ภาษาลีซอ (ลีซอ: ꓡꓲ-ꓢꓴ , ꓡꓲ‐ꓢꓴ ꓥꓳꓽ หรือ ꓡꓲꓢꓴ ; จีน : 傈僳语 ; พินอิน : Lìsùyǔ ; พม่า : လီဆူဘာသာစကား , ออกเสียง: [lìsʰù bàðà zəɡá] ) หรือ ภาษาโยบิน ภาษาเยายิน มีผู้พูดทั้งหมด 723,000 คน พบในจีน 580,000 คน (พ.ศ. 2542) ในจำนวนนี้พูดได้ภาษาเดียว 467,869 คน ในยูนนานตะวันตก พบในอินเดีย 1,000 คน (พ.ศ. 2543) ในรัฐอรุณาจัลประเทศ พบในพม่า 126,000 (พ.ศ. 2530) ในรัฐว้า ชายแดนติดกับรัฐอัสสัม ของอินเดียหรือในรัฐฉาน พบในไทย 16,000 คน (พ.ศ. 2536) ในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ตาก สุโขทัย กำแพงเพชร บางส่วนอพยพมาจากพม่า
ภาษาลีซอจัดอยู่ในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่า สาขาพม่า-โลโล สาขาย่อยโลโล มีหลายสำเนียงแต่ความแตกต่างระหว่างสำเนียงมีไม่มาก ในจีนเป็นภาษาที่ใช้ในทางศาสนาคริสต์ การปกครองและในโรงเรียน ส่วนใหญ่พูดภาษาจีน ได้ด้วย ในจำนวนนี้มี 150,000 คนสามารถพูดภาษาไป๋ ภาษาทิเบต ภาษาน่าซี ภาษาไทลื้อ หรือภาษาจิ่งเผาะได้ด้วย เขียนด้วยอักษรโรมัน หรืออักษรฟราเซอร์ เป็นภาษาพูดของชาวลีซอ มีสามสำเนียงคือ หัว ไป่ และลู ใกล้เคียงกับภาษาล่าหู่ และภาษาอาข่า และมีความสัมพันธ์กับภาษาพม่า ภาษาจิ่งเผาะ และภาษายิ
สัทวิทยา
พยัญชนะมี 31 เสียง เสียงตัวสะกดมีน้อยมาก ไม่มีความแตกต่างระหว่างสระเสียงสั้นกับสระเสียงยาว สระเดี่ยวมี 9 เสียง สระสะเทินมี 5 เสียง ซึ่งแปรเป็นสระเดี่ยวได้หลายเสียง วรรณยุกต์มี 6 เสียง เรียงประโยคแบบประธาน-กรรม-กริยา คำบุพบทอยู่หลังคำนาม
อ้างอิง
ผลงานอ้างอิง
อ่านเพิ่ม
แหล่งข้อมูลอื่น
ภาษาราชการ กลุ่มภาษาไท
เชียงแสน ตะวันตกเฉียงเหนือ ลาว–ผู้ไท สุโขทัย กลุ่มอื่น ๆ
ชนกลุ่มน้อย ตามตระกูลภาษา
ไม่ใช่ภาษาพื้นเมือง
ภาษามือ