่า ตา หมายถึง 'ด้าน' หรือ 'ที่' และคำว่า ลอง หมายถึง 'แถว' หรือ 'บริเวณ'

ระบบการเขียน

คณะกรรมการจัดทำระบบเขียนภาษาท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ด้วยอักษรไทย สำนักงานราชบัณฑิตยสภา ได้กำหนดตัวเขียนภาษาขมุอักษรไทยตามระบบเสียงภาษาขมุตะวันตกที่พูดกันในบ้านห้วยเอียน ตำบลหล่ายงาว อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย ไว้ดังนี้

พยัญชนะ
อักษรไทย เสียง ตัวอย่างคำ ความหมาย
/k/ วล ครกตำข้าว
ตร้า ควาย
/kʰ/ คิ้ ฝักใส่มีด
/ŋ/ ง้าะ ข้าวเปลือก
แชร้ ฉาบ
/c/ จือง เท้า
มู มด
/cʰ/ ช้าง ค่าง
/s/ (เมื่อเป็นพยัญชนะต้น) ซ้าะ หมา
/ɲ/ าง ใยแมงมุม
ซึรมิ ดาว
/d/ ด้ ป่าดงดิบ
/t/ (เมื่อเป็นพยัญชนะท้าย) ซร้ว เช้า
/t/ (เมื่อเป็นพยัญชนะต้น) ติ้ มือ
/tʰ/ ท้าน ระเบียงบ้าน
/n/ นั กระแต
อยอ ราฟืนราไฟ
/b/ บ้ เบ็ด
/p/ (เมื่อเป็นพยัญชนะท้าย) เตี้ย ห่อ (กริยา)
/p/ (เมื่อเป็นพยัญชนะต้น) ปั้ เป็ด
/pʰ/ พื้อน ขันโตก
/f/ ฟ้ ผงซักฟอก
/m/ มั งู
ยุ ลูกอ๊อด
/j/ าน มโหระทึก
ระวา เสือ
ยฮ /s/ (เมื่อเป็นพยัญชนะท้าย) ฮ้อยฮ ตั๊กแตน
/r/ ร้ ไร่, เม่น
ก้า ปิ้ง, ย่าง
/l/ ล้ ใบไม้
โย็ หัวปลี
/w/ อฺร มีดถากหญ้า
ปลา มะพร้าว
/ʔ/ (เมื่อเป็นพยัญชนะต้น) กระติบ
อย [ˀj] อยั้ กระบุงแบบขมุ
/h/ ฮ้วล หมี
ติ เห็ด
ไม่มีรูป /ʔ/ (เมื่อเป็นพยัญชนะท้าย) อิ พวกเรา
โคระ นกกรงหัวจุก
สระ
อักษรไทย เสียง ตัวอย่างคำ ความหมาย
–ะ /a/ (เมื่อไม่มีพยัญชนะท้าย
และอยู่ในคำหลายพยางค์
หรือเมื่อมีพยัญชนะท้ายเป็น /ʔ/)
มู้ล เงิน
วาง ท้องฟ้า
ปลา
–ั /a/ (เมื่อมีพยัญชนะท้าย
ที่ไม่ใช่ /ʔ/, /w/)
วั้ แคะ, คุ้ย
มั ข้าวสุก
–า /aː/ ซ้ กระบุง
–ิ /i/ ยิ สีแดง
–ี /iː/ ซี้ นก
–ึ /ɨ/ ตึลึ กระบอกไม้ไผ่
–ือ /ɨː/ (เมื่อไม่มีพยัญชนะท้าย) จื้อ จำ
–ื /ɨː/ (เมื่อมีพยัญชนะท้าย) อื อึ่งอ่าง
–ุ /u/ ลุ ต้นขา
–ู /uː/ มู อาบ (น้ำ)
เ–ะ /e/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายเป็น /ʔ/) ป้ สาม
เ–็ /e/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายอื่น
และมีลักษณะน้ำเสียงทุ้ม)
เก็ ตัด, เล็ม
เต็ นั่ง
เ–้ /e/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายอื่น
และมีลักษณะน้ำเสียงใส-แรง)
เจ้ เจ็ด
เซ้ สะอาด
เ– /eː/ ป้ ไม่
ปลก ปลาไหล
แ–ะ /ɛ/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายเป็น /ʔ/) ซัง แพะ
แ–็ /ɛ/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายอื่น
และมีลักษณะน้ำเสียงทุ้ม)
แต็ ตะกร้าปากบาน
แ–้ /ɛ/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายอื่น
และมีลักษณะน้ำเสียงใส-แรง)
แซ้ ตัด (เชือก)
แ– /ɛː/ อบ กระติบ
ล้บ แบน
โ–ะ /o/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายเป็น /ʔ/) ซ้ ขวานแบบขมุ
โ–็ /o/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายเป็น
/ɲ/, /c/, /s/, /h/, /r/, /l/
และมีลักษณะน้ำเสียงทุ้ม)
โก็ เกา
โย็ยฮ เปราะ, หักง่าย
โอ็ แผล
โ–้ /o/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายเป็น
/ɲ/, /c/, /s/, /h/, /r/, /l/
และมีลักษณะน้ำเสียงใส-แรง)
โท้ เครื่องดนตรีชนิดหนึ่ง
ทำจากไม้ไผ่
โ–ะ (ลดรูป) /o/ (เมื่อมีพยัญชนะท้าย
ที่ไม่ใช่ /ʔ/, /ɲ/, /c/, /s/, /h/,
/r/, /l/)
บ้ก ขุดโดยใช้จอบ
ปด หยิบ
อม น้ำ
โ– /oː/ ซรญ แห้งสนิท
ม้บ แอบ, ซ่อน
เ–าะ /ɔ/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายเป็น /ʔ/) าะ อุด
–็อ /ɔ/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายอื่น
และมีลักษณะน้ำเสียงทุ้ม)
ย็อ ไป
ล็อ แกะ (ข้าวโพด)
–้อ /ɔ/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายอื่น
และมีลักษณะน้ำเสียงใส-แรง)
ร้อ ไต่
–อ /ɔː/ ช่วยเหลือ
จ้ ไซดักปลา
เ–อะ /ə/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายเป็น /ʔ/) กลอะ ผม (นาม)
เ–ิ–็ /ə/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายอื่น
และมีลักษณะน้ำเสียงทุ้ม)
เอิบ็ ครึ้ม
เริง็ เริง็ รุ่งสาง
เ–ิ้ /ə/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายอื่น
และมีลักษณะน้ำเสียงใส-แรง)
เริ้ นาน
ยิ้ ภาชนะแช่ข้าว
เ–อ /əː/ (เมื่อไม่มีพยัญชนะท้าย) อเกร ตะไคร้
เ–ิ /əː/ (เมื่อมีพยัญชนะท้าย) เปิกเป้อ ตุ๊กแก
เติ้ พอ, หยุด
เ–อฺ /ʌː/ อฺ ดู
เ–า /aw/ เต้า เต่า
เ–ียะ /iə/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายเป็น /ʔ/) เซี้ยะ ลูกพี่ลูกน้องชาย
เ–ีย /iə/ (เมื่อไม่มีพยัญชนะท้าย
หรือเมื่อมีพยัญชนะท้ายอื่น)
ลีย สวย
เซี้ย เสียม
เ–ือะ /ɯə/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายเป็น /ʔ/) ลื้อะ เหยี่ยวชนิดหนึ่ง
เ–ือ /ɯə/ (เมื่อไม่มีพยัญชนะท้าย
หรือเมื่อมีพยัญชนะท้ายอื่น)
ปึรเลือ ไฟ
รื้อ ซี่โครง
–ัวะ /uə/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายเป็น /ʔ/) กึมลัวะ พืชชนิดหนึ่งคล้ายข่า
–ัว /uə/ (เมื่อไม่มีพยัญชนะท้าย) ซิญั้ว ไม้ทำหน้าจั่ว
–ว– /uə/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายอื่น) ป้ยฮ เก้ง
  • รูปสระสั้นที่มีเครื่องหมาย –็ จะใส่ –็ ไว้เหนือพยัญชนะต้นเดี่ยวหรือ
    พยัญชนะต้นควบตัวที่สอง เช่น ย็อฮ, แกล็ ในกรณีที่เป็นสระ เ–ิ–็
    จะเลื่อน –็ ไปไว้เหนือพยัญชนะถัดไป เนื่องจากชนกับรูปสระบน (–ิ)
    เช่น เอิบ็
  • ในกรณีที่เป็นสระเสียงสั้นที่มีลักษณะน้ำเสียงใส-แรง ให้ใส่เฉพาะ
    เครื่องหมาย –้ โดยไม่ต้องใส่เครื่องหมาย –็ เพื่อแสดงเสียงสั้นด้วย
    เช่น แซ้, โท้, เริ้
  • ในกรณีที่พยัญชนะต้นควบปรากฏร่วมกับรูปสระหน้า , ,
    ไม่ต้องเลื่อนพยัญชนะตัวแรกไปไว้หน้ารูปสระนั้น เช่น กล้, ชร้, ซร
ลักษณะน้ำเสียง
อักษรไทย ลักษณะ
น้ำเสียง
ตัวอย่างคำ ความหมาย
ไม่มีรูป ทุ้ม
(ทุ้ม-ต่ำ)
ตุก จน
ปิฮ ใหญ่
ราง ดอกไม้
เกละ สามี
–้ ใส-แรง
(แรง-ดัง-สูง)
ตุ้ ผูก
ปิ้ จูง, ยางไม้
ร้าง ฟัน (นาม)
เกล้ โผล่
  • คำที่มีคู่เทียบลักษณะน้ำเสียง ผู้พูดภาษาขมุ
    จะออกเสียงคำต่างกันชัดเจน เช่น เงาะ 'กลัว'
    กับ เง้าะ 'ข้าวเปลือก' ส่วนคำที่ไม่มีคู่เทียบ
    ลักษณะน้ำเสียง ผู้พูดภาษาขมุจะไม่เคร่งครัด
    ในการใช้เครื่องหมายแสดงลักษณะน้ำเสียง
    เช่น อัฮ 'มี' อาจเขียนโดยไม่ใส่เครื่องหมาย
    แสดงลักษณะน้ำเสียงกำกับก็ได้
  • ในกรณีที่เป็นคำหลายพยางค์ จะลงเสียงหนัก
    และระบุลักษณะน้ำเสียงที่พยางค์สุดท้ายเท่านั้น
    ส่วนพยางค์อื่นจะไม่ลงเสียงหนัก จึงไม่ระบุลักษณะ
    น้ำเสียง เช่น กะตง, ซิจ้าง, ตะลาบต้าบ, ตะเล็งเต้ง

อ้างอิง

  1. สุวิไล เปรมศรีรัตน์. (2536). พจนานุกรมไทย–ขมุ–อังกฤษ. นครปฐม : สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล, หน้า 57, 389.
  2. "Kmhmu'". Ethnologue (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-07-26.
  3. "Khuen". Ethnologue (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-07-26.
  4. Hammarström (2015) Ethnologue 16/17/18th editions: a comprehensive review: online appendices
  5. "Mon-Khmer Classification (Draft)".
  6. Diffloth, Gérard (2005). "The contribution of linguistic palaeontology and Austroasiatic". in Laurent Sagart, Roger Blench and Alicia Sanchez-Mazas, eds. The Peopling of East Asia: Putting Together Archaeology, Linguistics and Genetics. 77–80. London: Routledge Curzon.
  7. Premsrirat, Suwilai. (2002). Dictionary of Khmu in Laos. Mon-Khmer Studies, Special Publication, Number 1, Volume 3. Nakhon Pathom: Mahidol University at Salaya, Thailand.
  8. 8.0 8.1 Premsrirat, Suwilai (2001). "Tonogenesis in Khmu dialects of SEA". Mon-Khmer Studies. 31: 54.
  9. 9.0 9.1 9.2 9.3 Premsrirat, Suwilai (2001). "Tonogenesis in Khmu dialects of SEA". Mon-Khmer Studies. 31: 50.
  10. สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2566). คู่มือระบบเขียนภาษาขมุอักษรไทย ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ : สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, หน้า 37.
  11. 11.0 11.1 Premsrirat, Suwilai (1987). "A Khmu Grammar". Papers in South-East Asian Linguistics. 10: 8.
  12. Premsrirat, Suwilai. The Thesaurus and Dictionary Series of Khmu Dialects in Southeast Asia. Nakhon Pathom: Institute of Language and Culture for Rural Development and SIL International, 2002.
  13. สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2566). คู่มือระบบเขียนภาษาขมุอักษรไทย ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, หน้า 38.
  14. สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2566). คู่มือระบบเขียนภาษาขมุอักษรไทย ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, หน้า 37.
  15. สุวิไล เปรมศรีรัตน์. (2536). พจนานุกรมไทย–ขมุ–อังกฤษ. นครปฐม : สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล, หน้า (25).
  16. สุวิไล เปรมศรีรัตน์. (2536). พจนานุกรมไทย–ขมุ–อังกฤษ. นครปฐม : สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล, หน้า (25)–(26).
  17. สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2566). คู่มือระบบเขียนภาษาขมุอักษรไทย ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, หน้า 16.
  18. Premsrirat, Suwilai (2001). "Tonogenesis in Khmu dialects of SEA". Mon-Khmer Studies. 31: 54.
  19. ผณินทรา ธีรานนท์. (2557). เสียงวรรณยุกต์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ : กำเนิดและพัฒนาการ. เชียงราย: ชอบพิมพ์, หน้า 41.
  20. Premsrirat, Suwilai (2001). "Tonogenesis in Khmu dialects of SEA". Mon-Khmer Studies. 31: 53.
  21. สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2566). คู่มือระบบเขียนภาษาขมุอักษรไทย ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, หน้า 44.
  22. สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2566). คู่มือระบบเขียนภาษาขมุอักษรไทย ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, หน้า 45.
  23. 23.0 23.1 สุวิไล เปรมศรีรัตน์. (2536). พจนานุกรมไทย–ขมุ–อังกฤษ. นครปฐม : สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล, หน้า (29).
  24. สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2566). คู่มือระบบเขียนภาษาขมุอักษรไทย ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, หน้า 17.
  25. สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2566). คู่มือระบบเขียนภาษาขมุอักษรไทย ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, หน้า 16–17.


Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!